Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 12 กุมภาพันธ์ 2008

มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

  

ประวัติมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร


ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
กรรมการประวัติศาสตร์มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร
-------------- ----- ------

 

ภูมิหลังก่อนมีมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร


        พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร ที่ได้ประกอบความดีความชอบในศึกเมืองถลาง ๒๓๒๘ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศึก ๙ ทัพ จนได้รับชัยชนะเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘ อันเป็นวันถลางชนะศึกสืบมาจนวันนี้

       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เปิดถนนซึ่งได้พระราชทานนามว่า ถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๕๒ เมื่อเสด็จถึงบริเวณค่ายเมืองถลางบ้านเคียน พระองค์ทรงบันทึกไว้ว่า "ก็ต้องนึกชมว่าท้าวเทพกระษัตรีนี้เป็นผู้หญิงเก่งคนหนึ่ง ผู้หญิงที่จะได้มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในตำนานของชาติเรามีน้อยนัก ... เพราะฉะนั้นเป็นการสมควรแล้วที่จะมีอนุสาวรีย์ไว้ให้คนระลึกถึงและจำได้ต่อไปชั่วกาลนาน การที่พระราชทานนามถนนสายถลางนั้นตามท้าวเทพกระษัตรีจึงเป็นการควรอย่างยิ่ง"

       จากการเสด็จครั้งนี้ ขุนนรภัยพิจารณ์(ไวย ณ ถลาง) ได้เขียนประวัติท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร จากคำบอกเล่าของวงศาคณาญาติ ซึ่งคณะกรรมการจัดสร้างอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร นำมาจัดพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๕๑๐

 

     

.
V--------- (มทศ.จห. 620)
สารบาญ มทศ. สารบาญมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร 
.
ภาพ มทศ.เจ้าภาพบำเพ็ญกุศล  (สวดพระอภิธรรม) แด่นายหนังชวน ผสมทรัพย์ นายหนังตะลุงปละตก ผู้เป็นเจ้าพิธีไหว้ผีหลาง บวงสรวงบรรพชนผู้กล้าเมืองถลาง เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๐
.
.
^......... สารบัญ มทศ.

 

       จากการเสด็จครั้งนี้ ขุนนรภัยพิจารณ์(ไวย ณ ถลาง) ได้เขียนประวัติท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร จากคำบอกเล่าของวงศาคณาญาติ ซึ่งคณะกรรมการจัดสร้างอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร นำมาจัดพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๕๑๐

       นายอ้วน สุระกุล เมื่อครั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้เดินทางไปประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ได้นำสำเนาจดหมายเหตุเมืองถลางกลับมาเผยแพร่ ๖ ฉบับเป็นจดหมายของท้าวเทพกระษัตรี ๓ ฉบับ นักวิชาการท้องถิ่น เช่นนายประสิทธิ ชิณการณ์ มีความซาบซึ้งในวีรกรรมของท่านท้าวทั้งสอง จึงได้ประพันธ์ร้อยกรองมอบให้อาจารย์ประพันธ์ ทิมเทศ อาจารย์ดนตรีโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยปรับปรุงเป็นเนื้อร้องเพลงยอดนารีศรีถลาง

ฟังเพลงยอดนารีศรีถลาง


เพลงยอดนารีศรีถลาง

       ท้าวเทพกระษัตรีศรีสุนทร นามบังอรยอดนารีศรีถลาง
เป็นเทวีที่ควรเทิดน้ำใจนาง และตัวอย่างกุลสตรีนารีสมัย
คิดสู้ศัตรูผู้ย่ำยี สองน้องพี่มิได้พรั่นหวาดหวั่นไหว
รุกรานรบไม่สยบให้กับใคร เยี่ยงวีรชนชาติไทยยิ่งใหญ่กล้าหาญ
       เด็ดเดี่ยวเชี่ยวชาญต้านทานศึกไว้ มิยอมให้ใครหยามหมิ่นถิ่นสยาม

