Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
เทือกเขา PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 08 มิถุนายน 2009

เทือกเขา

 

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

เทือกเขาแอนดีส

 

เทือกเขา หรือ ทิวเขา หมายถึงแนวทอดตัวของภูเขาที่ล้อมรอบด้วยพื้นที่ต่ำ หรือถูกแบ่งแยกออกจากภูเขาอื่นๆ ด้วยหุบเขาหรือแม่น้ำ ภูเขาแต่ละลูกที่อยู่ในเทือกเขาเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่เหมือนกัน ซึ่งอาจเกิดจากการก่อเทือกเขา (orogeny) ที่แตกต่างกัน เช่น ภูเขาไฟ ภูเขายกตัวหรือภูเขายุบจม หรือมีชนิดของหินที่ไม่เหมือนกัน เทือกเขาแอนดีสเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก เทือกเขาหิมาลัยเป็นเทือกเขาที่มียอดเขาที่สูงสุดในโลก และเทือกเขาอาร์กติกคอร์ดิลเลอรา (Arctic Cordillera) ก็เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ทิศเหนือมากที่สุดของโลก


เทือกเขาหิมาลัย (อังกฤษ: Himalaya) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga). ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย)

 

เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล — เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ
 

 

เทือกเขาอาราคาทัคแห่งนี้มียอดเขามากกว่า 200 แห่งที่สูงกว่า 6,000 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด 3 ยอด คือ คองกูร ทัค (Kongur Tagh) (7,719 เมตร), ติงเปย (Dingbei) (7,625 เมตร) และมุซทัค อะทา (Muztagh Ata) (7,546 เมตร) ยอดเขาสูงสุดเหล่านี้อยู่ในเทือกเขา อารคาทัค (Arka Tagh) มีแต่น้ำสำคัญหลายสายไหลจากเทือกเขานี้ เช่น แม่น้ำการากาช ('แม่น้ำหยกดำ') และแม่น้ำยุรุงกาช ('แม่น้ำหยกขาว') ซึ่งไหลผ่านโอเอซิสโขตาน ผ่านไปยังทะเลทรายทาคลามาคาน

 

เทือกเขาอารคาทัคอยู่ในใจกลางของคุนหลุนซาน โดยมียอดเขาอุลุค มุซทัค (6,973 เมตร) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาคุนหลุนซาน คือ ภูเขาเทพีคุนหลุน (7,167 เมตร) อยู่ในบริเวณเคริยา (Keriya)

 

เทือกเขาร็อกกี (Rocky Mountains หรือ Rockies) เป็นเทือกเขาในอเมริกาเหนือ พาดผ่านตั้งแต่บริติชโคลัมเบียในแคนาดา ไปจนถึงมลรัฐนิวเม็กซิโกในสหรัฐอเมริกา รวมความยาวประมาณ 4,800 กิโลเมตร โดยมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ เมาท์เอลเบิร์ต ในมลรัฐโคโลราโด ซึ่งมีความสูงประมาณ 4,401 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

 

ในเทือกเขาสันกาลาคีรี คือ ยอดเขายูลูติติ บาซาห์ (Ulutiti Basah) สูง 1,533 เมตร

 

ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ ยอดเขามองต์บลังก์ (Mont Blanc) ที่ความสูง 4807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี

 

กรวยภูเขาไฟสลับชั้น(Composit Cone Volcano) เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกระทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น 12,385 ฟุต(3,715 ม.)), ภูเขาไฟมายอน (ฟิลิปปินส์)(หลังจากภูเขาไฟที่มีความสูง 2,474 เมตรเริ่มพ่น) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน (สหรัฐฯ) (3,000 ม.)


ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ โดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบาซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟ Muana Loa (ฮาวาย)

 

"ลาวา" ของเหลวอันร้อนระอุเกินพิกัดจุดเดือด ซึ่งเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ "กิเลาเอ้" ในอุทยานภูเขาไฟแห่งชาติ ที่ฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลื่นไถลลงสู่ท้องมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงรุ่งอรุณของวันที่ 4 ก.ค. 2547

 

รวมถึงภูเขาไฟอาโซะ (Aso) ซึ่งมีปากปล่องภูเขาไฟใหญ่ที่สุดในโลก คือวัดโดยรอบได้ถึง 120 กิโลเมตร

 

