Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
มนสิทธิ์ มนทอง:คติชนหมู่บ้านตะโหมด PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 17 ธันวาคม 2016

คติชนหมู่บ้านตะโหมด

๑. มุขปาฐะ

๑.๑ คำทุกภาษา

      ๑.๑.๑ มะม่วงหิมพานต์ = หัวครก (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๑.๒ ชมพู่ = ชมโพ่แก้ว (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๑.๓ ฝรั่ง = ชมโพ่ (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๑.๔ ฟักทอง = น้ำเต้า (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๑.๕ ฟักเขียว = ขี้พร้า (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๑.๖ ขมิ้น = ขี้หมิ้น (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๑.๗ พริก = ดีปลี (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๑.๘ ตะไคร้ = ไคร (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๑.๙ มะละกอ = ลอกอ (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๐ ข้าวโพด = คง (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๑ สับปะรด = มะลิ (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๒ แตงโม = แตงจีน (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๓ ละมุด = ซ่าว้า (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๔ มะม่วง = ลูกม่วง (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๕ มะขาม = ส้มขาม (ทศพร สินศรชัย ให้ข้อมูล วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๖ เป็นอย่างไรบ้าง = พรือมัง (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๗ ปัจจุบัน = หว่างนี่ (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๘ โง่ = โบ่ (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๙ กลับบ้าน = หลบเริน (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๒๐ ลำบาก = เสดสา (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๒๑ วัว = ฮัว (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๒๒ เยอะแยะ = กองเอ (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๒๓ แฟน = โม่เด็ก (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๒๔ ตะหลิว = เจียนฉี่ (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๒๕ ทัพพี = หวัก (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๒๖ ชะมด = มูสัง (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๒๗ อร่อย = หรอย (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๒๘ ไม่ทราบ = ม่ารู้ม้าย (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๒๙ ขี้เหร่ = โบระ (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๓๐ เป็นห่วง = หวังเหวิด (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๓๑ ศาลา = หลา (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๓๒ ภาชนะสำหรับตักน้ำในบ่อ =  หมาตักน้ำ (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๓๓ รีบเร่ง ลนลาน = ลกลัก, ลกลก (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๓๔ บ้าจี้ = ลาต้า (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๓๕ ขว้างออกไป = ลิว, ซัด (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๓๖ ซอมซ่อ = ม่อร็อง, หม็องแหม็ง (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๓๗ โลภมาก = ตาล่อ, หาจก, ตายอยาก (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๓๘ โกรธ = หวิบ (กิติยา ลั่นคีรี ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๓๙ บ๊อง = เบร่อ (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๔๐ ทำไม = ไซ (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๔๑ โกหก = ขี้หก (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๔๒ กระท่อม = หนำ (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๔๓ อีกแล้ว = หล่าว (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๔๔ กะละมัง = โคม (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๔๕ เลอะเทอะ = หลูหละ (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๔๖ ประจำ = อาโหญฺะ (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๔๗ ทิ้ง = ทุ่ม (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๔๘ ขว้างสิ่งของลงบนพื้น = ฟัด (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๔๙ กัด = ขบ (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๕๐ กัดแทะ = คล็อด (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๕๑ กลิ่นฉุน = ฉ็อง (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๕๒ ดื้อรั้น = ช็องด็อง (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๕๓ กินไม่หมด = แหญะ (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๕๔ เอาเงินไปแลก = แตกเบี้ย (ปัทมาภร ชำนาญอักษร ให้ข้อมูลเมื่อที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๕๕ สะใจดี = ได้แรงอก (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๕๗ เขียง = ดานเฉียง (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๕๘ นิ่งเดี๋ยวนี้ = แหน่งกึ๊บ (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๕๙ ผงชูรส = แป้งหวาน (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๖๐  ที่ลุ่มมีน้ำแฉะ = โพระ (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๖๑ ก็เพราะว่า = กะเบ่อ (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๖๒ น่าจะ = ส่าหวา, สาว่า (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๖๓ เศษเหรียญ = ลูกตาง (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๖๔ รีบ = แขบ (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๖๕ โดน = แท่ง (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๖๖ หลบซ่อน = หยบ (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๖๗ รู้ความ = รู้สา (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๖๘ รู้สึก(รังเกียจ) = สา (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๖๙ กะปิ = เคย (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๗๐ น้ำพริก = น้ำชุบ (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๗๑ เอาอีกแล้ว = เอาแหล่วหลาว (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๗๒ ตะปู = เหล็กโคน (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๗๓ เป็นห่วง = ข้องใจ (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๗๔ เกะกะ = กางหลาง (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๗๕ แคะ = แขว็ก (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๗๖ คอย = เคร่า (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๗๗ งูจงอาง = งูบองหลา (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๗๘ ตะกร้า = ฉ่าหิ้ว (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๗๙ สัญญา = ชันชี (วิญดา จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๘๐ เชือก = เชียก (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๘๑ น้ำตก = โตน (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๘๒ พรุ่งนี้ = ต่อเช้า (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๘๓ น้ำพริก = น้ำชุบ (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๘๔ ละเอียด = เนียน (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๘๕ หิว = เนือย  (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๘๖ ป่าชา = เปรว (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๘๗ ไล่ = ยิก (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๘๘ ครก = ครกเบือ (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๘๙ สาก = สากเบือ (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๙๐ ไม่สบาย = พรือโฉ้ (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๙๑ เก่งมาก = สุดยอด (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๙๒ เข็นรถ = รุนรถ (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๙๓ ลูกตาล = ลูกโหนด (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๙๔ ชนบท = ในหม่อง (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๙๕ รสสุคนธ์ = ย่านปด (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๙๖ เสื่อ = สาด (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๙๗ กะลา = พรก (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๙๘ กากมะพร้าว = พรด (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๙๙ วิ่ง = แล่น (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๐๐ แมงปอ = แมงบี (นายจรูญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒ คำอวยพร

      ๑.๒.๑ ขอให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข

      ๑.๒.๒ ขอให้โชคดี

      ๑.๒.๓ ขอให้เจริญ ๆ นะลูกน่า

      ๑.๒.๔ คิดอะไรก็ขอให้ได้สมปรารถนา

      ๑.๒.๕ ขอให้พระคุ้มครอง (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๓ คำอุทิศ

      ๑.๓.๑ ขอให้ส่วนบุญส่วนกุศลที่ลูกได้ทำไว้ ส่งผลให้ครอบครัวและลูกเอง มีความสุขความเจริญ

      ๑.๓.๒ บุญกุศลที่ได้ทำไว้ครั้งนี้ จงดลบันดาลให้ลูกหลานทุกคนมีแต่ความสุข (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๔ ตำนาน

๑.๔.๑ เขาอกทะลุ

      ชายผู้หนึ่งชื่อนายเมือง เป็นพ่อค้าช้าง ตะแกมีเมียสองคน เมียหลวงชื่อนางศิลา และมีลูกสาวชื่อนางยี่สุ่น ส่วนเมียน้อยชื่อนางบุปผา และมีลูกชายชื่อนางชังกั้ง ลักษณะนิสัยของนายชังกั้งตรงกับชื่อ คือเป็นคนเกกมะเหรก ดื้อดึง และมุทะลุ ฝ่ายเมียหลวงและเมียน้อยก็ไม่ลงรอยกัน มักทะเลาะด่าทอและตบตีกันเสมอ

