Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
อั้งยี่ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 25 มีนาคม 2018
มห.ภูเก็จ ๒๓๒๙

อั้งยี่  อั้งยี่


         ความคิดเห็นที่ 1  

        ตอน เจ็ดแล้วครับ กำลังรออ่าน แต่ว่าตอนนี้เนี่ย 
        หมั่นกินผัดผักบุ้งไฟแดง บำรุงสายตาอยู่ เพราะมีความรู้ให้อ่านมากมายเหลือเกิน 
        แล้วคุณกัมม์ล่ะครับ รับประทานของบำรุงกำลังบ้างหรือเปล่า 


        จากคุณ : จำปูน - [ 22 ส.ค. 48 15:20:14 A:203.144.198.246 X: TicketID:033075 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 2  

        เรื่อง อั้งยี่


        (๑)
        เมื่อฉันเป็นนายพลผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกอยู่ในกรมยุทธนาธิการ  ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๐ จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๒  ได้เคยมีหน้าที่ทำการปราบปรามพวกจีนอั้งยี่ในกรุงเทพฯครั้งหนึ่ง  ต่อมาถึงสมัยฉันเป็นตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕ จน พ.ศ. ๒๔๕๘  มีหน้าที่ต้องคอยระวังพวกอั้งยี่ตามหัวเมืองอยู่เสมอบางทีต้องปราบปรามบ้างแต่ไม่มีเหตุใหญ่โตเหมือนเมื่อครั้งฉันอยู่ในกรมยุทธนาธิการ  ถึงกระนั้นก็ยังได้ความรู้เรื่องอั้งยี่มากขึ้น  ครั้นเมื่อฉันออกจากกระทรวงมหาดไทยมาจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครมีกิจตรวจค้นโบราณคดี  พบเรื่องอั้งยี่ที่มาในเมืองไทยแต่ก่อนๆในหนังสือพงศาวดารและจดหมายเหตุเก่าหลายแห่ง  เลยอยากรู้ตำนานของพวกอั้งยี่  จึงได้ไถ่ถามผู้ที่เคยเป็นหัวหน้าอั้งยี่ที่คุ้นเคยกัน คือ พระอนุวัติราชนิยม ซึ่งมักเรียกว่า "ยี่กอฮง" นั้นเป็นต้น เขาเล่าให้ฟังได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีก  จึงได้ลองเขียนบันทึกเรื่องอั้งยี่ไว้บ้างหลายปีมาแล้ว  ครั้นออกมาอยู่เมืองปีนัง ฉันได้มาเห็นตำนานต้นเรื่องอั้งยี่ที่แรกเกิดขึ้นในเมืองจีน  มิสเตอร์ ปิคเกอร์ริง (Mr. W.A. Pickering)แปลจากภาษาจีน ในตำราของพวกอั้งยี่  พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษไว้ในหนังสือวารสารของสมาคมรอแยลอาเชียติก Journal of Royal Asiatic Society เมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๘ (พ.ศ. ๒๔๒๑)  เขาเล่าถึงพวกจีนมาตั้งอั้งยี่ในหัวเมืองขึ้นของอังกฤษในแหลมมลายูเป็นอันใด  เรื่องเบื้องต้นต่อกับเรื่องอั้งยี่ที่ฉันเคยรู้มาก่อนอีกตอนหนึ่ง  จึงลองรวมเนื้อความเรื่องอั้งยี่เขียนนิทานเรื่องนี้


        (๒)
        เหตุที่เกิดอั้งยี่ในเมืองจีน
        เมื่อพวกเม่งจูได้พวกจีนไว้ในอำนาจ  ตั้งราชวงศ์ไต้เช็งครองเมืองจีนแล้ว  ถึง พ.ศ. ๒๒๐๗ พระเจ้าคังฮีได้เสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๒  ในรัชกาลนั้นมีพวกฮวนเฮงโน้วอยู่ทางทิศตะวันตกยกกองทัพมาตีเมืองจีน  เจ้าเมืองกรมการที่รักษาหัวเมืองชายแดนจีนต่อสู้ข้าศึกไม่ไหว  พระเจ้ากรุงจีนคังฮีจะแต่งกองทัพออกไปจากกรุงปักกิ่ง หาตัวแม่ทัพไม่ได้  จึงให้ออกประกาศว่า ถ้าใครอาสาปราบปรามพวกฮวนได้  จะประทานทองเป็นบำเหน็จ ๑๐,๐๐๐ ตำลึง และจะให้ปกครองผู้คน ๑๐,๐๐๐ ครัวเป็นบริวาร  ครั้งนั้นที่วัดแห่งหนึ่งบนเขากุ้ยเลงแขวงเมืองเกี้ยนเล้งในแดนจีนฮกเกี้ยนมีหลวงจีนอยู่ด้วยกัน ๑๒๘ องค์  ได้ร่ำเรียนรู้วิชาอาคมมาก  พากันเข้ามาอาสารบพวกฮวน  พระเจ้ากรุงจีนทรงยินดี แต่วิตกว่าหลวงจีนมีแต่ ๑๒๘ องค์ด้วยกัน พวกข้าศึกมากนัก  จึงตรัสสั่งให้ขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อ เต็งกุนตัด คุมกองทัพไปด้วยกันกับพวกหลวงจีน  ไปรบข้าศึกที่ด่านท่งก๊วน  พวกหลวงจีนกับพวกกองทัพกรุงปักกิ่งมาชัยชนะฆ่าฟันพวกฮวนล้มตายแตกหนีไปหมด  พระเจ้ากรุงจีนจะประทานบำเหน็จรางวัลตามประกาศ  พวกหลวงจีนไม่รับยศศักดิ์และบริวาร  ขอกลับไปจำศีลภาวนาอยู่อย่างเดิม รับแต่ทอง ๑๐,๐๐๐ ตำลึงไปบำรุงวัด  พระเจ้ากรุงจีนก็ต้องตามใจ ส่วนเต็งกุนตัดขุนนางผู้ใหญ่ที่ไปช่วยพวกหลวงจีนนั้นได้รับบำเหน็จเป็นแม่ทัพใหญ่ ณ เมืองโอ๊วก๊วง

        เต็งกุนตัดกับพวกหลวงจีน ๑๒๘ องค์  เคยชอบพอกันสนิทสนมมาตั้งแต่ไปรบพวกฮวน  เมื่อจะออกจากเมืองปักกิ่งแยกกันไป  เต็งกุนตัดจึงเชิญหลวงจีนทั้งหมดไปกินเลี้ยงด้วยกันวันหนึ่ง  แล้วเลยกระทำสัตย์สาบานเป็นพี่น้องกันต่อไปในวันหน้า  ก็ในเวลานั้นมีขุนนางกังฉิน ๒ คน เคยเป็นอริกับเต็งกุนตัดมาแต่ก่อน  ทูลพระเจ้ากรุงจีนว่า เมื่อเต็งกุนตัดจะออกไปจากเมืองปักกิ่งได้ลอบกระทำสัตย์สาบานเป็นพี่น้องไว้กับพวกหลวงจีน ๑๒๘ องค์ดูผิดสังเกต  สงสัยว่าเต็งกุนตัดจะคิดมักใหญ่ใฝ่สูง จึงได้สาบานเป็นพี่น้องไว้กับพวกหลวงจีนที่มีฤทธิ์เดช โดยหมายจะเอาไว้ป็นกำลัง  เวลาเต็งกุนตัดออกไปเป็นแม่ทัพบังคับบัญชารี้พลมาก  ถ้าได้ช่องจะสมคบกับพวกหลวงจีนพากันยกกองทัพเข้ามาชิงราชสมบัติ  น่ากลัวคนในเมืองหลวงจะไม่กล้าต่อสู้เพราะกลัวฤทธิ์เดชของพวกหลวงจีน  พวกขุนนางกังฉินคอยหาเหตุทูลยุยงมาอย่างนั้น  

        จนพระเจ้ากรุงจีนคังฮีเห็นจริงด้วย  จึงปรึกษากันคิดกลอุบายตั้งขุนนางกังฉิน ๒ คนนั้นเป็นข้าหลวง  คนหนึ่งให้ไปยังเมืองโอ๊วก๊วง ทำเป็นทีว่าคุมของบำเหน็จไปพระราชทานเต็งกุนตัด  อีกคนหนึ่งให้ไปยังวัดบนภูเขากุ้ยเล้ง ทำเป็นทีว่าคุมเครื่องราชพลี มีสุราบานและเสบียงอาหาร เป็นต้นไปพระราชทานแก่พวกหลวงจีน ๑๒๘ องค์  เมื่อข้าหลวงไปถึงเมืองโอ๊วก๊วง เต็งกุนตัดออกไปรับข้าหลวงถึงนอกเมืองหลวงตามประเพณี  ข้าหลวงก็อ่านท้องตราว่าเต็งกุนตัดคิดกบฏต้องโทษถึงประหารชีวิต  แล้วจับตัวเต็งกุนตัดฆ่าเสีย  ฝ่ายข้าหลวงที่ไปยังภูเข้ากุ้ยเล้ง พวกหลวงจีนก็ต้อนรับโดยมีการเลี้ยงรับที่วัด  ข้าหลวงเอายาพิษเจือสุราของประทานไปตั้งเลี้ยง  แต่หลวงจีนเจ้าวัดได้กลิ่นผิดสุราสามัญ  เอากระบี่กายสิทธิ์สำหรับวัดมาจุ่มลงชันสูตร  เกิดเปลวไฟพลุ่งขึ้นรู้ว่าเป็นสุราเจือยาพิษ ก็เอากระบี่ฟันข้าหลวงตาย  แต่ขณะนั้นพวกข้าหลวงที่ล้อมอยู่ข้างนอกพากันจุดไฟเผาวัดจนไหม้โทรมหมด  พวกหลวงจีน ๑๒๘ องค์ตายอยู่ในไฟบ้าง พวกข้าหลวงฆ่าตายบ้าง  หนีรอดไปได้แต่ ๕ องค์  ชื่อ ฉอองค์หนึ่ง บุงองค์หนึ่ง มะองค์หนึ่ง โอองค์หนึ่ง ลิองค์หนึ่ง  พากันไปซ่อนตัวอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง  ในแขวงเมืองโอ๊วก๊วง ที่เต็งกุนตัดเคยเป็นแม่ทัพอยู่แต่ก่อน

        อยู่มาวันหนึ่ง  หลวงจีน ๕ องค์นั้งลงไปที่ริมลำธาร  แลเห็นกระถางธูปสามเขามีหูสองข้างใบหนึ่ง  ลอยมาในน้ำกำลังมีควันธูปในอากาศ  นึกหลากใจจึงลงไปยกขึ้นมาบนบกพิจารณาดู  เห็นมีตัวอักษาอยู่ที่ใต้กระถางธูปนั้น ๔ ตัว ว่า  หวน เชง หก เหม็ง  แปลว่ากำจัดเชงเสีย กลับยกเหม็งขึ้น  นึกสงสัยว่าเทวดาฟ้าและดินจะสั่งให้ทำอย่างนั้นหรืออย่างไร  ลองเสี่ยงทายดูหลายครั้งก็ปรากฏว่าให้ทำเช่นนั้นทุกครั้ง  หลวงจีนทั้ง ๕ ประจักษ์แจ้งแก่ใจดังนั้น  จึงเอาหญ้าปักต่างธูปที่ในกระถางจุดบูชา  แล้วกระทำสัตย์กันตามแบบที่เล่าปี่ กวนอู เตียวหุยสัญญากันแต่ก่อน  ว่าจะช่วยกันทำนุบำรุงแผ่นดิน  และจะกำจัดราชวงศ์ไต้เช็งเอาบ้านเมืองคืนให้แก่ราชวงศ์ไต้เหม็งตามเดิม  เมื่อปฏิญาณกันแล้ว เห็นสมุดตำราพยากรณ์มีอยู่ในก้นกระถางด้วยก็พากันยินดี  แต่ในขณะนั้นเองพวกข้าหลวงที่เที่ยวติดตามก็ไปถึงจะเข้าล้อมจับ  พวกหลวงจีนจึงอุ้มกระถางธูปวิ่งหนีไป  เผอิญวันนั้นนางกู้ส่วยเองเมียงเต็งกุนตัดที่ถูกฆ่าตาย  พาลูกและญาติพี่น้องออกไปเซ่น ณ ที่ฝังศพเต็งกุนตัด  ในเวลากำลังเซ่นอยู่ได้ยินเหมืองเสียงคน  แลไปดูเห็นกระบี่เล่มหนึ่งโพล่ขึ้นมาจากแผ่นดิน  เอามาพิจารณาดูเห็นมีตัวอักษรจารึกที่กั่นกระบี่ว่า น่อ เล้ง โต๊ว แปลว่ามังกรสองตัวชิงดวงมักดากัน  และที่ในตัวกระบี่ก็มีอักษรจารึกว่า หวน เช็ง หก เหม็ง แปลว่าให้กำจัดราชวงศ์ไต้เช็งคืนแผ่นดินให้ราชวงศ์เหม็ง  ในเวลาที่กำลังพิจารณาตัวอักษรอยู่นั้นได้ยินเสียงคนร้องให้ช่วย  นางกู้ส่วยเองก็ถือกระบี่ที่ได้ใหม่มาพาพวกพ้องออกไปดูเห็นข้าหลวงกำลังไล่หลวงจีนทั้ง ๕ องค์มา  พวกนางกู้ส่วยเองเข้าป้องกันหลวงจีน เอากระบี่ฟันถูกข้าหลวงตาย  พรรคพวกก็หนีไปหมด  นางกู้ส่วยเองกับพวกหลวงจียไถ่ถามและเล่าเรื่องฝ่ายของตนให้กันฟัง ก็รู้ว่าเป็นพวกเดียวกันมาแต่เดิม  และได้ถูกเนรคุณอย่างเดียวกัน  นางจึงให้พวกหลวงจีนอาศัยอยู่ที่บ้าน  จนเห็นการสืบจับสงบเงียบ  แล้วจึงให้หลวงจีนทั้ง ๕ กลับไปอยู่วัดตามเดิม  หลวงจีนทั้ง ๕ นี้ได้นามว่า โหวง โจ๊ว  แปลว่า บุรุษทั้ง ๕ ของอั้งยี่ต่อมา

        ถึงตอนนี้หลวงจีนทั้ง ๕ แน่ใจว่าเทวดาฟ้าดิน  ให้คิดอ่านกูบ้านเมืองด้วยกำจัดราชวงศ์ไต้เช็ง  ก็ตั้งหน้าเกลี้ยกล่อมผู้คนให้ร่วมคิดได้พรรคพวกมากขึ้น  แต่กิติศัพท์รู้ไปถึงเจ้าเมืองกรมการก็ให้ออกไปจับ  หลวงจีนทั้ง ๕ จึงต้องหนีออกจากเมืองโอ๊วก๊วงต่อไป  ไปพบนายโจรพวกทหารเสือ ๕ คน  เมื่อได้พูดสนทนากัน พวกนายโจรก็เลื่อมใส  รับจะพาโจรบริวาลของตนมาเข้าพวกด้วย  แล้วพาหลวงจีนไปสำนักอยู่ภูเขาเหล็งโฮ้ว แปลว่า มังกรเสือ  ในเวลานั้นมีหลวงจีนองค์หนึ่งชื่อตั้งกิ๋มน้ำ เคยเรียนรู้หนังสือมากจนได้เป็นขุนนางรับราชการอยู่ในกรุงปักกิ่ง  อยู่มาสังเกตว่าราชวงศ์ไต้เช็งปกครองบ้านเมืองไม่เป็นยุติธรรม  เกิดท้อใจจึงลาออกจากราชการไปบวชเป็นหลวงจีนจำศีลศึกษาวิชาอาคมของลัทธิศาสนาเต๋าอยู่ ณ ถ้ำแป๊ะเฮาตั้ง แปลว่า นกกระสาเผือก  จนมีผู้คนนักถือมาก  วันหนึ่งลูกศิษย์ ๔ คนไปบอกข่าวว่า  หลวงจีน ๕ องค์ได้ของวิเศษ คิดอ่านจะกำจัดราชวงศ์ไต้เช็งกู้บ้านเมือง  หลวงจีนตั้งกิ๋มน้ำก็ยินดีพาศิษย์ ๔ คนตามไปยังสำนักของหลวงจีน ๕ องค์ ณ ภูเขามังกรเสือ  ขอสมัครเป็นพวกร่วมคิดช่วยกู้บ้านเมืองด้วย  ในพวกที่ไปสมัครนั้นยังมีคนสำคัญอีก ๒ คน  คนหนึ่งเป็นชายหนุ่มชื่อ จูฮุ่งชัก เป็นราชนัดดาของพระเช่งจง ในราชวงศ์ไต้เหม็ง  อีกคนรหนึ่งเป็นหลวงจีนชื่อ บั้งลุ้ง รูปร่างใหญ่มีกำลังวังชากล้าหาญมาก  เมื่อรวบรวมพรรพวกได้มากแล้ว  พวกคิดการกำจัดราชวงศ์ไต้เช็งจึงประชุมกันทำสัตย์สาบานเป็นพี่น้องกันทั้งหมด  แล้วยก เจ้าจูฮุ่งชัก ขึ้นเป็นรัชทายาทราชวงศ์ไต้เหม็ง  ตั้งหลวงจีนตั้งกิ๋มน้ำซึ่งเป็นผู้มีความรู้มากเป็นอาจารย์(จีนแส)  และตั้งหลวงจีนบั้งลุ้งเป็น "ตั้วเฮีย" แปลว่าพี่ชายใหญ่ และเป็นตำแหน่งจอมพล  ตัวนายนอกจากนั้นก็ให้มีตำแหน่งและคุมหมวดกองต่างๆ  แล้วพากันยกรี้พลไปตั้งอยู่ที่ภูเขาฮ่งฮวง แปลว่า ภูเขาหงส์ (จะเป็นแขวงเมืองไหนไม่ปรากฏ)  หวังจะตีเอาบ้านเมืองคืน ได้รบกับกองทัพประจำเมืองนั้น  รบกันครั้งแรก พวกกบฏมีชัยชนะตีกองทหารหลวงแตกหนีเข้าเมือง  แต่รบครั้งหลังเกิดเหตุอัปมงคลขึ้นอย่างประหลาด  ด้วยในเวลาหลวงจีนบั้งลุ้งตั้วเฮีย ขี่ม้าขับพลเข้ารบ  ม้าล้มลงจอมพลตกม้าตาย  พวกกบฏก็แตกพ่ายพากันหนีกลับไปยังเขามังกรเสือ  หลวงจีนตั้งกิ๋มน้ำผู้เป็นอาจารย์เห็นว่าเกิดเหตอันมิบังควรผิดสังเกต  ตรวจตำราดูก็รู้ว่าเป็นเพราะพระราชวงศ์ไต้เช็งยังรุ่งเรืองในตำราว่า ศัตรูไม่สามารถจะทำร้ายได้  จึงชี้แจงแก่พวกกบฏว่า  ถาจะรบพุ่งต่อไปในเวลานั้นก็ไม่สำเร็จได้ดังประสงค์  ต้องเปลี่ยนอุบายเป็นอย่างอื่น  แนะให้พวกที่ทำสัตย์สาบานกันแล้วแยกย้ายกระจายกันไปอยู่โดยลำพังตัวตามหัวเมืองต่างๆ  และทุกๆคนไปคิดตั้งสมาคมลับขึ้นในตำบลที่ตนไปอยู่  หาพี่น้องน้ำสบถร่วมความคิดกันให้แพร่หลาย  พอถึงเวลาชะตาราชวงศ์ไต้เช็งตก  ก็ให้พร้อมมือกันเข้าตีเมือง  จึงจะกำจัดราชวงศ์ไต้เช็งได้  พวกกบฏเห็นชอบด้วย  จึงตั้งสมาคมลับให้เรียกชื่อว่า "เทียนตี้หวย" แปลว่า ฟ้าดินมนุษย์  หรือเรียกโดยย่ออีกอย่าง "ซาฮะ" แปลว่า องค์สาม คือฟ้าดินมนุษย์  และตั้งแบบแผนสมาคม  ทั้งวิธีสบถสาบานรับสมาชิกและข้อบังคับสำหรับสมาชิก  กับทั้งกิริยาอาการที่จะแสดงความลับกันในระหว่างสมาชิกให้รู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน  จึงเกิดสมาคมลับที่ไทยเราเรียกว่า "อั้งยี่" ขึ้นในเมืองจีนด้วยประการฉะนี้  รัฐบาลจีนรู้ว่าใครเป็นพวกอั้งยี่ก็จับฆ่า  ถึงอย่างนั้นพวกสมาคม "เทียนตี้หวย" หรือ "ซาฮะ" ก็ยังมีอยู่ในเมืองจีนสืบมา  รัฐบาลทำลายล้างไม่หมดได้  


