Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
แนวคิดสร้างอนุสรณ์สถานเมืองถลาง PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์   
อาทิตย์, 29 พฤษภาคม 2011

แนวคิดการสร้างอนุสรณ์สถานเมืองถลาง

กลุ่มภาพช่วยระดมความเห็นสร้างอนุสาวรีย์ถลาง

เมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔

ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน

 

๑. แนวคิดส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวคิดของมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

๒. ชื่อในภาษาไทยจะขาดคำว่า ถลาง มิได้

๓. กิจกรรมที่เสนอเพื่อการท่องเที่ยว ยอมรับได้ทุกรายการที่ไม่ขัดแย้งกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์

หรือมีคำอธิบายถึงเหตุผลที่สากลรับได้ถึงการเปลี่ยนแปลง

 

๔. สิ่งที่ปรากฏจากหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ เป็นหลักการประมวลผลไปสู่กิจกรรม

๔.๑ ชื่อถลาง เปลี่ยนมาจาก ฉลาง <--- สลาง <--- Silan <--- Junk Ceylon.

๔.๒ มีกลุ่มต่างชาติเกี่ยวข้อง(ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑) คือ กรีซ จีน อินเดีย ศรีลังกา กลุ่มมุสลิม ขอม มอญ พม่า ปอร์ตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น

๔.๓ การติดต่อคมนาคมมีเรือเดินมหาสมุทร เรือขนาดใหญ่เป็นสำเภา ๓ หลัก

๔.๔ ชาวถลางรักสงบ แต่ถึงรบก็ไม่ขลาด

๔.๕ เจ้าเมืองถลางเป็นนักการค้าและปฏิคมของแผ่นดินสยาม

๔.๖ ท้าวเทพกระษัตรีเป็นนักการทูต และนักการค้านาวีพาณิชย์

๔.๗ ถลางมีวีรสตรี ๒ ในสี่ของสยามประเทศ

๔.๘ ถลางมีดีบุกผสมกับทองแดงเป็นสำริด เครื่องมือโลหะชิ้นแรกของมนุษยโลก เมื่อ ๕,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา (มนุษย์โฮโมอาบิลีสใช้หินเป็นเครื่องมือเมื่อ ๒.๕ ล้านปีที่แล้ว)

๔.๙ ทรัพยากรในดินแดนเกาะถลางเป็นพระราชทรัพย์ (ไม้หอม อำพัน มุก แร่ดีบุก) เคลื่อนย้ายขนส่งตามเส้นทางเก่าทางเกาะคอเขา ตโกลา เขาสก แม่น้ำตาปี แหลมโพธิ์

ต้นรัตนโกสินทร์เปลี่ยนเป็น มะรุ่ยปากลาวไปลงแม่น้ำตาปี แหลมโพธิ์

๔.๑๐ เอกสารลายลักษณ์ “สมุดข่อย” เป็นกระดาษที่ใช้บันทึกลายลักษณ์และจดหมายเหตุคู่กับใบลาน สืบเนื่องมาถึงปัจจุบันมีสมุดข่อยเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ ฉบับ เป็นหลักฐานสำคัญในการจัดทำวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร ชุดแรกของไทย

๔.๑๑ ยี่เกรำมะนา บทออกแขกแดงเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์มุขปาฐะ “ชุดที่ ๑๐ ผมประดิษฐ์ให้ฟัง ยังมีนายฝรั่งสร้างแต่งเรือรบ เที่ยวลาดตระเวนเจนจบ เรือรบมีพวงมาลัย”
๕. การสร้างอนุสาวรีย์ จึงควรนำหลักฐานจากข้อ ๔ มาร่วมด้วยช่วยกัน

๖. เป้าหมายในการสร้างอนุสาวรีย์ในอนุสรณ์สถานเมืองถลาง คือ การสงครามเป็นเพียงอุบัติเหตุ ถลางเป็นแดนดินถิ่น“มิตรภาพแห่งสันติสุข”

 

ฝากรูป  

 สรุปความเห็นรูปแบบอนุสาวรีย์และฐาน
ในโครงการอนุสรณ์สถานเมืองถลาง  อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
จากการแสดงความคิดเห็นของประชาชนชาวภูเก็ต
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน  2554  เวลา 14.00-17.00 น.
ณ ห้องนนทรี  โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน

๑. เมื่อเห็นอนุสาวรีย์แล้วรู้สึกอย่างไร
 - เห็นแล้วรู้สึกภาคภูมิใจ
 - ไม่ขัดแย้ง แต่มีรากเหง้า
 - เชิงสันติภาพ
 - ระลึกถึงวีรกรรมในอดีต
 - ความเป็นมิตรภาพ  อบอุ่น – มิตรไมตรี
 - เด่นเป็นสง่า
 - สัญลักษณ์ เอกภาพความรักชาติ
 - ฮึกเฮิม สามัคคี
 - เอื้ออาทร
  - ผู้สร้างเมือง
 - สำนึกบุญคุณ
 - ประทับใจ
๒. อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อเห็นแล้วแสดงความหมายชัดเจนหรือไม่
 ที่ประชุมมีมติว่าให้อนุสาวรีย์บอกเล่าเรื่องราวได้อย่างชัดเจน
๓. ขนาดและมุมมองของอนุสาวรีย์
 ที่ประชุมมีมติให้อนุสาวรีย์มีความอลังการ

๔. ฐานอนุสาวรีย์มีลักษณะอย่างไร
 ที่ประชุมมีมติให้ฐานอนุสาวรีย์บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต  สติปัญญา ความสามารถในด้านเศรษฐกิจ – พาณิชย์  สังคม  การเมือง  การปกครอง การทูต  วีรกรรม (นักรบ)

๕.  องค์ประกอบรอบฐาน  (ภูมิทัศน์โดยรอบ)
 ที่ประชุมมีมติให้บริเวณภูมิทัศน์โดยรอบอนุสาวรีย์สามารถใช้รองรับสำหรับการทำพิธีการ  เชิญธงสันติภาพ/มิตรประเทศได้

 

อนุสรณ์สถานเมืองถลาง ฉบับกลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๔ 

แนวคิดในการสร้างอนุสรณ์สถานเมืองถลาง PHUKET HISTORICAL PARK 

ฉบับปรับปรุง ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๔ 

 

 

***

หมายเหตุภูเก็จ ๔๔

สารานุกรม มทศ.ภูเก็ต

การช่างฝีมือ3วัฒน์ ประติมากรรม แถว2

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 08 กรกฎาคม 2012 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4678
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016513