จู่โจมปัจจาสู้จนกว่าสิ้นลมปราณ เพื่อลูกหลานไทยได้มีสิทธิ์เสรี

เด็ดเดี่ยวดังชายไม่ระคายครั่นคร้าม คิดทำสงครามปรำศึกไม่นึกหนี
เหล่าหมู่อมิตรจิตเกรงขามนามนารี วีรสตรีศรีประเทศเขตไทย
       (ญ.) ดอกเอ๋ยดอกจันทน์กะพ้อ กิ่งก้านบานช่องามลออช่อไสว
ส่งกลิ่นหอมดอมเยือกเย็นเด่นไฉไล ประชาไทยได้มีสุขสมปอง
       (ช.) มุกเอยมุกดาวดี ไร้ฝ้าราคีมีสง่าค่าไม่หมอง
ไม่มีสองรองเรืองในเมืองทอง ชนม์ชีพลอยล่องชื่อยังก้องแผ่นดินไทย


       จดหมายเหตุเมืองถลาง ๖ ฉบับ เป็นหลักฐานสำคัญเสริมและสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงดำเนินการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรขนาดเท่าคนครึ่ง นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนยาว รัดผ้าสไบตะแบงมาน ทรงผมดอกกระทุ่ม ต่างหูรูปดอกไม้ มือขวาถือดาบปลายมน มือซ้ายของท้าวเทพกระษัตรียื่นจับข้อมือขวาท้าวศรีสุนทร ท่านท้าวทั้งสองยืนบนแท่นสูง ๕ เมตร ประดิษฐานอยู่ที่บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง

       จากความหลากหลายนามของท้าวเทพกระษัตรี เช่น ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวเทพกษัตรี ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวเทพสตรี ทำให้คณะกรรมการผู้รับผิดชอบการจารึกชื่อ เสนอขอความเห็นการใช้ชื่อ กรมศิลปากรได้ยืนยันให้จังหวัดภูเก็ตใช้ชื่อตามหลักฐานความเห็นของพระยาอนุมานราชธนนายกราชบัณฑิตยสถานว่า ท้าวเทพกระษัตรี การบันทึกข้อความที่แท่นฐานทิศเหนือ ด้านหน้าอนุสาวรีย์ มีดังนี้


ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร
(จัน) (มุก)
ได้กระทำการป้องกันรักษาเมืองถลางไว้เป็นสามารถ
เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๒๘
มิให้ข้าศึกตีหักเอาเมืองได้
เป็นวีรกรรมอันควรแก่ชนชาวเมืองถลาง
ตลอดจนชาวไทยทั่วกันยกย่องสรรเสริญ
จึงสร้างอนุสาวรีย์ให้ไว้เป็นอนุสรณ์
เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ ฯ เปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๐ นับเป็นพระมหากรุณาอนันตคุณแก่ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร อย่างหาที่สุดมิได้

       อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร จึงเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องเตือนใจให้อนุชนระลึกถึงคุณความดีของบรรพชน จังหวัดภูเก็ตจึงจัดงานท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรในวันถลางชนะศึกที่ ๑๓ มีนาคมของทุกปี เพื่อวางพวงมาลาและสดุดีวีรชนเมืองถลาง

       ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ได้รับงบประมาณ ๔,๐๐๐ บาทจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้ดำเนินการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปี พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นโครงการที่เก็บรวมรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ถลางที่ได้หลักฐานของท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรเพิ่มมากขึ้น เมื่อสิ้นปีงบประมาณ คณะกรรมการจึงได้จัดตั้งเป็นกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ มีนายประสิทธิ ชิณการณ์ เป็นประธานและนายสกุล ณ นคร กับนายสุมน คงสวัสดิ์ เป็นรองประธาน

       กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ได้ศึกษาเส้นทางเดินทัพในศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ พบเมืองถลางบ้านดอน เมืองถลางบ้านเคียน เกาะบ้านเคียนของจอมร้างเมืองถลางบ้านเคียน สุสานเมืองถลาง สุเหร่าเมืองถลาง สมรภูมิศึกถลาง อู่ตะเภา และค่ายเจ้าพระยาอินทวงษา คณะกรรมการกลุ่ม ฯ เสนอโครงการจัดพิมพ์จดหมายเหตุเมืองถลาง ๒,๐๐๐ เล่ม และนายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๘ ได้มอบต้นฉบับประวัติท้าวเทพกระษัตรี จัดพิมพ์อัดสำเนา ๑,๐๐๐ เล่ม ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เพื่อร่วมฉลอง ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕

       จากการศึกษาค้นคว้าศึกถลาง พ.ศ.๒๕๒๘ ของกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จได้พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก จึงได้เสนอนายมานิต วัลยะเพ็ชร์ (ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๘) พิจารณาร่วมกับนายบันลือ ตันติวิท ประธานสภาจังหวัดภูเก็ตเห็นพ้องต้องกันที่จะจัดงานฉลอง ๒๐๐ ปีวีรสตรีเมืองถลาง จึงมีคำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ ๙๐๙/๒๕๒๖ แต่งตั้งคณะทำงาน เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ เช่น นายสกุล ณ นคร เป็นประธานคณะอนุกรรมการกิจกรรมประวัติศาสตร์ ผศ.ศึกษาสิชญ์ มณีพันธุ์ เป็นหัวหน้าโครงการสัมมนาประวัติศาสตร์ถลาง ผศ.ชัยเยนทร์ เมืองแมน หัวหน้า โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง นางสิรินพัณ พันธุเสวี เป็นประธานโครงการ สร้างป้ายโบราณสถาน นายบรรเจิด ประทีป ณ ถลาง เป็นประธานโครงการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ถลาง รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ เป็นหัวหน้าโครงการจัดนิทรรศการประวัติศาสตร์ถลาง นายจิต เอียดสังข์ เป็นประธานโครงการมหกรรมแสง เสียงและการแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ถลาง นายสุมน คงสวัสดิ์ เป็นประธานโครงการทัศนศึกษาเมืองถลาง และนายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นประธานอนุกรรมการฝ่ายวิชาการประวัติศาสตร์

       งานฉลอง ๒๐๐ ปีวีรสตรีเมืองถลาง ที่จัดในปี พ.ศ.๒๕๒๗ - ๒๕๒๘ เป็นเหตุให้ค้นพบพระในพุงที่วัดพระนางสร้าง กำแพงเมืองถลางที่บ้านดอน ลายแทงวัดพระนางสร้าง กำแพงปะการังเมืองถลางบางโรง หลักเมืองถลางป่าสัก หลักเมืองถลางเลพัง เป็นต้น และแต่ละโครงการก็มีสิ่งที่ปรากฏเป็นรูปธรรมจำนวนมากรายการ เช่น ต้นแบบ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ป้ายบ้านท้าวเทพกระษัตรี การซ่อมแซมวิหารพระในพุง เป็นต้น ในแต่ละสถานที่ที่พบเหล่านี้และแต่ละโครงการต้องใช้งบประมาณผูกพันเป็นจำนวนมาก ในช่วงฉลอง ๒๐๐ ปีวีรสตรีเมืองถลางนั้น นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ ได้มอบหมายให้มีคณะทำงานหารายได้เพื่อเป็นกองทุนดำเนินงานทางด้านประวัติศาสตร์ ถึงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๒๘ มีเงินกองทุนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ๗๖,๕๒๘.๑๗ บาท กองทุนสนับสนุนงานประวัติศาสตร์ ๒๐๑,๒๗๙.๒๒ บาท รายได้จากของที่ระลึกแก้วและเสื้อยืด ๓๖๐,๑๒๙.๙๒ บาท และอื่น ๆ รวมแล้วประมาณ ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท

       เนื่องจากไม่มีระเบียบการเบิกจ่าย การใช้จ่ายเงินจึงขาดความรัดกุม ปลายปี ๒๕๓๔ กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ได้เข้าปรึกษาหารือกับ ศ.ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตในปีนั้น จากการปรึกษาหารือในครั้งนี้ จึงได้แนวคิดว่า น่าจะมีกองทุนที่มีกรรมการและระเบียบการใช้จ่ายเงินอย่างเป็นระบบ มิให้เงินทุนร่อยหรอลง