วันหนึ่งนายเมืองเดินทางไปค้าขายต่างถิ่น นางยี่สุ่นลูกสาวไม่อยู่บ้านเช่นกัน นางมักอาศัยเรือสำเภาเดินทางหนีไปค้าขายถึงต่างแดน ฝ่ายนายชังกั้งนั้นก็ไม่อยู่ติดบ้าน นางบุปผา ผู้เป็นแม่ก็มิได้เป็นห่วง เพราะเอือมระอายากที่จะตักเตือนสั่งสอนลูก

ภายในบ้านจึงเหลือแต่เมียหลวงและเมียน้อย ต่างก็ทำงานคนละอย่าง คือเมียหลวงนั่งทอผ้าหรือทอหูกอยู่ใต้ถุนบ้าน และเมียน้อยตำข้าวโพดโดยใช้สากตำลงไปในครก ชาวใต้เรียกการตำข้าวว่า ซ้อมสารช่วงหนึ่งต่างเกิดปากเสียงกันอย่างรุนแรง ถึงกับบันดาลโทสะออกมาอย่างไม่ยั้งคิดนั่นคือ เมียหลวงใช้กระสวยทอผ้าซึ่งชาวใต้เรียกว่า ตรนฟาดศีรษะเมียน้อยอย่างเต็มแรงจนเป็นแผลแตกเลือดไหลแดนฉาน ฝ่ายเมียน้อยก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ นางจึงใช้สากตำข้าวกระทุ้งหน้าอกเมียหลวงอย่างแรงจนอกทะลุ ในที่สุดทั้งคู่ทนความเจ็บปวดไม่ไหวถึงแก่ความตายและกลายเป็นภูเขา นั้นคือเมียหลวงเป็น เขาอกทะลุส่วนเมียน้อยเป็น เขาหัวแตกซึ่งทางการเรียกว่า เขาคูหาสวรรค์

ฝ่ายนายเมืองกลับจากการค้าช้าง เมื่อพบเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเสียใจและตรอมใจในที่สุดก็ถึงแก่ความตายกลายเป็น เขาเมือง หรือ เขาชัยบุรีซึ่งมีลักษณะคล้ายช้างหมอบ ฝ่ายลูกสาวเมื่อขึ้นจากเรือสำเภาและเห็นเหตุการณ์วิปโยคเช่นนั้น นางยิ่งโศกเศร้าเสียใจเลย ถึงแก่ความตายเช่นกัน และกลายเป็น เขาชัยเสนซึ่งมีลักษณะคล้ายเรือสำเภา ศพสุดท้ายคือนายชังกั้งกลายเป็น ภูเขาชังกั้ง หรือเขากังปัจจุบันอยู่ในเขตโรงพยาบาลพัทลุง (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๔.๒ บ้านตะโหมด

ตำนานที่เล่ากันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ กล่าวถึงเส้นทางค้าขายของชาวอินเดียซึ่งเดินทางมาจากฝั่งทะเลอันดามัน (อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ข้ามเทือกเขาบรรทัดทางช่องเขาตระผ่านชุมชนตะโหมดบริเวณบ้านเขาหัวช้าง ซึ่งมีลำคลองหัวช้าง(คลองโหล๊ะหนุน) คลองสายนี้ไหลไปรวมกับคลองสายอื่นอีกหลายสายเป็นคลองท่ามะเดื่อไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลาบริเวณอำเภอบางแก้ว ซึ่งเส้นทางสายนี้ไปขึ้นที่เมืองสทิงพระหรือสทิงพาราณสี (อำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลาในปัจจุบัน) ทางฝั่งอ่าวไทย จากการเดินทางด้วยเส้นทางดังกล่าวก็เกิดมีชุมชนเล็กๆ ขึ้น และพัฒนาเป็นชุมชนบ้านตะโหมดในปัจจุบัน โดยมีร่องรอยทางบโบราณคดี ปรากฏหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้มีท่าวัดเป็นชื่อท่าน้ำของบ้านหัวช้าง และถ้ำพระอยู่บริเวณเขาหัวช้าง ซึ่งเป็นทางผ่านของเส้นทางเดิมนี้ และเส้นทางสายนี้ก็ยังเป็นทางที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางเดินป่าล่าสัตว์และหาของป่าจากตะโหมดไปยังฝั่งตะวันตกของเทือกเขาบรรทัดอยู่ถึงปัจจุบันนี้ จากตำนานบอกเล่า และแหล่งวรรณคดีที่ปรากฏน่าจะเชื่อถือได้ว่าตะโหมดเป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานชุมชนมานานแล้วอย่างน้อยก็น่าจะเป็นช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๔.๓ บ้านหัวช้าง

บ้านหัวช้าง เป็นชื่อหมู่บ้าน ตั้งอยู่ในตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีภูเขาย่อม ๆ หลายลูกตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน คือ เขาหัวช้าง เขาหลักไก่ เขาตีนป่า เขาคลองเฉลิม จากเอกสารของโรงเรียนบ้านหัวช้าง มีตำนานเล่าดังนี้

ตาคลองเฉลิม มีลูกสาวสวยคนหนึ่ง เกิดป่วยเป็นโรคเริมขึ้นที่สีข้าง นายหลักไก่กับนายหัวช้างได้มาช่วยกันเยียวยารักษาลูกสาวตาคลองเฉลิมเกิดชอบ พอนายหลักไก่ ส่วนนายหัวช้างก็หลงรักสายผู้นี้อยู่ด้วย นางตีนป่าพี่สาวนายหัวช้าง ขอร้องน้องชายว่า ผู้หญิงคนเดียวอย่าไปแย่งกันเลย นายหัวช้างยอมตามพี่สาวขอร้อง แต่หลงรักลูกสาวตาคลองเฉลิมอย่างแน่นแฟ้น ไม่สามารถหักใจได้จึงตรอมใจตาย เกิดเป็นเขาหัวช้าง ต่อมานายหลักไก่ตายลงอีก เกิดเป็นเขาหลักไก่ นางตีนป่าเมื่อตายไปเกิดเป็นเขาตีนป่า ตาคลองเฉลิมตายลงอีก เกิดเป็นเขาคลองเฉลิม ส่วนลูกสาวไม่ปรากฏว่าไปเกิดเป็นอะไร (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๕ นิทาน

๑.๕.๑ กำเนิดต้นข้าว

      ในสมัยโบราณนานมาเมล็ดข้าวเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องปลูก และมีขนาดใหญ่มาก ใหญ่กว่ากำมือของมนุษย์ประมาณ ๕ เท่า เมล็ดข้าวนั้นมีสีเงินและมีกลิ่นหอม มนุษย์ก็ได้ใช้หุงกินกันมานาน ต่อมามีหญิงหม้ายคนหนึ่ง สร้างยุ้งฉางให้ข้าวมาเกิดในยุ้งฉาง แม่หม้ายคนนั้นเป็นคนที่มีจิตใจหยาบช้า ตีข้าวเมล็ดใหญ่ด้วยไม้ เมล็ดข้าวแตกหักและปลิวไป ที่ปลิวไปตกในป่าก็กลายเป็นข้าวดอย ที่ปลิวไปตกในน้ำก็กลายเป็นข้าวนาดำมีชื่อว่านางพระโพสพ นางพระโพสพอาศัยอยู่กับปลาในหนองน้ำ นางพระโพสพโกรธมนุษย์จึงตัดสิ้นใจจะไม่กลับไปอีก มนุษย์จึงต้องอดอยากไม่มีข้าวกินไปถึงพันปี   ต่อมามีลูกชายของเศรษฐีไปเที่ยวป่าแล้วเกิดหลงทางจนมาถึงหนองน้ำก็นั่งร้องไห้ ปลากั้งเกิดความสงสารจึงขอให้นางพระโพสพบอกทางให้และกลับไปอยู่กับมนุษย์ นางพระโพสพจึงได้เล่าถึงความใจร้ายของแม่หม้าย ลูกชายเศรษฐีจึงได้อ้อนวอนให้นางพระโพสพกลับไป แต่นางก็ไม่ยอมกลับ เทวดาจึงแปลงตัวเป็นปลากับนกแก้วมาอ้อนวอนให้นางกลับไปดูแลมนุษย์และพระศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าจะไปเกิดอีก นางพระโพสพจึงยอมกลับไปเมืองมนุษย์แต่ข้าวนั้นจะเล็กลง และต้องทำการเพาะปลูก ถ้าจะตำข้าวจะต้องทำพิธีขอเพื่อที่จะขออนุญาตต่อนางพระโพสพ และเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วต้องทำพิธีสู่ขวัญข้าวด้วย (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๕.๒ รวมคนขี้โม้

