ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร |
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ. | |
อังคาร, 12 กุมภาพันธ์ 2008 | |
ท้าวเทพกระษัตรี – ท้าวศรีสุนทร
ท้าวเทพกระษัตรี (จัน) พี่ ท้าวศรีสุนทร (มุก) น้อง ทั้งสองเป็นวีรสตรีสามัญชนชาวใต้แท้ โดยสายพันธุ์ชาติบรรพ์นักปกครองและเป็นวีรสตรีไทยสามัญชน สองท่านแรกของชาติไทยที่ได้รับการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์ถาวรเด่นสง่าผงาดผ่าเผย เป็นที่เคารพสักการะน้อมรำลึกถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของท่านท้าวทั้งสองในการปกป้องรักษาเมืองถลาง รักษาเอกราชของชาติของแผ่นดินที่อริราชศัตรูรุกล้ำเข้าโจมตีหวังยึดครองดังเหตุการณ์ปรากฎที่ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดารเมืองถลางอย่างชัดเจนละเอียดแล้ว ได้บอกให้เรียนรู้ว่า พระเจ้ากรุงอังวะ ( พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า:ผู้บันทึก) สั่งให้บุกทัพเข้ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายใต้พร้อมกันทั้ง ๒ ฝั่งของไทยใน พ.ศ. ๒๓๒๘ โดยแบ่งกองทัพบกเข้าตีเมืองกระบุรี ชุมพร ไชยา ตลอดลงไปจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นกองทัพไทยในเมืองพระนคร(เมืองหลวง) ยังติดพันการศึกอยู่ที่กาญจนบุรี ยกลงมาช่วยรบไม่ทัน เมืองกระบุรี เมืองชุมพร เมืองไชยาและเมืองนครศรีธรรมราช จึงปราชัยแก่ข้าศึก ส่วนทัพเรือก็บุกเข้าตีได้เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง แล้วยกเลยไปตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้ ประจวบกับขณะเดียวกันนั้น พระยาถลาง (เจ้าเมืองถลาง : ผู้เขียน) ถึงแก่อนิจกรรมยังไม่มีการแต่งตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ ภริยาพระยาถลางชื่อ จัน กับน้องสาวชื่อ มุก จึงคิดอ่านการศึกกับกรมการเมืองทั้งปวงให้ตั้งค่ายใหญ่ขึ้น ๒ ค่าย ไว้ป้องกันรักษาเมือง ฝ่ายพม่าล้อมเมืองอยู่เดือนเศษ ก็ยังตีหักเข้าเมืองไม่ได้ เมื่อหมดเสบียงอาหารก็ให้เลิกทัพกลับไป สงครามครั้งนี้เรียกว่า “สงคราม ๙ ทัพ “ สำหรับเมืองถลางต่อมามีการสู้รบกับพม่าอีกหลายครั้ง ซึ่งมาในรูปแบบกองโจร จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ต้นรัชกาลที่ ๓ เมืองถลางจึงแตกถูกพม่าปล้นฆ่าเผาทำลายอาคารบ้านเมือง ป้อมกำแพงจนหมดสิ้น เมืองถลางกลายเป็นเมืองร้าง ท้าวเทพกระษัตรี (ท่านผู้หญิงจัน) ท้าวศรีสุนทร (คุณมุก) พญาถลางเทียน (พญาเพชรคีรีศรีพิไชยสงครามรามคำแหง) เมืองภูเก็จ พญาทุกรราชเทียน (จดหมายพญาเทียน)
ด้วยวีรกรรมผู้นำกองทัพ ชาวเมืองทั้งหญิงชาย รบพม่าจะประสบความสำเร็จชำนะพม่าข้าศึกครั้งยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยปรากฏว่าในประวัติศาสตร์ไทยสตรีสามัญท่านใดที่มีจิตใจแกล้วกล้า อาจหาญ เฉลียวฉลาดในเชิงยุทธ์ สามารถนำพากองทัพออกรบกับกองทัพอริราชศัตรู ต้องเลิกทัพหนีกลับไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงพระราชทานเครื่องยศสถาปนาให้ จัน เป็น ท้าวเทพกระษัตรี ให้ มุก เป็น ท้าวศรีสุนทร วีรสตรีไทยให้เป็นเกียรติยศสืบไป