        (๓)
        อั้งยี่ในแหลมมลายู 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 22 ส.ค. 48 16:59:20 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 3  

        รับยาดองครับ ท่านจำปูน 

        จากคุณ : กัมม์  - [ 22 ส.ค. 48 17:00:25 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 4  

        wink 

        จากคุณ : กริชครับผม   - [ 22 ส.ค. 48 17:51:24 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 5  

        ยินดีต้อนรับครับสู่ห้องใหม่ครับคุณกริช


        ท่าน จำปูน
        เห็นในกระดาน ตำนานพระโกศ  ตอนท้ายของ # ๑
        เอะใจว่าทำไมถึงลง "เอย"
        อ่านดูอีกรอบ  
        นั้นแน่ ไม่ธรรมดานี่   เป็นฉันทลักษณ์

        "อันตัวเราก็หนึ่งในตองอู  ดูหรือมาหมิ่นเชิงชาย"

        เมื่อท้าทายกันก็ต้องโต้กันเสียบ้างแล้วครับ

        ....ชื่อ กัมม์ แม้ดับแล้ว................แต่เหลือ
        เหลือแต่หนี้สินเฝือ......................มากได้
        ได้มากเท่าไรเถือ........................ทั้งหมด  หารสอง
        สองหารเท่าใดไซร้......................แบ่งให้ จำปูน ฯ 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 22 ส.ค. 48 18:32:09 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 6  

        ....ยอมรับจับจิตแล้ว.....................คุณกัมม์
        หลังขดหลังแข็งจำ.........................จดให้
        ความรู้ถ่ายทอดทำ........................ประโยชน์ 
        ขอโทษรับมิได้..............................เนื่องไซร้ ยังจน

        มาอย่างไรก็ไปอย่างนั้นครับ 


        จากคุณ : จำปูน - [ 22 ส.ค. 48 21:46:51 A:202.133.166.147 X: TicketID:033075 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 7  

        อย่างนี้พอรับได้ครับ ท่าน 
        .......มรดกพกห่อต้อง……..….ทองคำ
        ร้อยบาทเป็นอย่างต่ำ…..….....สิบอกให้
        ร้านฮั่วเซ่งเฮงทำ……………...ลายเลิศ หรูแฮ
        ทองดอกบวบนั้นไซร้……...….อย่าได้นำมา

        ง้วง ง่วง ไปนอนก่อนนะครับ ราตรีสวัสดิ์ 


        จากคุณ : จำปูน - [ 22 ส.ค. 48 22:58:16 A:202.133.166.147 X: TicketID:033075 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 8  

        ขอเสริมนิดครับ 

        สำนวน โค่นชิงกู้หมิง นี้ ภาษาจีนกลาง ออกเสียงว่า 

        ฝ่านชิงฝู่หมิง ครับ 


        จากคุณ : เอิ๊ก พรหรม - [ 22 ส.ค. 48 23:18:50 A:203.170.228.172 X: TicketID:050066 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 9  

        เจอของจริงเข้าเสียแล้ว  นับถือ นับถือ ข้าน้อยนับถือ
        เอาไว้ว่างๆ  หรือท่านจำปูน เงียบหายไปจะแหย่ใหม่นะครับ

        ขอบพระคุณครับ คุณ เอิ๊ก
        ช่วยกัน ช่วยกัน 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 23 ส.ค. 48 10:42:28 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 10  

        สำนวน โค่นชิงกู้หมิง นี้ มาแต่โบราณเลยหรือครับ
        ใครแต่งหนอ เก่งจัง เวลาดูหนังจีนแล้วฮึกเหิมดี 


        จากคุณ : จำปูน - [ 23 ส.ค. 48 11:28:42 A:203.144.198.246 X: TicketID:033075 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 11  

        ไปอยู่ที่ ตำนานพระโกศ เสียครึ่งวัน
        มาว่ากันต่อนะครับ


        (๓)
        อั้งยี่ในแหลมมลายู

        ในหนังสือฝรั่งแต่ง  เขาว่าพวกจีนที่ทิ้งบ้านเมืองไปเที่ยวทำมาหากินตามต่างประเทศ  ล้วนแต่เป็นชาวเมืองชายทะเลภาคใต้ และอยู่ในพวกที่เป็นคนขัดสนทั้งนั้น  จีนชาวเมืองดอนหรือที่มีทรัพย์สินสมบูรณ์หามีใครทิ้งบ้านเมืองไปเที่ยวทำมาหากินตามต่างประเทศไม่  และว่าพวกจีนที่ทำมาหากินต่างประเทศนั้น  จีนต่างภาษามักไปประเทศที่ต่างกัน  พวกจีนจิ๋วมักชอบไปเมืองไทย  พวกจีนฮกเกี้ยนมักชอบไปเมืองชวามลายู  พวกจีนกวางตุ้งมักชอบไปอเมริกา  เมื่ออังกฤษตั้งเมืองสิงคโปร์(ตรงกับตอนปลายรัชกาลที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์) มีพวกจีนอยู่ในแหลมมลายูเป็นอันมากมาแต่ก่อนแล้ว  ที่มาได้ผลประโยชน์จนมีกำลังเลยตั้งตัวเป็นหลักเป็นแหล่งก็มี  ในสมันนั้นจีนที่มาเที่ยวหากินในเมืองไทยและเมืองชวามลายู มาแต่ผู้ชาย  จีนที่มาตั้งตัวเป็นหลักแหล่งมาได้ผู้หญิงชาวเมืองเป็นเมีย มีลูกเกิดด้วยสมพงศ์เช่นนั้นมลายูเรียกผู้ชายว่า "บาบ๋า" เรียกผู้หญิงว่า "ยอหยา"  ทางเมืองชวามลายู จีนผู้เป็นพ่อไม่พอใจจะให้ลูกถือศาสนาอิสลามตามแม่  จึงฝึกหัดอบรมให้ลูกทั้งชายหญิงเป็นจีนสืบตระกูลต่อมาทุกชั่ว  เพราะฉะนั้นจีนในเมืองชวามลายูจึงต่างกันเป็น ๒ อย่าง คือ "จีนนอก" ที่มาจากเมืองจีนอย่าง ๑  "จีนบาบ๋า" ที่เกิดขึ้นในท้องที่อย่าง ๑ อยู่เสมอ  ผิดกับเมืองไทน เพราะเหตุที่ไทยถือพระพุทธศาสนาร่วมกับจีน  ลูกจีนที่เกิดในเมืองไทย ถ้าเป็นผู้ชายคงเป็นจีนตามอย่างพ่ออยู่เพียงชั่วหนึ่งหรือสองชั่วก็กลายเป็นไทย  แต่ลูกผู้หญิงกลายเป็นไทยตามแม่ตั้งแต่ชั่วแรก  ในเมืองไทยจึงมีแต่จีนนอกกับไทยที่เป็นเชื้อจีน  หามีจีนบาบ๋าเป็นจีนประจำอยู่พวกหนึ่งต่างหากไม่

        ในสมัยเมื่ออังกฤษแรกตั้งเมืองสิงคโปร์นั้น  พวกจีนก็เริ่มตั้งอั้งยี่คือสมาคมลับที่เรียกว่า "เทียนตี้หวย" หรือ "ซาฮะ" ขึ้นในเมืองมลายูบ้างแล้ว  อังกฤษรู้อยู่ว่าวัตถุที่ประสงค์ของพวกอั้งยี่จะกำจัดราชวงศ์ไต้เช็ง  อันเป็นการในเมืองจีน  ไม่เห็นว่ามีมูลอันใดจะมาตั้งอั้งยี่ในเมืองต่างประเทศ  สืบถามได้ความว่าพวกจีนมาตั้งอั้งยี่ในมลายูไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องกำจัดราชวงศ์ไต้เช็ง  เป็นแต่เอาแบบแผนสมาคม "เทียนตี้หวย" ในเมืองจีนมาตั้งข้น  เพื่อจะสงเคราะห์พวกจีนที่จะมาทำมาหากินทางเมืองมลายู มิให้ต้องตกยากหรือได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกพวกมลายูกดชี่ข่มเหงเท่านั้น  อีกประการหนึ่งปรากฏว่าพวกอั้งยี่มีแต่ในพวกจีนนอก  แต่จีนที่มาตั้งตัวเป็นหลักแหลบ่งและจีนบาบ๋าที่เกิดในแหลมมลายูหาเกี่ยวข้องกับพวกอั้งยี่ไม่  อังกฤษเห็นว่าเป็นแต่สมาคมสงเคราะห์กันและกัน  ก็ปล่อยให้มีอั้งยี่อยู่ไม่ห้ามปราม   ครั้นจำเนียรกาลนานมา(ถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์)เมื่อเศรษฐกิจในแหลมมลายูเจริญขึ้น  พวกพ่อค้าที่ขุดแร่ดีบุกและทำเรือกสวนต้องการแรงงานมากขึ้น  ต่างก็เรียกหาว่าจ้างจีนในเมืองจีนมาเป็นกรรมกรมากขึ้นโดยลำดับ จำนวนจีนที่เป็นอั้งยี่ก็มีมากขึ้นและจัดแยกกันเป็นหลายเหล่า  จนเหลือกำลังผู้ที่เป็น "ตั้วเฮีย" หัวหน้าจะว่ากล่าวปกครองได้  ไม่มีใครสมัครเป็นตั้วเฮีย  พวกอั้งยี่ก็แยกกันเป็นหลายกงสีเรียกชื่อต่างกัน ต่างมีแต่ "ยี่เฮีย" (แปลว่าพี่ที่สอง) เป็นหัวหน้า เป็นอิสระแก่กัน  และอั้งยี่ต่างกงสีมักเกิดวิวาทตีรันฟันแทงกันจนรัฐบาลรำคาญ  แต่จะบังคับให้เลิกอั้งยี่ก็เกรงจะเกิดลำบากด้วยอาจเป็นเหตุให้พวกจีนในเมืองจีนหวาดหวั่น  ไม่มารับจ้างเป็นกรรมกรพอต้องการเหมือนแต่ก่อนอย่างหนึ่ง  และพวกจีนกรรมกรมีมากกว่าแต่ก่อนมาก ถ้าพวกอั้งยี่ขัดขืนก็ต้องใช้กำลังปราบปรามกลายเป็นการใหญ่โตขึ้นกว่าเหตุ  อีกประการหนึ่งเห็นว่าพวกอั้งยี่เป็นแต่มักวิวาทกันเอง  หาได้ทำร้ายต่อรัฐบาลอย่างใดไม่  อังกฤษตั้งข้อบังคับควบคุมพวกอั้งยี่เป็นสายกลาง คือ ภ้าจีนตั้งสมาคมอั้งยี่หรือสาขาของสมาคมที่ไหน  ต้องมาขออนุญาตต่อรัฐบาล  บอกชื่อผู้เป็นหัวหน้าและพนักงานของสมาคมก่อน  ต่อได้รับอนุญาตจึงตั้งได้  ถ้ารัฐบาลมีกิจเกี่ยวข้องแก่พวกอั้งยี่สมาคมไหน ก็จะว่ากล่าวเอาความรับผิดชอบแก่หัวหน้าและพนักงานแก่สมาคมนั้น  แต่นั้นมาพวกอั้งยี่สมาคมต่างๆก็ตั้งกงสีของสมาคม ณ ที่ต่างๆแพร่หลาย  โดยวิธี "รัฐบาลเลี้ยงอั้งยี่" เป็นประเพณีสืบมา

        ที่เอาเรื่องอั้งยี่ในหัวเมืองขึ้นอังกฤษมาเล่าเพราะมามีเรื่องเกี่ยวข้องกับในเมืองไทยเมื่อภายหลัง  ดังจะปรากฏต่อไปข้างหน้า


        (๔)
        อั้งยี่แรกมีในเมืองไทย

        ในจดหมายเหตุของไทยใช้คำเรียกอั้งยี่ต่างกันตามสมัยแต่ความไม่ตรงกับที่จริงทั้งนั้น  จึงจะแทรกคำอธิบายเรียกต่างๆลงตรงนี้ก่อน  ชื่อของสมาคมที่ตั้งในเมืองจีนแต่เดิมเรียกว่า "เทียนตี้หวย" แปลว่า "ฟ้า ดิน มนุษย์"(๑)  หรือเรียกโดยย่ออีกอย่างหนึ่งตามภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า "ซาฮะ" แปลว่า องค์สาม เป็นนามของอั้งยี่ทุกพวก  ครั้นอั้งยี่แยกกันเป็นหลายกงสี จึงมีชื่อกงสีเรียกต่างกัน เช่น งี่หิน ปูนเถ้าก๋ง งี่ฮก ตั้งกงสี ชิวลิกือ เป็นต้น  คำว่าอั้งยี่ แปลว่า "หนังสือแดง" ก็เป็นแต่ชื่อกงสีอันหนึ่งเท่านั้น  ยังมีชื่อเรียกสำหรับตัวนายอีกส่วนหนึ่ง  ผู้ที่เป็นหัวหน้าอั้งยี่ในถิ่นอันหนึ่งรวมกันทุกกงสี  เรียกตามภาษาฮกเกี้ยนว่า "ตั้วกอ" ตามภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า "ตั้วเฮีย" แปลว่าพี่ใหญ่  ผู้เป็นหัวหน้ากงสีเรียกว่า "ยี่กอ" หรือ "ยี่เฮีย" แปลว่าพี่ที่สอง  ตัวนายรองลงมาเรียกว่า "ซากอ" หรือ "ซาเฮีย" แปลว่าพี่ที่สาม  ในจดหมายเหตุของไทยเดิมเรียกพวกที่เข้าสมาคมเทียนตี้หวยทั้งหมดว่า "ตั้วเฮีย"  มาจนรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนคำว่า "ตั้วเฮีย" เรียก "อั้งยี่"  ในนิทานนี้ฉันเรียกอั้งยี่มาแต่ต้นเพื่อให้สะดวกแก่ท่านผู้อ่าน

        อั้งยี่แรกขึ้นมีในเมืองไทยเมื่อรัชกาลที่ ๓  มูลเหตุที่จะเกิดอั้งยี่นั้น  เนื่องมาแต่อังกฤษเอาฝิ่นอินเดียเข้าไปขายในเมืองจีนมากขึ้น  พวกจีนตามเมืองชายทะเลพากันสูบฝิ่นติดแพร่หลาย  จีนเข้ามาหากินในเมืองไทย ที่เป็นคนสูบฝิ่นก็เอาฝิ่นเข้ามาสูบกันแพร่หลายกว่าแต่ก่อน  เลยเป็นปัจจัยให้มีไทยสูบฝิ่นมากขึ้น  แม้จนผู้ดีที่เป็นเจ้าและขุนนางพากันสูบฝิ่นติดก็มี  ก็ในเมืองไทยมากฎหมายห้ามมาแต่ก่อนแล้วมิให้ใครสูบฝิ่ หรือซื้อฝิ่นขายฝิ่น  เมื่อปรากฏว่ามีคนสูบฝิ่นขึ้นแพร่หลายเช่นนั้น  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงดำรัสสั่งให้ตรวจจับฝิ่นตามกฎหมายอย่างกวดขัน(๒) แต่พวกจีนและไทยที่สูบฝิ่นมีมากก็จำต้องลอบหาซื้อฝิ่นสูบ  เป็นเหตุให้คนลอบขายฝิ่นขึ้นราคาขายได้กำไรงาม  จึงมีพวกค้าฝิ่นด้วยตั้งอั้งยี่วางสมัครพรรคพวกไว้ตามหัวเมืองชายทะเลที่ไม่มีการตรวจตรา  คอยรับฝิ่นจากเรือที่มาจากเมืองจีนแล้วเอาปลอมปนกับสินค้าอื่นส่งเข้ามายังกงสีใหญ่  ซึ่งตั้งขึ้นตามที่ลี้ลับในหัวเมืองใกล้ๆกรุงเทพฯ  ลอบขายฝิ่นเป็นรายย่อยเข้ามายังพระนคร  ข้าหลวงสืบรู้ก็ออกไปจับ  ถ้าซ่องไหนมีพรรคพวกมากก็ต่อสู้จนถึงเกิดเหตุรบพุ่งกันหลายครั้ง มีปรากฎในหนังสือพงศาวดารว่า

        เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เกิดอั้งยี่ในแขวงจังหวัดนครชัยศรี และจังหวัดสมุทรสาคร  แต่ปราบปรามได้โดยไม่ต้องรบพุ่งครั้งหนึ่ง

        ต่อนั้มา ๒ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๘๗  พวกอั้งยี่ตั้งซ่องขายฝิ่นที่ในป่าแสมริมชายทะเล ณ ตำบลแสมดำ  ในระหว่างปากน้ำบางปะกงกับแขวงจังหวัดสมุทรปราการต่อสูเจ้าพนักงานจับฝิ่น  ต้องให้กรมทหารปากน้ำไปปราบ  ยิงพวกอั้งยี่ตายหลายคน และจับหัวหน้าได้  อั้งยี่ก็สงบลงอีกครั้งหนึ่ง

        ต่ามาอีก ๓ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๙๐พวกอั้งยี่ตั้งซ่องขายฝิ่นขึ้นอีกที่ตำบลลัดกรุด แขวงเมืองสมุทรสาคร  ครั้งนี้พวกอั้งยี่มีพรรคพวกมากว่าแต่ก่อน  พระยาพลเทพ(ปาน)ซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานจับฝิ่น  ออกไปจับเองถูกพวกอั้งยี่ยิงตาย  จึงโปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์(๓)เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาพระคลังคุมกำลังไปปราบ  ฆ่าพวกอั้งยี่ตายประมาณ ๔๐๐ คน และจับหัวหน้าได้จึงสงบ

        ปราบพวกอั้งยี่ที่ลัดกรุดได้ไม่ถึงเดือน  พอเดือน ๕  พ.ศ. ๒๓๙๑ พวกอั้งยี่ก็กำเริบขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทรา  คราวนี้ถึงเป็นกบฎ ฆ่าพระยาวิเศษลือชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดตาย  แล้วพวกอั้งยี่เข้ายึดป้อมเมืองฉะเชิงเทราไว้เป็นที่มั่น  โปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ยกพลจากเมืองสมุทรสาครไปปราบ  พวกอั้งยี่ที่เมืองฉะเชิงเทราต่อสู่พ่ายแพ้  พวกจีนถูกฆ่าตายกว่า ๓,๐๐๐ คน  อั้งยี่เมืองฉะเชิงเทราจึงสงบ(๓)  ต่อมาอีก ๒ ปีก็สิ้นรัชกาลที่ ๓


        (๕)
        อั้งยี่ในเมืองไทยเมื่อรัชกาลที่ ๕


        ....................................................................................................................................................

