Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
ปูมการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 12 กุมภาพันธ์ 2008

ข้อมูล ปูมการท่องเที่ยวภูเก็จ ; ชาญ วงศ์สัตยนนท์ ผู้จัดการ PHUKET JET TOUR 0-1821-3213 (มห.ภูเก็จ 2344)


ปูมการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต


ชาญ วงศ์สัตยนนท์ ผู้จัดการ PHUKET JET TOUR
--------------------------------------------

 

อดีต

พ.ศ. 2228 วาเลีย เดอ ซามอง ทูตฝรั่งเศส ในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อจัดตั้งคลังสินค้ารับซื้อดีบุก


พ.ศ. 2328 การค้าดีบุกกับต่างชาติ

ในยุคสมัย ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร Captain Francis Light พ่อค้าดีบุกจากเกาะปีนัง เดินทางเข้ามารับซื้อแร่


พ.ศ. 2450 การทำเหมืองแร่ในทะเล

 

ในยุคสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ( คอซิมบี้ ณ ระนอง )Captain Thomas Miles จาก Tasmania รัฐVictoria, Australia มีการค้นพบแร่ในทะเล เริ่มใช้เรือดูดแร่ในทะเล มีชาวจีนอพยพเข้าภูเก็ตเป็นจำนวนมาก การทำเหมืองแร่บนบก และในทะเลเป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วทุกพื้นที่


พ.ศ. 2512 การท่องเที่ยวของภูเก็ตเริ่มต้น

มีการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง James Bond ( The Man with The Golden Gun ) ทำให้มีการเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จูงใจให้นักท่องเที่ยว สนใจเข้ามาท่องเที่ยว


วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต


พ.ศ. 2522 ฟูคุนหลองกับการทำเหมืองแร่ในทะเลที่หาดป่าตอง

ในช่วงสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในสมัย พล ต.ชาติชาย ชุณหวัน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อนุมัติให้ ฟูคุนหลอง นักธุรกิจชาวมาเลเซีย ได้รับประทานบัตร ในการทำเหมืองเร่ในทะเล ณ บริเวณหาดป่าตอง ผู้ประกอบการท่องเที่ยวคัดค้าน พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายชวน หลีกภัย เดินทางไปยังหาดป่าตองแสดงความเห็นกับผู้ประกอบการว่าสมควรส่งเสริมการท่องเที่ยว ในที่สุด รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีมติส่งเสริมการท่องเที่ยว


พ.ศ. 2522 – 2526 JICA และท.ท.ท.ทำการศึกษาแผนพัฒนาท่องเที่ยว

ท.ท.ท. ติดต่อเงินกู้ OECF ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น ได้มอบให้ JICA ( Japan Institute Coporation Agency) มาทำการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อเสนอชักชวนให้ผู้ลงทุนชาวต่างประเทศศึกษาและเข้ามาลงทุน ผลการศึกษาสามารถสรุปเป็นแผนพัฒนา 3 เล่ม

1. Greater Phuket

2. Phuket - Phang Nga - Krabi

3. Southern Thailand

พ.ศ. 2526 การบินไทยเริ่มเที่ยวบิน ภูเก็ต – สิงคโปร์

สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เสนอและผลักดันให้ บริษัทการบินไทย จำกัด เปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศ และบริษัทการบินไทยได้เริ่มเส้นทางบิน สิวคโปร์ - ภูเก็ต เป็นครั้งแรก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2526 นับเป็นเส้นทางบินระหว่างประเทศโดยตรงเข้าภูเก็ตเป็นครั้งแรก