 

ปฐมเหตุแห่งการมีมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

 

วันถลางชนะศึก ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ศ.ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี และนายบัญญัติ จริยะเลอพงษ์ สจ.ในเขตท้องที่อำเภอถลาง เป็นกำลังสำคัญในการประสานงานจัดแสดงละครประกอบแสงเสียง ณ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร มีผู้ร่วมแสดงจำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ คน ผู้แสดงนำ เช่น นางจรูญรัตน์ ตัณฑวณิช และนางสุธิดา ปาลิมาพันธ์ แสดงเป็นท้าวเทพกระษัตรี นางนันทวัลย์ ขอศานติวิชัย และนางสาวกุลศิริ โอภาสกรกุล เป็นท้าวศรีสุนทร ผู้กำกับการแสดงคือ นายโยธิน ปาลิมาพันธ์ และอาจารย์สาวิตร พงศ์วัชร์ ได้เงินเข้ากองทุนสุทธิ..................... บาท
วันที่ เดือน....................... ๒๕๓๕ ศ.ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี เชิญคณะกรรมการปรึกษาหารือการจัดตั้งมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ที่โรงแรมเพิร์ล ที่ประชุมได้พิจารณาตราของมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร มีมติให้มีรูปท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรยืนคู่ในซุ้มบัวแก้ว และข้อความมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

       วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๕ ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ครั้งที่ ๒ ที่ห้องศรีตรัง โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน พิจารณารับรองตรามูลนิธิ และวัตถุประสงค์ ดังนี้

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อจัดกิจกรรมเทิดทูนวีรกรรมของท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรและวีรชน
๒. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมและวิชาการทางประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี
๓. เพื่อสนับสนุนกิจการด้านการศึกษา การให้ทุนแก่เยาวชนทั้งในด้านการศึกษาและการพัฒนาอาชีพ
๔. เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ
๕. เพื่อสงเคราะห์คนชราและผู้ยากไร้
๖. เพื่อกิจการสาธารณประโยชน์หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อกิจการสาธารณประโยชน์
๗. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด


       คณะกรรมการมูลนิธิ ฯ ได้มีมติใช้ตรา อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ประดิษฐานในซุ้มบัวแก้ว เป็นตราที่ประยุกต์จากตราฉลอง ๒๐๐ ปีวีรสตรีเมืองถลาง ซึ่งอาจารย์สิรินพัณ พันธุเสวี เป็นผู้ออกแบบ

 

 

บันทึกพัฒนาการ

โครงการพัฒนาอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก

ความเดิม


 กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จได้ศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่าบริเวณพื้นที่ระหว่างบ้านดอน บ้านเคียน บ้านเหรียงและบ้านหินรุ่ยเป็นสมรภูมิระหว่างเมืองถลางกับพม่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘  ผู้นำทัพฝ่ายเมืองถลางคือท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร เมืองภูเก็จ พญาถลางทองพูน  ฝ่ายพม่ามียี่หวุ่นกับทหาร ๓,๐๐๐ คน  สมรภูมิรบอยู่รอบโคกม่า


 พ.ศ.๒๕๒๔ กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จขอให้อาจารย์สิรินพัณ(ต้อย) พันธุเสวีออกแบบอนุสาวรีย์ที่จะสร้างบริเวณโคกม่า  อาจารย์สิรินพัณ พันธุเสวี ออกแบบโดยนำเอาหอกเมืองถลางจากบ้านนางชม (ฤกษ์ถลาง)วุฒิมงคล เป็นแบบ รูปทรงคล้ายอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รอบอนุสาวรีย์เป็นหุ่นชาวถลางในอิริยาบทต่าง ๆ