เป็นที่ภาคภูมิใจของวงศ์ตระกูลและชาวเมืองถลาง เมืองภูเก็ตตลอดมา แต่ชาวเมืองทั่วไป เรียกขานกันสั้น ๆ ว่า ย่าจัน(ท่านผู้หญิงจัน) ย่ามุก(คุณมุก) วีรกรรมของวีรสตรีทั้ง ๒ ท่าน อันแสดงถึงความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว โดดเด่น ของท่านท้าวนั้น แม้กาลจะล่วงเลยมานาน ถึง ๒๑๗ ปี แล้ว ก็ยังเป็นที่ระลึกถึงและกล่าวขานกันไม่วางเว้นของประชาชนทั้งชาวถลางและภูเก็ตเสมอมา ด้วยเหตุนี้จึงได้พร้อมใจร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ของท่านท้าวทั้ง ๒ ขึ้นไว้ โดยประดิษฐาน ณ บนแท่นคอนกรีตประดับหินอ่อน องค์อนุสาวรีย์มีรูปพรรณลักษณะยืนเคียงคู่กัน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์รมดำ ขนาดใหญ่เท่าครึ่งตัวจริง ทรงผมดอกกระทุ่มหวีเสย สวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ปกคอสั้นปล่อยชายเสื้อคลุมตะโพกคล้องสะไบเฉียงรอบคอย้อยผ้าลงเป็นรูปไขว่ทับพันรัดใต้ราวนมทั้ง ๒ นุ่งผ้าโจงกระเบน ชายล่างอยู่ในระดับครึ่งแข้ง มือขวาท้าวเทพกระษัตรีกุมด้ามดาบไม่หุ้มฝัก แขนแนบตะโพก ปลายดาบชี้เยื้องออกเป็นมุมฉากกับลำแขนไปทางขวา มือซ้ายงอข้อศอกขึ้นจับแขนขวาตรงกึ่งกลางระหว่างข้อศอกกับข้อมือของท้าวศรีสุนทร ในลักษณะยึดไว้ ส่วนมือซ้ายของท้าวศรีสุนทรปล่อยวางแนบลำตัวลงไปไม่ถืออะไร มือขวาถือกำดาบ เช่นเดียวกับท้าวเทพกระษัตรีอยู่ในท่าที่เตรียมพร้อมเข้ารบข้าศึก ทั้ง ๒ ยืนคู่กันในท่าหันข้างให้กันนิด ๆ สายตาจ้องเพ่งตรงไปข้างหน้าทางด้านทิศเหนือ อนุสาวรีย์ประดิษฐานบนแท่นคอนกรีตทรงสี่เหลี่ยมคางหมูเท่ากันทั้งสี่ด้าน ประดับหินอ่อนสูง ๓ เมตร ตั้งถาวรอยู่ที่วงเวียนสี่แยกถนนเทพกระษัตรีตัดกับถนนศรีสุนทร ในเขตหมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๕ ตำบลศรีสุนทร (ทั่วไปเรียกว่า สี่แยกท่าเรือ : ผู้เขียน) อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยอัญเชิญมาประดิษฐานเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งเดิมได้หลักฐานว่าเป็นวันที่ตรงกับวัน ชัยชนะพม่าข้าศึกของชาวเมืองถลาง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๘ คือวันที่พม่าแตกทัพหนีไปจากเมืองถลาง (จากการศึกษาเอกสารหลายฉบับและจากจดหมายพระยาสุรินทราชา เทียบวันตามสุริยคติแล้ว วันถลางชนะศึกคือวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘) ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชการที่ ๙) ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี – ท้าวศรีสุนทร แห่งนี้ บนพนังฐานอนุสาวรีย์มีข้อความจารึกไว้เพื่อเทิดทูนเกียรติยศของท่านท้าวทั้ง ๒ และให้ผู้คนทั่วไปได้ทราบ มีใจความว่า ชีวประวัติท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๒๙ เล่ม ๔ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ สงขลา ( ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยทักษิณ ) ผศ.