      มีชายอยู่ ๓ คน เป็นเพื่อนบ้านกัน ชื่อดอกบวบ ดอกรัก ดอกคูน วันหนึ่งทั้ง ๓ คนได้มาพบกัน และได้ตกลงกันว่าให้แต่ละคนเล่านิทานให้เพื่อนฟังกันคนละเรื่อง โดยให้เป็นเรื่องที่โม้ที่สุดดอกบวบเป็นคนที่เล่าก่อนก็เริ่มเล่าดังนี้ ฉันมีปืนยาว ๗ คืบ อยู่กระบอกหนึ่ง  ใส่ดินปืนเข้าไป ๘ คืบ พร้อมทั้งใส่ลูกปืนไป ๘ ลูก แล้วฉันก็ออกเดินทางหายิงนกเป็ดน้ำเมื่อไปที่หนองแห่งหนึ่ง ก็ได้ไปพบเอานกเป็ดน้ำ ๘ ตัว เล่นนำบ้างลอยคอบ้างอยู่ในหนองน้ำแห่งนั้น ฉันก็ได้ยิงปืนออกไปโป้งเดียวเท่านั้น ถูกนกเป็ดน้ำตายไปทั้งหมดถึง  ๗ ตัว ส่วนอีกตัวหนึ่งบินขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้า ฉันก็เดินเข้าไปเก็บนกเป็ดน้ำที่ฉันยิงตายในหนอง ก็งมไปเจอกับลูกปืนที่จมน้ำอยู่ลูกหนึ่ง ฉันก็เลยบอกกับลูกปืนไปว่า โน่นนกเป็ดน้ำบินอยู่บนฟ้าโน่นเจ้าลูกปืนก็วิ่งปรูดขึ้นไปในอากาศ ถูกนกเป็ดน้ำที่บินอยู่บนฟ้านั้นตกลงมา ฉันเลยได้นกเป็ดน้ำเพิ่มอีกตัวหนึ่งดอกรักทำหน้าที่เล่าบ้างว่า

เมื่อวานฉันเข้าไปเข้าป่าแล้วเอากระบอกน้ำเข้าไปด้วย เมื่อไปถึงป่าแฝกแล้วก็ตั้งกระบอกน้ำทิ้งไว้ แล้วลงมือเกี่ยวแฝก ขณะที่ข้าทำการเกี่ยวแฝกอยู่นั้นเอง แฝกมันเคลื่อนไปเคลื่อนมาพอดีตอนนั้นเกิดมีหมูป่าตัวหนึ่งวิ่งมา ฉันเลยขว้างหมูป่าตัวนั้นด้วยเคียว ด้ามเคียวเข้าไปคาในตูดของหมูป่า หมูป่ามันก็เกิดตกใจแล้วก็วิ่งไปวิ่งมาคงกะจะให้เคียวมันหลุดอกมา เคียวก็เกี่ยวแฝกให้ฉันหมดป่าเลย แถมวันนั้นเผอิญเกิดไฟไหม้ในป่า แล้วมาไหม้กระบอกน้ำที่ข้าวางทิ้งไว้ด้วย เหลือแต่น้ำตั้งโด่ฉันยังได้กินน้ำนั้นอยู่เลยดอกคูนก็เล่าบ้างว่า

เมื่อวานนี้นะฉันไปเที่ยวล่าสัตว์ในป่าใหญ่ เผอิญไปเจอช้างเข้า ก็เลยยิงช้างตาย แล้วฉันก็เอามีดออกมมาเถือหนัง เถือตรงไหนมันก็ไม่เข้าซักกะที ฉันเหนื่อยเต็มทีจึงไปนั่งพักอยู่ที่ใต้ร่มไม้ พอดีตอนนั้นมีอีแร้งมาจากไหนก็ไม่รู้ บินมาสัก ๕๐ ตัวได้อยู่ อีแร้งมันคงหิวก็มาจิกช้างกิน มันจิกตรงไหนก็จิกไม่เข้า มันก็ลองไปจิกตรงตูดช้าง ตูดช้างก็โหว่ อีแร้งมันก็พากันเข้าไปอยู่ในท้องช้างกันหมดเลย ฉันก็เลยลองเอาใบไม้ไปอุดตูดช้างไว้ แล้งพอดีตอนนั้นมีเจ็กสองคนพ่อลูกเดินผ่านมา บอกว่าจะไปเมืองจีน ขอซื้อช้างฉันว่าจะขายเท่าไร ฉันเลยตกลงขายไป ๕๐๐ บาท แล้วตาแป๊ะก็โดดขึ้นช้างไปส่วนลูกก็กอดเอว ช้างมีอีแร้งอยู่ในท้องก็บินขึ้นไปบนฟ้าเลย เผอิญลูกเจ๊กเกิดถ่ายท้อง เมื่อถ่ายแล้วไม่มีอะไรจะเช็ดตูด ดันไปเอาใบไม้มาจากตูดช้างเพื่อมาเช็ด อีแร้งเห็นรูออกแล้วดังนั้นจึงบินออกมาจากท้องช้าง ช้างไม่มีอีแร้งข้างในแล้วช้างก็เลยตกลงมาจากฟ้า  เจ๊กและลูกจึงตกลงมาตายทั้งหมด  (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๕.๓ ปลาแก้มช้ำ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่ง มีอยู่ด้วยกัน ๔ ชีวิต ได้แก่ ตา ยาย หมา และแมว ยายนั้นมีแหวนอยู่วงหนึ่งงามมาก หมาเมื่อได้เห็นแหวนของยายแล้วก็นึกชอบอยู่ในใจของมันยิ่งนัก

ต่อมาไม่นาน หมาก็ได้ลักแหวนของยายไปเสีย ตายายจึงใช้ให้แมวตามไปเอาแหวนคืนมาจากหมาให้ได้ แมวก็ได้ตามไปทันหมาที่สะพานแห่งหนึ่งซึ่งหมากำลังข้ามอยู่บนสะพานนั้นพอดี แมวจึงได้ร้องถามหมาขึ้นว่าได้ลักแหวนของยายมาบ้างไหม หมาจึงอ้าปากจะพูดโต้ตอบกับแมวเลยทำให้แหวนที่มันคาบอยู่นั่นหล่นลงไปในคลองเสีย และก็บังเอิญในคลองนั้นได้มีฝูงปลาฝูงหนึ่งอาศัยอยู่ แหวนวงนั้นจึงได้ถูกปลาตัวหนึ่งคาบเอาไป

