Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
เฮอริเคนเคลื่อนเข้าเม็กซิโกอเมริกา PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 19 ตุลาคม 2009

เฮอริเคน'ริคก์' แรงระดับ5 จ่อถล่มเม็กซิโก

Pic_40640

เฮอริเคน "ริคก์"  ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ  เพิ่มความเร็วลมศูนย์กลางพายุ ระดับ 5 สูงที่สุด  ความเร็วลมศูนย์กลางพายุ 285 กม./ชม. รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 10 ปี จ่อถล่มเม็กซิโก กลางสัปดาห์นี้

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 19 ต.ค. ว่า เฮอริเคน "ริคก์" พายุที่ก่อตัวจากพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ พัดเพิ่มความเร็วลมศูนย์กลางพายุถึงระดับ 5 หรือระดับสูงที่สุด ด้วยความเร็วลมศูนย์กลางพายุถึง 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมงถือเป็นพายุรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 10 ปี แนวเคลื่อนตัวของพายุอยู่ระหว่างพัดถล่มรีสอร์ตหลายแห่งในแถบบาฮาแคลิฟอร์เนีย ประเทศเม็กซิโก ภายในช่วงกลางสัปดาห์นี้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์เตือนภัยเฮอริเคนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาในเมืองไมอามี รัฐฟลอริด้า คาดการณ์ว่าพายุอาจลดกำลังความรุนแรงลงเหลือระดับ 2 เมื่อเคลื่อนสู่แนวกระแสน้ำเย็นและลดกำลังลงอีกเมื่อพัดถึงชายฝั่ง ก่อนหน้านี้ พายุลูกรุนแรงที่สุดในพื้นที่เดียวกันนี้ คือเฮอริเคนลินดา พัดด้วยความเร็วลมศูนย์กลางพายุ 296 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเดือนก.ย.ปี 2540 ทำให้เกิดคลื่นสูงุถึง 15 เมตร

อ้างอิง

 http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1726889/เฮอริเคน%20ริคก์%20%20แรงระดับ5%20จ่อถล่มเม็กซิโก

-----------------------------------------------------

 

เฮอริเคน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์17 มกราคม 2549 14:15 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
คนสมัยโบราณเชื่อว่า พายุเกิดจากลมหายใจของเทพเจ้า ดังนั้น เวลาลมพัดเบาๆ นั่นแสดงว่าเทพเจ้ากำลังทรงมีพระอารมณ์ดี และเวลาพายุพัดรุนแรงนั่นหมายถึงเทพเจ้ากำลังพิโรธ

การศึกษาความรุนแรงของเฮอริเคนในอดีตที่ผ่านมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลชัดเจนว่า ปัจจุบันพายุเฮอริเคนพัดรุนแรงกว่าพายุเฮอริเคนเมื่อ 30 ปีก่อนมาก

คนสมัยโบราณเชื่อว่า พายุเกิดจากลมหายใจของเทพเจ้า ดังนั้น เวลาลมพัดเบาๆ นั่นแสดงว่าเทพเจ้ากำลังทรงมีพระอารมณ์ดี และเวลาพายุพัดรุนแรงนั่นหมายถึงเทพเจ้ากำลังพิโรธ ในเทพนิยายกรีก ลมคือเทพยดาที่ถูกจองจำในถ้ำ ดังนั้น เวลาเทพเจ้าถูกปลดปล่อยให้ออกนอกถ้ำ พายุจะพัดรุนแรงมากบนโล
       
       ความรู้วิทยาศาสตร์ปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า ลมมิใช่เทพเจ้า แต่เป็นอากาศที่เคลื่อนที่และตามปกติลมจะพัดทุกครั้งเมื่ออากาศร้อนลอยตัวขึ้นข้างบน เพราะมันมีความหนาแน่นน้อยแล้วอากาศเย็นที่มีความหนาแน่นมากกว่าเคลื่อนเข้าแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศในลักษณะนี้เราเรียกว่า ลม
       