สงบ ส่งเมือง และ อาจารย์ดวงใจ เอช เรียบเรียง ให้ได้ศึกษาเรียนรู้ซึ่งขอนำเอามาถ่ายทอดเพื่ออ่านทั่วไปประจักษ์ดังต่อไปนี้ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นวีรสตรีที่สำคัญของเมืองถลางและขอชาติไทย เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ถือกำเนิดจากตระกูลเมืองถลาง ซึ่งมีอิทธิพลสูงสุดในเมืองถลาง ในระยะที่เมืองนี้มีฐานะเป็นศูนย์อำนาจปกครองหัวเมืองภาคใต้ชายฝั่งตะวันตกตั้งแต่ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ท้าวเทพกระษัตรีมีชื่อเดิมว่า “จัน” ส่วนท้าวศรีสุนทรมีชื่อเดิมว่า “มุก” ตามพงศาวดารเมืองถลาง ซึ่งเขียนจากคำบอกเล่าในปี พ.ศ.๒๓๘๔ โดยลูกหลานของตระกูลเมืองถลาง กล่าวถึงบิดามารดาของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรไว้ว่าสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองไทรบุรี ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งในพงศาวดารดังนี้คือ “…ได้รู้ได้เห็นเองว่าเมืองถลางแต่ก่อนนั้นจอมร้างบ้านตะเคียนเป็นเจ้าเมือง เมียจอมร้างเป็นแขกเมืองไทร หม่าเสี้ยลูกมะหุมเฒ่าก่อน ผัวตายเป็นหม้ายอยู่ มะหุมน้องบากมาเอาเงินมรดกห้าพันเศษ หม่าเสี้ยขัดใจไม่อยู่เมืองไทยมาอยู่เมืองถลางได้กับจอมร้างเป็นผัวมีลูกชาย ๒ คน หญิง ๓ คน รวม ๕ คน หญิงชื่อ จันเป็นท้าวเทพกระษัตรี หญิงถัดมาชื่อมุกเป็นท้าวศรีสุนทร…” และน้องคนอื่น ๆ ได้แก่ หมา เป็นหญิงกับน้องชายอีก ๒ คน คือ พระยาถลาง (อาด) กับพระพล เรือง กรมการเมืองถลาง แต่ในหนังสือประวัติท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร หรือประวัติตระกูล ณ ถลาง ซึ่งเขียนโดยขุนนรภัยพิจารณ์ ( ไวย ณ ถลาง ) สมาชิกคนหนึ่งในตระกูล ณ ถลาง เรียบเรียงไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ กล่าวไว้แตกต่างออกไปว่า บิดาของบุคคลทั้ง ๒ ชื่อจอมทองคำ เจ้าเมืองถลาง เป็นบุตรจอมร้างกับนางซาเรีย น้องสาวเจ้าเมืองไทรบุรี ส่วนมารดาชื่อ ศรีทองไม่ทราบชาติกำเนิด ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรซึ่งเป็นธิดาคนโตและคนรองของตระกูลเมืองถลาง จึงได้รับการเลี้ยงดูและฝึกฝนอบรมมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพื่อรับภาระอันหนักยิ่งของตระกูลเมืองถลางในการควบคุมดูแลไพร่พล ขุดหาแร่ดีบุกโดยการทำเหมืองขุด การแสวงหาเครื่องบริโภคและอุปโภคซึ่งขาดแคลนและหายากมากโดยเฉพาะข้าวที่ใช้เลี้ยงไพร่ซึ่งมีจำนวนมาก การหาตลาดเพื่อจำหน่ายดีบุก การแสวงหาอาวุธเพื่อป้องกันภัยจากโจรสลัดและพม่า การรักษาสถานภาพของตระกูล ในฐานะเจ้าเมืองถลางซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวพันกับดีบุกและกลุ่มบุคคลภายนอกคอยฉกฉวยแย่งชิงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจากไทรบุรี นครศรีธรรมราช พม่า ชาวอังกฤษ และรัฐบาลกลาง ตระกูลเมืองถลาง ของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลทั้ง ๒ ถึงแม้จะเป็นผู้หญิงแต่เป็นพี่ใหญ่ของครอบครัวของตนมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตามลักษณะโดยทั่วไปของครอบครัวทางภาคใต้ ถึงแม้จะถือว่าผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า แต่ลูกผู้หญิงคนโตก็ได้รับการฝึกอบรมให้เข้ารับภาระช่วยเหลือครอบครัวไม่น้อยไปกว่าผู้ชาย ไม่มีหลักฐานชั้นต้นใด ๆ ระบุวันเดือนปีเกิดของท้าวเทพกระษัตรีไว้ แต่สุนัย ราชภัณฑารักษ์ ได้สันนิษฐานไว้ในหนังสือท้าวเทพกระษัตรีว่าฯ ว่า ท้าวเทพกระษัตรีคงเกิดในราว พ.