        (๑) ในหนังเรื่อง "หวงเฟยหง" มักได้ยิน คนแปลคนพากย์ใช้คำว่า พรรคฟ้าดิน-คือสมาคมลับต่อต้านราชวงศ์ ก็คืออันเดียวกัน "เทียนตี้หวย"

        (๒) การกวดขันปราบปรามฝิ่นในครั้ง ได้ฝิ่นเป็นจำนวนมาก  โปรดฯให้เอา"กลักฝิ่น"ที่ได้มาด้วยนั้นหลอมและหล่อเป็นพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในบริเวณเชิงภูเขาทอง กรุงเทพฯ  เป็นอนุสรณ์

        ผ่านไปผ่านมาแวะนมัสการบ้างนะครับ  Unseen Thailand  พระพุทธรูปองค์เดียวที่หล่อสร้างจากกลักฝิ่น

        (๓) สมเด็จพระบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ  บุนนาค)  เป็นบุตรเจ้าพระยามหาเสนา(บุนนาค) และเจ้าคุณนวล พระกนิษฐภคินีในกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์  เดิมเป็นนายสุจินดาหุ้มแพรมหาดเล็ก  แล้วเป็นหลวงศักดิ์นายเวร  เป็นจมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๑  แล้วเป็นพระยาสุริยวงศ์มนตรี จางวางมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๒เมื่อเจ้าพระยาโกษา(สังข์)เลื่อนไปเป็นที่สมุหพระกลาโหม  จึ่งโปรดฯให้พระยาสุริยวงศ์มนตรี(ดิศ)เป็นเจ้าพระยาพระคลัง เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๒  

        ครั้นรัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยามหาเสนา(น้อย)ถึงอสัญกรรมแล้ว  จะโปรดฯให้เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ)เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหาเสนา  เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ)อ้างว่าเป็นเจ้าพระยามหาเสนามักจะอายุสั้นไม่ยอมรับ  จึงโปรดฯให้ว่าทั้งกลาโหมและกรมท่า  เรียกว่า เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหกลาโหม

        ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ โปรดฯให้ยกขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยา เรียกันว่าสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่  เมื่อก่อนจะทรงตั้งเจ้าพระยาพระคลังที่สมุหพระกลาโหมเป็นสมเด็จเจ้าพระยา  โปรดฯให้เรียกว่า เจ้าพระยาอัครมหาอุดมบรมวงศาเสนาบดีไปพลางก่อนจนได้ฤกษ์ ในปีกุน พ.ศ. ๒๓๙๔  พระราชทานราชทินนามว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ วรุตพงศนายก สยามดิลกโลกานุปาลนนาถสกลราชวราณาจักราธิเบนทร ปรเมนทรมหาราชานุกูล สรรพกิจมูลมเหศวรเชษฐามาตยาธิบดี ศรีสรณรัตนธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร

        สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ เกิดเมื่อปีวอก  พ.ศ. ๒๓๓๑  ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ปีเถาะ  พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุ ๖๘ ปี

        (๓) มีเรื่องในเทศนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  กล่าวว่า "เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์  สิงหเสนี) ยกทัพกลับจากเมืองเขมรผ่านมาทางเมืองฉะเชิงเทรา  ได้แวะช่วยเจ้าพระยาพระคลังปราบกบฏที่เมืองฉะเชิงเทราจนสงบ  จึงยกทัพเข้าพระนคร"

        ต้องให้เครดิตกับท่านด้วย....
        ตายไปกว่า ๓,๐๐๐ คน  ดูสมกับอุปนิสัยที่เข้มแข็ง เด็ดขาดของท่านเจ้าคุณผู้ใหญ่จริงๆ 
        ประวัติ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์  สิงหเสนี)
        คลิ๊กที่ลิงค์นี้ครับ
        http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3435860/K3435860.html 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 23 ส.ค. 48 16:41:20 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 12  

        มาเข้าคิวอ่านเช่นเดิมครับ 

        จากคุณ : jaxcu  - [ 24 ส.ค. 48 12:55:44 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 13  

        ยินดีต้อนรับเช่นเดิมครับ Jaxcu 

        จากคุณ : กัมม์  - [ 24 ส.ค. 48 16:46:34 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 14  

        (๕)
        อั้งยี่ในเมืองไทย เมื่อรัชกาลที่ ๔

        ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ตรัสปรึกษาเสนาบดีเห็นพร้อมกันว่า  การจับฝิ่นเมื่อรัชกาลที่ ๓ แม้จับกุมอย่างกวดขันมาหลายปี ฝิ่นก็ยังเข้ามาได้เสมอ  คนสูบฝิ่นก็ยังมีมากไม่หมดไป  ซ้ำเป็นเหตุให้เกิดอั้ยี่ถึงต้องรบพุ่งฆ่าฟันกันหลายครั้ง  จะใช้วิธีจับฝิ่นอย่างนั้นต่อไปเห็นจะไม่เป็นประโยชน์อันใด  จึงเปลี่ยนนโยบายเป็นตั้งภาษีฝิ่นผูกขาด คือ เฉพาะแต่รัฐบาลซื้อฝิ่นเข้ามาต้มขายเอากำไร  ให้จีนซื้อฝิ่นสูบได้ตามชอบใจ  คงห้ามแต่ไทยมิให้สูบฝิ่น

        พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริอีกอย่างหนึ่งว่า  ที่อั้งยี่หาพรรคพวกได้มาก เป็นเพราะพวกจีนที่ไปทำเรือกสวนหรือค้าขายอยู่ตามหัวเมืองมักถูกพวกจีนเจ้าภาษีเบียดเบียนในการเก็บภาษีและถูกคนในพื้นเมืองรังแก  ทรงแก้ไขข้อนี้ด้วยเลือกหาจีนที่ตั้งตัวได้เป็นหลักแหล่งแล้ว  และเป็นคนซื่อตรงมีคนนับถือมากตั้งเป็นตำแหน่งปลัดจีนขึ้นในกรมการตามหัวเมืองที่มีจีนมาก  สำหรับช่วยเป็นธุระและรับทุกข์ร้อนของพวกจีนขึ้นเสนอต่อรัฐบาล เมื่อทรงแก้ไขด้วยอุบาย ๒ อย่างนั้น  เหตุการณ์เรื่องอั้งยี่ก็สงบมาได้หลายปี

        แต่ถึงตอนปลายรัชกาลที่ ๔ มีอั้งยี่เกิดขึ้นด้วยเหตุอย่างอื่น  เหตุที่เกิดอั้งยี่ตอนนี้เนื่องจากประเพณีจีนเข้าเมือง  ด้วยจีนที่ทิ้งถิ่นไปทำมาหากินในต่างประเทศล้วนเป็นคนยากจนมักไปแต่ตัว  แม้เงินค่าโดยสารเรือก็ไม่มีจะเสีย  เมื่อเรือไปถึงเมืองไหน เช่น เมืองสิงคโปร์ก็ดี หรือมาถึงกรุงเทพฯก็ดี  มีจีนในเมืองนั้นที่เป็นญาติหรือเป็นเถ้าเก๋หาลูกจ้าง  ไปรับเสียเงินค่าโดยสารและรองเงินล่วงหน้าให้จีนที่เข้ามาใหม่  ไทยเรียก "จีนใหม่" ทางเมืองสิงคโปร์เรียกว่า "sing Keh"  แล้วทำสัญญากันว่าเถ้าเก๋จะรับเลี้ยงให้กินอยู่  ข้างฝ่ายจีนใหม่จะทำงานให้เปล่าไม่เอาค่าจ้างปีหนึ่ง  งานที่ทำนั้นเถ้าเก๋จะใช้เอง หรือจะให้ไปทำงานให้คนอื่น เถ้าเก๋เป็นผู้รับค่าจ้าง  หรือแม้เถ้าเก๋จะโอนสิทธิ์ในสัญญาให้ผู้อื่นก็ได้  เมื่อครบหนึ่งปีแล้วสิ้นเขตที่เป็นจีนใหม่พ้นหนี้สิน  จะรับจ้างเถ้าเก๋ทำงานต่อไป หรือไปทำมาหากินที่อื่นโดยลำพังตนก็ได้  มีประเพณีอย่างนี้มาแต่เดิม   ถึงรัชกาลที่ ๔ ตั้งแต่ไทยทำหนังสือสัญญาค้าขายกับฝรั่งต่างชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ การค้าขายในเมืองไทยเจริญขึ้นรวดเร็ว  มีโรงจักรสีข้าว เลื่อยไม้ และมีการขนลำเลียงสินค้า อันต้องการแรงงานมากขึ้น  ทั้งในเวลานั้นการคมนาคมกับเมืองจีนสะดวกขึ้นด้วยมีเรือกำปั่นไปมาบ่อยๆ  พวกจีนใหม่ที่เข้ามาหากินก็มากขึ้น  จึงเป็นเหตุให้จีนในกรุงเทพฯคิดหาผลประโยชน์ด้วยการเป็นเถ้าเก๋รับจีนใหม่เข้าเมืองโดยวิธีดังกล่าวมาแล้วมากขึ้น  และการนั้นได้กำไรงาน  ก็เกิดแข่งขันเกลี้ยกล่อมจีนใหม่  พวกเถ้าเก๋ก็เลยอาศัยจีนใหม่ของตนให้ช่วยกันเกลี้ยกล่อมจีนเข้ามาใหม่  ตลอดจนไปชิงกันหางานให้พวกจีนใหม่ของตนทำ  ก้เลยตั้งพวกเป็นอั้งยี่ด้วยประการฉะนี้  แต่ผิดกับอั้งยี่ในรัชกาลที่ ๓  ด้วยไม่คิดร้ายต่อรัฐบาลและมีแต่พวกละน้อยๆหลายพวกด้วยกัน

        แต่เมื่อปีเถาะ  พ.ศ. ๒๔๑๐ ก่อนจะสิ้นรัชกาลที่ ๔  มีพวกอั้งยี่กำเริบขึ้นที่เมืองภูเก็ต  แต่มิได้เกี่ยวข้องกับจีนในกรุงเทพฯ  ด้วยพวกอั้งยี่ที่เมื่อภูเก็ตขยายมาจากเมืองขึ้นของอังกฤษ  ซึ่งรัฐบาลใช้นโยบาย "เลี้ยงอั้งยี่" ดังกล่าวมาแล้ว  พวกจีนในแดนอังกฤษไปมาค้าขายกับหัวเมืองไทยทางตะวันตกอยู่เป็นนิจ  พวกอั้งยี่จึงมาเกลี้ยกล่อมจีนที่เมืองภูเก็ตให้ตั้งอั้งยี่เพื่อสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน  เป็นสาขาของกงสี "งี่หิน" พวกหนึ่งมีประมาณ ๓,๕๐๐ คน  ของกงสี "ปูนเถ้าก๋ง" พวกหนึ่งประมาณ ๔,๐๐๐ คน  อยู่มามีนายอั้งยี่ทั้งสองพวกนั้นวิวาทกันด้วยชิงสายน้ำที่ทำเหมืองแร่ดีบุก  ต่างเรียกพวกอั้งยี่ของตนมารบกันที่กลางเมือง  ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ตห้ามก็ไม่ฟัง  จะปราบปรามก็ไม่มีกำลังพอการ  จึงโปรดฯให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ(๑)เมื่อยังเป็นที่พระยาเทพประชุนปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหมเป็นข้าหลวงออกไปยังเมืองภูเก็ต  ให้ไปพิจารณาว่ากล่าวเรื่องอั้งยี่วิวาทกัน  ถ้าพวกอั้งยี่ไม่ฟังคำบังคับบัญชาให้เรียกระดมพลตามหัวเมืองปราบปรามด้วยกำลัง  แต่เมื่องเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯออกไปถึง หัวหน้าอั้งยี่ทั้งสองพวกอ่อนน้อมโดยดี  เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯว่ากล่าวระงับเหตุวิวาทเรียบร้อยแล้ว  พาตัวหัวหน้าอั้งยี่ทั้งสองกงสีรวม ๙ คนมาสารภาพผิดในกรุงเทพฯ  จึงโปรดให้ถือน้ำกระทำสัตย์สาบานว่าจะไม่คิดร้ายต่อแผ่นดิน  แล้วปล่อยตัวกลับไปทำมาหากินอย่างเดิม

        การระงับอั้งยี่วิวาทกันที่เมืองภูเก็ตครั้งนั้น  เป็นเหตุที่ไทยจะเอาวิธี "เลี้ยงอั้งยี่" อย่างที่อังกฤษจัดตามหัวเมืองในแหลมมลายูมาใช้ที่เมืองภูเก็ตก่อน  แล้วเลยเอาเข้ามาใช้ในกรุงเทพฯ เมื่อภายหลัง  แต่อนุโลมให้เข้ากับประเพณีไทยมิให้ขัดกัน  เป็นต้นว่าที่เมืองภูเก็ตนั้นเลือกจีนที่มีพรรคพวกนับถือมากมาตั้งเป็น "หัวหน้าต้นแซ่"  สำหรับนำกิจทุกข์สุขของพวกของตนเสนอต่อรัฐบาล  และควบคุมว่ากล่าวของตนตามประสงค์ของรัฐบาล คล้ายๆกับกรรมกรจีน  ที่เป็นคนมีหลักฐานมั่นคงถึงให้มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนเป็นหลวงก็มี  แต่พวกหัวหน้าต้นแซ่นั้นก็เป็นอั้งยี่พวกงี่หินหรือปูนเถ้าก๋งทุกคน  การที่จัดขึ้นเป็นแต่อย่างควบคุมอั้งยี่และให้มีพวกหัวหน้าต้นแซ่สำหรับรัฐบาลใช้ไปว่ากล่าวพวกอั้งยี่  และคอยห้ามปรามพวกอั้งยี่ต่างพวกวิวาทกัน  แต่ยังยอมให้พวกจีนตั้งอั้งยี่ได้ตามใจไม่ห้ามปราม


        (๖) 
        อั้งยี่ในเมืองไทย เมื่อต้นรัชกาลที่ ๕

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ เมื่อเดือนตุลาคม ปีมะโรง  พ.ศ. ๒๔๑๑(๒)  เวลานั้นยังทรงพระเยาว์วัย  พระชันษาเพียง ๑๖ ปี  จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม  ได้เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่ ๕ ปี

        เวลาเมื่อเปลี่ยนรัชกาลครั้งนั้น  มีเหตุต่างๆที่ทำให้รัฐบาลลำบากหลายเรื่อง  เรื่องอื่นยกไว้จะเล่าแต่เรื่องกับพวกอั้งยี่(๓)  เมื่อกำลังจะเปลี่ยนรัฐบาลมีอั้งยี่พวกหนึ่งในกรุงเทพฯต่อสู้เจ้าภาษีฝิ่นในโรงกงก๊วน ที่ริมวัดสัมพันธวงศ์  ถึงศู้รบกันขึ้นในสำเพ็ง  พอเปลี่ยนรัชกาล อั้งยี่พวกหนึ่งก็คุมกันเที่ยวปล้นราษฎรที่ในแขวงจังหวัดนครชัยศรี  และท่าทางจะกำเริบขึ้นที่อื่นอีกทั้งในกรุงเทพฯและหัวเมือง  สมเด็จเจ้าพระยาฯระงับด้วยอุบายหลายอย่าง  พิเคราะห์ดูก็น่าพิศวง

        อย่างที่หนึ่งใช้ปราบด้วยอาญา  ดังเช่นปราบอั้งยี่ที่กำเริบขึ้นในแขวงจังหวัดนครชัยศรี  เมื่อจับได้ให้ส่งเข้ามาในกรุงเทพ  เอาตัวหัวหน้าประหารชีวิตและเอาสมัครพรคพวกทั้งหมดจำคุกให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย

        อีกอย่างใช้อุบายขู่ให้พวกอั้งยี่กลัว  ด้วยจัดการซ้อมรบที่สนามชัน ถวายพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรบนพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ทุกสัปดาห์  ฉันยังเป็นเด็กไว้จุกเคยตาม้สด็จไปดูหลายครั้ง  การซ้อมรบนั้นบางวันก็ให้ทหารปืนใหญ่ปืนเล็กยิงปืนติดดินดำ เสียงดังสนั่นครั่นครื้น  บางวันก็ให้ทำเป็นโครงค่ายมีหุ่นรูปคนอยู่ประจำ  เอาช้างรบออกซ้อมแทงหุ่นทำลายค่าย  เวลานั้นมีช้างรบอยู่ในกรุงเทพฯสักสามสี่เชือก  ตัวหยึ่งชื่อพลายแก้ว เจ้าพระยายมราช(แก้ว)หัดที่เมืองนครราชศรีมา  กล้าหาญนัก พอเห็นยิงปืนออกมาจากค่ายก็สวนควันเข้าไปรื้อค้าย แทงรูปหุ่นมี่รักษาทำลายลง  พวกชาวพระนครไม่เคยเห็นการซ้อมรบอย่างนั้น พากันมาดูมากกว่ามาก  เกิดกิตติศัพท์ระบือไปถึงพวกอั้งยี่ ก็กลัวไม่ก่อเหตุอันใดได้จริง

        อุบายของสมเด็จเจ้าพระยาฯอีกอย่างหนึ่งนั้น  ขยายการบำรุงจีนอนุโลมตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงตั้งปลัดจีนตามหัวเมืองดังกล่าวมาแล้ว  และเวลานั้นมีความลำบากเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วย  เพราะเมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๔ มีพวกชาวจีนชาวเมืองขึ้นอังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา และโปรตุเกส เข้ามาหากินในกรุงเทพฯมากขึ้น  ก็ตามหนังสือสัญญายอมให้จีนเหล่านั้นอยู่ในความป้องกันของกงสุลชาตินั้นๆ  จึงเรียกกันว่า "พวกร่มธง"  หมายความว่า "อยู่ในร่มธงของต่างประเทศ"  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สับเย๊ก" (Subject)  หมายความว่าเป็นคนของชาตินั้นๆ  ไม่ต้องอยู่ในอำนาจโรงศาลหรือในบังคับของรัฐบาลของบ้านเมือง  แม้กงสุลต่างประเทศช่วยห้ามมิให้จีนในร่มธงเป็นอั้งยี่ก็ดี  สมเด็จเจ้าพระยาฯก็ยังวิตก  เกรงว่าพวกจีนชั้นพลเมืองจะพากันอยากเข้าร่มธงฝรั่ง  เพราะฉะนั้นเมื่อเปลี่ยนรัชกาลได้ ๓ สัปดาห์ก็ประกาศตั้งศาลคดีจีนขึ้นในกรมท่าซ้าย  ให้พระยาโชฎีกราชเศรษฐี(จ๋อง  แล้วเปลี่ยนเป็นพระยาโชฎึกฯ พุก)คนหนึ่ง  หลวงพิพิธภัณฑ์วิจารณ์(ฟัก  ภายหลังได้เป็นพระยาโชฎึกฯ)คนหนึ่ง  กับหลวงพิชัยวารี(มลิ)คนหนึ่ง  (เป็นชั้นลูกจีนทั้งสามคน)เป็นผู้พิพากษา  สำหรับชำระตัดสินคดีคู่ความเป็นจีนทั้งสองฝ่าย  ด้วยใช้ภาษาจีนและประเพณีจีนในการพิจารณา  



        ....................................................................................................................................................

        (๑) เจ้าพระยาภานุวงศมหาโกษาธิบดี เสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า  นามเดิม ท้วม  เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่  ถวายตัวทำราชการเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๓  ถึงรัชกาลที่ ๔ ได้เป็นนายไชยขรรค์หุ้มแพร  แล้วเป็นจมื่นทิพรักษา  แล้วเป็นจมื่อราชามาตย์  ไปในคณะทูตไทยที่ไปเมืองอังกฤษครั้งแรก  เป็นนายงานสร้างพระนครคีรีและสะพานช้างข้ามแม่น้ำเพชรบุรี  ในปลายรัชกาลเลื่อนเป็นพระยาเทพประชุน ปลัดทูลฉลองกลาโหม  ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็นเสนาบดีกรมท่า   เมื่อมะเส็งเอกศก  พ.ศ. ๒๔๑๒  พระราชทานสมญาว่า เจ้าพระยาภาณุวงศมหาโกษาธิบดี ศรีวิบุลยยศสุนทรศักดิ์ อัครมหาราชานุกูลกิจ วิจิตรวรปรีชาญาณ ราชสมบัติสารไพบูลยพิพัฒน์ ประทุมรัตนมุรธาธร สมุทตินคร เกษตราธิบาล สรรพดิฐการมหิศวรฤทธิธาดา เมตตาชวาภิธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ นาคนาม

        กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ ปีระกาสัปตศก พ.ศ. ๒๔๒๘  ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ปีฉลู  พ.ศ. ๒๔๕๖

        (๒) เมื่อทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกทรงใช้พระนามาภิไธย ว่า "พระบาทสมเด็จฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว"  สำหรับจารึกพระสุพรรณบัฏ  ต่อทำพระบรมราชาภิเษกครั้งหลังปีระกา  จึงโปรดให้แก้พระนามาภิไธยบางคำ  และเปลี่ยนลงท้ายพระนามว่า "พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

        (๓) เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเมื่อเริ่มรัชกาลที่ ๕
        - เรื่อง กงสุลอังกฤษลดธง
        - เรื่อง อัฐปลอม
        - เรื่อง เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุม
        - เรื่อง พวกจีนอั้งยี่

        ค้นดูวิธีแก้ไขของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ที่ลิงค์
        http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3598710/K3598710.html 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 24 ส.ค. 48 19:35:50 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 15  

        (ต่ออีกนิด)

        แต่ห้ามมิให้รับคดีคู่ความเป็นจีนแต่ฝ่ายเดียว  หรือคดีที่เป็นความอาญาว่ากล่าวในศาลนั้น นอกจากตั้งศาล ให้แบ่งเขตท้องมี่อันมีจีนอยู่มาก เช่น ในสำเพ็ง เป็นหลายอำเภอ  ตั้งนายอำเภอจีนประจำสำหรับอุปการะจีนในถิ่นนั้นทุกอำเภอ  ตามหัวเมืองก็ให้ปลัดจีนมีอำนาจว่ากล่าวคดีจีน  อำเภอที่มีจีนอยู่มากก็ตั้งหัวหน้าให้เป็นตำแหน่ง "กงสุลจีนในบังคับสยาม" สำหรับเป็นผู้อุปการะจีนอยู่ในอำเภอนั้นๆ

        ส่วนมากการควบคุมพวกอั้งยี่นี้น  สมเด็จเจ้าพระยาฯก็อนุโลมเอาแบบอย่างอังกฤษ "เลี้ยงอั้งยี่" ในแหลมมลายูมาใช้  ปรากฏว่าให้สืบเอาตัวจีนเถ้าเก๋ที่เป๋นหัวหน้าอั้งยี่ได้ ๑๔ คน  แล้วตั้งข้าหลวง ๓ คน คือ เจ้าพระยาภาณุวงศ์ เมื่อยังเป็นพระยาเทพประชุน(ซึ่งเคยปราบอั้งยี่ที่เมืองภูเก็ต)คนหนึ่ง  พระยาโชฎึกราชเศรษฐีคนหนึ่ง  พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง(เนียม)ซึ่งเป็นผู้บังคับการกองตระเวน(โปลิศ)ในกรุงเทพฯคนหนึ่ง  พร้อมด้วยขุนนางเจ้าภาษีอีกบางคน  พาพวกหัวหน้าอั้งยี่ ๑๔ คนนั้นไปทำพิถือน้ำกระทำสัตย์ในวิหารหลวงพ่อโต ณ วัดกัลยาณมิตรซึ่งจีนนับถือมาก  รับสัญญาว่าจะไม่คิดประทุษร้ายต่อพระเจ้าอยู่หัว  และจะคอยระวังพวกอั้งยี่ของตนมิให้คิดร้ายด้วย  แล้วปล่อยตัวไปทั้ง ๑๔ คน  แต่นั้นสมเด็จเจ้าพระยาฯก็เอาพวกหัวหน้าอั้งยี่เหล่านั้นเป็นคนรับใช้สอยของท่านให้ตรวจตราว่ากล่าวมิให้พวกอั้งยี่กำเริบ  ก็สำเร็จประโยชน์ได้อย่างประสงค์  พวกอั้งยี่ก็เรียบร้อยเพราะใช้วิธี "เลี้ยงอั้งยี่" มาตลอดเวลาสมเด็จเจ้าพระยาฯมีอำนาจในราชกาลแผ่นดิน 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 24 ส.ค. 48 19:36:09 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 16  

        อั้งยี่กำเริบที่เมืองระนองและภูเก็ต

        ถึงปีชวด  พ.ศ.๒๔๑๙  เป็นปีที่ ๙ ในรัชกาลที่ ๕  เกิดลำบากด้วยพวกจีนอั้งยี่ที่เป็นกรรมกรที่ทำเหมืองแร่ดีบุกที่เมืองระนอง  และเมืองภูเก็ตกำเริบคล้ายกับเป็นกบฏต้องปราบปรามเป็นการใหญ่โต  แต่ว่าพวกอั้งยี่ทางหัวเมืองในแหลมมลายูเป็นสาขาขอพวกอั้งยี่กงสี "งี่หิน" และกงสี "ปูนเถ้าก๋ง" ในแดนอังกฤษมาตั้งขึ้นในเมืองไทยไม่ได้ติดต่อกับพวกอั้งยี่ในกรุงเทพฯดังกล่าวมาแล้ว  ในเรื่องปราบอั้งยี่ที่เมืองภูเก็ตเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ นั้นแล้ว  แต่ครั้งนั้นมาการทำเหมืองแร่ดีบุกที่เมืองระนองกับเมืองภูเก็ตเจริญขึ้น  มีพวกจีนกรรมกรเข้ามารับจ้างขุดขนดีบุกมากขึ้นเป็นลำดับมา  จนที่เมืองระนองมีจำนวนจีนกรรมกรกว่า ๓,๐๐๐ คน และที่เมืองภูเก็ตมีจำนวนจีนกรรมกรหลายหมื่น  มากกว่าจำนวนราษฎรไทยที่อยู่ในตัวเมืองทั้งสองแห่ง  ตามบ้านนอกพวกจีนกรรมกรไปรวมกันรับจ้างขุดแร่อยู่ที่ไหน  ทั้งพวกงี่หินและพวกปูนเถ้าก๋งตั้งก็ไปตั้งกงสีอั้งยี่พวกของตนขึ้นที่นั่น  มีนายรองปกครองขึ้นต่อผู้ที่รัฐบาลตั้งเป็นหัวหน้าต้นแซ่  ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นฐานอยู่ในเมือง  จึงมีกงสีอั้งยี่อยู่ตามเหมืองแร่แถบทุกแห่ง  พวกหัวหน้าต้นแซ่ก็ช่วยรัฐบาลรักษาความสงบเงียบเรียบร้อยตลอดมา  แต่เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ นั้น  เผอิญดีบุกตกราคา  พวกนายเหมืองขายดีบุกได้เงินไม่พอให้ค่าจ้างกรรมกร  จึงเกิดเหตุขึ้นที่เมืองระนองก่อน

        ปรากฏว่าเมื่อเดือน ๓ แรม ๑๔ ค่ำ  ถึงตรุษจีนพวกกรรมกรที่เป็นอั้งยี่ปูนเถ้าก๋งพวกหนึ่ง  ไปทวงเงินต่อนายเหมือง ขอให้ชำระหนี้สินให้สิ้นเชิงตามประเพณีจีน  นายเหมืองไม่มีเงินพอจะให้ขอผ่อนผัด  พวกกรรมกรจะเอาเงินให้จงได้ก็เกิดทุ่มเถียง จนเลยวิวาทกันขึ้น  พวกกรรมกรฆ่านายเหมืองตาย  ชะรอยผู้ตายจะเป็นตัวนายคนหนึ่ง  พวกกรรมกรตกใจเกรงว่าจะถูกจับกุมเอาไปลงโทษ  ก็พากันถือเครื่องศาสตราวุธหนีออกจากเมืองระนอง  หมายว่าจะเดินบกข้ามภูเขาบรรทัดไปหาที่ซ่อนตัวอยู่ที่เหมืองแร่ในแขวงเมืองหลังสวน  เมื่อไปถึงด่าน พวกชาวด่านเห็นกิริยาอาการผิดปกติ  สงสัยว่าจะเป็นโจรผู้ร้าย  จะเอาตัวมาให้ไตร่สวนที่ในเมืองก็เกิดวิวาทกันขึ้น  คราวนี้ถึงยิงกันตายทั้งสองข้าง  พวกชาวด่านจับจีนได้ ๘ คคุมตัวเข้ามายังเมืองระนอง  ถึงกลางทางพวกจีนกรรมกรเป็นอันมาก พากันมากรุ้มรุมแทงฟันพวกชาวด่าน  ชิงเอาพวกจีนที่ถูกจับไปได้หมด  แล้วพวกจีนกรรมกรก็เลยเป็นกบฏ รวบรวมกันประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ คน  ออกจากเหมืองแร่เข้ามาเที่ยวไล่ฆ่าคน  และเผาบ้านเรือนในเมืองระนอง  พระยาระนองไม่มีกำลังพอจะปราบปรามก็ได้แต่รักษาบริเวณศาลากลางอันเป็นสำนักรัฐบาลไว้  พวกจีนกบฏจะตีเอาเงินในคลังไม่ได้ก็พากันเที่ยวเก็บเรือทะเลบรรดามีที่เมืองระนอง  และไปปล้นฉางเอาข้าวบรรทุกลงในเรือ  แล้วพากันลงเรือแล่นแล่นหนีไปทางทะเลประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน  ที่ไปทางเรือไม่ได้ก็พากันไปทางบก  หนีไปยังเหมืองแร่ในแขวงหลังสวนประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน  พอประจวบกับเวลาเรือรบไปถึงเมืองระนอง  เหตุที่อั้งยี่เมืองระนองเป็นกบฏก็สงบลง ไม่ต้องรบพุ่งปราบปราม  เพราะเป็นกบฏแต่พวกปูนเถ้าก๋งหนีไปหมดแล้ว  พวกงี่หินที่ยังอยู่ก็หาได้เป็นกบฏไม่

        แต่ที่เมืองภูเก็ตมีจีนกรรมกรหลายหมื่น  จำนวนมากกว่าเมืองระนองหลายเท่า  และพวกจีนก็มีเหตุเดือดร้อนด้วยดีบุกตกราคาเช่นเดียวกันกับเมืองระนอง  ทั้งยังมีเหตุอื่นนอกจากนั้นด้วยพวกอั้งยี่ปูนเถ้าก๋งสงสัยว่าเจ้าเมืองลำเอียงเข้าข้างพวกงี่หิน  มีความแค้นเคืองอยู่บ้างแล้ว  พอพวกอั้งยี่ที่หนีมาจากเมืองระนองมาถึงเมืองภูเก็ต  แยกย้ายกันไปเที่ยวอาศัยอยู่ตามโรงกงสีอั้งยี่พวกของตนตามตำบลจ่างๆ  ไปเล่าว่าเกือบจะตีเมืองระนองได้  หากเครื่องยุทธภัณฑ์ไม่มีพอมือจึงต้องหนีมา  ก็มีพวกหัวโจกตามกงสีต่างๆชักชวนพวกอั้งยี่ในกงสีของตนให้รวมกันตีเมืองภูเก็ตบ้าง  แต่ปกปิดมิให้พวกหัวหน้าต้นแซ่รู้  ก็รวมได้แต่บางกงสีไม่พรักพร้อมกัน   ในเวลานั้นพระยามนตรีสุริยวงศ์(ชื่น  บุนนาค) เมื่อยังเป็นเจ้าหมื่นเสมอใจราชหัวหมื่นมหาดเล็ก  เป็นข้าหลวงประจำหัวเมืองฝ่ายตะวันตกทั้งปวงอยู่ ณ เมืองภูเก็ต  มีเรือรบ ๒ ลำ กับโปลิศสำหรับรักษาสำนักรัฐบาลประมาณ ๑๐๐ คนเป็นกำลัง  ส่วนการปกครองเมืองภูเก็ตนั้น  พระยาวิชิตสงคราม(ทัด)ซึ่งเป็นพระยาภูเก็ตอยู่จนแก่ชราจึงเลื่อนขึ้นเป็นจางวาง  แต่ก็ยังว่าราชการและผูกภาษีผลประโยชน์เมื่อภูเก็ตอยู่อย่างแต่ก่อน  เป็นผู้ที่พวกจีนกรรมกรเกลียดชังว่าเก็บภาษีให้เดือดร้อน  แต่หามีใครคาดว่าพวกจีนกรรมกรจะกำเริบไม่

        แต่แรกเกิดเหตุเมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙  เวลาบ่ายวันนั้น  กลาสีเรือรบพวกหนึ่งขึ้นไปบนบกไปเมาสุรา  เกิดทะเลาะกับพวกจีนที่ในตลาดเมืองภูเก็ตแต่ไม่ทันถึงทุบตีกัน  มูลนายเรียกกลาสีพวกนั้นกับไปลงเรือเสียก่อน  ครั้นเวลาค่ำมีกลาสีพวกอื่น ๒ คนขึ้นไปบนบก  พอพวกจีนเห็นก็กลุ้มรุมทุบตีแทบปางตาย  โปลิศไประงับวิวาทจับได้จีนที่ตีกลาสี ๒ คนเอาตัวเข้าไปส่งข้าหลวง ในไม่ช้าก็มีจีนพวกใหญ่ประมาณ ๓๐๐ คนซึ่งรวมกันอยู่ในตลาด  ถือเครื่องศัสตราวุธพากันไปรื้อโรงโปลิศ  แล้วเที่ยวปล้นบ้านเผาวัดและเรือนไทยที่ในเมือง  พบไทยที่ไหนก็ไล่ฆ่าฟัน  พวกไทยอยู่ในเมืองมีน้อยกว่าจีนก็ได้แต่พากันหนีเอาตัวรอด  ฝ่ายพวกจีนได้ทีก็เรียกกันเพิ่มเติมเข้ามาจนจำนวนกว่า ๒,๐๐๐ คน  แล้วยังตามกันยกเข้ามาหมายจะปล้นสำนักงานรัฐบาล  และบ้านพระยาวิชิตสงคราม  เป็นการกบฏออกหน้า   พระยาวิชิตสงครามอพยพครอบครัวหนีเอาตัวรอดไปได้  แต่พระยามนตรีฯไม่หนี  ตั้งต่อสู้อยู่ในบริเวณสำนักรัฐบาลและรักษาบ้านพระยาวิชิตสงครามซึ่งอยู่ติดต่อกันไว้ด้วย  ให้เรียกไทยบรรดามีในบริเวณศาลารัฐบาล  และถอดคนโทษมี่ในเรือนจำออกมาสมทบกับโปลิศซึ่งมีอยู่ ๑๐๐ คน  แล้วได้พาทหารเรือในเรือรบขึ้นมาช่วยอีก ๑๐๐ คน  รวมกันรักษาทางที่พวกจีนจะเข้ามาได้  และเอาปืนใหญ่ตั้งจุกช่องไว้ทุกทาง  แล้วให้ไปเรียกจีนพวกหัวหน้าต้นแซ่ซึ่งอยู่ในเมืองเข้ามาประชุมกันที่ศาลารัฐบาลในค่ำวันนั้น  และรีบเขียนจดหมายถึงหัวเมืองอื่นๆที่ใกล้เคียงให้ส่งกำลังมาช่วย  และมรีหนังสือส่งไปตีโทรเลขที่เมืองปีนังบอกข่าวเข้ามายังกรุงเทพฯ  และมีจดหมายบอกอังกฤษเจ้าเมืองปีนังให้กักเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ อย่าให้พวกจีนส่งมายังเมืองภูเก็ต  ให้คนถือหนังสือลงเรือเมล์และเรือใบไปยังเมืองปีนัง  และที่อื่นๆที่สามารถจะไปได้

