Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
หมรุย หมุย : ยาสมุนไพร PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 29 มกราคม 2022

.
หมรุย
หมุย
หัสคุณ 
...
ภาพหมรุยขม  มอภ.จห.14027 ภาพหมรุย
.
Image.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

 

กำลังใช้งาน

 

เขียนความคิดเห็น…




.
หมรุย
หัสคุณ
.
ใช้เป็นผักเกร็ด
มีรสร้อน (เผ็ดอ่อน ๆ)
.
สรรพคุณ
ตำรายาไทยระบุว่า “หัสคุณ” เป็นยารสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะและลมทั้งปวง และใช้เป็นยาขับพยาธิ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) นอกจากนี้ มีหลายตำราระบุไว้มากมาย จากการประมวลได้ เช่น
“ใบ” มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมอันเสียดแทง ช่วยขับลม ยอกในข้อ เป็นยาแก้หืดไอ แก้ไอ แก้ไข้ แก้ไข้อันผอมเหลือง นำมาตำใช้เป็นยาทาแก้คัน หรือนำมาพอกประคบหรืออบไอน้ำ แก้ผื่นคันตามผิวหนัง กระจายเลือดลมให้เดินสะดวก และช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต
“ใบและเปลือก” ใช้เป็นยารมรักษาริดสีดวงจมูก (เมื่อโดนละอองยาจะร้อนมากจนแสบจมูก)
“ดอก” มีกลิ่นหอม รสร้อน ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค รักษาแผลเรื้อรัง และมีสรรพคุณช่วยแก้เสมหะให้ตก ขับเสมหะให้ลงสู่คูถทวาร
“ผล”
มีสรรพคุณเป็นยาถ่าย“เปลือกต้น” มีรสร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้โลหิตในลำคอ และลำไส้ให้กระจาย
“กระพี้” มีรสร้อน ใช้เป็นยาแก้โลหิตในลำไส้
“ต้น” มีรสร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ไอ แก้ลมภายในให้กระจาย และมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน
“ราก” มีรสร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหอบหืด เป็นยาแก้ไข้ แก้ลม แก้โลหิตอันข้นด้วยบุพโพ ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวง ยาขับเลือดและหนอง ใช้เป็นยาพอกแผลริดสีดวงจมูก และแผลคุดทะราด และตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากหัสคุณผสมกับรากปลาไหลเผือก ฝนกับน้ำซาวข้าวกินเป็นยารักษานิ่วในไต
“ทั้งต้น” มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำดี และเมื่อนำมาใช้ร่วมกันในพิกัด “สหัสคุณทั้ง 2” คือ หัสคุณ (สมัดน้อย) ที่กล่าวถึงในบทความนี้ และสหัสคุณเทศ (สมัดใหญ่) หรือหวดหม่อน (มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clausena excavata Burm.f.) โบราณว่า มีรสร้อน มีสรรพคุณเป็นยาขับลมในท้อง แก้ผอมแห้ง หืดไอ แก้ริดสีดวง ช่วยขับเลือด ขับหนองให้ตก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
.
ยาสมุนไพร
สรรพคุณของหัสคุณ
รากหัสคุณมีรสร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้โลหิตอันข้นด้วยบุพโพ (ราก)[2]
ใบและเปลือกใช้เป็นยารมรักษาริดสีดวงจมูก (เมื่อโดนละอองยาจะร้อนมากจนแสบจมูก) (ใบและเปลือก)[1],[2]
ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้อันผอมเหลือง (ใบ)[1],[2] ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้เช่นกัน (ราก)[3]
ใช้เป็นยาแก้ไอ (ต้น, ใบ)[1],[2]
ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้หืดไอ (ใบ)[1] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหอบหืด (ราก)[4]
ตำรายาไทยระบุว่า หัสคุณเป็นยารสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะและลมทั้งปวง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[1],[2]
ดอกมีสรรพคุณช่วยแก้เสมหะให้ตก ขับเสมหะให้ลงสู่คูถทวาร (ดอก)[1],[2]
ต้นมีรสร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมภายในให้กระจาย (ต้น)[2] ใบมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมอันเสียดแทง ช่วยขับลม ยอกในข้อ (ใบ)[1],[2] ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมเช่นกัน (ราก)[3]
เปลือกต้นมีรสร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้โลหิตในลำคอ และลำไส้ให้กระจาย (เปลือกต้น)[2]
กระพี้มีรสร้อน ใช้เป็นยาแก้โลหิตในลำไส้ (กระพี้)[2]
ผลมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย (ผล)[1]
ใช้เป็นยาขับพยาธิ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[1],[2]
ต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน (ต้น)[1],[2]
ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวง (ราก)[2],[3]
ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากหัสคุณผสมกับรากปลาไหลเผือก ฝนกับน้ำซาวข้าวกินเป็นยารักษานิ่วในไต (ราก)[1],[2]
ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)[2]
รากมีสรรพคุณเป็นยาขับเลือดและหนอง (ราก)[1],[2]
รากใช้เป็นยาพอกแผลริดสีดวงจมูก และแผลคุดทะราด (ราก)[1],[2]
ดอกมีกลิ่นหอม รสร้อน ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค รักษาแผลเรื้อรัง (ดอก) [2]
ใบนำมาตำใช้เป็นยาทาแก้คัน หรือนำมาพอกประคบหรืออบไอน้ำ แก้ผื่นคันตามผิวหนัง กระจายเลือดลมให้เดินสะดวก และช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต (ใบ)[2]
เมื่อนำมาใช้ร่วมกันในพิกัด "สหัสคุณทั้ง 2" คือ หัสคุณ (สมัดน้อย) ที่กล่าวถึงในบทความนี้ และสหัสคุณเทศ สมัดใหญ่ หรือหวดหม่อน (มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clausena excavata Burm.f.) โบราณว่า มีรสร้อน มีสรรพคุณเป็นยาขับลมในท้อง แก้ผอมแห้ง หืดไอ แก้ริดสีดวง ช่วยขับเลือด ขับหนองให้ตก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[2]
.
.
ใบหมรุย ใช้เป็นผักเกร็ดและยำ
ใบจึงเป็นอาหารที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร
ใบหัสคุณมีรสร้อน กลิ่นหอม
ใบจึงมีสรรพคุณ ดังนี้
๑. เป็นยาแก้ไข้ (ช่วยนำความร้อนออก)
๒. เป็นยาแก้ไข้อันผอมเหลือง
๓. เป็นยาแก้หืดไอ
๔. เป็นยาแก้เสมหะ (ทำหน้าที่เป็นยาธาตุ)
๕. เป็นยาแก้ลมอันเสียดแทง (ทำหน้าที่เป็นยาธาตุ)
๖. เป็นยาช่วยขับลม (ทำหน้าที่เป็นยาลม)
๗. เป็นยาแก้ยอกในข้อ
๘. เป็นยาบำรุงน้ำดี (ทำให้เจริญอาหาร)
๙. เป็นยาแก้ผอมแห้ง (เป็นผลมาจากสรรพคุณข้อ ๘)
  • ถูกใจ



.
วัฒนธรรม5คหกรรมศิลป์ ยาสมุนไพร
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 29 มกราคม 2022 )
 
ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้2768
mod_vvisit_counterเมื่อวาน5656
mod_vvisit_counterทั้งหมด11020258