เมื่อแหวนได้ตกลงไปในคลองเสียเช่นนั้นแล้ว หมากับแมวก็ได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อปรึกษาหารือที่จะงมแหวนจากคลองนั้นให้ได้ โดยหมาได้รู้สึกนึกผิดที่ได้ลักเอาของมีค่าของผู้มีพระคุณของมันมา มันจึงได้บอกกับแมวว่า มันจะต้องเอาแหวนนั้นไปคืนยายให้ได้ มิฉะนั้นแล้วมันก็จะไม่กลับไปบ้านของตายายอีกเป็นอันขาด หมาจึงได้ลงไปดำว่ายอยู่ในคลองเพื่อหาแหวนแต่ก็ไม่พบแต่อย่างใด มันจึงคิดที่จะวิดน้ำในคลองนั้นให้แห้งเสียเลย หมาจึงได้ลงไปในคลองนั้นแล้วก็ขึ้นมาสะบัดน้ำ ออกจากตัวมันได้ทำอยู่เช่นนั้นทั้งวันทั้งคืน

ฝ่ายปลาที่อาศัยอยู่ในคลองนั้นต่างก็ตกใจกลัวว่าน้ำจะแห้งแล้วพวกตนก็จะพากันตายหมด หัวหน้าฝูงปลาจึงได้มาพูดขอร้องกับหมาทันทีโดยให้หมายุติการวิดคลองเสีย แล้วตนก็อาสาเอาแหวนมาคืนให้ หัวหน้าฝูงปลาจึงได้พาบริวารออกค้นหาปลาตัวที่คาบแหวนนั้นไปจนพบ แล้วก็ได้ขอแหวนคืนให้หมาแต่โดยดี แต่ปลาตัวนั้นก็ ไม่ยอมคืนให้ ปลาทั้งฝูงโกรธปลาตัวนั้น จึงพากันเข้าตบตียื้อแย่งเอาแหวนวงนั้นมา และได้นำไปให้หมาได้ในที่สุด

ในการยื้อแย่งเอาแหวนจากปลาด้วยกันครั้งนั้น ปลาตัวที่มีแหวนอยู่ในครอบครองก็ได้ถูกเพื่อน ๆ ปลาตบตีเอาจนแก้มทั้งสองช้ำชอกยิ่งนัก ปลาตัวนั้นจึงได้แก้มช้ำมาตั้งแต่บัดนั้นและมันก็ได้มีเผ่าพันธุ์ต่อมา ปลาทุกตัวที่สืบเชื้อสายมาจากปลาตัวนี้ก็ล้วนแต่มีลักษณะคล้ายกับแก้มช้ำเหมือนกันหมด จึงได้เรียกชื่อปลาชนิดนี้ตามลักษณะของมันว่า "ปลาแก้มช้ำ" มาจนทุกวันนี้ (นายประดิษฐ์ จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖ เนื้อเพลงเปล

      ๑.๖.๑ เจ้าขวัญนอนในเปลผ้า

      ฮาเฮอ เห่อเฮ่อ น้องนอน เหอ      เชิญขวัญเจ้านอนในเปลผ้า          เจ้านอนเสียเถิดนะกานดา

ครั้นตื่นขึ้นมาได้เหวยนม            นอนเถิดแก้วแม่            ขวัญข้าวของแม่อย่าปราหรม

ตื่นขึ้นทรามชม             เหวยนม พระมาร เห่อ เหอะ ดา  (นางเจือน มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

          ๑.๖.๒ นางงามลงเก็บข้าว

          ฮาเฮอ เห่อเฮ่อ เดือนสาม เหอ      นางงามจะลงเก็บข้าว      เก็บนาไหนเจ้า   เก็บข้าวที่นาโคหาแนะทางให้พี่ไป  เห็นบ้านนายไกรอยู่สาขา                ตกแต่ต้นหว้า     นั้นและหัวนา เห่อ เหอะ น้อง (นางเจือน มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

          ๑.๖.๓ ไก่แจ้

          อ่า.. เอ้อ เหอ ไก่แจ้ เหอ  ว่ายน้ำหร่ำแหร่ ไปขอเมีย          ขันหมากลอยน้ำเสีย       เอาไหร ขอเมียละไก่แจ้    ขึ้นนั่งเรือนน้อง เขาเอาเงิน เอาทอง สองสามแคร่   เอาไหร่ขอเมียละไก่แจ้   บอกแม่ว่า ลอย เหอ....เสีย (นางเจือน มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

          ๑.๖.๔ ต้นพร้าว

          อ่า เออ เหอ ต้นพร้าวเหอ ต้นพร้าวทางล้อม    อ้ายตัดหัวเดินก้ม    อ้ายตัดหัวเดิน

เงย   อ้ายตัดหัวปากปิด  อ้ายตัดหัวปากเผย    เดินก้ม เดินเงย อ้ายตัดหัวช่างทำบาว (นางเจือน มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

          ๑.๖.๕ ตัดหัว

          อ่า เออ เหอ ตัดหัวเหอ น้องตัดหัวแล้วตัดหัวเล่า ตัดหัวเมื่อกินข้าว  ตัดหัวทีหนึ่งเล่า

เมื่อเข้านอน ตัดหัวทีหนึ่งแล้วเมื่อปูสาด ตัดหัวทีหนึ่งเล่าเมื่อลากหมอน อ้ายตัดหัวร้อย

ท่อน  ทำให้น้องอาวรใจ (นางเจือน มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖.๖ นกคุ่ม

อ่า เออ เหอ    นกคุ่มเหอ หางลุ้นตีนเทียน  เทียมได้ผัวเหมียน   นั่งเขียนแต่เล็บ

ผักบุ้งชายเล กะไม่ต้อง       ผักบุ้งชายคลองกะไม่เก็บ     นั่งเขียนแต่เล็บ    กินของ กำนัลผัว (นางเจือน มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖.๗ ต้นส้มเกลี้ยง

อ่า เออ เหอ    ต้นส้มเกลี้ยงเหอ   ออกชื่อว่าแม่เลี้ยง   อิรักโหลกเลี้ยงสักเท่าใด

เก้าแม่ สิบแม่    ไม่เหมือนแม่เราตั้งแต่ไหร    อิรักโหลกเลี้ยงสักเท่าใด  หว่างแม่ของ เรายัง โหยฺ (นางเจือน มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖.๘ ต้นเขือก้อย

อ่า เออ เหอ  ต้นเหอ ต้นเขือก้อย   รักกันแต่น้อย ๆ  น้ำตาน้องย้อยไม่หอนแห้ง

รักคิ้วหรือรักหน้า    น้องรักวาจาพี่ช่างแหลง    น้ำตาน้องย้อยไม่หอนแห้ง เสียแรงที่รัก ….กัน (นางเจือน มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖.๙ ไก่เถือน

ไก่เถื่อน เหอ ขันเทือนทั้งบ้าน      ลูกสาวขี้คร้าน นอนให้แม่ปลุก

ฉวยได้ด้ามขวาน แยงวานดังพลุก            นอนให้แม่ปลุก ลูกสาวขี้คร้าน (นางเจือน มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖.๑๐ จันทร์เจ้า

จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าว ขอแกง         ขอแหวนทองแดง ผูกมือน้องข้า     ขอช้าง ขอม้า ให้น้องข้าขี่           ขอเก้าอี้ ให้น้องข้านั่ง         ขอเตียงตั้ง ให้น้องข้านอน           ขอละคร ให้น้องข้าดู

ขอยายชู เลี้ยงน้องข้าเถิด           ขอยายเกิด เลี้ยงตัวข้าเอง (นางเจือน มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๗ ประวัติศาสตร์