พ.ศ. 2527 สายการบินต่างประเทศเปิดเส้นทางบินตรงเข้าภูเก็ต

สายการบิน Dragon Air เริ่มบินตรงฮ่องกง - ภูเก็ต เมื่อ พ.ศ. 2527

สายการบิน Malaysia Airline เริ่มบินตรง กัวลาลัมเปอร์ - ภูเก็ต เมื่อ พ.ศ. 2527

สายการบิน Silk Air เริ่มบินตรง สิงคโปร์ - ภูเก็ต เมื่อ พ.ศ. 2527

พ.ศ. 2527 รัฐบาลประกาศลดค่างินบาท

จากภาวะเศรษฐกิจตกตำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 -26 ในที่สุดรัฉบาล ประกาศลดค่าเงินบาท และพบว่าประเทศมีดุลการค้าขาดดุล(Balance of Trade)มาโดยตลอด แต่พบว่าดุลการชำระเงิน(Balance of Payment)เกินดุลมาโดยตลอดเช่นกัน และเนื่องมาจากรายได้ทางภาคบริการ คือ การขนส่ง และการท่องเที่ยว รัฐบาลจึงมี นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มงบประมาณในการส่งเสริมและพัฒนาท่องเที่ยวไปยังหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มงบประมาณทางการตลาดให้กับ ท.ท.ท. อย่างก้าวกระโดด

ปีงบประมาณ 2527 2528 2529 2530
หน่วย : ล้านบาท 30 70 100 300


พ.ศ. 2529-2532 การขยายท่าอากาศยาน

รัฐบาลได้โอนท่าอากาศยานซึ่งเดิมอยู่ในความดูแลให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยบริหารจัดการ และขยายท่าอากาศยานให้สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้น-ลงได้ พร้อมปรับปรุงขยายอาคารผู้โดยสารให้ สามารถรองรับผู้ไดยสารได้ถึง 5 ล้านคนต่อปี


พ.ศ. 2527-2530 การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพหุภาคีอย่างต่อเนื่อง

ท.ท.ท. ร่วมกับ บริษัทการบินไทย จำกัด และภาคเอกชนในจังหวัดภูเก็ต ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยร่วมกันเชิญ นักเขียน บริษัทนำเที่ยว สื่อมวลชน จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เดินทางมาประเทศไทย และจังหวัดภูเก็ต โดย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย ค่าโดยสาร ค่าเดินทางอนุเคราะห์โดยบริษัทการบินไทย และท.ท.ท. ค่าที่พัก และอาหาร อนุเคราะห์โดย ผู้ประกอบการในท้องถิ่น ได้แก่ โรงแรมเพิร์ล โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน โรงแรมภูเก็ตไอส์แลนด์รีสอร์ท บริษัท ภูเก็ตทราเวลแอนด์ทัวร์ ตลอดระยะเวลา 4 ปีได้มีการต้อนรับและอนุเคราะห์ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน


พ.ศ. 2527-2533 การลงทุนจากต่างชาติสร้างโรงแรม และสนามกอล์ฟ

จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล และการศึกษาของ JICA บ.ต่างชาติพบว่าภูเก็ตมีศักยภาพสูงทางการท่องเที่ยว จึงได้มีการลงทุนสร้างโรงแรมขึ้นอย่างมากมาย อาทิเช่น Club Mediteranian, Amanpuri, Le Meridien, Holiday Inn, Thai Wah Group


พ.ศ. 2529 ประชามติของชาวภูเก็ตเรื่องการท่องเที่ยว กับโรงงานแทนทาลั่ม

เกิดกรณีเผาโรงงานแทนทาลั่ม เนื่องจากชาวภูเก็ตเห็นว่าเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเดินทางมายังจังหวัดภูเก็ต เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่เกิดเหตุการณ์ประท้วงและความไม่สงบ จนขยายผลไปสู่การเผาโรงงานแทนทาลั่ม และโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน เหตุการณืที่เกิดขึ้นจึงเสมือนเป็นการประกาศเจตนารมณ์ของชาวภูเก็ตต่อทิศทางของการพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยว ภายหลังเหตุการณ์สงบรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริม และสนับสนุนงบประมาณทุกด้านให้กับจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ


พ.ศ. 2529-2535 ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานและบุคคลกร

ระหว่างปีพ.ศ. 2530 -2535 มีจำนวนโรงแรมเกิดขึ้นอย่างมากมายรวดเร็ว โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 2,000 ห้อง ทำให้โครงสร้างพื้นฐานในเรื่องการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวตามชายหาดต่างๆในเรื่อง ถนน น้ำ ไฟฟ้า และบุคลากรไม่เพียงพอ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว หอการค้า และภาครัฐ เสนอและผลักดันรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง และร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการผลิตนักศึกษาให้พียงพอเพื่อป้อนตลาด เกิดระบบทวิภาคีขึ้น


พ.ศ. 2530-2537 มีกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องโดยองค์กรภาคเอกชน

องค์กรภาคเอกชนในจังหวัดภูเก็ต หอการค้า สมาคมท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเช่น เทศกาลอาหารทะเล การประกวดมิสภูเก็ต การแข่งขันกีฬาต่าง ๆ อาทิเช่น การแข่งเรือใบ กอล์ฟ การถ่ายทำภาพยนตร์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แสดงศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้เป็นสถานที่เก็บตัวให้กับนางงามอย่างต่อเนื่อง การรื้อฟื้นสถานที่ประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น


พ.ศ. 2530-2539 โครงการช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ระหว่างปี 2530-34 USAID ให้ความช่วยเหลือ โดยเลือกจังหวัดภูเก็ตเป็นตัวอย่างในการศึกษา ได้มีการก่อสร้างโรงแรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทบต่อทรัพยากรชายฝั่งทะเล ตะกอนดินที่เกิดจากการก่อสร้างได้ทำลายแนวปะการัง โดยโครงการช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกา หน่วยงาน USAID และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เลือกภูเก็ตเป็นตัวอย่าง ในการศึกษาภายใต้ชื่อโครงการว่า Coastal Resource Management Project ระหว่างปี 2535-38 GTZ จากประเทศเยอรมันนี ให้ความช่วยเหลือในการศึกษาเรื่อง การพัฒนาเมือง Urban Development ระหว่างปี 2536-2539 ICSC จากประเทศคานาดา ให้ความช่วยเหลือในการศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการขยะและน้ำเสีย Solid Waste and Waste Water Management และได้จัดตั้ง กลุ่มไข่มุกขาว White Pearl Group ขึ้น


พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม และกระทรวงวิทยาศาสตร์ประกาศให้ภูเก็ตเป็นเขตควบคุมมลพิษ

ผลจากการศึกษาตามโครงการ CRMP ได้นำเสนอรัฐบาล ประกาศใช้ พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประกาศให้ภูเก็ตเป็นเขตควบคุมมลพิษ และออกประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ควบคุมการก่อสร้างทั้งเกาะ


พ.ศ. 2531 - 2538 การอนุญาตเที่ยวบินจากประเทศต่าง ๆ ในลักษณะเช่าเหมาลำ ( Chartered Flight )เกิดขึ้นมากมายอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น

พ.ศ. 2531สายการบิน LTU จาก ดุสเซลดอล์ฟบินตรงเข้าภูเก็ต พ.ศ. 2532 สายการบิน Condor จากแฟรงเฟริต บินตรงเข้าภูเก็ต พ.ศ. 2534 สายการบิน Martin Air จากเนเทอร์แลนด์ บินตรงเข้าภูเก็ต


พ.ศ. 2540 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาล โดย พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จึงมีผลกระทบต่อสถาบันการเงินของประเทศทำให้ค่าเงินบาท อ่อนตัวลงกว่าเท่าตัว สถาบันการเงินมีหนี้สินเพิ่มถึงเท่าตัว (1 อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้ บาท เป็น อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้ บาท) รัฐบาลสั่งปิดสถาบันการเงิน เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไปทั่ว กิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้ขยายผลกระทบไปยังกิจการประเภทอื่นด้วย แต่ด้วยค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงกลับส่งผลให้ธุรกิจส่งออก และการท่องเที่ยวดีขี้น เนื่องจากค่าของเงินที่ถูกลงทำให้การมาเที่ยวประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำการท่องเที่ยวจึงยังคงเติบโต