 พ.ศ.๒๕๒๕ รัฐบาลประกาศฉลอง ๒๐๐ ปีรัตนโกสินทร์  นายแนบ ทิชินพงศ์  เสนอภาพจิตรกรรมศึกถลาง ๒๓๒๘ เป็นภาพท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรอยู่บนตั่ง รับพระบรมราชโองการ นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต สำเนาภาพให้กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จชื่นชม เป็นเหตุให้นายประสิทธิ ชิณการณ์ ขุมทรัพย์วัฒนธรรมเมืองภูเก็จ และนักประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ กังวลใจ เกรงว่าท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรจะถูกกล่าวหาว่าไม่รู้จักที่สูงที่ต่ำ อาจเอื้อมขึ้นนั่งบนที่สูงรอรับพระบรมราชโองการ  ส่วนข้าราชการผู้นำพระราชโองการยืนอ่านบนพื้นบ้านห้องรับแขก  นายแนบ ทิชินพงศ์ ยอมรับที่จะแก้ไข  สืบเนื่องจนกระทั่ง อบจ.ภูเก็ต ได้ซื้อภาพจิตรกรรมศึกถลางในวงเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จได้ตั้งชื่อทั้ง ๔ ภาพตามลำดับคือ อธิษฐาน ระดมพล ออกศึก และรับพระบรมราชโองการ เสนอภาพครั้งแรกที่อาคารวิทยาลัยชุมทชนภูเก็ตเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๒๘


 พ.ศ.๒๕๒๖ กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ เสนอจังหวัด(นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต)และ อบจ.ภูเก็ต(สมัยนายบันลือ ตันติวิท เป็นประธานสภาฯ) ฉลอง ๒๐๐ ปี วีรสตรีเมืองถลาง ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ และเสนอจัดสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองถลางในปี ๒๕๒๗


 พ.ศ.๒๕๒๗ จากการเตรียมสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองถลางได้พิจารณาชื่อสมรภูมิศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ ที่ชาวบ้านเรียกสืบมาว่า โคกม่า เปลี่ยนเป็นโคกชนะพม่า เพราะเกือบทุกสถานที่ที่พม่าเข้าตีเมืองไทยทางภาคใต้  ต้องประสบความพ่ายแพ้แก่พม่าข้าศึกทั้งหมดคือเมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองกระบุรี(ระนอง) เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และค่ายปากพระ มีเพียงสถานที่เดียวเท่านั้นที่ชนะศึกก็คือโคกชนะพม่าในอำเภอถลาง  แต่ในช่วงสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองถลาง  ที่สัมมนาเห็นพ้องต้องกันให้ลดความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก  ด้วยเหตุผลที่ยังคงรักษาชัยชนะไว้เป็นเกียรติแก่เมืองถลางซึ่งเป็นสถานที่เดียวที่ได้รับชัยชนะ


 พ.ศ.๒๕๒๘ จังหวัดภูเก็ตเป็นแกนนำฉลอง ๒๐๐ ปี วีรสตรีเมืองถลาง  นายสกุล ณ นคร เป็นประธานอนุกรรมการจัดแสดงละครประวัติศาสตร์เมืองถลางประกอบแสงสีเสียงเป็นครั้งแรกของจังหวัดภูเก็ต  รศ.ฉลอง ภิรมย์รัตน์ อธิการวิยาลัยครูภูเก็ต เป็นประธานอนุกรรมการจัดนิทรรศการ  หลังการจัดงานฉลองในครั้งนี้ก่อให้เกิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง(สมัยนายมานิต วัลยะเพ็ชร์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต) และกำเนิดมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร(ในสมัย ศ.ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต)

 

บทบาทมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

 

สืบเนื่องจากการจัดสัมมนาประวัติศาสตร์ถลาง ครั้งที่ ๒ เรื่อง “ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร” โดยมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร (มทศ) เมื่อวันที่ ๒๓-๒๕ กรกฎาคม  ๒๕๓๙  ได้มีการชี้แหล่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ถลางตามข้อสันนิษฐานของผู้เข้าร่วมสัมมนา  นายเลียบ  ชนะศึก นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภูเก็จของมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ได้นำสืบพื้นที่ที่ทุ่งนาหลวง ๙๖ ไร่ บริเวณบ้านเหรียงว่าเป็นทุ่งสมรภูมิรบ พ.ศ.๒๓๒๘  โดยให้เหตุผลจากข้อสันนิษฐานว่าพม่าเข้ามาทางอู่ตะเภาตั้งค่ายอยู่นาโคกม่า 