      ๑.๗.๑ บ้านตะโหมด

      ตำบลตะโหมด  เมืองเล็กๆ ในอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เเต่เมืองเล็กๆเเห่งนี้กลับเป็นเเหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ทั้งในด้านประเพณี  วัฒนธรรม สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านในเรื่องของความเชื่อ       การเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง สำหรับชาวบ้านตะโหมดโดยเฉพาะชาวไทยพุทธมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่เคารพนับถือมาช้านานนับตั้งเเต่เริ่มตั้งวัดนับเป็นเวลา 100 ปีมาเเล้ว

สำหรับร้อยเรื่องเมืองตะโหมดในวันนี้ได้นำเสนอเกี่ยกับประวัติของพ่อท่านช่วย ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวตะโหมด เนื่องจากตามหลักฐานที่ปรากฎว่าในสมัยก่อนวัดตั้งอยู่ทางทิศใต้ห่างจากที่ตั้งวัดในปัจจุบัน 300 เมตร ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดเหนือ เพราะอยู่ต้นน้ำลำธารของวัดปัจจุบัน โดยมีประวัติดังต่อไปนี้

พ.ศ.2330 หลวงพ่อไชยทอง (พ่อเเก่ไชยทอง)เป็นผู้ปกครองวัดเหนือ เเต่สันนิษฐานว่าวัดยังไม่ได้รับอนุญาติตั้งให้ถูกต้องกฎหมาย

พ.ศ2450 หลวงพ่อเปียเดินทางมาจากวัดดอนคัน ต.คูขุด อ.สทิงพระ จ.สงขลา ท่านเห็นว่าป่าช้าเเห่งนี้(บริเวณวัดปัจจุบัน)เป็นที่สงบเหมาะเเก่การตั้งเป็นสำนักสงฆ์ ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดใต้ เพราะตั้งอยู่บนต้นน้ำลำธาร เมื่อสำนักสงฆ์เเห่งนี้เจริญขึ้น ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้เข้าพิธีอุปสมบท เเละช่วยกันสร้างเเม่น้ำลำคลอง  (เป็นอุกเขปสึมา) เพื่อใช้ในการอุปสมบทกรรม

พ.ศ. 2452   เมื่อหลวงพ่อเปียชราภาพมากเเล้วจึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ชาวบ้านจึงได้นิมนต์พระช่วย อินทสโร จากวัดช่างทอง  เดิมท่านเป็นชาวปัตตานี                                               ให้มาเป็นพระกรรมอาจารย์       ในปีต่อมาพระช่วยได้รับเเต่งตั้งเป็นพระอธการช่วย เเละเป็นเจ้าอาวาสรูปเเรกของวัด

พ.ศ. 2477 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

พ.ศ.2481 ท่านอธิการช่วยได้มรณะภาพลง พระเลื่อนเเละพระเช้ง จากวัดเชิงเเส จึงเข้ามาดูเเลวัดระยะหนึ่ง เเละต่อมาในปี พ.ศ.2484 พระครูเขาเดิม วัดเขียนบางเเก้ว เจ้าคณะวัดในสมัยนั้น ได้นิมนต์พระหมุนธมมปาโล (พระครูพิมลชยานุรักษ์)จากวัดไทรขามใหญ่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดตะโหมดรูปที่ 2                  ซึ่งท่านได้ดำเนินการสร้างอาคารเรียนเเละอุปการะโรงเรียนด้วย

พ.ศ.2510 พระครูหมุน ได้รับการเเต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเเม่ขรีประชาราม หลังจากไปจำวัดเมื่อ   ปีพ.ศ 2500 รวมทั้งพระปลัดจ้วน อตตมโน  (พระครูอุทิศกิจจาทร)  ที่ปกครองดูเเลวัดในปี2500 ได้รับการเเต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดตะโหมดเเละได้ดำเริ่มพัฒนาวัดมาจนถึงปัจจุบัน โดย ท่านได้ติดต่อทางราชการขอเปิดเรียนระดับ ป.7ขึ้นที่โรงเรียนวัดตะโหมด ภายหลังมีการออกพระราชบัญญัติเเลกเปลี่ยนกรณีสงฆ์กับเอกชนจึงทำให้สามารถดำเนินการสร้างอาาคารเรียนจนสำเร็จ

พ.ศ.2516 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จเปิดห้องสมุดประชาชนที่วัดตะโหมดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน

พ.ศ.2522 วัดได้ขยายอาณาเขตจากการอุทิศที่ดินจำนวน 2 ไร่ จากนายอ่องเเละนางจำเริญ ไชยโยธาเเละพระปลัดจ้วนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัติเจ้าคณะตำบลชั้นตรี มีพระราชทินนามว่า พระครูอุทิศกิจจาทร

พ.ศ.2526 กรมศาสนาให้วัดตะโหมดเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง

พ.ศ.2530 กรมศาสนาให้วัดตะโหมดเป็นวัดพัฒนาดีเด่น เเละเเม่กองธรรมสนามหลวงอนุมัติให้วัดตะโหมดเป็นสนามสอบธรรมสนามหลวงจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบนวัดตะโหมดตั้งอยู่บนหมู่ที่ 3 ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง มีเนื้อที่ 26 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา มีธรณีสงฆ์1 ไร่ 3 งาน ปัจจุบันสถานเเห่งนี้ยังคงเป็นที่เคารพนับถือ บูชา ของชาวบ้านตะโหมด เเละชาวบ้านใกล้เคียง เป็นอีกหนึ่งในร้องเรื่องราวของเมืองตะโหมดที่เต็มไปด้วยมนต์เสนห์ที่ท่านต้องมาสัมผัสด้วยตนเอง (นายจรัญ  มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘ ปริศนาคำทาย

      ๑.๘.๑ ไอ้ไหรเห้อต้นเท่าลำเรือใบห่อเกลือไม่เม็ด = ต้นสน (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๘.๒ ไอ้ไหรเห้อต้นเท่าครกโลกดกเหมินแสน = ต้นลาน (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๓ ไอ้ไหรเห้อเมื่อแกรองนอนเมื่อออนต้มจุ้ม = ไม้ไผ่ (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๔ ไอ้ไหรเห้อต้นเท่าสายปิ้งแตกกิ่งราหร้า = สาหร่าย (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๕ ไอ้ไหรเห้อพระอินทร์หน้าเขียวพลัดลงมาเยี่ยวแตก = มะพร้าว (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๖ ไอ้ไหรเห้อสี่ตีนกินน้ำบอสูง = กระรอก (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๗ ไอ้ไหรเห้อแปดตีนเดินมาหลังคามุงสังสี = ปู (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๘ ไอ้ไหรเห้อไปเท่าบิ้งนามาเท่าแม่ไก่ = แห (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๙ ไอ้ไหรเห้อต้นเท่าหม้อเป็นลูกช่อเดียว = กล้วย (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๑๐ ไอ้ไหรเห้อมีตารอบหัวเอาตัวไม่รอด = สับปะรด (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๑๑ ไอ้ไหรเห้อ ไม่มีแค้ง ไม่มีขา เวลาไปมาใช้ปากเดิน = หอย (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๑๒ ไอ้ไหรเห้อ สิบหูสองขา ทำฤทธาเอาขาแยงหู = ปิ่นโต (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๑๓ ไอ้ไหรหเห้อ จะว่ามีมนต์ก้าไม่ใช่ เหาะเหินเดินได้ หัวมากหวาแสน = นกตะกรุม (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๑๔ ไอ้ไหรเห้อ หน้าสั้นฟันขาว หางยาวที่สุด ไคท้ายไม่โถก ไม่ใช่โลกมนษย์ = จอบ (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๑๕ ไอ้ไหรเห้อ ตัวดำฟันขาว หางยาวที่สุด ขึ้นบ่าป่าทรุด = ขวาน (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๑๖ ไอ้ไหรเห้อ เสตีนเกาะฝา อ้าปากกินคน = มุ้ง (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๑๗ ไอ้ไหรเห้อ นกกดตาแดง น้ำแห้งก็ตาย = ตะเกียง (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๑๘ ไอ้ไหรเห้อเด็กก็ไม่ใช่เด็ก เดินต๊อกแต๊กอยู่ข้างฝา = นาฬิกา (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๑๙ ไอ้ไหรเห้อ ตำหวาหญ้า สูงหวาดิน = ภูเขา (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๘.๒๐ ต้นไอ้ไหร มีสองกอ = กก (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๙ สำนวน

