Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
ทัพเรือเคดาห์ไทรบุรีช่วยเมืองถลางผักฉีด พ.ศ.๒๓๕๒ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 05 มกราคม 2021
ไม่มีคำอธิบาย
.

แม่ทัพเรือเมืองไทรบุรี
"ลักษมาณาเคดาห์"

 
ชุมนุมกองเรือในช่องแคบช่องหลาด
เพื่อช่วยเมืองถลางผักฉีดพ้นภัยพม่า
เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒
ตามท้องเรื่อง "ซาแอร์ สุลต่าน เมาลานา"
.
ไม่มีคำอธิบาย
.
ลักษณมาณาเคดาห์ แม่ทัพเรือเมืองไทรบุรี นำทัพเรือเคดาห์กับตาลีบงนั้นได้ผนวกเข้าเป็นทัพเดียวกัน จากนั้นหลวงคำแหงสงครามจึงนำเรือออกจาก "รมเบ็ง"? มุ่งไปที่ "ช่องแคบปันญัง" (ช่องหลาดเกาะยาว) เรือทอดสมออยู่ที่ช่องหลาดเกาะยาวได้สักครู่ก็เห็นกองเรือของพัทลุงแล่นมาจาก "เกาะกาหลาด"  คนเหล่านี้ขาดเสบียงอาหารและไม่กล้ารบกับพวกพม่าซึ่งมีกำลังพลมากกว่า กองทัพนครศรีธรรมราชซึ่งเจ้าพระยานครน้อย (โอรสสมเด็นพระเจ้าตากสินมหาราช) ก็เช่นเดียวกัน ชวนกันหนีกลับไปที่ ช่องแคบ "กอแระ"? เพราะต้องการรอที่จะสมทบกับกองกำลังสยามซึ่งมาจากที่อื่น เมื่อไม่เห็นว่ามีใครมาก็เคลื่อนทัพไปที่เกาะยาวทำให้ข้าหลวงฯ โกรธมาก แต่ท่านลักษมาณาเคดาห์กับหลวงฤทธิสงครามเมืองตาลีบงช่วยกันคลี่คลายปัญหา จึงทำให้กองทัพพัทลุงรอดตัวไม่ถูกทำโทษ
.
ไม่มีคำอธิบาย
เกาะกาหลาด และท่าเรือหินกอง ตำบลเกาะยาวใหญ่ 
.
กองทัพเรือเคดาห์ ตาลีบง สงขลา ออกเรือมุ่งหน้าไปที่ "อูฌงมึรปู" (ช่วยด้วย ที่ไหนละเนี่ย) ค้างคืนที่นั่นได้เพียงหนึ่งคืนก็ต้องย้อนกลับเข้าไปอยู่ที่ช่องแคบช่องหลาดเกาะยาวอย่างเดิมเพราะว่าไม่อาจฝ่าคลื่นลมได้ ต้องพายเรือตลอดคืนไปพักทัพกันที่เอโก็รนาฆา (เกาะนาคา) พร้อมกันนั้นก็ได้มอบหมายให้ผู้บังคับการเรือของตาลีบงที่ชื่อ เอลัก และฝีพายที่เป็นชาวเลไปสอดแนมที่เกาะถลางผักฉีดและที่ตันฌงฌัมบู (แหลมยามู) ว่าพวกพม่าอยู่กันอย่างไรสอดแนมอยู่ที่ถลางผักฉีดได้สามคืนก็ได้ข้อมูลพม่าพอเพียง ดังนั้นเมื่อถึงยามนาคทัพแมลงป่อง เรือทุกลำถึงถอนสมอจากช่องหลาดแล้วแล่นหน้าไปถึงที่ช่องแคบ "เลเฮ็ร" (เอาหลาว ที่ไหนกันละเนี่ย) เป็นจุดแรก
.
 ไม่มีคำอธิบาย
.