        ในค่ำวันนั้นพวกจีนหัวหน้าต้นแซ่พากันเข้ามายังศาลารัฐบาลตามคำสั่งโดยมาก  และรับจะช่วยรัฐบาลตามแต่พระยามนตรีฯจะสั่งให้ทพประการใด  พระยามนตรีฯจึงสั่งให้พวกหัวหน้าเขียน "ตั๋ว" ออกไปถึงพวกแซ่ของต้นที่มากับพวกผู้ร้าย  สั่งให้กลับไปที่อยู่ของตนเสียตามเดิม  มีทุกข์ร้อนอย่างไรพวกหัวหน้าต้นแซ่จะช่วยแก้ไขให้โดยดี  ก็มีพวกกรรมกรเชื่อฟังพากันกลับไปเสียมาก  พวกที่ยังเป็นกบฏอยู่น้อยตัวลง  ก็ไม่กล้าเข้าตีศาลารัฐบาล  พระยามนตรีฯจึงจัดให้จีนหัวหน้าต้นแซ่คุมจีนพวกของตัวตั้งเป็นกองตระเวนคอยห้ามปรามอยู่เป็นแห่งๆที่ในเมืองก็สงบไป  แต่พวกจีนกบฏที่มีหัวโจกชักนำไม่เชื่อฟังหัวหน้าต้นแซ่  เมื่อเห็นว่าจะตีศาลารัฐบาลไม่ได้ก็คุมกันเป็นพวกๆแยกกันไปเที่ยวปล้นทรัพย์เผาเรือนพวกชาวเมืองต่อออกไถงตามบ้านนอก  ราษฎรน้อนกว่าก็ได้แต่หนีเอาตัวรอด  ก็เกิดเป็นจลาจนทั่วไปทั้งเมืองภูเก็ต  มีแต่ที่บ้านฉลองแห่งเดียว  ชาวบ้านได้สมภารวัดฉลองเป็นหัวหน้า อาจต่อสู้ชนะพวกจีน(ดังได้เล่ามาในนิทานที่ ๒)(๑)  แม้พระยามนตรีก็มีกำลังเพียงจะรักษาศาลารัฐบาล  ยังไม่สามารถจะปราบพวกจีนกบฎตามบ้านนอกได้

        เมื่อรัฐบาลในกรุงเทพฯได้รับโทรเลขว่าเกิดกบฏที่เมืองภูเก็ต  จึงโปรดฯให้พระยาประภากรวงศ์(ชาย  บุนนาค)เมื่อยังเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถหัวหมื่นมหาดเล็ก  เป็นข้าหลวงใหญ่มีอำนาจบังคับบัญชาการปราบอั้งยี่ได้สิทธิขาด  (เพราะพระยามนตรีฯเป็นลูกเขยพระยาวิชิตสงคราม เกรงจะบังคับการไม่ได้เด็ดขาด  ต่อภายหลังจึงทราบว่าพระยามนตรีฯต่อสู้จึงไม่เสียเมืองภูเก็ต)  คุมเรือรบกับทหารและเครื่องสัสตราวุธยุทธภัณฑ์เพิ่มเติมออกไป  พระยาประภาฯไปถึงเมืองภูเก็ตก็ไปร่วมมือกับพระยามนตรีฯ  ช่วยกันรวบรวมรี้พลทั้งไทยและมลายูที่ไปจากหัวเมืองปักษ์ใต้ไปเข้าเป็นกองทัพ  และเรียกพวกเจ้าเมืองที่ใกล้เคียงไปประชุมปรึกษากัน  ให้ประกาศว่าจะเอาโทษแต่พวกที่ฆ่าคนและปล้นสะดม  พวกกรรมกรที่ไม่ได้ประพฤติร้ายเช่นนั้น  ถ้ามาลุแก่โทษต่อหัวหน้าต้นแซ่และกลับไปทำการเสียโดยดีจะไม่เอาโทษ  พวกจีนที่เป็นแต่ชั้นสมพลก็พากันเข้ามาลุแก่โทษโดยมาก  จับได้ตัวหัวโจกและที่ประพฤติร้ายบ้าง  แต่โดยมากพากันหลบหนีจากเมืองภูเก็ตไปตามเมืองในแดนอังกฤษ  การจลาจลที่เมืองภูเก็ตก็สงบ

        ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดฯปูนบำเหน็จให้เจ้าหมื่นเสมอใจราช(ชาย  บุนนาค)เลื่อนขึ้นเป็นพระยาประภากรวงศ์  ให้เจ้าหมื่นเสมอใจราช(ชื่น  บุนนาค)เลื่อนขึ้นเป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์  ตำแหน่งจางวางมหาดเล็กและได้รับพระราชทานพานทองเสมอกันทั้ง ๒ คน  พวกกรมการที่ได้ช่วยรักษาเมืองภูเก็ตนั้น  พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์บ้าง เลื่อนบรรดาศักดิ์บ้าง  ตามควรแก่ความชอบ  ที่เป็นหัวหน้าต้นแซ่ซึ่งได้ช่วยราชการครั้งนั้น โปรดฯให้สร้างเหรียญตืดอกเป็นเครื่องหมายความชอบ(วึ่งมาเปลี่ยนเป็นเหรียญดุษฎีมาลาภายหลัง)พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบทุกคน  แต่นั้นพวกอั้งยี่ที่เมืองภูเก็ตก็ราบคาบ.


        ....................................................................................................................................................

        (๑) เรื่องสมภารวัดฉลองรบอั้งยี่ จะนำมาลงไว้ในตอนท้ายนะครับ 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 26 ส.ค. 48 22:42:43 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 17  

        หายไปวันหนึ่ง
        พรุ่งนี้จะชดเชยให้  เอาให้จบตอน

        แล้วจะได้ขึ้นเรื่อง สมภารวัดฉลองกัน

        แก้ไขเมื่อ 26 ส.ค. 48 22:45:20 

        จากคุณ : กัมม์  - [ 26 ส.ค. 48 22:44:25 ]

       
       
         ความคิดเห็นที่ 18  

        คุณกัมม์ครับ
        เพื่อนๆจะพากันหายไปจากบอร์ดแล้วครับ
        ทำงัยดี 


        จากคุณ : จำปูน - [ 27 ส.ค. 48 13:38:41 A:202.133.166.52 X: TicketID:033075 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 19  

        เรื่องอั้งยี่งี่หินหัวควาย

        เมื่อระงับอั้งยี่ที่เมืองระนองกับเมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นกบฏเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ เรียบร้อยแล้ว  ต่อมาอีก ๙ ปีถึงปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ เกิดอั้งยี่กำเริบขึ้นตามหัวเมืองในแหลมมลายูอีกครั้งหนึ่งแต่เป็นอย่างแปลกประหลาดผิดกับที่เคยมีมาแต่ก่อน  ด้วยพวกอั้งยี่ล้วนเป็นไทยไปเอาอย่างจีนมาตั้งอั้งยี่ขึ้นเรียกพวกตัวเองว่า "งี่หินหัวควาย"  แต่ในทางราชการใช้ราชาศัพท์เรียกว่า "งี่หินหัวกระบือ"  หัวหน้ามักเป็นพระภิกษุซึ่งเป็นสมภารอยู่ตามวัด  เอาวัดเป็นกงสีที่ประชุม  จะมีขึ้นในเมืองไหนก่อนไม่ทราบแน่  แล้วผู้ต้นคิดแต่งพรรคพวกไปเที่ยวเกลี้ยกล่อมผู้คน คือสมภารตามวัดโดยเฉพาะให้ตั้งอั้งยี่งี่หินหัวควายขึ้นตามเมืองต่างๆทางเมืองปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองกำเนิดนพคุณ เมืองปทิว เมืองชุมพร เมืองหลังสวน เมืองไชยา ลงไปจนเมืองกาญจนดิฐ  ทางฝ่ายเมืองตะวันตกก็เกิดที่เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองตะกั่วป่า เมืองคีรีรัตนนิคม และเมืองถลาง  ก็แต่ธรรมดาของการตั้งอั้งยี่เหมาะแต่กับจีน  เพราะเป็นชาวต่างประเทศมาหากินอยู่ต่างด้าว จึงรวมเป็นพวกเพื่อป้องกันตัวมิให้ชาวเมืองข่มเหงอย่างหนึ่ง  เพราะพวกจีนมาหากินเป็นกรรมกรอาศัยเลี้ยงชีพแต่ด้วยค่าจ้างที่ได้มาจากค่าแรงงาน  จึงรวมกันเป็นพวกเพื่อมิให้แย่งงานกันทำ  และมิให้ผู้จ้างเอาเปรียบลดค่าจ้างโดยอุบายต่างๆ  ตลอดจนสงเคราะห์กันในเวลาต้องตกยาก  พวกจีนชั้นเลวจึงเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนที่จะเข้าเป็นอั้งยี่  แต่ไทยเป็นชาวเมืองนั้นเองต่างมีถิ่นฐานทำการงานหาเลี้ยงชีพได้โดยอิสระลำพังตน  ไม่มีกรณีที่ต้องเกรงภัยเหมือนอย่างพวกจีนกรรมกร  การที่ตั้งอั้งยี่เป็นแต่พวกคนพาล ที่เป็นหัวหน้าประสงค์ลวงเอาเงินค่าธรรมเนียม  โดยอ้างว่าถ้าเข้าเป็นอั้งยี่จะเป็นประโยชน์อย่างนั้นๆ  ครั้นรวมกันตั้งเป็นอั้งยี่ไม่มีกรณีอันเป็นกิจการของสมาคมอย่างพวกจีน  พวกหัวโจกก็ชักชวนให้พวกอั้งยี่แสวงหาผลประโยชน์ด้วยทำเงินแดงบ้าง ด้วยคุมกันเที่ยวปล้นสะดมภ์ชาวบ้านเอาทรัพย์สินบ้าง  พวกงี่หินหัวควายมีขึ้นที่ไหนพวกชาวเมืองก็ได้ความเดือดร้อนเช่นเดียวกับเกิดโจรผู้ร้ายชุกชุม  แต่การปราบปรามก็ไม่ยากเพราะมีแต่แห่งละเล็กละน้อย  พวกชาวเมืองพากันเกลียดชังพวกงี่หินหัวควายคอยช่วยรัฐบาลอยู่ทุกเมือง  ครั้งนั้นโปรดฯให้พระยาสุรินทรภักดี(ชื่อตัวอะไร และภายหลังได้มียศศักดิ์เป็นอย่างไร  สืบยังไม่ได้ความ)เป็นข้าหลวงลงไปชำระทางหัวเมืองปักษ์ใต้  ให้ข้าหลวงประจำเมืองภูเก็ตชำระทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตก  ให้จับแต่ตัวนายหัวหน้าโจกและที่ได้กระทำโจรกรรมส่งเข้ามาลงพระราชอาญาในกรุงเทพฯ  พวกที่เป็นแต่เข้าอั้งยี่ให้เรียกประกันทัณฑ์บนแล้วปล่อยไป  ในไม่ช้าก็สงบเรียบร้อย  ถ้าไม่เขียนเล่าไว้ในที่นี้ก็เห็นจะไม่มีใครรู้ว่าเคยมีอั้งยี่ "งี่หินหัวควาย"


        อั้งยี่ในกรุงเทพฯ เปลี่ยนขบวน

        เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ ออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแล้ว  ท่านยังควบคุมพวกอั้งยี่ต่อมมาจนตลอดอายุของท่าน  ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาฯถึงพิราลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕  การควบคุมพวกอั้งยี่ตกมาเป็นหน้าที่ของกระทรวงนครบาล  ตั้งแต่กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เป็นเสนาบดีสืบมา  จนถึงกรมพระนเรศวรฤทธิ์ เป็นนายกกรรมการบัญชาการกระทรวงนครบาล  ก็ยังคงใช้วิธีเลี้ยงอั้งยี่อยู่อย่างเดิม  แต่ผิดกันกับแต่ก่อนเป็นข้อสำคัญอย่างหนึ่ง  ด้วยสมเด็จเจ้าพระยาฯคนยำเกรงทั่วไปทั้งแผ่นดิน  แต่เสนาบดีกระทรวงนครบาลมีอำนาจเพียงในกรุงเทพฯ  บางทีจะเพราะเหตุนั้น  เมื่อสิ้นสมเด็จเจ้าพระยาฯแล้ว พวกอั้งยี่จึงคิดวิธีหาผลประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งทั้งที่ในกรุงเทพฯและตามหัวเมือง  คือนายอั้งยี่บางคนเข้ารับประมูลเก็บภาษีอากร  ถ้าประมูลสู้คนอื่นไม่ได้ก็ให้พวกอั้งยี่ของตนที่มีอยู่ในแขวงที่ประมูลนั้นคอยรังแกพวกเจ้าภาษีมิให้เก็บภาษีอากรได้สะดวกจนต้องขาดทุน  เมื่อถึงคราวประมูลหน้าจะได้ไม่กล้าแย่งประมูลแข่งตัวนายอั้งยี่  เมื่อเกิดอุบายขึ้นอย่างนั้นคนอื่นก็เอาอย่าง  มักเป็นเหตุให้เกิดอั้งยี่ต่างพวกก่อการวิวาทขึ้นตามหัวเมือง  หรือใช้กำลังขัดขวางเจ้าภาษี  บางที่ถึงรัฐบาลต้องปราบปราม  ยกตัวอย่างพวกอั้งยี่ตั้งซ่องต้มเหล้าเถื่อนที่ดอนกระเบื้อง  ไม่ห่างกับสถานนีรถไฟสายใต้ที่บางตาลนัก แต่สมัยนั้นยังเป็นป่าเปลี่ยวชายแดนจังหวัดราชบุรีต่อกับจังหวัดนครปฐม  ขุดคูทำเชิงเทินเหมือนอย่างตั้งค่าย  พวกเจ้าภาษีไปจับถูกพวกอั้งยี่ยิงต่อสู้จนต้องหนีกลับมา  แต่เมื่อรัฐบาลให้ทหารเอาปืนใหญ่ออกไป  อั้งยี่ก็หนีหมดไม่ต่อสู้  แต่พวกจีนเจ้าภาษีเขาคิดอุบายแก้ไขโดยใช้วิธีอย่างจีน  บางคนจะผูกภาษีที่ไหนที่มีอั้งยี่มาก  เข้าชวนหัวหน้าไปเข้าหุ้นโดยมิต้องลงทุน  บางแห่งก็ให้สินบนแก่หัวหน้าอั้งยี่ในท้องถิ่นรักษาความสงบมาได้


        ปราบอั้งยี่เมื่อรัชกาลที่ ๕

        ถึง พ.ศ. ๒๔๓๒ พวกอั้งยี่ในกรุงเทพฯก่อเหตุใหญ่อย่างไม่เคยมีมาแต่ก่อน  ด้วยถึงสมัยนั้นมีโรงสีข้าวขนาดใหญ่ๆตั้งขึ้นหลายโรง  เรือกำปั่นไฟก็มีมารับสินค้ามากขึ้น  เป็นเหตุให้มีจีนใหม่เข้ามามากกว่าแต่ก่อน  พวกจีนใหม่ที่เข้ามาหากินสมัยนี้ มีทั้งจีนแต้จิ๋วมาจากเมืองซัวเถาและจีนฮกเกี้ยนมาจากเมืองเอ้มึ้ง  จีนสองพวกนี้พูดภาษาต่างกันและถือว่าชาติภูมิต่างกัน  แม้มีพวกเถ้าเก๋รับพวกจีนใหม่อยู่อย่างแต่ก่อน  พวกจีนใหม่ต่างถือกันว่าเป็นพวกเขาพวกเรา  พวกแต้จิ๋วทำงานอยู่ที่ไหนมากก็คอยเกียจกันรังแกพวกฮกเกี้ยน มิให้เข้าไปแทรกแซงแย่งงาน  พวกฮกเกี้ยนก็ทำเช่นนั้นบ้าง  จึงเกิดเกลียดชังกันไปประชันหน้ากันที่ไหนก็มักเกิดชกตีวิวาท  ในระหว่างกรรมกรแต้จิ๋วกับฮกเกี้ยนเนื่องๆ  เลยเป็นปัจจัยให้พวกอั้งยี่รวมกันเป็นพวกใหญ่แต่ ๒ พวก  เรียกว่า "ตั้งกงสี"ของจีนแต่จิ๋วพวกหนึ่ง  เรียกว่า "ซิวลี่กือ" ของจีนฮกเกี้ยนพวกหนึ่ง  ต่างประสงค์จะแย่งงานกันและกัน กระทรวงนครบาลยังใช้วิธี "เลี้ยงอั้งยี่" อยู่อย่างแต่ก่อนถ้าเกิดอั้งยี่ตีกันก็สั่งให้นายอั้งยี่ไปว่ากล่าว  แต่แรกก็สงบไปเป็นพักๆ  แต่เกิดมีตัวหัวโจกขึ้นในอั้งยี่ที่สองพวก เป็นผู้หญิงก็มี  หาค่าจ้างในการช่วยอั้งยี่แย่งงานและช่วยหากำลังให้ในเวลาเมื่อเกิดวิวาทกัน  พวกอั้งยี่ก็ไม่เชื่อฟังนายเหมือนแต่ก่อน  แม้พวกนายอั้งยี่ก็ไม่ยำเกรงกระทรวงนครบาลเหมือนเคยกลัวสมเด็จเจ้าพระยาฯ  พวกอั้งยี่จึงตีรันฟันแทงกันบ่อยขึ้น  จนรบกันในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมิถุนายน  พ.ศ. ๒๔๓๒

