Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
ศาสนาฮินดู PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 11 กุมภาพันธ์ 2008

ศาสนาฮินดู

 ศาสนาฮินดูได้เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชาวอินเดียกลุ่มแรกที่เข้ามาเป็นพ่อค้ามุ่งจะเข้ามาค้าขายโดยตรง  นอกจากนี้ยังมีนักปราชญ์ ราชบัณฑิตต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านศาสนา ได้เข้ามาในดินแดนแถบนี้ทำให้อิทธิพลของศาสนาฮินดูได้แพร่กระจายทั่วสุวรรณภูมิ  นอกจากนี้การอพยพครั้งใหญ่ของชาวอินเดียคือในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และสมัยพระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราช เข้ามายึดครองอินเดีย  ชาวอินเดียเหล่านี้จึงเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนต่าง ๆ แถบสุวรณภูมิมากขึ้น

 สำหรับชาวอินเดียที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูเก็ตนั้นส่วนหนึ่งหนีความแห้งแล้ง ยากจน ในอินเดียมาแสวงโชคในดินแดนใหม่  เป็นชนผิวดำ (ดราวิเดียน) จากรัฐทางตอนใต้ เช่น รัฐทมิฬนาดู รัฐมัทราช และบริเวณอ่าวเบงกอล (บังคลาเทศในปัจจุบัน)  จากคำบอกเล่าของนาย เอ็ม วี ลู (นายห้างร้านไพรัช สโตร์) ประธานมูลนิธิภูเก็ต ตันดายูดาปานี  ได้อธิบายว่าชาวอินเดียในภูเก็ตได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานประมาณ ค.ศ.๑๙๔๐  เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งมาจากอินเดียโดยตรง ส่วนหนึ่งเดินทางมาจากมาเลเซีย การนับถือศาสนาฮินดูเป็นการนับถือกันอยู่ในเฉพาะกลุ่มของชาวอินเดียเท่านั้น  ต่อมาเมื่อชาวอินเดียอพยพมาเพิ่มมากขึ้น และได้ตั้งหลักแหล่งที่มั่นคงจึงจัดให้มีวัดขึ้นบริเวณแถวน้ำ (ถนนภูเก็ต) เป็นห้องแถวไม้ บริเวณร้านปืนสุทินในปัจจุบัน   ต่อมาชาวอินเดียเหล่านี้ได้ร่วมกันบริจาคเงินในการสร้างวัดแห่งใหม่ทีมีบริเวณกว้างขวางกว่าเดิม  ประกอบกับนายจินนาย่า เจ๊ะตี  ประกอบอาชีพให้เงินกู้และรับซื้อเศษเหล็ก  ซึ่งมีฐานะดี เป็นผู้ที่ชาวอินเดียในภูเก็ตให้ความไว้วางใจ ได้นำเงินมาฝากนายจินนาย่า เจ๊ะตี เพราะสมัยนั้นธนาคารยังไม่แพร่หลาย มีเฉพาะที่ชาร์เตอร์แบงค์เพียงแห่งเดียว  เงินจำนวนมากที่นายจินนาย่า เจ๊ะตี  ได้รับฝากไว้ส่วนหนึ่งรวมกับเงินบริจาคซื้อที่ดินบริเวณถนนสุทัศน์  ซึ่งเป็นที่ดินที่สร้างวัดอินเดีย ตันดายูดาปานีในปัจจุบัน

 ชาวอินเดียในภูเก็ตนับถือพระพิคเนศ พระขันฑกุมาร พระลักษณมี การประกอบพิธีทางศาสนาที่สำคัญ คือวันประสูตรของพระที่บูชา ในวัด ๓ องค์ และพิธีทำบุญให้กับผู้ตาย ซี่งชาวฮินดูเรียกว่า วันเดือนสิบอินเดีย

 ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนานี้น้อยลง เนื่องจากชาวฮินดูในภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นลูกผสมที่เกิดในภูเก็ต  เป็นคนท้องถิ่นภูเก็ต ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับศาสนาฮินดูมากนัก ส่วนใหญ่จะหันมานับถือศาสนาพุทธมากขึ้น ศาสนาจึงขาดผู้สืบทอดและไม่สามารถอ่านคัมภีร์ทางศาสนาได้  จึงทำให้ความซาบซึ้งในศาสนาน้อยลง  ประธานมูลนิธิในปัจจุบัน คือ นายเอ็ม วี ลู เป็นผู้นำในการสวดมนต์ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และอุปการะวัดอินเดียแห่งนี้
 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้631
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1309
mod_vvisit_counterทั้งหมด10730239