      ๑.๙.๑ ลอกอชายไฟ = ใช้พูดเพื่อตัดพ้อผู้ที่มองไม่เห็นคุณค่าของตน แต่พอผิดหวังกับคนที่หวังเอาไว้ จึงค่อยหันกลับมาเห็นความสำคัญทีหลัง (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๙.๒ ช้างแล่นอย่ายุงหาง = อย่าขัดขวางผู้มีอำนาจ (แล่นหมายถึง วิ่ง, “ยุงหมายถึง จับหรือดึง) (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๙.๓ คุ้ยขอนหาแข็บ = มีความหมายเดียวกับ ฟื้นฝอยหาตะเข็บในภาษาไทยกลาง ซึ่งตามพจนานุกรม หมายถึง คุ้ยเขี่ยหาความที่สงบแล้วให้กลับเป็นเรื่องขึ้นมาอีก (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

      ๑.๙.๔ อยู่ไม่รู้หวัน = ใช้ว่าคนที่เฉิ่ม ๆ หรือไม่ค่อยรู้เรื่อวรู้ราว มาจากอยู่ไม่รู้วันไม่รู้คืน ( ส่วนใหญ่จะพูดย่อ ๆ ว่า อยู่ไม่หวัน ) (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

          ๑.๙.๕ เหลี่ยมลอกอลิด = ใช้กับคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราวกคล้ายๆกับมะละกอ (ลอกอหมายถึงมะละกอ) ที่ถูกปอกเปลือก (ลิดหมายถึงปอกเปลือก) ซึ่งเมื่อปอกไปมากๆ จะเกิดเหลี่ยมมุมมากขึ้นเรื่อยๆจนนับไม่ถ้วน (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

          ๑.๙.๖ ควัดด็องเปล่า = การกระทำอะไรซึ่งทำแล้วไม่เกิดผลอะไรต่อตนเองเลยแม้แต่น้อยเป็นการเสียแรงเปล่าๆ (เหมือนการฝัดข้าวด้วยกระด้งที่ไม่มีข้าวอยู่เลย ด็องคือกระด้ง) (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

          ๑.๙.๗ ทั้งกินทั้งขอ ทั้งคดห่อหลบเริน = การตักตวงผลประโยชน์เข้าตัว (คดห่อหมายถึงการนำข้าวใส่ภาชนะแล้วพาไปไหนมาไหน)เปรียบกับเมื่อบ้านไหนมีงานแล้วจะมีคนที่ทั้งกินส่วนที่เขาให้กิน แล้วยังไปขอเพิ่มและห่อกลับบ้านไปอีก  (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๐ คำพังเพย

๑.๑๐.๑ ผักดีปลาดีหาชีวัดนอก ขี้เยี้ยวไม่ออกหาชีวัดใน = เมื่อมีสุขไปหาคนอื่นเมื่อได้รับทุกข์มาหาเรา (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๐.๒ มอบสาดเรียงหมอน = พิธีอย่างหนึ่ง การแต่งงาน บางทีเรียกว่าเรียงสาด เรียงหมอน (สาด = เสื่อ) (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๐.๓ ผีตายโหงโรงไม้ยาง = เข้ากันได้ในทางที่ไม่ดี คล้ายกับอีกสำนวนหนึ่งคือ ผีแห้งกับโลงผุ (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๐.๔ ผู้เฒ่าตาบอดนอนกอดตำรา = หวงวิชา (ไม่มีประโยชน์กับตนแต่ขวางคนอื่น) (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๐.๕ ผูกเรือกับหญ้าปล้องลอย ปักหลักบนกองแกลบ = ไม้หลักปักขี้โคลน (นางนิด จันทร์สร ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒. อมุขปาฐะ

๒.๑ ประเพณี

      ๒.๑.๑ ประเพณีสองศาสนา

ประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ วิถีสงกรานต์ดั้งเดิมซึ่งชาวบ้านร่วมกันจัดในลานวัดตะโหมด คุณจะพบกับประสบการณ์งานวัดแบบดั้งเดิม การเล่นน้ำสงกรานต์ รำวงยุคโบราณ การประกวดต่างๆ ขนมพื้นบ้านเช่น ขนมมด ข่าวเกรียบว่าว ขนมจาก ฯ อีกหลายๆ อย่างสาธยายไม่หมด ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านจะมารวมตัวกันที่ลานวัดแห่งนี้ ซึ่งวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมนี้หาดูที่ไหนไม่ได้ เราได้รับความรู้จากพี่สมเกียรติ อีกมากมาย อีกที่หนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของสองศาสนา นั่นคือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ที่อำเภอตะโหมดจะมีสถานที่หนึ่งซึ่งเรียกว่าหลักสองศาสนา เป็นที่ฝังศพของทั้งสองศาสนาซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน บรรพบุรุษมีสองเชื้อสาย เมื่อเสียชีวิตถึงเวลาที่ต้องประกอบพิธีทางศาสนา ญาติทั้งสองฝ่ายจะมาทำพิธีอยู่ร่วมกัน เช่นผู้ตายนับถือพุทธจะมีการสวดพระทางศาสนาพุทธก่อนโดย ญาติที่เป็นมุสลิมก็มานั่งอยู่ด้วย หลังจากพิธีสวดพระเสร็จจึงได้ฝังตามพิธีของศาสนาอิสลามและมีข้อตกลงว่าในบริเวณดังกล่าวหากมีการเลี้ยงอาหาร ก็จะให้เกียรติกันไม่นำอาหารที่ประกอบด้วยหมูเข้ามาในพื้นที่นั้น และทำให้ทุกคนรักใคร่อยู่ร่วมกันได้อย่างสนิทสนม นอกจากนี้ยังมีหลักทวดบรรพบุรุษที่เชื่อกันว่าหากใครทำการสิ่งใดที่เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง แล้วนำมานั่งหน้าหลักทวดให้พูดความจริงแล้ว จะไม่กล้าพูดโกหก ซึ่งนั่นเป็นความเชื่อและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่ดีของคนในพื้นที่ (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๒ อาหาร

      ๒.๒.๑ สะตอกุ้งกะปิ

      ส่วนผสม

๑. สะตอ ๑ ขีด

๒. กะปิ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ

๓. กุ้งสด ๑ ขีด

๔. กระเทียมกลีบเล็ก 6 กลีบ

๕. หอมแดง ๒ หัว

๖. น้ำตาลทราย ตามชอบ

๗. น้ำมะนาว ๑/๒ ช้อนชา

๘. น้ำมันพืช ๒ ช้อนโต๊ะ

๙. พริกเหลืองหรือพริกขี้หนูแดงสด ๗ เม็ด

วิธีปรุงเครื่องแกง

นำกระเทียม กะปิ พริก และหอมแดง โขลกรวมกัน ให้ละเอียด แค่นี้ก็ได้พริกแกงสำหรับผัดสะตอรสชาติที่จัดจ้าน