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ กรรมการมูลนิธิฯ เริ่มมีการประชุมเพื่อนำพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ และปลุกสำนึกให้เกิดการยอมรับของชุมชน โดยมอบให้คุณชาญ วงศ์สัตยานนท์และอาจารย์สมหมาย  ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม และให้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของกรรมการมูลนิธิฯที่จะบวงสรวงบรรพวีรชนเมืองถลาง(เซ่นไหว้ตายายผีถลาง)ที่วัดม่วงโกมารภัจจ์ในวันที่ ๑๒ มีนาคม และส่งตัวแทนไปเชิญธงถลางชนะศึกทุกวันที่ ๑๓ มีนาคมของทุกปี  เพื่อประกาศพื้นที่ประวัติศาสตร์ถลางสู่ศรัทธามหาชน


ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จัดการแข่งขันไตรกีฬาบนเส้นทางประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรก  เริ่มจากพื้นที่ในจังหวัดพังงา  สิ้นสุดที่พื้นที่ประวัติศาสตร์โคกชนะพม่า


ปีพ.ศ. ๒๕๔๓ มูลนิธิฯเสนอโครงการอนุสรณ์สถานถลางชนะศึกแก่ อบจ.ภูเก็ต(น.พ..ประสิทธิ์ โกยสมบูรณ์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต) เป็นการนำเสนอโครงร่างแนวคิดในการพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์แบบมีชีวิต (Live museam)  เช่น  ประกอบด้วยอนุสาวรีย์ ๙ ท่าน  บ้านท้าวเทพฯ วัดพระนางสร้าง และพื้นที่เพื่อแสดงวิถีชีวิตในสมัยนั้น แต่ยังไม่ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดูแลพื้นที่ ใครจะเป็นผู้ขอพื้นที่จากกรมธนารักษ์  อบจ.ภูเก็ตตั้งงบประมาณจัดจ้างสถาปนิกออกแบบภูมิสถาปัตย์


ปี ๒๕๔๔ จ้างผู้ออกแบบบริษัท East&West  สำรวจพื้นที่ โดยมีกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จและมูลนิธิฯช่วยพิจารณาและให้ข้อมูลแก่ผู้ออกแบบตามแนวคิดของมูลนิธิฯ


ปี ๒๕๔๕  บริษัท East&West  ส่งแผนแม่บทเสนอ อบจ.ภูเก็ต โดยยังมีบางส่วนที่กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จยังมีข้อขัดแย้ง เช่น พระบรมธาตุไชยา


ภาคเอกชน โดยนายปมุข อัจฉริยฉาย และนายชัยสิทธิ์ ขอศานติวิชัย เป็นแกนนำจัดงานการกุศลหาเงินเข้ากองทุนพัฒนาอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก ของมูลนิธิฯเป็นเงินกว่า ๓ แสนบาท


ปี ๒๕๔๖ อบจ.ภูเก็ตให้งบขุดคลองเพื่อเป็นแสดงแนวเขต แต่ทราบว่ายังกันบริเวณไว้อีก ๓ เมตรเพื่อเป็นกันชนกับเจ้าพื้นที่โดยรอบ และขอให้ รพช.ช่วยสร้างถนนตามแบบ


ปี๒๕๔๗ รพช.สร้างถนนให้ โดยมูลนิธิฯซื้อที่ดินจากนายปรีชา  ทองสมบัติ และขอให้ทำหนังสืออุทิศให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ มีการพูดคุยปัญหาเรื่องการสร้างถนนขวางแนวทางน้ำซึ่งจะก่อให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณบ้านเหรียง 