       ลมก็เช่นเดียวกับน้ำคือ น้ำจะไหลจากที่ที่มีความดันสูงไปสู่ที่ที่มีความดันต่ำเพื่อให้ความดันน้ำในบริเวณทั้งสองเท่ากัน ลมก็เช่นกัน มันจะไหลจากที่ที่มีความดันอากาศสูงกว่าไปสู่บริเวณที่มีความดันอากาศต่ำกว่า และเมื่อสถานที่ต่างๆ บนผิวโลกตลอดเวลามีอุณหภูมิแตกต่างกันไม่มากก็น้อย ดังนั้น ความหนาแน่นอากาศ และความดันอากาศในบริเวณต่างๆ จึงไม่เท่ากัน และความดันอากาศที่ไม่เท่ากันนี้เองที่ขับดันให้อากาศเคลื่อนที่ ดังนั้น บริเวณต่างๆ ของโลกจึงมีลมพัดตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งก็เป็นลมโชยเบาๆ แต่บางครั้งก็รุนแรงระดับพายุสลาตัน
       
       เราเรียกลมที่พัดรุนแรงอย่างสม่ำเสมอเหนือบริเวณต่างๆ ของโลกแตกต่างกัน เช่น ลม Chinook ซึ่งพัดในบริเวณเทือกเขา Rocky ที่ชาวอินเดียนเผ่า Blackfoot อาศัยอยู่ ลมนี้มีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส และพัดนานครั้งละ 2 นาที การมีอุณหภูมิสูงเช่นนี้ทำให้ลมสามารถละลายหิมะที่หนา 1 นิ้วได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้คำว่า Chinook จึงแปลว่า ลมที่กินหิมะ
       
       ส่วนลม mistral เป็นลมหนาวที่พัดในพื้นที่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส และพัดนานหลายวันด้วยความเร็วสูงถึง 144 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือลม etresian ที่พัดเหนือทะเล Mediteranean ในฤดูร้อน และลม simoom คำนี้เป็นคำในภาษาอาหรับที่แปลว่า ลมพิษ เพราะเป็นลมร้อนที่พัดผ่านทะเลทราย Sahara และ Saudi Arabia จึงมีอุณหภูมิสูงถึง 54 องศาเซลเซียส เป็นต้น เหล่านี้คือพายุระดับจิ๋ว เมื่อเปรียบเทียบกับเฮอริเคน (hurricane) ซึ่งน่ากลัวมากที่สุด คำ hurricane นี้นักภาษาศาสตร์คิดว่ามาจากคำ hurricane อินเดียนเผ่า Carib หรืออาจมาจากคำ Hunraken ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งพายุของชาวอินเดียนในประเทศ Guatemala ก็ได้
       
       สำหรับคนที่ไม่เคยเผชิญเฮอริเคนมาก่อนในชีวิตก็มักคิดว่า ระเบิดปรมาณูมีอานุภาพในการทำลายล้างรุนแรงที่สุด แต่สำหรับคนที่เคยเห็นหรือเคยรอดชีวิตจากเฮอริเคนแล้ว ความรุนแรงของเฮอริเคน 1 ลูก ยิ่งใหญ่เท่าระเบิดปรมาณู 1,000 ลูก เพราะพายุเฮอริเคนสามารถพัดพาน้ำที่หนัก 2,000 ล้านตัน ขึ้นท้องฟ้าได้ใน 1 วันแล้วปล่อยน้ำปริมาณนี้ให้ตกเป็นฝนหมดใน 24 ชั่วโมงได้สบายๆ พลังของพายุนี้ 1 ลูก จึงมากเท่าพลังกระแสไฟฟ้าที่คนอเมริกาทั้งประเทศใช้ใน 6 เดือน และเมื่อครั้งที่เกิดสงครามระหว่างอเมริกากับสเปน
       
       ประธานาธิบดี William McKenley แห่งสหรัฐฯ ได้เคยกล่าวว่า ข้าพเจ้ากลัวอายุเฮอริเคนในทะเล West Indies ยิ่งกว่ากองทัพสเปนทั้งกอง สถิติความเสียหายที่เกิดเวลาพายุเฮอริเคนพัดแสดงให้เห็นว่า ในปี 2535 เฮอริเคน Andrew ทำความเสียหายร่วม 6 แสนล้านบาท และเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมานี้ เฮอริเคน Katrina ได้ถล่มสหรัฐฯ สร้างความเสียหาย (ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน) ประมาณ 2.5 ล้านล้านบาท เพราะความเสียหายที่เกิดในแต่ละครั้งมาก
       
       ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายและความเสียใจการค้นหาเฮอริเคนก่อนที่มันจะพัดถึงตัวจึงเป็นเรื่องจำเป็นด้วยเหตุนี้สหรัฐอเมริกาจึงมีองค์การ National Hurricane Centre (NHC) ที่ Meami และ Florida เพื่อตรวจและรายงานธรรมชาติของเฮอริเคนแต่ละลูก โดยใช้เครื่องบินลาดตระเวนดาวเทียมเรือและเรดาห์ถ่ายภาพของพื้นที่ต่างๆ ในทะเลและมหาสมุทร ในฤดูที่มีเฮอริเคนมาก โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม โดย NHC เวลาเห็นเฮอริเคนกำลังก่อตัวก็จะศึกษาดูว่า มันเกิดที่ใดมีความเร็วสูงเพียงใด จะพัดทิศใด และมีพลังงานเท่าใด จากนั้นก็จะใช้คอมพิวเตอร์คำนวณความรุนแรง และทิศการเคลื่อนที่ โดยใช้ความหนาแน่นอากาศอุณหภูมิความชื้น ภูมิประเทศ และความดันอากาศในบริเวณใกล้เคียงประกอบการพยากรณ์
       
       ความรู้ปัจจุบันมีว่า เฮอริเคนจะถือกำเนิดเวลาอากาศชื้นเหนือทะเลได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์แล้ว บางส่วนของอากาศนี้ไหลขึ้นเป็นกระแส (เหมือนลมร้อนในห้องที่มีเตาผิงซึ่งไหลขึ้นตามปล่องไฟ) ดังนั้น เวลาลมร้อนนี้ปะทะอากาศที่เย็นกว่า ไอน้ำที่มีในลมร้อนจะกลั่นตัวตกเป็นฝน โดยการคายความร้อนแฝงออกมา และความร้อนนี้นอกจากจะทำให้อากาศในบริเวณนั้นมีความหนาแน่นน้อยแล้ว ยังทำให้มีความดันน้อย อากาศชื้นที่หนาแน่นกว่าจึงพากันไหลเข้าแทนที่จากทุกด้าน กระแสลมจึงไหลพัดอย่างต่อเนื่อง และนักอุตุนิยมวิทยาก็ได้พบว่า เมื่อใดที่อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส และน้ำบริเวณนั้นลึกกว่า 40 เมตร พายุเฮอริเคนเหนือพื้นน้ำนั้นจะมีสิทธิเกิดทันที
       
       และตามปกติเวลาพายุพัดเพราะโลกของเราหมุนจากตะวันตกไปตะวันออกตลอดเวลา ดังนั้น กระแสลมจะถูกแรง Coriolis กระทำทำให้ลมเฮอริเคนในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรหมุนทวนเข็มนาฬิกา และลมที่เกิดใต้เส้นศูนย์สูตรหมุนตามเข็มนาฬิกาสำหรับลมพายุที่พัดในมหาสมุทรแอตแลนตา หากพัดด้วยความเร็วสูงกว่า 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง มักมีเรือเรียกว่า เฮอริเคน ส่วนพวกที่พัดในมหาสมุทรแปซิฟิกคือไต้ฝุ่น
       
       โดยทั่วไปเอกลักษณ์ที่สำคัญของเฮอริเคนคือตา ซึ่งเป็นบริเวณศูนย์กลางของลมที่อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวตั้งแต่ 25-50 กิโลเมตรก็ได้ ในบริเวณตานี้ตามปกติความดันอากาศจะสูง เฮอริเคนมีหลายขนาดต่างๆ กันคือใหญ่ตั้งแต่ 150-250 กิโลเมตร ซึ่งเป็นขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 300-450 กิโลเมตรขึ้นไป การวัดความเร็วของลมเฮอริเคนทำให้เรารู้ว่า มันมีความเร็วรอบต่ำประมาณ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง และมักพัดไปเหนือผิวโลกด้วยความเร็วตั้งแต่ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป และหากเรานับเวลาตั้งแต่มันเริ่มเกิดจนกระทั่งเป็นพายุเต็มตัว เวลาก็อาจนานตั้งแต่ 1-7 วัน และเวลาเฮอริเคนพัดผ่านเมืองภูเขาหรือแผ่นดิน แรงเสียดทานจากภูเขาหรือแผ่นดินจะทำให้มันสูญเสียกำลังไปจนมันสลายตัวไปในที่สุด เพราะเฮอริเคนมีพลังต่างๆ กัน
       