ศ.๒๒๗๘ หรือหลังจากนั้นประมาณไม่เกิน ๕ ปี โดยคาดเดาเอาว่าในปีที่เกิดศึกถลางในปี พ.ศ.๒๓๒๘ ท้าวเทพกระษัตรี คงจะมีอายุประมาณ ๕๐ ปี ตั้งแต่เกิดจนเติบโตเป็นสาว วิถีชีวิตของท้าวเทพกระษัตรีต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเกาะถลางที่สับสนวุ่นวายมากที่สุดยุคหนึ่ง ดังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารเมืองถลางตอนหนึ่งว่า “…ขุนนางเมืองถลางนั้นจอมเฒ่าอยู่บ้านดอน จอมร้างอยู่บ้านตะเคียน จอมเฒ่ากับจอมร้างเป็นลูกพ่อเดียวกันคนละมารดา ลูกหลานมะหุม อยู่บ้านดอนได้เป็นพระยาถลางเจียดทอง…เดิมแต่ก่อนบ้านดอนกับบ้านตะเคียนสามัคคีรสกันดีมีชื่อเสียงสืบกูลวงศ์เป็นเจ้าเมืองสืบมา ฝ่ายบ้านลิพอนจอมสุรินคิดมิชอบ จะตั้งตัวเป็นใหญ่ มีตราออกมาให้จับจอมสุรินฆ่าเสีย เป็นโทษขบถต่อแผ่นดินสิ้นเชื้อผู้ดีลงเมืองถลางว่าง พระยาถลางคางเซ้งชาวกรุงออกมาเป็นเจ้าเมือง พระยาถลางอาดเป็นเจ้าเมืองขึ้น เหตุการณ์ที่สับสนวุ่นวายข้างต้นได้กลายเป็นสิ่งเร้าช่วยกระตุ้นให้ท้าวเทพกระษัตรีกลายเป็นหญิงผู้กล้าหาญ มีไหวพริบที่จะต่อสู้เพื่อรักษาสถานภาพของครอบครัวอยู่ตลอดเวลา แม้แต่การแต่งงานครั้งแรกของท่านกับหม่อมศรีภักดีหรือนายภักดีภูธร ชาวเมืองตะกั่วทุ่งผู้มีอิทธิพลก็ต้องการจะสร้างความสัมพันธ์กับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งทางเมืองนครศรีธรรมราชส่งออกไปเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองตะกั่วทุ่ง คงราว ๆ ในระยะที่เมืองนครศรีธรรมราชตั้งตัวเป็นอิสระ หลังจากหม่อมศรีภักดีถึงแก่อสัญกรรมไม่นานนัก ท้าวเทพกระษัตรีได้แต่งงานใหม่กับพระยาพิมลอดีตเจ้าเมืองกระบุรี และกรมการเมืองคนสำคัญของเมืองชุมพรทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ตระกูลเมืองถลางกับขุนนางอิทธิพล ซึ่งเข้าใจว่าพระยาพิมลนั้นเป็นข้าหลวงมาจากเมืองหลวง เพราะภายหลังได้ส่งบุตรธิดาที่เกิดจากท้าวเทพกระษัตรี ๒ คน คือแม่ทองมากับนายเนียมเข้าไปถวายรับราชการฝ่ายในและฝ่ายหน้าในเมืองหลวง ดังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารเมืองถลางตอนหนึ่ง “…แล้วได้กับพระยาพิมล มีลูกหญิงชื่อแม่ทองมาไปถวายเป็นมารดาเจ้าครอกอุบลลูกถัดมาชาย…ชื่อนายเนียมเป็นมหาดเล็กครั้งแผ่นดินต้น…” ในเอกสารเมืองถลางซึ่งส่วนหนึ่งเป็นจดหมายส่วนระหว่างท้าวเทพกระษัตรีกับฟรานซิส ไลท์ได้บ่งบอกให้เห็นว่าบุคคลทั้ง ๒ มีความสนิทสนมกันมากมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาตลอดตั้งแต่ฟรานซิส ไลท์ ได้เป็นผู้ว่าเกาะปีนังแล้ว ดังตัวอย่างจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งท้าวเทพกระษัตรียังมีบรรดาศักดิ์เป็นเพียงท่านผู้หญิง มีไปถึงฟรานซิส ไลท์ตอนปลายปี พ.ศ.๒๓๒๗ ก่อนพม่ายกทัพมาตีเมืองถลางเล็กน้อย มีข้อความตอนหนึ่งว่า… ท้าวเทพกระษัตรีได้แยกกันอยู่กับพระยาพิมลระยะหนึ่ง คือช่วงที่พระยาพิมลไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ภายหลังจึงกลับมาเป็นเจ้าเมืองถลางและอยู่ร่วมกันอีก พระยาพิมลถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.