กองทัพเรือของเคดาห์ ตาลีบง สงขลาแยกกันออกเรือไปจากเอโก็รนาฆา (เกาะนาคา) เรือของเตอมึงฆงเกิดรั่วอย่างแรงต้องช่วยกันพยุงไปที่ช่องแคบเลเฮ็ร? ทำให้ขบวนกองทัพเรือต้องเสียรูป ครั้นตกคืนวันศุกร์ฤกษ์งามยามดีก็ยกกองทัพออกจากช่องแคบเลเฮ็ร? เข้าไปใกล้ตันณงฌัมบู (แหลมยามู) ระหว่างทางเรือของเตอมึงฆงเกิดรั่วเหมือนเก่าอีก เช้ามืดต้องแวะเข้าแอบอยู่ที่เกาะเปอนาฆา (เกาะนาคา) พอใกล้สว่างก็พายเรือเข้าไปใกล้ตันณงฌัมบู (แหลมยามู) ส่วนกองทัพพม่านั้นพอฟ้าสว่างก็ยกขบวนไปที่ค่ายแล้วยิงปืนใหญ่เข้าใส่ก่อนเท่าที่มองเห็นนั้น พม่ามีเรือรบ ๑๙ ลำเป็นเรือว่างเปล่าเพราะผู้คนนั้นไปรวมกันอยู่ที่ในค่ายถลางผักฉีด พม่าสร้างค่ายห้าแห่งเรียงกันอยู่บนภูเขาและติดปืนใหญ่ไว้พร้อม กองทัพสยามยกพลไปจนถึงชายหาดปหลมยามู ก็ระดมยิงเข้าไปที่ค่ายพม่าแตกกระเจิง
.
ไม่มีคำอธิบาย 
ช่องแคบช่องหลาด และควนช่องหลาด
.
กองทัพเรือเคดาห์และสยามถอยทัพไปตั้งหลักที่เกาะญอร์ ? พักทัพที่นั่นได้หนึ่งวัน คืนนั้นก็เห็นเพลิงลุกโชติตรงกลางเมืองถลางผักฉีด รุ่งเช้าเมื่อพายเรือไปที่เกาะเปอนาฆา (เกาะนาคา) จึงทราบจากพวกถลางที่หนีนั้นว่าพม่าเผาเมืองถลางผักฉีด (จนได้ชื่อต่อมาว่า ป่าคลอก) จนเมืองถลางผักฉีดเสียหายแล้ว เมืองถลางจึงร้างไปตั้งแต่นั้น  จนรัชกาลที่ ๓ โปรด ฯ ให้สร้างเมืองฉลางที่กราภูงา (เมืองพังงาปัจจุบัน) แล้วย้ายไปเมืองถลางเมืองใหม่  เมืองภูเก็จที่บ้านเกาะแก้ว ก็ย้ายไปเป็นเมืองภูเก็จเก็ตโฮ่ที่กะทู้ แต่ก็ยังมีอำนาจปกครองเกาะยาว (ปุเหลาปันยัง) ต่อไปอีกระยะหนึ่ง  จนเกาะยาวเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพังงา
.
ไม่มีคำอธิบาย

.
...
***
ประวัติศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์
ต้นฉบับ ซาร์แอ์ สุลต่าน เมาลานา
.
  • ผู้เขียน
    .
    ขอขอบคุณศาสตราจารย์ ดร.สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ ที่ได้นำงานแปลซาร์แอร์ สุลต่าน เมาลานา มาเผยแพร่ในงานสัมมนาประวัติศาสตร์ถลาง ครั้งที่ ๒ ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน พ.ศ.๒๕๓๙
    .
    ขอขอบคุณศาสตราจารย์ ดร.รัตติยา สาและ ผู้แปล Syair Sultan Maulana ให้พวกเรามีโอกาสอ่านและนำมาใช้งานการมัคคุเทศก์เพื่อความจำเริญของการท่องเที่ยวเกาะยาว

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 05 มกราคม 2021 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้659
mod_vvisit_counterเมื่อวาน5656
mod_vvisit_counterทั้งหมด11018150