       ดังนั้น นักอุตุนิยมวิทยาจึงแบ่งเฮอริเคนตามระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 1 สำหรับพายุที่มีความเร็วตั้งแต่ 120-150 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้รถยนต์คว่ำ และต้นไม้เสียหาย ระดับ 2 คือพวกที่มีความเร็ว 150-175 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุระดับนี้ทำให้บ้านเสียประตูหลังคา และน้ำท่วม ระดับ 3 คือพายุที่พัดเร็วตั้งแต่ 175-210 กิโลเมตร/ชั่วโมง บ้านเรือนที่ถูกพายุระดับนี้ถล่ม เมืองจะถูกน้ำท่วม และต้นไม้จะล้มระเนนระนาด พายุระดับ 4 คือพายุที่พัดเร็ว 210-250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้บ้านพังราบเรียบ และพายุระดับ 5 คือพายุที่พัดเร็วกว่า 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้ตึกขนาดใหญ่พังพินาศ เขื่อนกั้นน้ำแตก และน้ำอาจท่วมบ้านเรือน (พายุเฮอริเคน Katrina เป็นพายุระดับ 5)
       
       การศึกษาความรุนแรงของเฮอริเคนในอดีตที่ผ่านมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลชัดเจนว่า ปัจจุบันพายุเฮอริเคนพัดรุนแรงกว่าพายุเฮอริเคนเมื่อ 30 ปีก่อนมาก จากวารสาร Science ฉบับวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2548 G. Holland แห่ง National Center for Atmospheric Research ของสหรัฐฯ ได้รายงานว่า ทุกวันนี้จำนวนพายุเฮอริเคนขนาดเล็กมีจำนวนน้อยลงทุกปี แต่ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา เขาได้พบว่าความรุนแรงของพายุปัจจุบันโดยเฉลี่ยจะมากเป็น 2 เท่าของความรุนแรงของพายุอดีต
       
       และเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมานี้ Conrad Lautenbacher แห่ง National Oceanic and Atmospheric Administration ของสหรัฐฯ ก็ได้กล่าวเตือนว่าในปี 2549 นี้ พายุเฮอริเคนมีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้นคือ (มากกว่า 90 ลูก/ปี) และจะพัดรุนแรงมาก โดยเฉพาะในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก โดยจากจำนวนพายุร้อน 26 ลูก จะมี 13 ลูกที่กลายเป็นพายุเฮอริเคน และเมื่อพายุยิ่งมากนั่นก็หมายความว่า ความเสียหายก็ยิ่งมาก
       
       ปัญหาที่ทำให้ทุกคนงุนงงคือ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้พายุพัดรุนแรงขึ้น การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศคือตัวการสำคัญใช่หรือไม่ นี่ยังไม่มีการฟันธง
       
       
สำหรับในประเทศไทยซึ่งไม่เคยเผชิญเฮอริเคนเลย จะเคยก็แต่ไต้ฝุ่นที่แหลมตะลุมพุก เมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว แต่เราก็ยังคงนึกถึงภาพความเสียหายได้ และคงต้องระมัดระวังมาก นอกเหนือจากภัยคลื่นสึนามิแล้วว่า ถ้าพัดถึงเราจะเสียทั้งชีวิต ความหวัง และความฝันไปหมดสิ้น แต่ถ้าลมนั้นพัดใส่ศัตรู เช่น ลม kamikaze (ลมเทวดา) ที่เคยพัดถล่มกองทัพเรือของจักรพรรดิ Kublai Khan เมื่อ 800 ปีก่อน ลมนั้นก็ได้ทำให้ญี่ปุ่นปลอดภัยครับ
       
       สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท

 

อ้างอิง

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000006598

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1821
mod_vvisit_counterเมื่อวาน5656
mod_vvisit_counterทั้งหมด11019311