Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 02 กุมภาพันธ์ 2011

ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต

 

กลุ่มภาพศาลากลาง

Click at the image to view full size สร้าง พ.ศ. ๒๔๔๙  ค.ศ.1906
ฝากรูป

 

  อาคารศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ ณ หัวมุมถนนนริศร ติดกับถนนสุรินทร์เป็นอาคารสถานที่ราชการที่ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๑๙๓ ตอนที่ ๓๙ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๐ หน้า ๒๐๒๗ เนื่องจากเป็นอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม

Click at the image to view full size
ฝากรูป

เนื่องด้วยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ฯ สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตมีดำริเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๙ ในการพัฒนามณฑลภูเก็ต รวมทั้งการย้ายที่ว่าการเมืองภูเก็ตซึ่งอยู่ในตลาดเพื่อความสง่างามและใช้ที่ตั้งเดิมทำเหมือง มีดำริให้ไปตั้งที่เขาโต๊ะแซะ เป็นนิคมข้าราชการ โดยมีศูนย์กลางที่ศาลากลาง ดังนั้นพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ซึ่งได้เชิญชาวต่างชาติขุดแร่ดีบุกในเขตประทานบัตรบริเวณถนนหลวงพ่อวัดฉลอง ถนนพังงา ถนนสุรินทร์ และถนนสุทัศน์  คือประทานบัตรแปลงด้านหน้าที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขภูเก็ต โดยให้ฝรั่งสร้างศาลากลางเป็นการแลกเปลี่ยนประทานบัตรการขุดแร่ดีบุกแปลงดังกล่าว บริษัทนั้นก็ให้ช่างชาวอิตาเลี่ยนสร้าง ยังไม่ทันสร้างพระยารัษฎาฯ ก็ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ จึงคงมีการสร้างหลังจากนั้น  และรัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จไปเปิดศาลารัฐบาล ในคราวเสด็จประพาสภูเก็ตครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๐

Click at the image to view full size
ฝากรูป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ศาลากลางเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๐๒ เป็นการเสด็จฯครั้งแรกของทั้ง ๒ พระองค์ ในช่วงที่นายอ้วน สุระกุล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

Click at the image to view full size
ฝากรูป

 ลักษณะอาคารเป็นอาคาร ๒ ชั้น ทั้งหมด พื้นอาคารชั้นล่างสูงกว่าพื้นดิน ๕ ขั้นบันได ลักษณะการวางผังแบบ SYMMETRICAL BALANCE  ด้านหน้าอาคารเป็นจั่ว    หันหน้าไปทางพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ซึ่งประดิษฐานอยู่บนแท่นสูงในวงเวียนพระบรมรูปหันพระพักตร์ไปทางประตู ซึ่งไม่ได้ใช้เป็นทางเข้าหลัก เนื่องจากทางด้านนั้นไม่ใช่ทางรถเข้า เป็นเพียงบันไดขึ้น ทางสัญจรหลักสำหรับรถจะเข้าทางด้านข้างของอาคาร