        ในสมัยนั้น(ค.ศ. ๑๘๘๙)มีหนังสือพิมพ์บางกอกไทมส์ Bangkok Times ออกเสมอทุกวันแล้ว  เมื่อเขียนเรื่องนี้ฉันตรวจเรื่องปราบอั้งยี่ปรากฏในหนังสือพิมพ์บางกอกไทมส์ประกอบกับความทรงจำของฉัน  ได้ความว่าเมื่อกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๒  พวกอั้งยี่รวมผู้คนเตรียมการที่จะตีกันเป็นขนานใหญ่ กระทรวงนครบาลเรียกตัวหัวหน้าอั้งยี่ไปสั่งให้ห้ามปราม  แต่อั้งยี่มีหัวโจกหนุนหลังอยู่ก็ไม่ฟังพวกนายห้าม  พอถึงวันที่ ๑๙ มิถุนายน  พวกอั้งยี้ก็ลงมือเที่ยวรื้อสังกะสีมุงหลังคา  และเก็บขนโต๊ะตู้ตามโรงร้านบ้านเรือนของราษฎรที่ริมถนนเจริญกรุงตอนใต้วัดยานนาวา  เอาไปทำค่ายบังตัวขวางถนนเจริญกรุงทั้งสองข้าง  เอาถนนตรงหลังโรงสีของห้างวินเซอร์ซึ่งเรียกกันว่าโรงสีปล่องเหลี่ยมเป็นสนามรบ  พวกพลตระเวนห้ามก็ไม่หยุด  กองตระเวนเห็นจีนมากเหลือกำลังจะจับกุม  ก็ต้องถอยออกไปรักษาอยู่เพียงภายนอกแนวที่วิวาท  ท้องที่ถนนเจริญกรุงตั้งแต่ตลาดบางรักลงไปก็ตกอยู่แก่อั้งยี่ทั้ง ๒ พวก  เริ่มขว้างปาตีรันกันแต่เวลาบ่าย  พอค่ำลงก็เอาปืนออกยิงกันตลอดคืน  ถึงวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน  โรงสีและตลาดยี่สาน การค้าขายแต่บางรักลงไปต้องหยุดหมด  และมีกิตติศัพท์ว่าพวกอั้งยี่จะเผาโรงสีที่พวกศัตรูอาศัย  เจ้าของโรงสีก็พากันตกใจ  ที่เป็นโรงสีของฝรั่งไล่จีนออกหมดแล้วปิดประตูบริเวณ  ชวนพวกฝรั่งถืออาวุธไปช่วยล้อมวงรักษาโรงสี  แต่เจ้าของโรงสีเป็นจีนไม่กล้าไล่พวกกุลีเป็นแต่ปิดโรงสีไว้  พวกอั้งยี่ยังรบกันต่อมาในวันที่ ๒๐ ถึงตอนบ่าย  วันนั้นกระทรวงนครบาลให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงคุมพลตระเวนลงไปกองหนึ่งเพื่อจะห้ามวิวาท  แต่พวกอั้งยี่มากกว่า ๑,๐๐๐  กำลังเดือดร้อนรบพุ่งกันไม่อ่อนน้อมก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้  หนังสือพิมพ์ว่าอั้งยี่รบกัน ๒ วันยิงกันตายสัก ๒๐ คน ถูกบาดเจ็บกว่า ๑๐๐  เอาคนเจ็บไปฝากตามบ้านฝรั่งที่อยู่ในแถวนั้น ถึงวันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ทหารก็ลงไปปราบ

        เพราะเหตุใดพวกทหารจึงลงไปปราบพวกอั้งยี่ในครั้งนั้น  ควรจะเล่าถึงประวัติทางฝ่ายทหารที่ปราบอั้งยี่เป็นครั้ง
        แรกไว้ด้วย  แต่เดิมทหารบกแยกการบังคับบัญชาเป็นกรมๆ  ต่างขึ้นตรงต่อพระองค์พระเจ้าอยู่หัวเหมือนกันทั้งนั้น  ทหารเรือก็เช่นเดียวกัน  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ โปรดฯให้ตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น  และรวมการบังคับบัญชาทหารบกทุกกรมกับทั้งทหารเรือให้ขึ้นอยู่ในกรมยุทธนาธิการ  เมื่อได้ข่าวว่าพวกอั้งยี่จะตีกันเป็นกระบวนใหญ่ในกรุงเทพฯ  พระเจ้าอยู่หัวตรัสสั่งแก่ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อยังเป็นกรมพระ(จะเรียกต่อไปตามสะดวกอย่างเรียกในรัชกาลที่ ๗ ว่า สมเด็จพระราชปิตุลา)ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการว่า  ถ้ากระทรวงนครบาลไม่สามารถจะระงับได้จะต้องให้ทหารปราบ  กรมยุทธนาธิการมีเวลาเตรียมตัว ๒ วัน  คณะบัญชาการมีสมเด็จพระราชปิตุลาเป็นนายพลเอก ผู้บัญชาการพระองค์หนึ่ง  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อยังเป็นกรมขุนเป็นนายพลตรี จเรกรมยุทธนาธิการพระองค์หนึ่ง  ตัวฉันเมื่อยังเป็นกรมหมื่น เป็นนายพลตรีผู้ช่วยบัญชาการทหารบกคนหนึ่ง  นายพลจัตวาพระยาชลยุทธโยธิน รักษาการแทนนายพลเรือตรี พระองค์เจ้าสายสนิทผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือซึ่งเสด็จไปยุโรปคนหนึ่ง  ประชุมปรึกษากันที่จะปราบอั้งยี่  เห็นพร้อมกันว่าจะปราบได้ไม่ยากนัก  เพราะพวกอั้งยี่ถึงมีมากก็ไม่มีศัสตราวุธซึ่งจะสามารถสู่ทหาร  อีกประการหนึ่งอั้งยี่ตั้งรบอยู่ในถนนเจริญกรุงเป็นที่แคบ ข้างตะวันตกติดแม่น้ำ ข้างตะวันออกก็เป็นท้องนา  ถ้าให้ทหารลงไปทางบกตามถนนเจริญกรุงกองหนึ่ง  ให้ลงเรือไปขึ้นบกข้างใต้ที่รบยกขึ้นมาทางถนนเจริญกรุงอีกกองหนึ่ง   จู่เข้าข้างหลังที่รบพร้อมกันทั้งข้างเหนือและข้างใต้  ก็จะล้อมพวกอั้งยี่ได้โดยง่าย  แต่การที่จะจับพวกอั้งยี่นั้นมีข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง  ด้วยจะให้ทหารทำการเข้ากระบวนรบ  ถ้าทำแรงเกินไปหรืออ่อนเกินไปก็จะเสียชื่อทหารทั้งสองสถาน จะต้องระวังในข้อนี้  มีคำสั่งให้ทหารทุกคนเข้าใจว่าต้องจับแต่โดยละม่อม ต่ออั้งยี่คนใดต่อสู้หรือไม่ยอมให้จับจึงให้ใช้อาวุธ  อีกประการหนึ่งจะต้องเรียกตัวหัวหน้าที่จะคุมทหาร  ให้วางใจว่าจะทำการสำเร็จได้แล้วปรึกษาเลือกกรมทหารที่จะลงไปปราบอั้งยี่ด้วย  ในเวลานั้นทหารมหาดเล็กกับทหารเรือถือปืนอย่างดีกว่ากรมอื่น  จึงกะให้ทหารมหาดเล็กเป็นกองหน้าสำหรับจับอั้งยี่  ให้ทหารรักษาพระองค์เป็นกองหนุน รวมกัน ๔ กองร้อย  ให้เจ้าพระยาราชสุภมิตร(อ๊อด สุภมิตร)เมื่อยังเป็นนายพันตรีจมื่นวิชิตชัยศักดาวุธ รองผู้บังคับการทหารมหาดเล็กเป็นผู้บังคับการ  ให้นายร้อยเอกหลวงศัลวิธานนิเทส(เชาว์  ซึ่งต่อมาภายหลังเป็นพระยาวาสุเทพ อธิบดีกรมตำรวจภูธร)ครูฝึกทหารมหาดเล็กเป็นผู้ช่วยสำหรับยกลงไปทางทางข้างเหนือ  ส่วนกองที่จะขึ้นมาทางใต้นั้น  ให้ทหารเรือจัดพลจำนวนเท่ากันกับทหารบก และพระยาชลยุทธฯรับไปบังคับการเอง  เมื่อคณะบัญชาการกะโครงการแล้วเรียกผู้บังคับการกรมทหารต่างๆไปประชุมที่ศาลายุทธนาธิการ  สั่งให้เตรียมตัวทุกกรมนอกจากทหารมหาดเล็กกับทหารรักษาพระองค์และทหารเรือ ซึ่งมีหน้าที่ปราบอั้งยี่นั้น  ให้ทหารกรมอื่นๆจัดกองพลรบพร้อมสรรพด้วยเครื่องศัสตราวุธเตรียมไว้ที่โรงทหาร  เรียกเมื่อใดให้ได้ทันทุกกรม  เตรียมทหารพร้อมเสร็จในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน  รอฟังกระแสรับสั่งว่าจะให้ยกไปเมื่อใดก็ไปได้ 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 27 ส.ค. 48 16:31:06 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 20  

        ในกลางคืนวันที่ ๒๐ นั้น เวลาสัก ๒ นาฬิกา  ฉันกำลังนอนหลับอยู่ที่บ้านเก่าที่สะพานดำรงสถิต  สมเด็จพระราชปิตุลากับสมเด็จกรมพระนริศฯ เสด็จไปปลุกเรียกขึ้นรถมายังศาลายุทธนาธิการ  พระยาชลยุทธฯก็ถูกตามไปอยู่พร้อมกัน  สมเด็จพระราชปิตุลาตรัสบอกว่าเมื่อประชุมเสนาบดีในค่ำวันนั้น  ท่านได้กราบมูลพระเจ้าอยู่หัวว่าเตรียมทหารพร้อมแล้ว จะโปรดฯให้ปราบอั้งยี่เมื่อใดก้จะรับสนองพระเดชพระคุณ  พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามกระทรวงนครบาลๆกราบทูลว่ายังหวังใจว่าจะห้ามให้เลิกกันได้ ไม่ถึงต้องใช้ทหาร  พระเจ้าอยู่หัวไม่พอพระราชหฤทัย ตรัสว่ากระทรวงนครบาลได้รับมาหลายครั้งแล้วไม่เห็นห้ามให้หยุดได้  ดำรัสสั่งเป็นเด็ดขาดว่า  กระทรวงนครบาลไม่ระงับอั้งยี่ได้ในวันที่ ๒๐ นั้น  ถึงวันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ก็ให้ทหารลงไปปราบทีเดียวไม่ต้องรั้งรอต่อไปอีก  เมื่อเลิกประชุมเสนาบดี สมเด็จพระราชปิตุลาทรงนัดพบกับกรมพระนเรศฯ ผู้บัญชาการกระทรวงนครบาล  ให้ไปพร้อมกันที่ศาลายุทธนาธิการแต่เวลาก่อนสว่าง  ถ้าเวลานั้นอั้งยี่สงบแล้วทหารจะได้งดอยู่  ถ้ายังไม่สงบพอรุ่งสว่างจะให้ทหารยกลงไปทีเดียว(๑)  คณะบัญชาการจึงเรียกผู้บังคับการทหารกรมต่างๆกับทั้งทหารมหาดเล็ก  และทหารรักษาพระองค์ที่จะไปปราบอั้งยี่มายังศาลายุทธนาธิการในตอนคึกค่ำวันนั้น  พระยาชลยุทธฯก็กลับไปจัดเรือบรรทุกทหารเรือเตรียมไว้  พอเวลาใกล้รุ่งกรมพระนเรศฯเสด็จไปถึง  ทูลสมเด็จพระราชปิตุลาว่า ให้คนลงไปสืบอยู่แล้ว  บัดเดี๋ยวหนึ่งนายอำเภอนครบาลมาถึงทูลว่า พวกอั้งยี่กำลังเอาปืนใหญ่ขึ้นจากเรือทะเลมาจะตั้งยิงกัน  กรมพระนเรศฯก็ตรัสว่า เหลือกำลังนครบาลแล้ว ให้ทหารไปปราบเถิด  การที่ทหารปราบอั้งยี่ก็ลงมือแต่เวลานั้นไป

        ก็ในสมัยนั้นยังไม่มีรถยนต์  พอเวลาย่ำรุ่งต้องให้ทหารรักษาพระองค์ซึ่งเป็นกองหนุนเดินทางไปก่อนสั่งให้ไปพักอยู่ที่วัดยานนาวา  และให้พนักงานไปตั้งสถานีโทรศัพท์สำหรับบอกรายงานถึงศาลายุทธนาธิการ ณ ที่นั้นด้วย   แต่ทหารมหาดเล็กนั้นให้รออยู่   พอรถรางไฟฟ้าขึ้นมาถึงปลายทางที่หลักเมืองก็สั่งยึดไว้หมดทุกหลัง  แล้วให้ทหารมหาดเล็กขึ้นรถรางขับตามกันลงไป  พวกรถรางรู้ว่าทหารจะไปปราบอั้งยี่ก็ออกสนุก  เต็มในช่วยทหารเพราะถูกอั้งยี่รังแกเบื่อเหลือทนอยู่แล้ว  ส่วนทหารรเอก็ออกจากท่ากะเวลาแล่นไปให้ถึงพร้อมๆกับทหารบก  ถึงเวลา ๘ นาฬิกาก็สามารถเข้าล้อมพวกอั้งยี่พร้อมกันที้งข้างเหนือและข้างใต้ดังหมายไว้แต่แรก  พวกอั้งยี่ไม่ได้นึกว่าทหารจะลงไปปราบ  รู้เมื่อทหารถึงตัวแล้วก็ไม่รู้จะทำอย่างไร  มีตัวหัวโจกต่อสู้ถูกทหารยิงตายสักสองสามคนพวกอั้งยี่ก็สิ้นคิด  ที่อยู่ห่างทหารก็พากันหลบหนี ที่อยู่ใกล้กล้วทหารยิงก็ยอมให้ทหารจับโดยดี  ในสมัยนั้นจีนยังไว้ผมเปีย ทหารจับได้ก็เอาผมเปียผูกกันไว้เป็นพวงๆ ที่ทหารเรือจับได้ก็เอาลงเรืองส่งขึ้นมา  ที่ทหารบกจับได้เจ้าพระยาราชสุภมิตรก็ให้ทหารรักษาพระองค์คุมเดินขึ้นมาทางถนนเจริญกรุงเป็นคราวๆ ราวหมู่ละ ๑๐๐ คน  พวกชาวเมืองไม่เคยเห็นตื่นกันมาดูแน่นทั้งสองฟากถนนตลอดทาง  ทหารจับพวกอั้งยี่ที่ในสนามรบเสร็จแต่เวลาก่อนเที่ยง  พวกหญิงชายชาวบ้านร้านตลาดก็พากันยินดีหาอาหารมาเลี้ยงกลางวัน  พอกินแล้วก็เที่ยวค้นจับอั้งยี่หลบหนีไปเที่ยวซุกซ่อนจตามที่ต่างๆต่อไป  ตอนนี้มีพวกนายโรงสีและชาวบ้านพากันนำทหารไปเที่ยวค้นจับได้พวกอั้งยี่อีกมาก  ตัวหัวโจกซึ่งหลบหนีไปเสียก่อนก็จับได้ในตอนบ่ายนี้แทบทั้งนั้น  รวมจำนวนอั้งยี่ที่ถูกทหารยิงตายไม่ถึง ๑๐ คนถูกบาดเจ็บสัก ๒๐ คน จับได้โดยละม่อมราว ๘๐๐ คน  ได้ตัวหัวโจก ๘ คน  เมื่อเสร็จการจับแล้วถึงตอนเย็น  กรมยุทธนาธิการให้ทหารหน้าลงไปอยู่ประจำรักษาความสงบในท้องที่  เรียกทหารมหาดเล็กกับทหารเรือกลับมา  บริษัทรถรางขอจัดรถรับส่งทหารทั้งขาขึ้นแขลง แล้วแต่ทหารจะต้องการก็ไปมาได้สะดวก  เมื่อขบวนรถรางรับทหารมหาดเล็กกลับขึ้นมาในวันจับอั้งยี่นั้น  พวกชาวเมืองทางข้างใต้ทั้งไทยจีนแขกฝรั่งพากันมายืนอวยชัยให้พรแสดงความขอบใจทหารมหาดเล็ก  เจ้าพระยาราชสุภมิตรเล่าว่า ยืนมาหน้ารถต้องจับกระบังหมวกรับคำนับแทบไม่มีเวลาว่างจนตลอดแขวงบางรัก  ในหนังสือพิมพ์บางกอกไทมส์เขียนตามเสียงฝรั่งในสมันนั้น ก็สรรเสริญมากที่รัฐบาลให้ทหารไปปราบอั้งยี่ได้โดยเด็ดขาดรวดเร็ว  และชมทหารไทยว่ากล้าหาญว่องไว  ชมต่อไปถึงที่ทหารไทยจับอั้งยี่โดยไม่ดุร้ายเกินกว่าเหตุ  เมื่อจับอั้งยี่แล้วกรมยุทธนาธิการให้ทหารรักษาท้องที่วิวาทอยู่ ๓ วัน  เห็นสงบเรียบร้อยดีแล้วก็ให้ถอนทหารมอบท้องที่ให้กรมตระเวนรักษาอย่างเดิมส่วนพวกอั้งยี่ที่จับตัวได้ครั้งนั้น  พระเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้ตั้งศาลพิเศษชำระพิพากษาให้จำคุกหัวหน้าตัวการหมดทุกคน  แต่พวกสมพลดูเหมือนจะให้โบยคนละเล็กละน้อยให้เข็ดหลาบแล้วปล่อยตัวไป  แต่นั้นมาพวกอั้งยี่ในกรุงเทพฯก็ราบคาบไม่กล้าทะนงศักดิ์ในสมัยต่อมา


        ....................................................................................................................................................

