Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
เพลงรองเง็ง : กัมปนาท ขำแก้ว PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย กัมปนาท ขำแก้ว   
จันทร์, 25 กรกฎาคม 2011

๑. เพลงรองเง็งนำรายการ
     : เพลงจินตาซายัง


๒. ร้อยกรอง
     : อันความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียน  แก้ได้เพียงมีดนตรีในใจเอย  (ดัดแปลงจาก "ตลิ่งโขง" : สุรชัย จันทิมาธร )


๓. บททัก
     : สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่ชื่นชอบเสียงดนตรีอันเสนาะและลึกซึ้งในสุนทรียของบทเพลงทุกท่าน
๔. บทนำ
     : ชนใดไร้ซึ่งดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก จากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


๕. บทเชื่อมโยง
     : สำหรับบทเพลงที่มีจังหวะเร้าใจ สนุกสนาน และใช้แสดงลวดลายการรำที่สวยงาม ต้องยกให้เพลงนี้เลย เพลงลาฆูดูวอ ครับ


๖. เพลงรองเง็ง ๒
     : เพลงลาฆูดูวอ http://www.youtube.com/watch?v=Bo5MYHOl9N4&feature=related


๗. บทเชื่อมโยง
     : บทเพลงที่มีจังหวะช้า ไพเราะและสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของพี่น้องชาวมุสลิมได้เป็นอย่างดี ต้องเป็นเพลงเมาะอีนังลามาเลยครับ


๘. เพลงรองเง็ง ๓
     : เพลงเมาะอีนังลามา http://www.youtube.com/watch?v=KgnGf_dZd_s&feature=related


๙. บทเชื่อมโยง
     : บทเพลงที่เปรียบเหมือนยอดแห่งความรักที่กำลังสดชื่น ให้จังหวะการเต้นที่ครึกครื้น สนุกสนาน  ผมขอแนะนำเพลง ปูโจ๊ะปิซัง ครับ


๑๐. เพลงรองเง็ง ๔
     : เพลงปูโจ๊ะปิซัง http://www.youtube.com/watch?v=q2JANW_CRX0&feature=related


๑๑. บทเชื่อมโยง
     : เพลงนี้จังหวะเนิบนาบมาก เป็นเพลงที่หมายถึงพี่เลี้ยงชาวชวา คือเพลงนี้ครับ เพลงเมาะอีนังชวา


๑๒. เพลงรองเง็งเพลงสุดท้ายของรายการ
     : เพลงเมาะอีนังชวา http://www.youtube.com/watch?v=zjQg_Atuch8


๑๓. บทเชื่อมโยง
     : สำหรับบทเพลงรองเง็งที่ทางเราได้นำมาเสนอนั้น เป็นบทเพลงที่คุ้นหูใครหลายคน โดยเฉพาะดนตรี ที่ได้ยินเมื่อไรก็จะทราบทันทีว่า เป็นเพลงใต้ เนื่องจากมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ไม่เหมือนหรือคล้ายที่ใด โดยทั้งหมดล้วนเป็นเพลงที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
และการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อความเจริญและความคงอยู่ของบทเพลงโบราณ ที่สืบทอดมาหลายร้อยปี ครับ

๑๔. บทสรุป
     : รองเง็งเป็นศิลปะเต้นรำของไทยมุสลิมพื้นเมือง  มีความสวยงาม ทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว และการแต่งกายคู่ชายหญิง กล่าวกันว่าการเต้นรองเง็งสมัยโบราณเป็นที่นิยมในบ้านขุนนาง 
หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดนใต้  เช่น ที่บ้านราหยายะหริ่ง  หรือ  พระยาพิพิศเสนามาตย์  เจ้าเมืองยะหริ่งสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ.2439 – 2449) 
มีหญิงสาวซึ่งเป็นข้าทาสบริวารฝึกรองเง็ง  เพื่อไว้ต้อนรับแขกเหรื่อในงานรื่นเริง  หรืองานพิธีต่างๆ เป็นประจำ


๑๕. บทปิด
     :  ความจริงการเต้นรองเง็งของไทยมุสลิมเป็นการเต้นที่สุภาพ ไม่มีการถูกเนื้อต้องตัวกันผู้ชายสมัครเต้นมีสิทธิ์โค้งผู้หญิง หรือพาร์ทเนอร์ได้ทุกคน 


การเต้นแต่ละเพลงมีลีลาไม่เหมือนกัน เพลงหนึ่งก็เต้นไปอย่างหนึ่ง  ฉะนั้น  ผู้เต้นรองเง็งต้องฟังเพลงได้ด้วย  ว่าเพลงนั้นจังหวะเต้นอย่างไร  ฝ่ายชาวบ้านบางคนแม้จะไม่สันทัดก็สามารถออกไปเต้นได้
เพราะไม่ต้องพาคู่ไปเต้นแบบลีลาศ  ต่างคนต่างเต้นไปตามจังหวะ  ไม่ต้องกลัวเหยียบเท้ากัน


๑๖. บทอำลา
     : สวัสดีครับ


๑๗. เพลงรองเง็งปิดรายการ
     : ลาฆูดูวอ รองเง็งชายแดนใต้

 

๑๘. ชื่อ สกุล ผู้จัดรายการ แอดเดรส
     : กัมปนาท ขำแก้ว ผู้จัดรายการ

 

 

***

วัฒนธรรม4กีฬา  กีฬา

จันทร์จิรา ณ ตะกั่วทุ่ง บันทึก

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 01 สิงหาคม 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1318
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1069
mod_vvisit_counterทั้งหมด10723244