Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
กระเจี๊ยบเขียวจากการแกล้งดิน PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 01 ธันวาคม 2020
.

 

ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บ้านม่าหนิก


"วิถีเรียบง่าย หัวใจอินทรีย์" ตามรอยพ่อหลวง ร.9 ที่ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ หมู่ที่ 7 บ้านม่าหนิก ที่มีการน้อมนำพระราชดำริทฤษฎี "แกล้งดิน" มาใช้จนสามารถปลูกกระเจี๊ยบเขียว พืชล้มลุก ประสบผลสำเร็จ และต่อยอดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น สบู่ เจลอาบน้ำ ครีมบำรุง ยาสระผม เซรั่ม Sleeping Mask และน้ำพร้อมดื่มกระเจี๊ยบเขียว ที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ.

.
องค์กรเอกชนที่ได้ดำเนินงานให้พื้นที่ดินทราย พัฒนาด้วยการ “แกล้งดิน” จนสามารถปลูกพืชได้  เช่นกระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชล้มลุก ใช้เป็นผลิตภัณฑ์หลัก ทำเป็นสบู่กระเจี้ยบเขียว เจลอาบน้ำกระเจี้ยบเขียว  ครีมบำรุงผิวกระเจี้ยบเขียว  ยาสระผมกระเจี้ยบเขียว  เซรั่มกระเจี้ยบเขียว SleepingMask น้ำพร้อมดื่มกระเจี้ยบเขียว


.
การ “แกล้งดิน” เป็นการกระทำให้พื้นทรายมีสารอาหารของพืช ด้วยการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันมีการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ ปุ๋ยมูลใส้เดือน  น้ำหมักชีวภาพจากปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพปลาทะเล ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพน้ำมะพร้าวเทียม ปุ๋ยน้ำหมักสับปะรด การขยายเชื้อน้ำหมัก EM การทำโบกาฉิ

.

ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก ตั้งอยู่หน้าอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ บ้านม่าหนิก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อ “ม่าหนิก” มาจากข้อความในหลักศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ พ.ศ.๑๕๖๘ พบที่เขาพระนารายณ์ จากความที่ว่า “นารณมฺ มณิกฺกิรามตฺตารฺ (ก)” แปลว่าเมืองแห่งมณี หรือ เมืองแก้ว
..

ชื่อ ม่าหนิก ได้จาก

ศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖)

วัสดุ : หิน

อักษร/ภาษา : อักษรปัลลวะ ภาษาทมิฬ

อายุ : ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑

สถานที่พบ : บริเวณที่พระนารายณ์ ตำบลกะปง
อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

ปัจจุบัน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต

คำจารึก

๑…รวรฺมนฺ กุ (ณ) … ๒ (ม)านฺ ตานฺ นงฺคูรไฑ… ๓ (ตฺ) โตฏฺฏ กุฬมฺ เปรฺ ศฺรี (อวนิ) ๔ นารณมฺ มณิกฺกิรามตฺตารฺ (ก) ๕ (กุ) มฺ เศณามุคตฺตารฺกฺกุมฺ ๖ (มุฬุ)ทารฺกฺกุมฺ อไฑกฺกลมฺ

คำแปล

สระชื่อศรีอวนินารณัม ซึ่ง………….รวรรมัน คุณ………. ได้ขุดเอง ใกล้ (เมือง) นงคูร อยู่ในการรักษาของสมาชิกแห่ง มณิครามแลกองทัพระวังหน้า กับชาวไร่ชาวนา…………… (ศาสตราจารย์ ฮูล์ช สันนิษฐานว่า นงคูรเป็นชื่อตำบลที่พวกทมิฬตั้งอยู่ใกล้เมืองตะกั่วป่าทุกวันนี้ ชื่อผู้ขุดสระบางทีอาจเป็นภาสกวรรมัน)