        (๑) ขณะนั้นเวลากลางคืนยังถือว่าเป็นเวลาของวันก่อนอยู่
        เพิ่งมาใช้ธรรมเนียมฝรั่ง เปลี่ยนวันเมื่อเวลาเที่ยงคืน 0.00 น. เมื่อในรัชกาลที่ ๖ 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 27 ส.ค. 48 16:31:27 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 21  

        ไม่เป็นไรครับ
        ได้เห็น จำปูนคนเดียวก็ชื่นใจแล้วครับ

        ผมว่าคงจะมีบ้าง บางท่านที่ประสงค์จะอ่านอย่างเดียว
        ไม่ประสงค์ออกนาม
        อีกอย่าง ได้เข้าไปอยู่ในคลังกระทู้เก่าตั้ง ๔ ตอนแล้วจะท้อเลิกเสียก็ไม่ได้

        และเผื่อใคร search คำว่า "อั้งยี่" คงต้องได้เจอกันแน่


        ท่านจำปูนอยู่เป็นเพื่อนกันก่อนนะครับ 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 27 ส.ค. 48 16:36:39 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 22  

        ชักยาวแล้วเนอะ

        smile 


        จากคุณ : กริชครับผม   - [ 28 ส.ค. 48 00:42:20 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 23  

        เห็นไหมครับ จำปูน
        คุณ กริช  ก็น่ารักเหมือนกัน

        ชักยาวจริงๆด้วยครับ
        สำหรับตอนนี้ คงจบวันนี้
        สำหรับพระประวัติคงอีกหลายตอน  จะทิ้งตอนไหนก็เสียดาย
        พระองค์ท่านยังไม่ได้เสด็จมาประจำอยู่กระทรวงมหาดไทยเลยครับ

        ....................................................................................................................................................

        เปลี่ยนวิธีควบคุมอั้งยี่

        เมื่อปราบอั้งยี่ครั้งนั้นแล้ว  พระเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตั้งพระราชบัญญัติห้ามมิให้มีสมาคมอั้งยี่ในพระราชอาณาเขตอีกต่อไป  รัฐบาลอังกฤษที่เมืองสิงคโปร์รู้ว่าไทยสามารถปราบอั้งยี่ได  ก็ประกาศสั่งให้เลิกสมาคมอั้งยี่ในเมืองขึ้นของอังกฤษตามอย่างเมืองไทย  วิธีเลี้ยงอั้งยี่ก็เลิกหมดแต่นั้นมา

        เมื่อปราบอั้งยี่เสร็จแล้ว  ใน พ.ศ.๒๔๓๒ นั้นเอง พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดฯให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นอธิบดีกระทรวงโยธาธิการและให้ตัวฉันเป็นอธิบดีกระทรวงธรรมการมีศักด์เสมอเสนาบดีก็ต้องลาออกจากตำแหน่งในกรมยุทธนาธิการด้วย   แต่ยังคงมียศเป็นนายพลและเป็นราชองครักษ์อยู่อย่างเดิม  เวลาตัวฉันเป็นอธิบดีกระทรวงธรรมการอยู่๒ ปี ไม่มีกิจเกี่ยวข้องกับอั้งยี่จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๕  ทรงพระกรุณาโปรดฯให้ฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงกลับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับอั้งยี่อีก  ด้วยต้องระวังพวกอั้งยี่ตามหัวเมืองอยู่เสมอ  ถึงสมัยนี้ไม่มีพวกอั้งยี่พวกใหญ่เหมือนอย่างแต่ก่อน  แต่ยังมีพวกจีนลักลอบตั้งยี่ตามหัวเมืองใกล้ๆกรุงเทพฯอยู่เนื่องๆ  มีขึ้นที่ไหนก็ปราบได้ไม่ยาก  บางเรื่องก็ออกจะขบขันดังจะเล่าเป็นตัวอย่างเรื่องหนึ่ง  เมื่อแรกตั้งมณฑลราชบุรี  เวลานั้นเจ้าพระยาสุรพันธพิสุทธิ์(เทศ  บุนนาค)(๑)เมื่อยังเป็นพระยาสุรินทรฤาชัย เป็นสมุหเทศาภิบาล  มีพวกอั้งยี่ตั้งซ่องต้มเหล้าเถื่อนที่ตำบลดอนกระเบื้อง  ทำสนามเพลาะสำหรับต่อสู้ขึ้นอีกเหมือนอย่างคราวก่อนที่ได้เล่ามาแล้ว  เวลานั้นยังไม่มีตำรวจภูธร  ฉันถามเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯว่าจะต้องการทหารปืนใหญ่เหมือนอย่างปราบครั้งก่อนหรืออย่างไร  เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯตอบว่าจะปราบด้วยกำลังในพื้นเมืองดูก่อน  ต่อมาสักหน่อยได้ข่าวว่าพวกอั้งยี่ที่ดอนกระเบื้องทิ้งค่ายหนีไปหมดแล้ว  ฉันพบเจ้าพระยาสุรพันธ์ฯถามว่าท่านปราบอย่างไร  ท่านบอกว่าใช้วิธีของสมเด็จ้าพระยาฯซึ่งท่านเคยรู้มาแต่ก่อน  ได้ออกหมายสั่งเกณฑ์กำลังและเครื่องอาวุธให้ปรากฏว่าจะไปปราบซ่องจีนที่ดอนกระเบื้อง  แล้วเอาปืนใหญ่ทองเหลืองที่มีทิ้งอย่ใต้ถุนเรือนสมเด็จเจ้าพระยาฯ ๒ กระบอก  ออกมาขัดสีที่สนามในบริเวณจวนของท่าน ว่าจะเอาไปยิงค่ายจีนที่ดอนกระเบื้อง  พอข่าวระบือไปพวกอั้งยี่ก็หนีหมดเพราะพวกเจ๊กกลัวปืนใหญ่   แต่เมื่อตั้งตำรวจภูธรแล้วก็ไม่ต้องใช้อุบายอย่างนั้นอีก  แต่อั้งยี่ที่มีขึ้นตามหัวเมืองในชั้นฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยปราบปรามไม่ยากอันใด  ถึงกระนั้นเมื่อคิดดูก็น่าพิศวงว่า เพราะเหตุใดพวกจีนจึงยังตั้งอั้งยี่  พิเคราะห์ตามเหตุการณ์ที่เคยเกิดอั้งยี่มาแต่ก่อนเป็นต้นว่าการห้ามสูบฝิ่นอย่างครั้งรัชกาลที่ ๓ ก็ไม่มีแล้ว  เหตุที่แย่งกันรับจีนใหม่ก็ไม่มี ตามหัวเมืองเหตุที่แย่งกันผูกภาษีอากรก็ดี ที่ถูกเจ้าภาษีนายอากรเบียดเบียนก็ดี ก็ไม่มีแล้ว  เพราะรัฐบาลเก็ยภาษีอากรเอง  การปกครองท้องที่ก็เรียบร้อย  ไม่ต้องมีปลัดจีนหรือกงสุลจีนในบังคับสยามเหมือนอย่างแต่ก่อน  แล้วไฉนจึงมีอั้งยี่ตามหัวเมือง  สังเกตดูนักโทษทีต้องจับเพราะเป็นอั้งยี่ดูก็มักเป็นคนชั้นทำมาหากินไม่น่าจะเป็นอั้งยี่  นึกสงสัยว่าชะรอยจะมีเหตุอะไรที่ยังไม่รู้ซึ่งเป็นเหตุให้มีอั้งยี่ตามหัวเมือง  ฉันจึงปรารภกลับพระยาอรรถการยบดี(ชุ่ม  อรรถจินดา)ซึ่งภายหลังเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี เวลานั้นยังเป็นพระยาราชเสนาหัวหน้าพนักงานอัยการกระทรวงมหาดไทยให้ลองสืบสวนราษฎรในท้องถิ่น โดนเฉพาะพวกนักโทษที่เคยเข้าอั้งยี่  ว่าเหตุใดจึงมีคนสมัครเป็นอั้งยี่  สืบอยู่ไม่นานก็ได้เค้าว่ามีพวกหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ(จะเรียกต่อไปว่าพวกต้นคิด)หากินด้วยตั้งอั้งยี่ตามหัวเมือง  วิธีของพวกจีนต้นคิดนั้น ถ้าเห็นว่าอาจจะตั้งอั้งยี่ได้ในถิ่นอันใดเป็นที่มีจีนตั้งทำมาหากินอยู่มาก  และมีการแข่งขันการค้าขายก็แต่งพรรคพวกให้ออกไปอยู่ถิ่นนั้น  อย่างว่าไปทำมาหากินแต่แยกไปอยู่เป็น ๒ พวกเหมือนกับไม่รู้จักมักคุ้นกัน  แล้วเสาะหาจีนที่เป็นคนเกกมะเหรกในที่นั่นคยหายุยงให้วิวาทกับคนอื่น  บางทีก็หาพวกจีนที่เป็นหัวไม้ออกไปจากกรุงเทพฯ  ให้ไปก่อวิวาทตีรันกันขึ้นเนื่องๆจนคนในถิ่นนั้นเกิดหวาดหวั่นเกรงพวกคนพาลจะทำร้าย  ก็เกลี้ยกล่อมชักชวนให้เข้าพวกช่วยกันป้องกัน  ในไม่ช้าจีนในถิ่นนั้นก็แตกกันเป็นพวกเขาพวกเรา  แล้วเลยตั้งอั้งยี่เป็น ๒ พวก  แต่นั้นพวกสมุนก็วิวาทกันเนื่องๆ  ถ้ารัฐบาลจับกุมเมื่อใดก็กลับเป็นคุณแก่พวกต้นคิด  ซึ่งหลบหนีเอาตัวรอดเสียก่อนแล้ว  กลับไปหาผลประโยชน์ด้วยเรี่นไร "เต๊ย" เอาเงินจากอั้งยี่พวกของตน  โดยอ้างว่าเอาไปช่วยพรรคพวกที่ถูกจับ เอากำไร  ในการนั้นถึงโดยว่าไม่มีการจับกุม  เมื่อถึงเทศกาลก็เต๊ยเงินทำงานไหว้เจ้าเอากำไรได้อีกเสมอทุกปี  สืบได้ความดังว่ามานี้  ฉันจึงคิดอุบายแก้ไขได้ลองใช้อุบายนั้น  ครั้งแรกเมื่อพวกอั้งยี่ตีกันที่บางนกแขวก แขวงเมืองราชบุรี จะเป็นเมื่อปีใดจำไม่ได้  ฉันให้พระยาอรรถการยบดีออกไประงับ  สั่งให้ไปพยายามสืบจับเอาตัวพวกต้นคิดด้วยเกลี้ยกล่อมพวกคนในท้องถิ่น ที่เข้าอั้งยี่  ถ้าคนไหนให้การรับสารภาพบอกตามความจริง ให้เรียกทัณฑ์บนปล่อยตัวไป  อย่าให้จับเอาตัวมาฟ้องศาลอย่างแต่ก่อน  หรือถ้าว่าอีกย่างหนึ่งให้เอาตัวต้นคิดเป็นจำเลยเอาพรรคพวกเป็นพยาน  พระยาอรรถการยบดีออกไปทำตามอุบายนั้น  ได้ผลสำเร็จบริบูรณ์  พอสืบจับได้ตัวจีนต้นคิดที่ออกไปจากกรุงเทพฯ ๕ คนเท่านั้น  อั้งยี่ที่บางนกแขวกก็สงบทันที  การระงับอั้งยี่ตามหัวเมืองจึงใช้วิธีอย่างนั้นสืบมา  สังเกตดูอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในชั้นภายหลังทหารปราบเมื่อง พ.ศ. ๒๔๓๒ด็เป็นการหากินของจีนเสเพล ค้าความกลัวของผู้อื่นเอากำไรเลี้ยงตัวเท่านั้น


        ....................................................................................................................................................

        (๑) เจ้าพระยาสุรพันธพิสุทธิ์  นามเดิม เทศ  เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่  เดิมในรัชกาลที่ ๔ เป็นที่นายรองไชยขรค์ มหาดเล็ก  แล้วเป็นนายศัลย์วิไชย มหาดเล็กหุ้มแพร  แล้วเป็นพระเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี  ในรัชกาลที่ ๕ เป็นพระยาสุรินทรลือไชย ผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี  ครั้น พ.ศ. ๒๔๔๐ โปรดฯให้เป็นเจ้าพระยาพระราชทานสมญาว่า เจ้าพระยาสุรพันธิสุทิ์ ชนุตมาราชภักดี สกลเทพมนตรีมิตรจิตร สุจริตวราธยาศรัย เสนานุวัตรสมัยสมันตโกศล ยุติธรรมวิมลสัตยารักษ์ สุนทรศักดวิวัฒนวัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ อัชนาม
        ถึงอสัญกรรมเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๔๙ 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 28 ส.ค. 48 11:50:02 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 24  

        อยากให้คนในรัฐบาลได้อ่านการปราบปรามคนพาลในอดีตที่ผ่านมาบ้าง
        บางทีอาจจะเกิดความคิดใหม่ๆในการแก้ปัญหาทางภาคใต้ของเราในตอนนี้ 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 28 ส.ค. 48 11:52:50 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 25  

        (เรื่องหลวงพ่อแช่ม สมภารวัดฉลองเห็นเกี่ยวข้องกับ อั้งยี่ จึงนำมาลงไว้ที่เดียวกันครับ)

        เรื่องพระครูวัดฉลอง

        เมื่อภูเก็ตเดิมขึ้นอยู่กระทรวงกลาโหม  จนเมื่อฉันเป็นเสนาบดีกระทรงมหาดไทยแล้ว  จึงได้โอนมาขึ้นกระทรวงมหาดไทย  ฉันลงไปตรวจราชการเมืองภูเก็ตครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑  เวลาฉันพักอยู่เมืองภูเก็ตพระครูวิสุทธิวงศาจารย์เป็นที่สังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ตอยู่ ณ วัดฉลองมาหา  พอฉันแลเห็นก็เกิดพิศวงด้วยที่หน้าแข้งของท่านมีรอยปิดทองคำเปลวแผ่นเล็กๆ ระกะไปราวกับพระพุทธรูปหรือเทวรูปโบราณที่คนบนบาน  เมื่อพูดจาปราศรัยดูก็เป็นผู้มีกิริยาอัชฌาสัยเรียบร้อยอย่างผู้หลักผู้ใหญ่  เวลานั้นดูเหมือนจะมีอายุได้สัก ๖๐ ปี  ฉันถามท่านว่าเหตุไฉนจึงปิดทองที่หน้าแข้ง ท่านตอบว่า "เมื่ออาตมาภาพเข้ามาถึงในเมืองพวกชาวตลาดเขาขอปิด"  ฉันได้ฟังอย่างนั้นก็เกิดอยากรู้ว่าเหตุไฉนคนจึงปิดทองท่านพระครูวัดฉลอง  ข้าราชการเมืองภูเก็ที่เขารู้เห็นเล่าให้ฟังบ้าง เป็นเรื่องประหลาดดังจะกล่าวต่อไปนี้

        ท่านพระครูองค์นี้ชื่อ แช่ม เป็นชาวบ้านฉลองอยู่ห่างเมืองภูเก็ตสักสามสี่ร้อยเส้น  เดิมเป็นลูกศิษย์พระอยู่ในวัดฉลองมาตั้งแต่ยังเด็ก  ครั้นเติบใหญ่บวชเป็นสามเณรเล่าเรียนอยู่ในวัดนั้น  จนอายุครบอุปสมบทก็บวชเป็นพระภิกษุ  เรียนวิปัสสนาและคาถาอาคมต่างๆ  ต่อมาจนมีพรรษาอายุมากได้เป็นสมภารวัดฉลอง  เรื่องประวัติแต่ต้นจนตอนนี้ไม่แปลกอย่างไร  มาเริ่มมีอภินิหารเป็นอัศจรรย์เมื่อเกิดเหตุ  ด้วยพวกกรรมกรทำเหมืองแร่ที่เมืองภูเก็ตเป็นกบฏเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙(ดังจะมีเรื่องปรากฏในนิทานที่ ๑๕ ต่อไปข้างหน้า)  เวลานั้นรัฐบาลไม่มีกำลังพอจะปราบปรามพวกจีนกบฏให้ราบคาบ ได้แต่รักษาตัวเมืองไว้  ตามบ้านนอกออกไป พวกจีนเที่ยวปล้นสดมฆ่าฟันผู้คนได้ตามชอบใจไม่มีใครต่อสู้  จึงเป็นจลาจลทั่วไปทั้งเมืองภูเก็ต  เรื่องที่เล่าต่อไปนี้เขียนตามคำท่านพระครูวัดฉลองเล่าให้ฟังเอง  ว่าเมื่อได้ข่าวไปถึงบ้านฉลองว่ามีจีนออกไปปล้น พวกชาวบ้านกลัวพากันอพยพหนีไปซ่อนตัวอยู่ตามภูเขาโดยมาก  เวลานั้นมีชายชาวบ้านที่เคยเป็นลูกศิษย์ของท่านสักสองสามคนไปชวนให้ท่านหนีไปด้วย  แต่ท่านตอบว่า "ข้าอยู่ในวัดนี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนอายุถึงปานนี้แล้ว  ทั้งเป็นสมภารเจ้าวัดด้วยจะทิ้งวัดไปเสียอย่างไรได้  พวกสูจะหนีก็หนีเถิด  แต่ข้าไม่ไปละจะต้องตายก็จะตายอยู่ในวัด อย่าเป็นห่วงข้าเลย"  พวกลูกศิษย์อ้อนวอนเท่าใดท่านก็ยืนคำอยู่อย่างนั้น  เมื่อคนเหล่านั้นเห็นว่าท่านไม่ยอมทิ้งวัดไปก็พูดกันว่า "เมื่อขรัวพ่อไม่ยอมไป  พวกผมก็อยู่เป็นเพื่อน  แต่ขออะไรพอคุ้มตัวสักอย่างหนึ่ง"  ท่านจึงเอาผ้าขาวมาลงยันต์เป็นผ้าประเจียดแจกให้คนละผืน  พวกนั้นไปเที่ยวเรียกหาเพื่อนได้เพิ่มเติมมาราวสัก ๑๐ คน  เชิญตัวท่านให้ลงไปอยู่ในโบสถ์ พวกเขาไปเที่ยวหาเครื่องศัสตราวุธสำหรับตัวแล้วพากันมาอยู่ในวัดฉลอง  พออีกสองวันจีนพวกหนึ่งก็ออกไปปล้น  แต่พวกจีนรู้ว่าพวกชาวบ้านหนีไปเสียโดยมากแล้วเดินไปโดยประมาทไม่ระวังตัว  พวกไทยแอบเอากำแพงแก้วรอบโบสถ์บังตัว  พอพวกจีนไปถึงก็ยิงเอาแตกหนีไปได้โดยง่าย  พอมีข่าวว่าลูกศิษย์ท่านวัดฉลองรบชนะจีน  ชาวบ้านฉลองที่หนีจีนไปซุกซ่อนอยู่ตามภูเขาก็พากันกลับมาบ้านเรือน  ที่เป็นผู้ชายก็ไปหาท่านวัดฉลอง  ขอรับอาสาว่า ถ้าพวกจีนยกไปอีกจะช่วยรบ  แต่ท่านตอบว่า "ข้าเป็นพระสงฆ์จะรบราฆ่าฟันใครไม่ได้  สูจะรบพุ่งอย่างไรก็ไปคิดอ่านกันเองเถิด  ข้าจะให้แต่เครื่องคุณพระสำหรับป้องกันตัว"  คนเหล่านั้นไปเที่ยวชักชวนกันรวมคนได้กว่าร้อยคน  ท่านวักฉลองก็ลงผ้าประเจียดแจกให้ทุกคน  พวกนั้นนัดกันเอาผ้าประเจียดโพกหัวเป็นเครื่องหมาย ทำนองอย่างเป็นเครื่องแบบทหาร  พวกจีนเลยเรียกว่า "อ้ายพวกหัวขาว" จัดกันเป็นหมวดหมู่มีตัวนายควบคุม  แล้วเลือกที่มั่นตั้งกองรายกันเอาวัดฉลองเป็นที่บัญชาการคอยต่อสู้พวกจีน  ในไม่ช้าพวกจีนก็ยกไปอีก คราวนี้ยกกันไปเป็นขบวนรบ  มีทั้งธงนำและกลองสัญญาณ  จำนวนคนที่ยกไปก็มากกว่าครั้งก่อน  พวกจีนยกไปถึงบ้านฉลองในตอนชาว  พวกไทยเป็นแต่คอยสู้อยู่ในที่มั่นเอาปืนยิงกราดไว้  พวกจีนเข้าในหมู่บ้านฉลองไม่ได้ก็หยุดยั้งอยู่ภายนอก  ต่างยิงโต้ตอบกันทั้งสองฝ่ายจนเวลาตะวันเที่ยง  พวกจีนหยุดรบไปกินข้าวต้ม พวกไทยได้ทีก็รุกเข้าล้อมไล่ยิงพวกจีนในเวลากำลังสาละวนกินอาหาร  ประเดี๋ยวเดียวพวกจีนก็ล้มตายแตกหนีกระจัดกระจายไปหมด  ตามคำท่านพระครูว่า "จีนรบสู้ไทยไม่ได้ด้วยมันต้องกินข้าวต้ม  พวกไทยไม่ต้องกินข้าวต้มจึงเอาชนะได้ง่ายๆ"  แต่นั้นพวกจีนก็ไม่กล้าไปปล้นบ้านฉลองอีก  เป็นแต่พวกหัวหน้าประกาศตีราคาศีรษะท่านวัดฉลอง ว่าใครตัดเอาไปให้ได้จะให้เงินสินบน ๑,๐๐พันเหรียญ  ชื่อท่านวัดฉลองก็ยิ่งโด่งดังหนักขึ้น  

