Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
อ๊ามแสงธรรม PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์   
อาทิตย์, 10 กุมภาพันธ์ 2008

ศาลเจ้าแสงธรรม

(มห.ภูเก็จ ๒๓๐๘)
.
 ศาลเจ้าแสงธรรมหรือเรียกชื่อเป็นภาษาจีนว่า “เต่งก้องต๋อง ” แต่ก่อนเคยมีชื่อเรียกว่า “ศาลเจ้าชิงเจียกอ” เป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ถนนพังงา ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า

 มีหญิงชาวจีนผู้หนึ่ง สืบเชื้อสายมาจากตระกูล “ตัน” สาย “หล่วนแจ้” (หล่วนแจ้บ่อทอง) สายสกุลแซ่ตันแบ่งออกเป็นสามสาย เดิมเอ้งฉ้วน แยกออกเป็น ๒ สาย คือ หล่วนแจ้ (บ่อทอง) เรียกตันแจ้ ก่อนซานหรือขุนนางเรียก “ไหล่กั้ว” จัดสร้างศาลเจ้า เพื่อให้บรรดาผู้สืบสายตระกูลนี้ใช้เป็นที่เคารพสักการะตามความเชื่อถือและเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ระหว่างญาติมิตรสหายในตระกูลสายเดียว เนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลสมัยก่อน เมื่อเดินทางเข้ามาภูเก็ตก็มักจะนำเอาพระที่ตนเคารพบูชาเข้ามาด้วย ผู้ที่มีความศรัทธาจะสนับสนุนศาลเจ้าให้ดูรุ่งเรืองเจริญ ด้วยความร่วมมือนานาประการก็บริจาคพระที่ตนเคารพบูชาให้เป็นสมบัติของศาลเจ้า เล่ากันว่าหลวงอำนาจนรารักษ์ (ตันค้วด) ผู้อาวุโสแห่งสายตระกูลตันหล่วนแจ้ เป็นผู้รับภาระรวบรวมกำลังกาย กำลังทรัพย์ จากบรรดาผู้สืบสายตระกูลนี้ จัดสร้างศาลเจ้าขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๔ เริ่มแรกที่มีการสร้างศาลเจ้ามีผู้บริจาคองค์ปฏิมากรรมเทพเจ้าลัทธิความเชื่อถือของตนมาประดิษฐานไว้สำหรับสักการะบูชาหลายองค์ได้แก่ อ๋องซุนต่ายส่าย ตันเสงอ๋อง เทพเจ้ากวนอู และพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ น่าเสียดายที่ต่อมาองค์ประติมากรรมเก่ารุ่นนี้ได้สูญหายไปด้วยการลักขโมยบ้าง ถูกสับเปลี่ยนไปเป็นสมบัติส่วนตัวของคนรุ่นหลังบ้าง เนื่องจากสมบัติเหล่านั้นเป็นของมีค่าที่หายาก จึงคงเหลือให้เห็นเท่าที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ ศาลเจ้าซิงเจียกองนี้ได้เปลี่ยนชื่อศาลเจ้าเป็น “เต่งก้องต๋อง” เมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยใดไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่ยังคงเป็นที่เคารพสักการะของคนไทยและคนเชื้อสายจีน 

***
ตรวจแก้ไข
การช่างฝีมือ 3 วัฒน์  สถาปัตยกรรม
***

 

 ศาลเจ้าแสงธรรมเป็นศาลเจ้าที่มีความเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดภูเก็ต สร้างขึ้นประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา โดยหลักฐานวัน เดือน ปี ที่สลักไว้บนเนื้อไม้หน้าโต๊ะบูชาและแผ่นดินติดอยู่ เช่น โต๊ะตั้งกระถางธูปตัวยาว คงสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ส่วนโต๊ะสี่เหลี่ยมหน้าโต๊ะสลักเป็นรูปมังกร สร้างในปี “กองลู่” ที่ยี่สิบนับถอยหลังได้ประมาณ ๑๐๑ ปี (เกี๋ยน ๒๔๓๕:๑) ส่วนป้ายที่แขวนอยู่บนด้านในศาลเจ้านั้นประมาณ ๙๒ ปี ใจความในป้ายว่า “บารมีศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง” และป้ายที่แขวนอยู่ ๒ ด้านของโต๊ะบูชาสร้างประมาณ ๙๕ ปี ผนังในศาลเจ้าเป็นภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับเรื่อง “ซิยิ้นกุ้ย”

 ภาพจิตรกรรมที่ปรากฏอยู่ในศาลเจ้าแสงธรรมเป็นภาพสีขาวดำแรเงา ที่มีอายุประมาณ ๑๐๐ กว่าปี เช่น ภาพเขียนสีรูปเทวดาเฝ้าประตู เทวดาแห่งการเกิด เทวดาแห่งการตาย แผ่นป้ายลายมังกร ฯลฯ

 ภาพจิตรกรรมเรื่อง “ซิยิ้นกุ้ย” เป็นงานฝีมือที่ใช้ศิลปกรรมของจีนอย่างแท้จริง ตัวละครและลายเส้นที่ปรากฏเป็นธรรมชาติมีความงดงาม อ่อนช้อย ลักษณะของตัวละครมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่นลักษณะของซิยิ้นกุ้ย เป็นภาพชายหนุ่มร่างกายแข็งแรงสูงใหญ่ สวมเสื้อเกราะสีขาว มีทวนเป็นอาวุธคู่กาย

 ภาพจิตรกรรมฝาผนังในศาลเจ้าแสงธรรมมีจำนวนทั้งหมด ๑๐๒ ภาพ แบ่งออกเป็น ๒ ด้าน ด้านละ ๕๑ ภาพ ทางด้านซ้ายมีภาพแบ่งเป็น ๕ แถว แถวที่ ๑-๓ มีภาพแถวละ ๙ ภาพ ขนาดกว้าง ๑๙ นิ้ว สูง ๑๕ นิ้ว แถวที่ ๔-๕ มีภาพแถวละ ๑๒ ภาพ ภาพที่ ๓๗,๓๘,๓๙,๔๐,๔๑, ๔๒ มีความกว้าง ๒๙ นิ้ว สูง ๑๕ นิ้ว ทางด้านขวา ภาพแถวที่ ๑-๓ มีภาพแถวละ ๙ ภาพ ขนาดความกว้าง ๑๙ นิ้ว สูง ๑๕ นิ้ว แถวที่ ๔-๕ มีภาพแถวละ ๑๒ ภาพ ขนาดความกว้าง ๒๙ นิ้ว สูง ๑๕ นิ้ว (เกี่ยน ๒๕๓๕ : ๒)

. . คำค้น อ๊าม แสงธรรม อ๊ามแสงธรรม ศาลเจ้าแสงธรรม เต่งก้องต๋อง อ๊ามเต่งก้องต๋อง ศาลเจ้า ซิยินกุย ซิยินกุ้ย ซิยินกุ๊ย ซิยิ้นกุ้ย ซิยิ้นกุ๊ย จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมจีน จิตรกรรมจีนฮกเกี้ยน เตงกงต๋อง เตงก๋งต๋อง เตงก้องต๋อง อ๊ามเตงก้องต๋อง . *** ตรวจแก้ไข การช่างฝีมือ 3 วัฒน์ สถาปัตยกรรม
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 22 มีนาคม 2018 )
 
< ก่อนหน้า

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้350
mod_vvisit_counterเมื่อวาน1537
mod_vvisit_counterทั้งหมด10723813