           ในจารึก กล่าวถึง สมาชิกแห่งมณิคราม เป็นที่มาของชื่อ ม่าหนิก 

           มณิคราม หรือ มณีคราม คือ หนึ่งในสมาคมพ่อค้าชาวอินเดียที่มีบทบาทการค้าที่เข้มแข็งในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๙ ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็น กรณาฏกะ ทมิฬนาฑู อานธรประเทศตอนใต้ และบริเวณแนวยาวของชายฝั่งโคโรมันเดล บางยุคสมัยสามารถแผ่อิทธิพลไปถึงเกรละ และฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของอินเดีย ผู้คนในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาทมิฬ สมาคมพ่อค้ามณิครามค่อนข้างผูกพันกิจการอยู่กับอำนาจของทมิฬโดยตรง เมื่อหมดอำนาจของพวกทมิฬในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ สมาคมนี้ก็สลายตัวลง


           จากหลักฐานจารึกที่พบ อาจกล่าวได้ว่า สมาชิกแห่งมณิคราม หรือสมาคมพ่อค้าของชาวทมิฬจากอินเดียใต้บางส่วนน่าจะมีบทบาทอยู่ในภาคใต้ของไทยในช่วงเวลาที่ชุมชนโบราณตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ได้เจริญขึ้นเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยน่าจะเป็นกลุ่มชาวทมิฬที่น่าจะนับถือไวษณพนิกายซึ่งสอดคล้องกับการพบประติมากรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไวษณพนิกาย ในชุมชนโบราณดังกล่าว

           ศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) ซึ่งมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถือเป็นศิลาจารึกอักษรปัลลวะที่เก่าที่สุดในประเทศไทย โดยมีอายุร่วมสมัยกับศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย จังหวัดนครศรีธรรมราช จารึกเยธฺมาฯ ๑ และ ๒ จังหวัดนครปฐม จารึกเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และจารึกเหรียญเงินเมือง พรหมทิน จังหวัดลพบุรี

------------------------------------

หลักศิลาจารึกเขาพระนารายณ์
ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล: ดร.สุขกมล วงศ์สวรรค์
ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

-----------------------------------------------------------------------

อ้างอิง :

กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒. แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร,๒๕๕๙.
ธิดา สาระยา,ดร. ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.

.

ฐานเรียนรู้ :-

๑. ฐานเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก นายสุภโรจน์   ทรงยศ

๒.ฐานเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ นางรัชนี   ปิ่นชัยศิริ

๓.ฐานเรียนรู้เรื่องปุ๋ยมูลใส้เดือน                    นายมโน  โภคาอนนต์


๔. ฐานเรียนรู้เรื่องน้ำหมักชีวภาพ มี 5 กิจกรรม


» ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพปลาทะเล         นายสุภโรจน์ ทรงยศ นายสุรชัย  มุขพันธ์

» ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพน้ำมะพร้าวเทียม   นายสุภโรจน์ ทรงยศ นายสุรชัย มุขพันธ์

» ปุ๋ยน้ำหมักสับปะรด                นางรัชนี      ปิ่นชัยศิริ

» การขยายเชื้อน้ำหมัก EM              นายสุรชัย     มุขพันธ์

» การทำโบกาฉิ                                นายสุรชัย     มุขพันธ์


๕. ฐานน้ำยาไล่แมลง/ศัตรูพืช  มี ๓ กิจกรรม

» การทำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า / บาวิเรีย นายสุรชัย มุขพันธ์

» เวชภัณฑ์                  นายสุภโรจน์  ทรงยศ  / นายสุรชัย มุขพันธ์

»  สมุนไพร                         นายสุภโรจน์  ทรงยศ  / นายสุรชัย มุขพันธ์


๖. ฐานเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุกรรมพืช    นายสุภโรจน์  ทรงยศ 

นางณิชนันท์  นิลกรรณ

๗.           ฐานการเรียนรู้เรื่องการปลูกพืชในโรงเรือน/คอนโด สุภโรจน์ / รัชนี / ณิชนันท์

๘. ฐานการเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทน          นายสุภโรจน์   ทรงยศ