๑๖ ก.ค. ๒๕๔๗ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการให้มีการก่อสร้างโครงการพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรงค์  ฉายแสง ไปพิจารณารายละเอียด ภายใต้การดำเนินการโครงการจัดตั้งสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ


๒๒ ก.ย. ๒๕๔๗ จังหวัดภูเก็ตและ อบจ.ภูเก็ต ประชุมร่วมกันเสนอให้กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานดำเนินงานโครงการ พร้อมของบประมาณ ๓๐๐ ล้านบาท และให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดติดตามงบประมาณ   แต่ไม่ได้รับการจัดสรร


๑๙ พ.ค. ๒๕๒๘ มูลนิธิฯทำหนังสือขอบริจาคพื้นที่ทำถนนเข้าโครงการอนุสรณ์สถานถลางชนะศึกจากนายณรงค์ ปัทมะเสวี ประธานกรรมการบริษัทไตรอีเกิลส์ จำกัด  แต่ได้รับการปฏิเสธเรื่องการยกให้  แต่ขอให้ในลักษณะภาระจำยอม  มูลนิธิฯจึงแจ้งไปยัง อบจ.ภูเก็ต (นางอัญชลี วานิช เทพบุตร  เป็นนายกฯ) ตามหนังสือ มทศ. ๔๓/๒๕๔๘  เพื่อดำเนินการต่อไป  แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป
ตลอดปีตั้งแต่ได้ของบประมาณไปมีความพยายามของกลุ่มคนในพื้นที่ โดยมีนายอำพล สกุลจันทร์  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอถลางเป็นแกนนำ พยายามติดตามของบประมาณ ทั้งทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อทวงถาม และเป็นแกนนำปลูกต้นไม้ในบริเวณพื้นที่
ปี ๒๕๔๙ อบจ.ภูเก็ต ตั้งงบประมาณจัดจ้างอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรมาออกแบบ วางแนวคิด


๒๓ ก.พ. ๒๕๕๐ มูลนิธิฯเชิญญาติสายสกุลผู้ร่วมสร้างวีรกรรมปกป้องแผ่นดินถลาง เพื่อรับทราบการจะสร้างอนุสาวรีย์และหารูปหน้าสายสกุลเพื่อมาเป็นต้นแบบในการปั้นหุ่น


๙ ก.ย. ๒๕๕๐ ผู้ว่าราชการจังหวัด (นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร )เรียกประชุมเพื่อหาข้อยุติความเป็นเจ้าของพื้นที่ ๙๖ ไร่ ได้ข้อสรุปว่าให้ อบจ.ภูเก็ต  อบต.เทพกระษัตรี และเทศบาลตำบลเทพกระษัตรีเป็นเจ้าของร่วมและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการร่วมในการพัฒนา ให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นเลขานุการ  ซึ่งกรมธนารักษ์ได้มีหนังสือมอบที่ดินดังกล่าวให้แก่ ๓ หน่วยงานเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๑


๔ พ.ย. ๒๕๕๐ ประชุมร่วมระหว่าง อบจ.ภูเก็ต มูลนิธิฯ กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อรับข้อมูล ฟังความคิดเห็น เพื่อการออกแบบ


๒๒ ก.พ. ๒๕๕๑  อบจ.ภูเก็ตจัดฟังประชาพิจารณ์ โดยการนำเสนอของอาจารย์ผู้รับจ้าง ได้นำเสนอแบบให้เลือก ๓ รูปแบบ มีการแบ่งพื้นที่การใช้งานทั้งหมด  การนำเสนอครอบคลุมด้านต่าง ๆ แบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต  CD presentation น่าจะอยู่ที่ อบจ.ภูเก็ต
๑๒ มี.ค. ๒๕๕๑ ทอดผ้าป่าหารายได้พัฒนาอนุสรณ์ฯโดยมีนายจเด็จ อินสว่างเป็นประธาน โดยการทำงานของกลุ่มสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง ได้เงินประมาณ ๑ ล้านบาท มอบให้นายอำเภอถลางเป็นประธานในการดูแลเงินดังกล่าว