วิธีทำผัดสะตอ

๑. กระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันพืชพอร้อน นำเครื่องแกงที่ตำไว้ผัดจนเริ่มมีกลิ่นฉุน สังเกตุได้จากคนรอบข้างจะเริ่มจาม ถ้าไม่จามต้องตำพริกใส่ลงไปอีก

๒. ใส่กุ้งชีแฮที่ล้างให้สะอาด เด็ดหัวและผ่าหลังให้เรียบร้อย รอสักครู่

๓. เมื่อกุ้งเริ่มสุกโดยดูได้จากตัวกุ้งเริ่มเปลี่ยนสีจากสีใสๆ เป็นสีส้มอ่อนๆ ใส่น้ำมะนาวเพื่อให้สะตอคงสีเขียวที่น่ารับประทานไว้ เสร็จแล้วสะตอลงผัดใส่น้ำตาลทราย 2 -3 หยิบมือเป็นอันเรียบร้อย ตักใส่จานพร้อมข้าวสวยร้อนๆ (นางนงนุช มนทอง  ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๒.๒ น้ำพริกกุ้งสด

ส่วนผสม         

๑. กุ้งขนาดกลาง ๘-๑๐ ตัว (ล้างทำความสะอาด, แกะเปลือกและหั่นหยาบ)

๒. กระเทียมปอกเปลือก ๑ ช้อนชา

๓. หอมแดง ๓ ลูก

๔. มะเขือพวง ๒๐ กรัม

๕. กะปิ ๑ ช้อนชา

๖. พริกขี้หนู ๓-๕ เม็ด (ปรับเพิ่ม/ลด ตามความชอบ)

๗. น้ำตาลปี๊บ ๑ ช้อนโต๊ะ

๘. น้ำปลา ๑ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ

๙. น้ำมะนาว ๒ ช้อนโต๊ะ

๑๐. ไข่ต้ม, ผักสดหรือผักนึ่งสำหรับทานกับน้ำพริก (ถั่วฝักยาว, กะหล่ำปลี, แตงกวา, อื่นๆ)

 วิธีทำทีละขั้นตอน

๑. นำกุ้งไปลวกในน้ำเดือดจนสุก นำออกมาสะเด็ดน้ำ พักไว้

๒. นำพริกขี้หนู, หอมแดงและกระเทียมไปคั่วในกระทะจนหอม จากนั้นจึงนำไปตำในครกพร้อมกะปิ จนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันเป็นเนื้อเดียว

๓. ปรุงรสด้วยน้ำตาล, น้ำปลาและน้ำมะนาว จากนั้นจึงเติมเนื้อกุ้งและมะเขือพวงลงไป ตำให้ส่วนผสมเข้ากัน (ระวังอย่าให้เนื้อกุ้งเละ จะไม่น่าทาน)

๔. ตักน้ำพริกใส่ถ้วย เสริฟพร้อมผักสด (หรือผักนึ่ง), ไข่ต้มและข้าวสวยร้อนๆ (นางนงนุช มนทอง  ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๒.๓ แกงส้มปลากดหน่อไม้ดอง

๑. เครื่องปรุง ส่วนผสม

๒. เนื้อปลากด

๓. พริกแห้ง ๑ ช้อนโต๊ะ

๔. หอมแดง ๑ ช้อนโต๊ะ

๕. เกลือ ๑ ช้อนชา

๖. กระชาย ๑ ช้อนโต๊ะ

๗. กระเทียม ๑ ช้อนชา

๘. กะปิ ๑ ช้อนโต๊ะ

๙. น้ำมะขามเปี๊ยก ๒ ช้อนโต๊ะ

๑๐. น้ำตาลปี๊บ ๑ ช้อนโต๊ะ

๑๑. น้ำปลา ๑ ช้อนโต๊ะ

๑๒. หน่อไม้ดองหั่นเป็นชิ้นบางๆ  ๕ ช้อนโต๊ะ

๑๓. ใบมะกรูด ๒ ใบ

๑๔. พริกสดซอยเฉียง ๒ เม็ด

วิธีทำแกงส้มปลากดหน่อไม้ดอง

๑. เตรียมพริกแกง โดย โขรก พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือและกระชาย โขรกให้ส่วนผสมละเอียดเข้ากัน

๒. ต้มน้ำซุปให้เดือด จากนั้นใส่พริกแกงที่โขรกไว้ลงไป ปรุงรสด้วย น้ำตาล น้ำปลา และน้ำมะขามเปี๊ยก ต้มต่อให้เดือด

๓. ใส่ปลาลงไป พร้อมด้วยหน่อไม้ดอง และใบมะกรูด ต้มให้เนื้อปลาสุก

๔. เสริฟใส่ชาม โรยหน้าด้วยพริกสด (นางนงนุช มนทอง  ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๒.๔ แกงไตปลาใส่กะทิ

เครื่องปรุง

๑. เนื้อปลาทู หรือ ปลาโอ หรือ ปลาช่อนย่าง ก็ได้ ปริมาณตามชอบ ยิ่งเยอะยิ่งอร่อย

๒. กะทิ ๑ ถ้วย

๓. น้ำ ๑ ถ้วย

๔. ไตปลา ๑/๔ ถ้วย

๕. ส้มแขกหรือมะขามเปียก ๓ ชิ้น

๖. น้ำตาลปี๊ป ๑ ช้อนโต๊ะ

๗. ใบมะกรูดซอย ๕ ใบ

๘. ผักตามชอบ เช่น ฟักทอง มะเขือยาว มะเขือเปราะ 

เครื่องแกง

๑. พริกขี้หนูแห้งตามชอบ แต่ที่ใช้คือ ๕-๗ เม็ด

๒. กระเทียมไทยกลีบเล็ก ๑๐ กลีบ (กลับใหญ่ ๔-๕ กลีบ)

๓. หอมแดงหั่น ๔-๕ หัว

๔. พริกไทยดำเม็ด ๑๐-๑๕ เม็ด

๕. ตะไคร้ ๒-๓ ต้น ซอยละเอียด

๖. ขมิ้นสดหั่นแว่น ๓-๕ แว่น

๗. ข่า  ๑ ช้อนโต๊ะ ซอยละเอียด (อย่าใส่เยอะเกินไป แกงจะเฝื่อนและชาลิ้น)

๘. ผิวมะกรูดหั่นละเอียด ๑ ช้อนชา

๙. เกลือป่น ๑/๔ ช้อนชา

๑๐. กะปิ ๑ ช้อนโต๊ะ

วิธีปรุง

๑. ใส่กะทิประมาณ ๑/๒ ถ้วยและส้มแขกหรือมะขามเปียกลงไปในหม้อ รอจนเดือด (ต้องใช้เวลาต้มสักครู่รสเปรี้ยวจึงจะออกมาจากส้มแขก)

๒. ใส่ไตปลาลงไป  ต้มจนสุก (อาจจะเพิ่มได้ หากรสชาติของแกงไตปลายังไม่เค็มพอ)

๓. ใส่พริกแกงลงไปละลายในน้ำไตปลาที่สุกแล้ว คนให้เข้ากัน ต้มต่อจนเครื่องแกงสุกหอมฟุ้ง

๔. ใส่เนื้อปลาย่างลงไป คนให้เข้ากัน และรอเดือดอีกครั้ง

๕. ใส่ผักลงไป

๖. ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ ให้รสชาติออกเปรี้ยวเล็กน้อย 

๗. ใส่ใบมะกรูดลงไป

๘. ใส่กะทิที่เหลือลงไป เคี่ยวต่อไปอีกจนงวดข้น (ยิ่งข้นยิ่งอร่อย)