        เมื่อรัฐบาลปราบพวกจีนกบฏราบคาบแล้ว  ยกความชอบของเจ้าอธิการแช่มวัดฉลองที่ได้เป็นหัวหน้าในการต่อสู้พวกจีนกบฏในครั้งนั้น  ประจวบตำแหน่งพระครูสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ตว่างอยู่  พระบาทสมเด้จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้งให้เป็นที่พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ตำแหน่งสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ตแต่นั้นมา  แต่ทางฝ่ายชาวเมืองภูเก็ตเชื่อว่าที่ชาวบ้านฉลองรบชนะพวกจีน  เพราะท่านพระครูวัดฉลองมีอิทธิฤทธิ์ในทางวิทยาคม  ก็นับถือกันเป็นอย่างผู้วิเศษทั่วทั้งจังหวัด  เรื่องที่เล่ามาเพียงนี้เป็นชั้นก่อเกิดการปิดทองท่านพระครูวัดฉลอง

        มูลเหตุที่จะปิดทองนั้น  เกิดขึ้นเมื่อคนนับถือท่านพระครูวัดฉลองว่าเป็นผู้วิเศษแล้ว  ด้วยคราวหนึ่งมีชาวเมืองภูเก็ตสักสี่ห้าคนลงเรือลำหนึ่งไปเที่ยวตกเบ็ดในทะเล  เผอิญไปถูกพายุใหญ่จนจวนเรือจะอับปาง  คนในเรือพากันกลัวตา  คนหนึ่งออกปากบนเทวดาอารักษ์ที่เคยนับพถือขอให้ลมสงบ พายุก็กลับกล้าหนักขึ้น  คนอื่บนสิ่งอื่นที่เคยนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ลมก็ไม่ซาลง  จนสิ้นคิดมิรู้ที่จะบนบานอะไรต่อไป  มีคนหนึ่งในพวกนั้นก็ออกปากบนว่า ถ้ารอดชีวิตได้จะปิดทองขรัวพ่อวัดฉลอง  พอบนแล้วลมพายุก็ซาลงทันที  พวกคนหาปลาเหล่านั้นรอดกลับมาได้จึงพากันไปหาท่านพระครูขออนุญาตปิดทองแก้สินบน  ท่านพระครูว่า "ข้าไม่ใช่พระพุทธรูป  จะทำนอกรีตมาปิดทองคนเป็นๆ อย่างนี้ข้าไม่ยอม"  แต่คนหาปลาได้โต้ว่า "ก็ผมบนไว้อย่างนั้น  ถ้าขรัวพ่อไม่ยอมให้ผมปิดทองแก้สินบน  ฉวยแรงสินบนทำให้ผมเจ็บล้มตาย ขรัวพ่อจะว่าอย่างไร"  ท่านพระครูจนถ้อยคำสำนวน  ด้วยตัวท่านก็เชื่อแรงสินบน  เกรงว่าถ้าเกิดเหตุร้ายแก่ผู้บน ปาบจะตกอยู่แก่ตัวท่านก็ต้องยอม  จึงเอาน้ำมาลูบหน้าแข้งแล้วยื่นออกไปให้ปิดทองคำเปลวที่หน้าแข้ง แต่ให้ปิดเพียงแผ่นเล็กๆแผ่นหนึ่งพอเป็นกิริยาบุญ  พอคนบนกลับไปแล้วก็ล้างเสีย  

        แต่เมื่อกิติศัพท์เล่าลือกันไปว่า มีชาวเรือรอดตายได้ด้วยบนปิดทองท่านพระครูวัดฉลอง ก็มีผู้อื่นเอาอย่าง  ในเวลาเจ็บไข้หรือเกิดเหตุการณ์ กลัวจะเป็นอันตรายก็บนปิดทองท่านพระครูวัดฉลองบ้าง  ฝ่ายม่านพระครูมิรู้จะขัดขืนอย่างไรก็จำต้องยอมให้ปิด  จึงเกิดเป็นประเพณีปิดทองท่านพระครูวัดฉลองขึ้นด้วยประการฉะนี้  ตัวท่านเคยบอกกับฉันว่าที่ถูกปิดทองนั้นอยู่ข้างรำคาญ ด้วยคันผิวหนังตรงที่ปิดทอง จนล้างออกเสียแล้วจึงหาย  แต่ก็ไม่กล้าขัดขวางคนขอปิดทอง  เพราะฉะนั้นท่านพระครูเข้าไปในเมืองเมื่อใด  พวกที่ได้บนบานเอาไว้ใครรู้เข้าก็ไปคอยดักทางขอปิดทองแก้สินบนคล้ายกับคอยใส่บาตร  ท่านพระครูเห็นคนคอยปิดทองร้องนิมนต์  ก็ต้องหยุดให้เขาปิดทองเป็นระยะไปตลอดทาง วันนั้นท่านกำลังจะมาหาฉันไม่มีเวลาล้างทอง  จึงติดหน้าแข้งมาให้ฉันเห็น  ตั้งแต่รู้จักกันเมื่อวันนั้น  ท่านพระครูวัดฉลองกับฉันก็เลยชอบกันมา  ท่านเข้ามากรุงเทพฯเมื่อใดก็เข้ามาหาฉันไม่ขาด  เคยทำผ้าประเจียดให้ฉัน ฝีมือเขียนงามดีมาก  ฉันไปเมืองภูเก็ตเมื่อใดก็ไปเยี่ยมท่านถึงวัดฉลองทุกครั้ง

        การที่คนปิดทองท่านพระครูวัดฉลอง  เป็นแรกที่เกิดประเพณีปิดทองคนเป็นๆเหมือนเช่นพระพุทธรูปหรือเทวรูปที่ศักดิ์สิทธิ์  ก็เป็นธรรมดาที่กิติศัพท์จะเลื่องลือระบือเกียรติคุณของท่านพระครูวัดฉลองแพร่หลาย  จนนับถือกันทั่วไปทุกหัวเมืองทางทะเลตะวันตก  ใช่แต่เท่านั้น แม้ในเมืองปีนังเป็นอาณาเขตของอังกฤษ  คนก็พากันนับถือท่านพระครูวัดฉลอง  เพราะที่เมืองปีนังพลเมืองมีไทยและจีนเชื้อสายไทย ผู้ชายเรียกกันว่า "บาบ๋า"  ผู้หญิงเรียกกันว่า "ยอหยา"  ล้วนนับถือพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอันมาก  เขาช่วยกันสร้างวัดและนิมนต์พระสงฆ์ไทยไปอย่ก็หลายวัด  แต่ในเมืองปีนังไม่มีพระเถระ พวกชาวเมืองทื้งพระและคฤหัสถ์  จึงสมมติท่านพระครูวัดฉลองให้เป็นพระมหาเถระสำหรับเมืองปีนัง  ถ้าสร้างโบสถ์ใหม่ก็นิมนต์ให้ไปผูกพัทธสีมา  ถึงฤดูบวชนาคเมื่อก่อนฟดูเข้าพรรษา ก็นิมนต์ให้ไปนั่งเป็นอุปัชฌาย์บวชนาค  และที่สุดแม้พระสงฆ์เกิดอธิกรณ์ก็นิมนต์ให้ไปไตร่สวนพิพากษา  ท่านพระครูพิพากษาว่าอย่างไรก็เป็นสิทธิ์ขาด  เป็นอย่างสังฆปาโมกข์เมืองปีนังด้วยอีกเมืองหนึ่ง  ผิดกับเมืองภูเก็ตเพียงเป็นด้วยส่วนตัวท่านเอง มิใช่ในทางรีชการ  ด้วยในสมัยนั้นยังไม่มีทางรถไฟ  ชาวกรุงเทพฯกับชาวเมืองปีนังยังห่างเหินกันมาก  มีแต่เรือเมล์ไปมาระหว่างเมืองปีนังกับเมืองภูเก็ตทุกสัปดาห์ ไปมาหากันโดยง่าย  ท่านพระครูวัดฉลองอยู่มาจนแก่ชรา  อายุเห็นจะกว่า ๘๐ ปีจึงถึงมรณภาพ 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 28 ส.ค. 48 15:06:25 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 26  

        เมื่อฉันออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้ว  ไม่ได้ไปเมืองภูเก็ตช้านาน  จนถึงรัชกาลที่ ๗ ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปเมืองภูเก็ตครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑  เวลานั้นท่านพระครูวัดฉลองถึงมรณภาพเสียนานแล้ว  ฉันคิดถึงท่านพระครูจึงไปที่วัดฉลองด้วย  ในคราวนี้สะดวกด้วยเมืองภูเก็ตมีถนนรถยนต์ไปได้หลายทาง  รถยนต์ไปครู่เดียวก็ถึงวัดฉลอง  เห็นวัดครึกครื้นขึ้นกว่าเคยเห็นแต่ก่อนจนแปลกตา  เป็นต้นว่า กุฏิเจ้าอาวาสที่ท่านพระครูเคยอยู่ก็กลายเป็นตึกสองชั้น  กุฏิพระสงฆ์และศาลาที่สร้างเพิ่มเติมขึ้นก็มีอีกหลายหลัง  เขาบอกว่ามีผู้ศรัทธาสร้างถวายพระครูเมื่อภายหลัง  แต่เมื่อมีผู้ไปสร้างสิ่งต่างๆเหล่านั้น  ท่านพระครูไม่ยอมให้แก้ไขในบริเวณโบสถ์ที่ท่านลงไปอยู่เมื่อต่อสู้พวกจีน  กำแพงแก้วที่พวกลูกศิษย์เคยอาศัยบังตัวรบจีนครั้งนั้นก็ไม่ให้รื้อแย่งแก้ไข ยังคงอยู่อย่างเดิม  ที่ในกุฏิของท่านพระครูเขาตั้งโต๊ะที่บูชาไว้ มีรูปฉายของท่านพระครูขยายเป็ยขนาดใหญ่ใส่กรอบอย่างลับแลตั้งไว้เป็นประธานบนโต๊ะนั้น  มีรอยคนปิดทองแก้สินบนที่กระจกเต็มไปหมดทั้งแผ่น  เหลือช่องว่างแต่ที่ตรงหน้าท่านพระครู  ดูประหลาดที่ยังชอบบนปิดทองท่านพระครูอยู่จนเมื่อตัวท่านล่วงลับไปนานแล้ว  ไม่เท้าของท่านพระครูที่ชอบถือติดมือก็เอาวางไว้ข้างหน้ารูปและมีรอยปิดทองด้วย

        ไม้เท้าอันนี้ก็มีเรื่องแปลกอยู่  พวกกรมการเมืองภูเก็ตเขาเคยเล่าให้ฉันฟังตั้งแต่ท่านพระครูยังอยู่  ว่ามีเด็กผู้หญิงรุ่นสาวคนหนึ่งในเมืองภูเก็ต  เป็นคนมีวิสัยชอบพูดอะไรเล่นโลนๆ  ครั้งหนึ่งเด็กคนั้นเจ็บออกปากบนตามประสาโลนว่า ถ้าหายเจ็บจะปิดทองตรงที่ลับของขรัวพ่อวัดฉลอง  ครั้นหายเจ็บถือว่าพูดเล่นก็เพิกเฉยเสีย  อยู่มาไม่ช้าเด็กคนนั้นกลับไปเจ็บอีก  คราวนี้เจ็บมากหมอรักษาอาการก็ไม่คลายขึ้น  พ่อแม่สงสัยว่าจะเป็นด้วยถูกผีหรือแรงสินบน  ถามตัวเด็กว่ามันได้บนบานไว้บ้างหรือไม่ แต่แรกตัวเด็กละอายไม่รับว่ามันได้บนไว้เช่นนั้น  จนทนอาการเจ็บไม่ไหวจึงบอกตามความจริงให้พ่อแม่รู้  ก็พากันไปเล่าให้ท่านพระครูฟัง  แล้วปรึกษาว่าควรจะทำอย่างไรดี  ท่านพระครูว่า "บนอย่างลามกเช่นนั้ใครจะยอมให้ปิดทองได้"  ข้างพ่อแม่เด็กก็เฝ้าอ้อนวอนด้วยกลัวลูกจะเป็นอันตราย  ท่านพระครูมิรู้ที่จะทำประการใด  จึงคิดอุบายเอาไม้เท้าอันนั้นสอดเข้าไปใต้ที่นั่ง  แล้วให้เด็กปิดทองที่ปลายไม่เท้า  ผู้เล่าว่าพอแก้สินบนแล้วก็หายเจ็บ  ฉันได้ถามท่านพระครูว่าเคยให้เด็กหญิงปิดทองที่ปลายไม้เท้าแก้สินบนจริงหรือ  ท่านเป็นแต่ยิ้มอยู่ไม่ตอยรับหรือปฏิเสธ  จึงนึกเห็นจะเป็นเรื่องจริงดังเขาเล่า

        เรื่องพระครูวัดฉลองยังเห็นเป็นอัศจรรย์ต่อมาอีก  เมื่อฉันไปอยู่เมืองปีนังใน พ.ศ.๒๔๗๗  ไปที่วัดสว่างอารมณ์เห็นมีรูปฉายท่านพระครูวัดฉลองเข้ากรอบลับแลตั้งอยู่บนโต๊ะเครื่องบูชาข้างพระประธานที่ในโบสถ์  และมีรอยปิดทองแก้สินบนเต็มไปทั้งแผ่นกระจก เช่นเดียวกับที่เมืองภูเก็ต  เดี๋ยวนี้รูปนั้นก็ยังอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ ดูน่าพิศวง  พิเคาระห์ตามเรื่องประวัติ  เห็นว่าควรนับว่า พระครูวิสุทธิวงศาจารย์(แช่ม) วัดฉลองเป็นอัจฉริยบุรุษได้คนหนึ่งด้วยประการฉะนี้. 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 28 ส.ค. 48 15:06:32 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 27  

        นอกจากเนื้อเรื่องจะยาวแล้ว 
        ขอให้มิตรภาพของพวกเรา 
        ยืนยาวนาน เป็นประวัติศาสตร์ด้วยครับ 


        จากคุณ : จำปูน - [ 28 ส.ค. 48 15:40:24 A:202.133.166.22 X: TicketID:033075 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 28  

        จบตอนนี้แล้วครับ

        ตอนหน้าเมื่อทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
        ใช้ชื่อตอนว่า ทรงตรวจราชการหัวเมือง
        เอาสัก ๓-๔ ตอน  แล้วขึ้นตอนทรงจัดหอพระสมุดสำหรับพระนคร ๑ ตอน
        ปิดท้ายด้วย พระประวัติลูกเล่า เป็นที่สุดของพระประวัตินะครับ

        รักกันจริง ติดตามต่อนะครับ
        ท่านใดหายหน้าไปนานๆ จะโพสข้อความตามหา  แวะเข้ามาดูเอานะครับ(?)

        ตอนนี้ขอพักเรื่องพระประวัติไว้ก่อน  ขอเข้าไปที่ ตำนานพระโกศ  ที่หาเรื่องไว้ก่อนนะครับ
        ช่วงนี้รู้สึกว่าจะเกินกำลังอยู่บ้าง ต้องเรียงข้อความ ๒กระทู้ในเวลาเดียว 


        จากคุณ : กัมม์  - [ 28 ส.ค. 48 15:41:59 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 29  

        แวะมาเยี่ยม ยังไม่ค่อยได้มีเวลาอ่านเลย เรียนหนักจัง cry 

        จากคุณ : กริชครับผม   - [ 29 ส.ค. 48 01:25:43 ]
       
       
         ความคิดเห็นที่ 30  

        เข้ามาเช็คชื่อครับ
        ยังตามอ่านอยู่นะครับ 


        จากคุณ : jaxcu  - [ 29 ส.ค. 48 15:29:25 ]
       
       
 
 
 
 
 
ประวัติศาสตร์  ประวัติศาสตร์
มห.ภูเก็จ 2329 
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1040
mod_vvisit_counterเมื่อวาน5656
mod_vvisit_counterทั้งหมด11018531