 ตลอดอาคารทั้งชั้น ๑ และชั้น ๒ จะเป็นเสาลอยขนาดเสา ๑๕ ซ.ม. เสาคอนกรีตเสริมเหล็กช่วงเสาถี่  มีทางเดินรอบอาคารระหว่างเสาทุกต้นจะมีลูกกรงปูนโปร่งสีขาว อาคารส่วนที่เป็นไม้จะมีกรอบสีเทาอ่อน ไม้ส่วนอื่นทาสีเทาอมฟ้าอ่อน ทั้งชั้น ๑ และ ๒ ประดับด้วยไม้ฉลุลวดลาย และเกล็ดไม้ตาย เป็นส่วนกันแดด อาคารนี้ไม่มีหน้าต่าง จะเป็นลักษณะประตูเปิดบานคู่ทุก ๆ ช่วงเสา ความสูงประมาณ ๕๐ ซ.ม. กรอบบานสีเทา ตัวบานสีเขียวอมเทา การระบายอากาศของอาคารนี้ดีมาก เป็นอาคารที่โปร่งและเย็นสบาย พื้นภายในอาคารเป็นพื้น ค.ส.ล. ทำผิดเป็นรูเล็ก ๆ โดยตลอดไม่ทาสี พื้นบางส่วนมีการดัดแปลง เช่น ทำเป็นแผ่นหินขัดเรียงต่อๆ กันแบบมีกระเบื้องทางด้านหน้าเมื่อเข้ามาจะเป็นบันได ขึ้นชั้น ๒ บันได เป็นบันไดสีไม้โอ๊คเข้มเกือบดำ  หัวบันไดสลักเป็นรูปดอกไม้กลีบมะเฟืองสวยงามมาก ส่วนลูกกรงบันไดเรียบง่าย เป็นไม้ตีตามตั้งไม่ได้ฉลุ แต่ตีไม้ลักษณะเป็น PATTERN เมื่อขึ้นไปชั้น ๒ จะเป็น COURT ซึ่งมีระเบียงล้อมรอบ ลูกกรงระเบียงเป็นลูกกรงปูนลวดลายเหมือนภายนอก พื้นชั้น ๒ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำผิดเป็นรู ๆ เหมือนชั้น ๑ เหนือ COURT เป็นช่วงเปิดโล่งในหลังคา อาคารนี้มี COURT ๒ COURT เป็น COURT ปิด มองไม่เห็นจากภายนอก เพราะล้อมรอบอยู่ด้วยส่วนห้องทำงาน ทั้งชั้น ๑ และชั้น ๒ ภายใน COURT ทำเป็นสวนหย่อมและมีห้องน้ำที่ต่อเติมใหม่ยื่นออกไปใน COURT ทั้ง ๒ COURT นี้ด้วย ทั้ง ๒ COURT มีขนาดเท่ากันอยู่ในตำแหน่งสมมาตร ในอาคารหลังคาอาคารจะมีกันสาดคอนกรีตเสริมเหล็ก ยื่นออกมาจากแนวเสาชั้น ๒ มุงกระเบื้องลอนคู่เป็นมุมต่ำมากมาชนผนังอาคารชั้น ๒ เหนือส่วนนี้เป็นช่องแสง แล้วจึงถึงส่วนหลังคาซึ่งยื่นชายคาออกไปเล็กน้อย  หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์สีแดง มีลักษณะที่แปลกคือแผ่นกระเบื้องบางมากจนมองแทบไม่เห็น ความหนาของกระเบื้องเป็นกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยมวางซ้อนทับกันเป็นมุมแหลม จะสังเกตได้ว่าอาคารรุ่นที่สร้างใกล้เคียงกับศาลากลางนี้ มักจะมีเสาใหญ่ตั้งแต่ ๖๐ x ๖๐ ซ.ม.ขึ้นไป แต่ศาลากลางเป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีขนาดเล็กเพียง ๑๕ x ๒๐ ซ.ม. ด้านบนของเสาตกแต่งด้วยไม้ฉลุเป็นลวดลายตรงช่องระบายอากาศมีลวดลาย ๒ ขนาด ลวดลายที่ฉลุบนไม้สักขนาดสั้นอยู่เหนือประตูเป็นรูปดอกไม้คล้ายรูปดอกทิวลิป เหนือขึ้นไปเป็นไม้สักขนาดใหญ่ฉลุเป็นรูปดอกไม้อยู่ในแจกัน อนึ่ง ชั้นบนของอาคารมีนาฬิกาโบราณ    ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานเป็นที่ระลึกเมื่อได้ทรงบัญชาราชการกระทรวงมหาดไทยมาครบ ๒๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๔๕๕ ด้วย

 

***

จห.ภูเก็จ

Shatile.fm

การช่างฝีมือ3วัฒน์ สถาปัตยกรรม การช่างฝีมือแถว5

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 10 ตุลาคม 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้2327
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11014161