๒๓๒๘ อันเป็นปีที่ ๔ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากที่พระองค์ทรงสถาปนากรุเทพฯเป็นนครหลวงแห่งใหม่ได้ ๓ ปีเท่านั้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีไทยหลายทาง(ที่เรียกว่าสงคราม ๙ ทัพ:-ผู้เขียน)ด้วยเข้าใจว่าไทยเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บ้านเมืองระส่ำระสาย พม่ายกทัพมาครั้งนี้มีเกงหวุ่นแมงยีหรือแกงวุ่นแมงยี อัครเสนาบดีเป็นแม่ทัพภาคใต้แยกเป็นทัพบก ทัพเรือ ทัพบกมุ่งตีหัวเมืองปักษ์ใต้ตามทางเดินทัพ คือ เมืองกระ (อำเภอกระบุรี จังหวัดระนองในปัจจุบัน) เมืองชุมพร ซึ่งก็สามารถตีเมืองทั้งสามได้ พม่าได้ริบทรัพย์สมบัติ เผาบ้านเรือนเสียหายยับเยินแล้วยกทัพต่อไปตีเมืองไชยา และเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งก็สามารถตีได้เช่นกัน สำหรับทัพเรือเมื่อตีหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตกอันได้แก่ ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งได้แล้ว ก็ยกทัพมุ่งมาตีเมืองถลางทันที เมื่อเจ้าเมืองถลางเพิ่งถึงแก่อนิจกรรมไปเช่นนี้ ก็ไม่มีเจ้าเมืองคอยบัญชาการรบ ท่านผู้หญิงจันและคุณมุกน้องสาวร่วมกับเจ้าเมืองภูเก็จ คือ พระยาทุกรราษฏร์ (เทียน) บุตรชาย และคณะกรรมการเมืองจึงเตรียมป้องกันเมืองถลางทันที ชัยภูมิของเมืองถลางในครั้งนั้นมีท่าเรือสำคัญอยู่ห่างออกไปเรียกว่า ท่าตะเภา ส่วนด้านหลังเมืองเป็นป่ารก ยากแก่การเข้าโจมตี ท่านผู้หญิงจันจึงแน่ใจว่าพม่าจะต้องยกทัพเรือเข้ามาทางท่าตะเภา แล้วโจมตีเมืองถลางทางด้านหน้า การป้องกันเมืองจึงได้กระทำที่จุดนี้ ในการวางแผนป้องกันเมืองนั้นมีการตั้งค่าย ๒ แห่ง คือที่บ้านค่ายแห่งหนึ่งและที่เกาะตะเคียนอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ก็มีกำลังไปตั้งมั่นอยู่หลังวัดพระนางสร้าง ความคาดหมายของท่านผู้หญิงจันมิได้ผิด เพราะพม่ายกทัพเรือมาทางท่าตะเภาจริง กำลังทัพพม่าในครั้งนี้มีมากกว่ากำลังเมืองถลางมากนัก ท่านผู้หญิงจันจึงคิดอุบายที่จะทำให้พม่าเกรงกลัวไม่กล้ายกตีเมืองถลางโดยกลางวัน ท่านผู้หญิงจันเลือกหญิงวัยกลางคนจำนวนร้อย ๆ คนให้แต่งตัวเป็นชายถือปืน แล้วท่านผู้หญิงจันกับนางมุกก็แต่งตัวเป็นชายขึ้นคานหาม โห่ร้อง ทำทำจะเข้าตีพม่า พม่าเห็นดังนั้นก็ออกมานอกค่ายจึงถูกปืนจากฝ่ายเมืองถลางล้มตายหนีเข้าค่ายไป ครั้นพอกลางคืนท่านผู้หญิงจันก็ส่งให้ทหารลอบออกไปซ่อนตัวภายนอก พอรุ่งเช้าก็จัดขบวนเดินเข้าค่าย ทำอย่างนี้อยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้พม่าสำคัญผิดว่าชาวเมืองถลางมีกำลังมาหนุน พม่าก็รู้สึกเกรงกลัว ไม่กล้ายกทัพเข้าตี จึงได้แต่ล้อมเมืองถลางไว้ เมื่อล้อมอยู่นานถึง ๑ เดือน เสบียงอาหารก็ร่อยหรอ พวกพม่าเองก็ถูกชาวถลางฆ่าไปหลายร้อย แม่ทัพพม่าจึงสั่งให้ถอยทัพกลับในวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเส็ง ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๘ จะเห็นได้ว่าท่านผู้หญิงจันนั้นแม้เป็นหญิงแต่ก็มีใจเด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง กล้าหาญ เป็นคนฉลาด มีไหวพริบดี กลอุบายดี และแน่นอนว่ากำลังทางด้านอาวุธที่ใช้ในครั้งนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากฟรานซิส ไลท์มาก่อนส่วนหนึ่ง เมื่อพม่าเลิกทัพไปแล้ว คณะกรรมการเมืองก็ได้มีใบบอกเล่าเหตุการณ์รบให้คนนำไปกราบทูลกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งเสด็จยกพลมาทางบก ประทับอยู่ที่สงขลาฉบับหนึ่งอีกฉบับหนึ่งได้นำไปกราบทูลพระบาทสมเด็จฯพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯให้ท่านผู้หญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรีและนางมุกเป็นท้าวศรีสุนทร แล้วทรงแต่งตั้งพระยาทุกรราษฏร์ (เทียน)บุตรชายคนโตของท่านผู้หญิงจันเป็นพระยาถลางสืบต่อไป พระยาถลาง (เทียน) ผู้นี้ได้มีบุตรหลานสืบตระกูลต่อมาจนปัจจุบัน คือ สกุล ประทีป ณ ถลาง ท้าวเทพกระษัตรีมีบุตรธิดาทั้งหมด ๗ คน เป็นบุตรธิดาจากสามีคนแรก คือหม่อมศรีภักดี ๒ คน คือ คนโตเป็นหญิงชื่อปราง คนรองเป็นชายชื่อเทียน ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยาถลาง (เทียน) หรือรู้จักกันทั่วไปว่า “พระยาถลางหืด” เป็นต้นตระกูล ประทีป ณ ถลาง และบุตรธิดาจากสามีคนที่ ๒ คือ พระยาพิมล (ขัน) ๕ คน คือ คนโตชื่อทองมา ได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๑ คนที่ ๒ เป็นชายชื่อจุ้ย ได้เป็นพระยายกกระบัตรเมืองถลาง คนที่ ๓ ชื่อเนียม เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๑ คนที่ ๔ และคนที่ ๕ ชื่อแม่กิ่มและแม่เมือง เป็นหญิงทั้ง ๒ ไม่ได้รับราชการ ในหนังสือประวัติท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร หรือประวัติตระกูล ณ ถลาง กล่าวถึงครอบครัวท้าวศรีสุนทรไว้ว่า “…เมื่ออายุพอสมควร บิดาจัดการให้คุณมุกหรือท้าวศรีสุนทร แต่งงานกับนายอาจ คนกรุงเทพมหานครที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านวังเมืองถลาง กับบิดาชื่อจอมพล และเมื่อพี่เขยได้เป็นเจ้าเมืองถลาง สามีของคุณมุกก็ได้เป็นปลัดผู้ช่วยร่วมกันปกครองบ้านเมือง ตัวคุณมุกเป็นหมันจึงไม่มีบุตรสืบตระกูล…”(กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จได้ตรวจสอบหลักฐานเทียบเคียง ไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานใดใกล้เคียงกับที่ระบุไว้) จากหลักฐานทั้งหมดที่ประมวลมา พอจะทำให้เห็นชีวประวัติและผลงานของท้างเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ซึ่งได้ดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จในชีวิตระดับหนึ่งอย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่มีการประเมินผลความสำเร็จของท่านทั้งสองในศึกถลางครั้งนั้นแล้ว การเขียนชีวประวัติและผลงานครั้งนี้คงไม่สมบูรณ์ ความสำเร็จในการรักษาเมืองถลางจองท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรในขณะที่เมืองถลางไม่มีเจ้าเมืองมีแต่ข้าหลวงของรัฐบาลกลางประจำอยู่ที่ทำเนียบปากพระ ชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ตรงข้ามกับเกาะภูเก็ต เมื่อเกิดศึกพม่าข้าหลวงเหล่านั้นต่างประสบชะตากรรมต่าง ๆ กัน คือ “พระยาธรรมไตรโลกรบกับพม่าที่ปากพระ พระยาธรรมไตรโลกตาย