๑๘ มิ.ย. ๒๕๕๑ อบจ.ภูเก็ต โดย ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการแทนจัดประชุมเพื่อสร้างทีมงานพัฒนาโครงการต่อ โดยให้นำรูปแบบที่บริษัท East&West (ที่เสนอของบประมาณ)มาพัฒนาต่อ เพื่อให้เกิดความคืบหน้า  ผลจากการประชุมไม่เป็นรูปธรรม


๒๒ ต.ค. ๒๕๕๒  สภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง  หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ถลางจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่  เสนอให้มีการประกวดออกแบบภูมิสถาปัตย์     เสนอขอพระราชทานชื่อสถานที่ ๙๖ ไร่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     เสนอร่างให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อการทำงานให้เป็นรูปธรรมโดยจะขอนำเสนอให้ท่านผู้ว่าราชการลงนามแต่งตั้ง

 

๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ผู้อำนวยการหมายเหตุรักษ์ มทศ. เสนอให้ใช้ PHUKET HISTORICAL PARK : Thalang จากชื่ออนุสรณ์สถานเมืองถลาง

๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ มทศ.มอบตู้เก็บรักษาธงถลางชนะศึกให้หอสมุดข่อย "เลียบ ชนะศึก"  สมหญิง ชนะศึก บุตรีนายเลียบ ชนะศึก เป็นผู้รับ

พฤษภาคม ๒๕๕๔  ปรับปรุงคณะกรรมการมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

 

 

มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

ประชุม ดังนี้

วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๒ ๑๐๐ ปีถนนเทพกระษัตรี

วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๓

วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๓

วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓

วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๔  ณ บริษัทอนุภาษและบุตรจำกัด

มทศ.จห.๑๒๐ เชิญประชุมวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๔

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔  ณ บริษัทอนุภาษและบุตรจำกัด

วันพุธที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๔ ณ บริษัทเจ็ตทัวร์

 

ประชุมสามัญประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔ ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน

มทศ.ประชุมร่วมจังหวัดงานวัฒนธรรมท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร เมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต สมเกียรติรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธาน

มทศ.ประชุมร่วมจังหวัดงานวัฒนธรรมท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร เมื่อ ๓ มีนาคม ๒๕๕๔ ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต สมเกียรติรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธาน

 

มทศ.จัดระดมความคิดเห็นสร้างอนุสาวรีย์ถลางในอนุสรณ์สถานเมืองถลาง เมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน

 

ปี พ.ศ. ๒๕๕๕  มทศ.ประชุม ดังนี้

วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ ประชุม มทศ. ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๕ ศ.ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี ประธานมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ประชุมเตรียมงานท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

ประชุม มทศ. อัญเชิญพระศรีมหาโพธิ์ หนังสือนำแจ้งแสดงเจตจำนง

 

ฝากรูป 

https://plus.google.com/photos/112157022403419502249/albums/5719913611147649777#photos/112157022403419502249/albums/5719937289091682689

มทศ.วางพวงมาลา

ปี พ.ศ. ๒๕๕๕๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕; วันถลางชนะศึก

ปี พ.ศ.๒๕๕๔

 

 

.

.

.

.

ภาพอัญเชิญธงมิตรภาพแห่งสันติสุข

 

 

***

หมายเหตุภูเก็จ

พจนสารอันดามัน

สารานุกรม มทศ.ภูเก็ต

ประวัติศาสตร์ ข้อมูลภูเก็ต phuket data แถว6

Wathi Doctor Joom Rung

Nok Panitsara Khun Note

phuketdata ID118 ประวัติศาสตร์ ข้อมูลภูเก็จ

Suwan Bannop Banniang 01-3

ID127 มทศมทศมทศมทศมทศมทศ

เจาะลึกฅนใน มทศ. Contact Us

มทศมทศ

มูลนิธิ มทศ. 58 124

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พุธ, 28 มีนาคม 2018 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้2315
mod_vvisit_counterเมื่อวาน4265
mod_vvisit_counterทั้งหมด11275292