ภูเขาไฟ

 
ภูเขาไฟโบรโมและเซมูรูบนเกาะชวาในอินโดนีเซียภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐาน (โดยทั่วไป คือ ภูเขา) ที่หินหนืด (หินภายในโลกที่ถูกหลอมเหลวด้วยความดันและอุณหภูมิสูง) ปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ แม้ว่าเราจะสามารถพบภูเขาไฟได้หลายแห่งบนดาวเคราะห์หินและดาวบริวารในระบบสุริยะ แต่บนโลก ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า ภูเขาไฟจุดร้อน

 

วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology)

 

การจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง


ปกติจะมีการจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง ตามส่วนประกอบที่ทำให้เกิด และชนิดของการประทุ โดยสรุปแล้วเราจะจำแนกภูเขาไฟได้ 3 ลักษณะคือ

 

กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composit Cone Volcano) เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกระทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น), ภูเขาไฟมายอน (ฟิลิปปินส์) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน (สหรัฐฯ)

 


ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ โดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบาซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟ Muana Loa (ฮาวาย)

 


กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมาก และเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องเดี่ยว และทับถมกันบริเวณรอบปล่อง ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้ไม่ค่อยก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตมากมาย

 

ผลกระทบที่เกิดจากภูเขาไฟ

 

ประโยชน์ของการเกิดภูเขาไฟ

แผ่นดินขยายกว้างขึ้นหรือสูงขึ้น
เกิดเกาะใหม่ภายหลังการเกิดภูเขาไฟปะทุใต้ทะเล
ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ
เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน


โทษของการเกิดภูเขาไฟ

 

เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้
การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้
ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย
สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด

 

ภูเขาไฟในประเทศไทย


ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และปล่องภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง
ภูพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ภูเขาหลวง จังหวัดสุโขทัย

 

ภูเขา


เทือกเขาร็อกกีภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่สูงกว่าพื้นที่โดยรอบ

 

ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

 

ภูเขาโก่งตัว เกิดจากการบีบอัดตัวของหินหนืด ในแนวขนาน
ภูเขาเลื่อนตัวหรือหักตัว เกิดจากการเลื่อนของหินทำให้มีการยกตัวและการทรุดตัวเกิดเป็นภูเขา


ภูเขาโดม เกิดจากการที่หินหนืดดันตัว แต่ว่ายังไม่ทันพ้นพื้นผิวของโลก ก็เย็นตัวก่อน


ภูเขาไฟ เกิดจากการที่หินละลาย ก่อตัวและทับถมกัน

 

 

ความสูงของภูเขา


ความสูงของภูเขาโดยทั่วไปจะวัดโดยความสูงที่ระดับเหนือน้ำทะเล เช่น เทือกเขาหิมาลัย โดยเฉลี่ยมีความสูงอยู่ที่ระดับ 5 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยอดเขาเอเวอเรสต์บนเทือกเขาหิมาลัย และเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก สูงจากระดับน้ำทะเลราวๆ 8.8 กิโลเมตร (8,844 เมตร) ดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของไทย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 2,565 เมตร


 

เทือกเขาและภูเขาที่สำคัญของไทย


เทือกเขาถนนธงชัย
ดอยอินทนนท์
เทือกเขาแดนลาว
ดอยผ้าห่มปก
เทือกเขาขุนตาล
เทือกเขาผีปันน้ำตะวันตก
เทือกเขาผีปันน้ำตะวันออก
เทือกเขาสันกำแพง
เทือกเขาพนมดงรัก
เทือกเขาภูพาน
เทือกเขาเพชรบูรณ์
เทือกเขาตะนาวศรี
เทือกเขาถนนธงชัย
เทือกเขาสันกาลาคีรี
เทือกเขาภูเก็ต
เทือกเขานครศรีธรรมราช

 

เทือกเขาและภูเขาที่สำคัญของโลก


เทือกเขาหิมาลัย
เทือกเขาร็อกกี
เทือกเขาแอลป์
ยอดดอยมองต์บลังก์
เทือกเขาแอนดีส
เทือกเขาฮินดูกูช
เทือกเขาคีรีมันจาโร
ยอดดอยคีรีมันจาโร
เทือกเขาแอ็ตลาส
เทือกเขาโอลิมปัส

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 08 มิถุนายน 2009 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้5596
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11017431