พระยาพิพิธโภไคย หนีไปทางเมืองพังงา” สภาพการณ์เช่นนี้ย่อมมีผลเกื้อกูลต่อความสำเร็จของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรให้โดดเด่นขึ้น พลังความสามัคคีของชาวถลางภายใต้การนำของวีรสตรีทั้ง ๒ ย่อมเป็นที่ประจักษ์แจ้งต่ออังกฤษและรัฐบาลกลางเป็นอย่างดี ฟรานซิส ไลท์เคยเสนอต่อบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ที่กัลกัตตาให้ยึดเกาะถลางเป็นสถานีการค้าของอังกฤษในการขยายกิจการค้าไปยังตะวันออกไกล แต่การที่ท้าวเทพกระษัตรีและชาวเมืองถลางได้แสดงวีรกรรมที่ห้าวหาญครั้งนั้นได้กลายเป็นเหตุผลสำคัญทำให้ฟรานซิส ไลท์และบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษหันไปเลือกเกาะปีนังซึ่งเป็นเกาะร้างไม่มีผู้คนแทน สำหรับทางฝ่ายรัฐบาลกลางได้ส่งข้าหลวงใหญ่คนใหม่ คือ “เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)”ออกมาประจำอยู่ที่ปากพระพร้อมด้วยกำลังไพร่พลมากกว่าเดิม หลังจากศึกถลางไม่นานนัก ชื่อของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร เริ่มหายไปจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ หลังจากปี พ.ศ. ๒๓๓๑ แล้วไม่พบหลักฐานว่ามีการติดต่อกับฟรานซิส ไลท์อีก หนังสือประวัติท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ได้กล่าวถึงวาระสุดท้ายของวีรสตรีทั้ง ๒ ไว้ว่า:- “…ท้าวเทพกระษัตรีถึงแก่กรรมที่เมืองถลาง บั้นปลายของชีวิตท่านอาศัยอยู่กับบุตรชายคนโตซึ่งเป็นเจ้าเมืองถลางที่วังท่าเรือ:- (ผู้เขียน) ส่วนท้าวศรีสุนทรตามหลานชื่อเนียมกับทองมาไปอยู่กรุงเทพมหานคร และถึงแก่กรรมในกรุง…” แต่ก็ไม่ทันพบหลักฐานเกี่ยวกับวัน เดือน ปี ที่ถึงแก่กรรมของวีรสตรีทั้ง ๒
ความบันทึกย่อต่อไปนี้ เป็นคำให้การของพลโท รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ นักปราชญ์ด้านประวัติศาสตร์ไทย อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ประธานกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ซึ่งกรุณาเป็นวิทยากรบรรยายรายงานผลการสัมมนาประวัติศาสตร์ครั้งที่ ๒ ประวัติท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร รวมเล่มพิมพ์เมื่อ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๓ ในหัวข้อ การบรรยายเรื่องความสัมพันธ์ของเมืองถลางกับธนบุรี กรุงเทพฯและเมืองนครศรีธรรมราช ในย่อหน้าสุดท้าย (เอกสารหน้า หน้า ๕) พลโท รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ บอกให้รู้กันว่า …มาพูดถึงถลาง กองทัพเรือพม่ามาตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งได้ ท่านผู้หญิงจันซึ่งถูกเกาะกุมตัวหนีมาได้ มาซ่องสุมที่เมืองถลางต่อสู้กบพม่าไม่น่าจะทัน ท่านน่าจะได้เตรียมการรบมาก่อน โดยรู้จากตะกั่วป่าว่าพม่ามาแน่แล้ว จึงมีการเตรียมทัพ ท่านท่านผู้หญิงจันเก่งมากในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การปกครอง ส่วนเรื่องการสู้รบเมืองถลางไม่มีกำแพงเมือง มีแต่เป็นค่ายที่ทำจากไม้เป็นเสาต้นใหญ่มาตั้งเรียกระเนียด ซึ่งน่าจะมีการทำไว้ก่อนการตั้งค่ายต้องอาศัยภูมิประเทศ ความแข็งแรงของไม้มาทำป้อม พม่าก็มีเป็นค่ายใหญ่น่าจะอยู่ที่โคกตะโหนด