พ.ศ. 2541 อัตราค่าห้องพักของโรงแรมปรับตัวสูงขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง

จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง 60% มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนชาวต่างประเทศ จึงปรับอัตราค่าห้องโดยใช้สกุลต่างประเทศแทน

ส่วนโรงแรมโดยทั่วไปปรับราคาเพิ่มขึ้นจากเดิม 20-40% ผลจากราคาทำให้การลงทุนในธุรกิจโรงแรมจึงเป็นที่สนใจต่อคนในประเทศ และต่างประเทศ และเกิดปฏิกิริยากับนักท่องเที่ยว


พ.ศ. 2542 การก่อสร้างโรงแรม และอสังหาริมทรัพย์กับผลกระทบจากแรงงานต่างชาติ

จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดเดียวที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ และมีสภาพเศรษฐกิจดีเนื่องจากค่าเงินบาทอ่อน อัตราค่าห้องพักอยู่ในเกณฑ์สูงและการเข้าพักก็มีอัตราสูง จึงมีทั้งผู้ลงทุนเดิมขยายกิจการ และมีผู้ลงทุนจากที่อื่นเข้ามาแสวงหาที่ดินเพื่อสร้างโรงแรม และบ้านอยู่อาศัย ทำให้เกิดแรงงานต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในจังหวัดภูเก็ตเป็นจำนวนมาก เกิดปัญหาสาธารณสุข สิ่งแวดล้อมในเรื่อง การใช้ที่ดิน ขยะและน้ำเสีย ความไม่ปลอดภัยในทรัพย์สิน มากขึ้น


พ.ศ. 2543 การลงทุนจากชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้าภูเก็ต

เศรษฐกิจโดยรวมของภูเก็ตยังคงดีอยู่และมีท่าทีสดใสมากขึ้น นักท่องเที่ยวยังคงเพิ่มขึ้น ชาวต่างชาติสนใจที่มาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างใกล้ชายทะเล การก่อสร้างบนไหล่เขาริมทะเล เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องตะกอนดิน น้ำเสีย และเกิดน้ำท่วมในบางแห่ง เนื่องจาการตักดินเพื่อขาย การตัดต้นไม้บนภูเขาเพื่อสร้างโรงแรมและบ้าน การตัดถนนขึ้นภูเขา การสร้างปางช้างบนไหล่เขา ค่าแรงงานถีบตัวสูงขึ้น ค่าครองชีพเริ่มสูงขึ้น การอพยพย้ายถิ่นเพื่อการค้าและการรับจ้างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


พ.ศ. 2544 ผลกระทบจากการก่อการร้ายนำเครื่องบินชนตึก World Trade Center

วันที่ 11 กันยายน 2544 ผู้ก่อการร้ายได้นำเครื่องบินพุ่งชนตึก World Trade Center ทำให้ตึกแฝดพังทะลายลง ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของโลก จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางน้อยลง ในกลุ่มอินเซนทีฟ กลุ่มประชุมสัมมนายกเลิกเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวภูเก็ตบ้างแต่ยังอยู่ในอัตราที่ยังต่ำ


พ.ศ. 2545 อัตราการเข้าพักโรงแรมในภูเก็ตเริ่มลดลง และยังเกิดเหตุการณ์ระเบิดที่บาหลี

นักท่องเที่ยวยังคงเดินทางเข้าภูเก็ต แต่ส่วนหนึ่งไปยังจังหวัดใกล้เคียงคือพังงา และกระบี่ ทำให้อัตราเข้าพักของโรงแรมในจังหวัดภูเก็ตลดลง

วันที่ 11ตุลาคม 2545 เกิดระเบิดในไนท์คลับที่บาหลีประเทศอินโดนิเซีย ทำให้นักท่องเที่ยวตายกว่า 170 คน และสามวันต่อมาเกิดระเบิดในห้างสรรพสินค้าบนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ รัฐบาลในประเทศตะวันตก ออสเตรเลียประกาศเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการเดินทางมายังภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลกระทบทำให้นักท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก


ข้อคิดเห็นของผู้เขียน

วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของภูเก็ตตลอดระยะ 20 ปีที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ด้วยศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตเอง ในระยะปฐมภูมิ การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวสามารถควบคุมและมีทิศทางที่สามารถกำหนดได้ แต่ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจมีการหลั่งไหลของการลงทุน และแรงงานในระดับต่าง ๆ มากมาย สังคมมีความเปลี่ยนแปลงสูง ซึ่งกำลังมีผลกระทบต่อศักยภาพของภูเก็ต โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบในเรื่องต่าง ๆ

- ปัญหาจราจรและอุบัติเหตุ

- ปัญหาน้ำไม่เพียงพอ

- ปัญหาสาธารณสุข การบริหารจัดการขยะและน้ำเสีย

- ปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมจากการใช้ที่ดินอย่างไม่ถูกต้อง

- ปัญหาวัฒนธรรมท้องถิ่นสูญสลาย

- ปัญหาความเหลื่อมล้ำและแตกแยกทางสังคม

- ปัญหาการบริหารราชการทั้งในระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น และการมีส่วนร่วม ทำให้การพัฒนาเมืองขาดทิศทาง


แนวทางการแก้ไข

- ความสามารถในการรองรับ ( Carrying Capacity ) ควรรีบดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปี 2547

- ศึกษาความสามารถในการรองรับอย่างเร่งด่วน

- จัดทำผังเมืองเฉพาะในแต่ละพื้นที่ (Zoning)

- พัฒนาความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเร่งด่วนในการบริหารการจัดการ Zoning และงานบริการให้มีประสิทธิภาพ

- การจัดทำแผนและดำเนินการตามแผน ส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนให้มีทิศทางที่ชัดเจน โดยนำแผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติมาร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาให้เป็นในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ( Sustainable Development )

- การวางแผนและการจัดการ ระบบการจราจร ด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพอย่างเร่งด่วน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีและยังคงเป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวต่อไป

- การจัดการทรัพยากรน้ำ และสาธารณูปโภค การพัฒนาเมืองยังดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง การใช้ทรัพยากรก็มีอย่างต่อเนื่อง ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกระทบต่อการพัฒนาท่องเที่ยว ความขาดแคลน ต้นทุนที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบโดยรวมต่อการค้าและสังคม การวางแผนการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับอย่างมีแบบแผน ไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้

- ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้สังคมขาดสันติสุข การให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ถูกคำนึงด้วยฐานะจะเป็นเงื่อนไขแห่งความสงบสุข

- สังคมควรสนับสนุนประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ และจริงจังในทางลึก ย่อมเป็นภูมิคุ้มกันมิให้วัฒนธรรมท้องถิ่นสูญสลาย

- การบริหารการจัดการแบบพิเศษตามแผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ เป็นลักษณะบูรณาการความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียในสังคม เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาเมือง ทุกภาคีมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง วิวัฒนาการการบริหารการจัดการเมืองอย่างเป็นระบบ และมีแบบแผนทำให้วิวัฒนาการไปสู่การบริหารและการจัดการเมืองด้วยตนเองในรูปแบบของคณะกรรมการเมือง โดยทุกภาคีมีส่วนร่วม.


ชาญ วงศ์สัตยนนท์ : รวบรวมเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓

ปรับปรุงเมื่อ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๕


Charn Wongsatayanont
Managing Director
Tel. 0-1821-3213
Phuket Jet Tour Co.,Ltd.
5/58 Mae Luan Rd.
Phuket 83000
Thailand
Tel. 66 76 222221
Fax 66 76 216799
E-mail: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้
URL: www.phuketjettour.com
www.phuket-tourism.com
www.sumui-tourism.com

 

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ 0-81 1025 606

: บันทึกเมื่อ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๕

ปรับปรุงเมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๕ เวลา ๙.๔๗ น. 
 
 
  

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พุธ, 28 มีนาคม 2018 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้968
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2221
mod_vvisit_counterทั้งหมด10648336