๙.            ฐานเรียนรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ชุมชน  มี ๘ กิจกรรม

» สบู่กระเจี้ยบเขียว                      นางมลฤดี จักรทอง 

» เจลอาบน้ำกระเจี้ยบเขียว                   นางสกาว  กัลยาณพงศ์

» ครีมบำรุงผิวกระเจี้ยบเขียว                 นางอนงค์      โภคาอนนต์

» ยาสระผมกระเจี้ยบเขียว                 นางรัชนี    ปิ่นชัยศิริ

» เซรั่มกระเจี้ยบเขียว                             นางจันทรา อุดมศุภมงคล

» SleepingMask                                                    นางสาวิตรี ชูภักดิ์

» น้ำพร้อมดื่มกระเจี้ยบเขียว                                    

   » น้ำพร้อมดื่มดอกดาวเรือง             นางณิชนันท์   นิลกรรณ์

(มอภ.จห.14428 )



.
คลังผลงาน ดร.อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร

.
ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก ดูในแถว 2.6 เครื่องมือประกอบอาชีพ

.
ทะเบียนภาพ ดร.อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร


.
ค้นเพิ่มเติมใน ใน จดหมายเหตุ มอภ.จห. ( มอภ.จห.)
.


ค้นเพิ่มใน สภท.


.
นามานุกรม

.
ณรงค์ ชูภักดิ์ เพศชาย  ภูมิลำเนาภูเก็ต อยู่ที่ 134/3 หมู่ 7 บ้านม่าหนิก ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 ให้ข้อมูลอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2563 


ณิชพันณ์ นิลกรรณ เพศหญิง  ภูมิลำเนาภูเก็ต อยู่ที่ 56/9 หมู่ 7 บ้านม่าหนิก ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 ให้ข้อมูลอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2563 


สาวิตรี ชูภักดิ์ เพศหญิง ภูมิลำเนาภูเก็ต อยู่ที่ 139/1 หมู่ 7 บ้านม่าหนิก ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 ให้ข้อมูลอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2563 


ศุภโรจน์ ทรงยศ เพศชาย ภูมิลำเนาภูเก็ต อยู่ที่ 139/1 หมู่ 7 บ้านม่าหนิก ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 ให้ข้อมูลอรุณรัตน์ สรรเพ็ชร เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2563 


นามานุกรม  แถว 1-2-3.15 เบ็ดเตล็ด

.
บรรณานุกรม
.
จารึกเขาพระนารายณ์  http://www.digital.nlt.go.th/digital/book-reader/index
.
ศุภโรจน์ ทรงยศ (๒๕๖๓)  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก  ภูเก็ต : มอภ.จห.(รหัส 14930)
.
อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร (๒๕๖๓) น้ำตกไอ้เฮ ภูเก็ต : มอภ.จห.  ๔ หน้า
.
อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร (๒๕๖๓) คลังวัฒนธรรม ดร.อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร ภูเก็ต : มอภ.จห. (รหัส 314)

.
เขื่อนบางเหนียวดำ  (๒๕๖๓) คลังผลงาน อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร (ในแถว 2.2 การท่องเที่ยว) ภูเก็ต : มอภ.จห. (รหัส 14928)


แกล้งดิน ใน https://mega.nz/fm  ภูเก็ต : มอภ.จห. (รหัส 14930)

.
อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร (๒๕๖๓) บรรณานุกรม (แถว 1-2-3.15 เบ็ดเตล็ด) ภูเก็ต : มอภ.จห.(รหัส 314)

.
หลักศิลาจารึกเขาพระนารายณ์ อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร สืบค้นจาก kuapa.com เมื่อ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

.

.
ทะเบียนภาพ ดร.อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร
.



***
คติชนวิทยา  คติชนวิทยา

ต้นฉบับกระเจี๊ยบเขียวจากการแกล้งดิน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหมิก
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 01 ธันวาคม 2020 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้2928
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2012
mod_vvisit_counterทั้งหมด11010869