ซึ่งเป็นที่รวมเสบียงอาหาร ยุทโธปกรณ์ แจกให้แก่หมวดหมู่ให้ไปตี รุกได้ก็รุก รุกไม่ได้ก็ถอย ทำกันอยู่หลายวัน ผมไม่ทราบว่าท่านมีดีอะไรอยู่ พม่าไม่สามารถสู้ได้เลย ท่านเก่งแน่ ผมจึงเรียนว่า ผมภูมิใจในการเป็นคนภูเก็ต ได้แม่ทัพที่เก่งกล้าสามารถ แต่ในหนังสือบอกว่าพม่าอดอยากแล้วถอยเรือกลับ ไม่ใช่นะครับ พม่านั้นสู้ไม่ได้และอดด้วยจึงถอย และในรูปคณะของท่านผู้หญิงจันไล่ตีตามไปถึงหาดและมีเขียนด้วยว่าท่านผู้หญิงจันไล่ตีพม่าจนกระทั่งหนีลงเรือไป ลักษณะห้าวหาญอย่างท่านผู้หญิงจันคุณหญิงมุก คงไม่ให้พม่าถอยไปง่าย ๆ ท่านรู้ว่าพม่าอ่อนหิวโหย ท่านต้องตามแน่ ศึกจบลงในวันที่ ๑๓ มีนาคม รวมเวลาแล้วไม่ถึง ๒ เดือน ฉบับที่ ๓ ต่อ หนังสือท่านผู้หญิงถึงพระยาราชกปิตัน ในบรรทัดที่ ๗ “…บ้านเมืองเป็นจุลาจลอดข้าวปลาอาหารเป็นหนักหนา ตูข้ายกมาตั้งทำดีบุกอยู่ ณ ตะปำ ได้ดีบุกบ้างเล็กน้อย…” ”…แลอนึ่ง เมื่อพม่ายกมานั้น พญาธรรมไตรโลกให้เกาะเอาตัวตูข้าไปไว้ ณ ปากพระ ครั้นพม่ายกมาตีปากพระได้กลับแล่นหนีมา ณ บ้าน…” ข้อความตอนนี้ขัดแย้งกับที่ท่านพลโทรวมศักดิ์ค้านไว้ พลโทรวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ กล่าวต่ออีกว่า ก็เป็นอันว่ามาจากปากพระ ทั้งหมดที่นำมาบันทึกบอกเล่าแล้วนี้เป็นเพียงบทความสั้น ๆ โดยสรุปในเหตุการณ์ครั้งสำคัญเท่านั้น เพื่อให้รู้ว่าทำไมจึงต้องสร้างอนุสาวรีย์ให้ท่านทั้ง ๒ ประกอบด้วยยังมีผู้คนส่วนมากเมื่อมีโอกาสเดินทางผ่านอนุสาวรีย์นี้ก็มักจะพูดว่าในลักษณะไม่รู้จักประวัติและคุณความดีอันยิ่งใหญ่ของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรทีให้กับชาติบ้านเมืองมีประการใดท่านทั้ง ๒ ประกอบวีรกรรมอะไร เป็นต้น ผู้เขียนจึงมีดำริว่า เห็นควรเขียนหยิบยกเอาประวัติการสร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้ออกมาเผยแพร่เพื่อให้เป็นที่กระจ่างสำหรับผู้คนที่ยังไม่รู้จักดีนัก ก็เรียบเรียงเนื้อหาสาระในทำนองสรุปเอาอ่านในลักษณะเชิงส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ นอกเหนือจากนี้หากมีผู้อ่านหรือผู้สนใจปรารถนาจะศึกษาเรียนรู้ให้ลึกซึ้งละเอียดพิสดาร ก็ให้หาหนังสือประวัติความเป็นมาประวัติศาสตร์เมืองถลาง_ภูเก็ต ของผู้เขียนซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่สามารถไว้แล้วผู้เขียนยินดีให้เป็นวิทยาทาน เพื่ออุทิศกุศลกรรมที่ประพฤติปฏิบัตินี้แด่ดวงวิญญาณท่านท้าวเทพกระษัตรี(จัน)ท่านท้าวศรีสุนทร(มุก) ความเหี้ยมโหดและชอบรุกรานก่อสงครามกับประเทศเพื่อบ้าน(ไทย)หลายครั้งหลายหน ได้สร้างความเคียดแค้นชิงชังแก่ชาวไทยยิ่งนัก สมเด็จกรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ ๑ ได้พระราชนิพนธ์เพลงยาวนิราศ เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๖ ความว่า สดุดีวีรชนไทย จันมุกสองพี่น้อง หญิงถลาง คุณหญิงโมแม่เจ้า ชาวไทย อีสาน ของพระคุณเจ้าพระเทพญาณโมลี ปัตตานี
ของพระเจ้าบรมวงศ์กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ |
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 22 มีนาคม 2018 ) |
< ก่อนหน้า | ถัดไป > |
---|