๘. ตัดเสริฟได้เลย เสริฟพร้อมผักสด และอาจทานพร้อมกับ ไข่เจียว หรือไข่ต้มก็อร่อยมาก (นางนงนุช มนทอง  ให้ข้อมูลเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๓. ผสม มีทั้งมุขปาฐะและอมุขปาฐะ

๓.๑ โนราห์

          โนรา หรือ มโนห์รา (เขียนเป็น มโนรา หรือ มโนราห์ ก็ได้) เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบ ทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม

โนรา เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้เรียกว่า โนรา แต่ คำว่า มโนราห์ หรือ มโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มา จากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย และเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อ ประมาณปี พุทธศักราชที่ ๑๘๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น

เชื่อกันว่าโนราเกิดขึ้นครั้งแรกที่ หัวเมืองพัทลุง ปัจจุบันคือ ตำบล บางแก้ว จังหวัด พัทลุง แล้ว แพร่ขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆของภาคใต้ จน ไปถึงภาคกลาง และกลายเป็นละครชาตรี และจังหวะ ตะลุง ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้ โนรา เกิดขึ้นในราชสำนักของพัทลุงซึ่งมีตำนานเล่า กันมาว่า เจ้าเมืองพัทลุง มีชื่อว่า พระยา สายฟ้าฟาด มีลูกสาวที่ชื่อ ศรีมาลา ซึ่ง มีความสามารถในการร่ายรำมาก ได้เกิดตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน เชื่อกันว่า เป็นท้องกับเทวดา พระยาสายฟ้าฟาดเห็นดัง นั้นก็โกรธมาก สั่งให้นำนางศรีมาลาไป ลอยแพในทะเล ( คือ ทะเลสาปสงขลา) และ แพได้ไปติดที่เกาะใหญ่ นางศรีมาลาก็ ได้ให้กำเนิดลูกชาย โดยตั้งชื่อว่า เทพสิงหล ซึ่งมีนัยความว่า ลูกของเทวดา นางศรีมาลา ได้ฝึกให้เทพสิงหลฝึกร่ายรำ ซึ่งเทพสิงหล ก็สามารถร่ายรำได้สวยงามมาก และร่ายรำ มีชื่อเสียงมากที่เกาะใหญ่ จนรู้ไปถึง หูพระยาสายฟ้าฟาด ซึ่งพระยาสายฟ้า ฟาดก็ยังไม่รู้ว่าหลานตัวเอง ก็ได้ เชิญไปรำในราชสำนัก ฝ่ายนางศรีมาลานั้น ก็น้อยเนื้อต่ำใจเมื่อครั้งที่ถูกลอยแพ ก็บอกกับคนที่มาติดต่อว่า โนราคณะ นี้จะไปรำได้ แต่ต้องปูผ้าขาวตั้ง แต่ริมฝั่งที่ลงจากเรือจนไปถึงตำหนัก พระยาสายฟ้าฟาดก็ตอบตกลง ดังนั้น เทพสิงหลจึงไปรำในราชสำนัก เทพสิงหลรำ ได้สวยงามมาก จนพระยาสายฟ้าฟาดก็ ตกตะลึงในความสวยงาม จึงถอดเครื่องทรงที่ ทรงอยู่ให้กับเทพสิงหล แล้วบอกว่า "เครื่อง แต่งกายกษัตริย์ชุดนี้มอบให้เป็นเครื่องแต่งกาย ของโนรานับแต่นี้เป็นต้นไป" เทพสิงหลจึง บอกว่าแท้จริงแล้วเป็นหลานของพระยาสาย ฟ้าฟาด พระยาสายฟ้าฟาดจึงรับโนราไว้ ในราชสำนักและให้สิทธิแต่งกายเหมือนกษัตริย์ทุก ประการ (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๓.๒ หนังตะลุง

หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด

หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอแต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังตะลุงกลับกลายเป็นความบันเทิงที่ต้องจัดหามาในราคาที่ "แพงและยุ่งยากกว่า" เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ เพราะการจ้างหนังตะลุงมาแสดง เจ้าภาพต้องจัดทำโรงหนังเตรียมไว้ให้ และเพราะหนังตะลุงต้องใช้แรงงานคน (และฝีมือ) มากกว่าการฉายภาพยนตร์ ค่าจ้างต่อคืนจึงแพงกว่า ยุคที่การฉายภาพยนตร์เฟื่องฟู หนังตะลุงและการแสดงท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มโนราห์ รองแง็ง ฯลฯ ก็ซบเซาลง ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกบ้านมีโทรทัศน์ดู ละครโทรทัศน์จึงเป็นความบันเทิงราคาถูกและสะดวกสบาย ที่มาแย่งความสนใจไปจากศิลปะพื้นบ้านเสียเกือบหมด

ปัจจุบัน โครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป

รายชื่อตัวละครในหนังตะลุง

๑. ฤาษี (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒. พระอิศวร (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๓. เจ้าเมือง (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๔. นางเมือง (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๕. พระเอก  (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๖. นางเอก(นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๗. อ้ายเท่ง (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๘. อ้ายหนูนุ้ย (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๙. นายยอดทอง (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑๐. นายสีแก้ว  (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)    

๑๑. นายสีแก้ว (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑๒. นายโถ (นายจรัญ มนทอง ให้ข้อมูลเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

 


 

นามานุกรม

          กิติยา ลั่นคีรี  เพศชาย เกิดวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๙๓ หมู่ที่ ๙ บ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด จังหวัดพัทลุง โทร ๐๘๔๘๓๗๔๑๘๓ ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

          จรัญ มนทอง เพศชาย เกิดประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๙ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๒๕๒ หมู่ที่ ๙ บ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด จังหวัดพัทลุง  ไม่มีเครื่องมือสื่อสาร  ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓  พฤศจิกายน ๒๕๕๙

จรูญ มนทอง เพศชาย เกิดวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๒ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๘๙ หมู่ที่ ๙ บ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด จังหวัดพัทลุง โทร 086-2992679 ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๑พฤศจิกายน ๒๕๕๙

          เจือน มนทอง เพศชาย เกิดประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๙ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๒๕๒ หมู่ที่ ๙ บ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด จังหวัดพัทลุง  ไม่มีเครื่องมือสื่อสาร  ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓  พฤศจิกายน ๒๕๕๙

          ทศพร สินศรชัย เพศชาย เกิดวันที่ ๑๔ กุมพาพันธุ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๒๐๓ หมู่ที่ ๙ บ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด จังหวัดพัทลุง โทร ๐๙๓๗๓๘๔๘๐๑ ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

          นงนุช มนทอง เพศหญิง เกิดวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๘๙ หมู่ที่ ๙ บ้านนาตะโหมด ตำบลตะโหมด จังหวัดพัทลุง โทร 086-2992679 ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙

          นิด จันทร์สร เพศหญิง เกิดประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๗ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๒๕๓ หมู่ที่ ๙ บ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด จังหวัดพัทลุง  ไม่มีเครื่องมือสื่อสาร  ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๑  พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ปัทมาภร ชำนาญอักษร เพศชาย เกิดวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๒๕๔ หมู่ที่ ๙ บ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด จังหวัดพัทลุง โทร ๐๖๒๒๓๖๐๖๙๒ ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

วิญดา จันทร์สร เพศชาย เกิดวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๒ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๘๙ หมู่ที่ ๙ บ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด จังหวัดพัทลุง โทร ๐๙๕๗๘๗๓๔๐๕ ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

คติชน :คติชนวิทยา 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1473
mod_vvisit_counterเมื่อวาน5656
mod_vvisit_counterทั้งหมด11018963