Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
มนสิทธิ์ มนทอง:คติชนชาวเลบ้านน้ำเค็ม PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 17 ธันวาคม 2016

คติชนชาวเล (ชาวมอแกลน)

หมู่บ้านน้ำเค็ม และหมู่บ้านทับตะวัน จังหวัดพังงา

 

๑.มุขปาฐะ

        ๑.๑ ภาษา

                   ๑.๑.๑ อาป้อง = พ่อ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๒ อาน้อง = แม่ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๓ หว้ะ = น้า (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๔ บ๊าบ = ลุง (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๕ บู๊ม = ป้า (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๖ อุ๊ย = ลูก (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๗ เฒ่า = ทวด (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๘ แตปัน = ฟัน (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๙ ใหญ่ = ชาย (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                    ๑.๑.๑๐ วะ = หญิง (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๑๑ อามาก = บ้าน (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๑๒ แตขัน = เสือ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๑๓ ขาใย = เสื้อ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๑๔ ลอจอง = สายคอ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๑๕ กาชูด = รอเท้า (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๑๖ ไลถัก = ผม (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๑๗ มานอ = ไก่ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๑๘ มานิ่ง = เป็ด (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๑๙ อิจุ๊ม = นก (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๒๐ หยำจอน = กินข้าว (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๒๑ มาเชือม = เข้าห้องน้ำ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๒๒ เข้าษก = ไปเที่ยว (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๒๒ เก้าเอน = เล่นการพนัน (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๒๓ แลเราะ อาหยัง = ดูทีวี (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๒๔ อาโต๊ะ = รถมอเตอร์ไซค์ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๒๕ กาหยัง = โทรศัพท์ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

                   ๑.๑.๒๖ แตก็อย = กิ้งก่า (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๒๗ กอย๊าง = ฝน (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๒๘ ปร๊าง = แดด (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๒๙ ตาหวัน = ดวงอาทิตย์ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๓๐ มูสาน = ดวงจันทร์ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๓๑ เดาะหวา = ดอกไม้ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๓๒ บาบุ๊ย = หมู (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๓๓ ไอ๊ = สุนัข (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๓๔ มาน๊วด = ไก่ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๓๕ ไว้ล๊าบ = เหล้า (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๓๖ บู่อั้ล = บุหรี่ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๓๗ เนอะผู้ = วัว (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๓๘ กะเผ้า = ควาย (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๓๙ กอดั้ง = กุ้ง (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑.๔๐ พาเกาะ = กบ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๑ เพลงเปล

๑.๑.๑ เอเอ...อาอ่า นอนนะลูกนอน นอนๆ อือ อือ อืมมมมม เอเอ่ อาอ่า นอนลูกนอน นอนๆ ให้หลับลูกหลับให้สนิมลูกเอ้ออออออ เอ้ออออ....อ่าๆ อื้อๆ (พรพรรณ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ )

๑.๒ คำอวยพร

          ๑.๒.๑ ให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้หนุกให้บายอย่าเจ็บอย่าไข้ โชคดีทุกคน  (สุทิน กลิ่นทะเล ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

๒.อมุขปาฐะ

          ๒.๑ ความเชื่อ

 free unlimited image hosting 

                   ๒.๑.๑ นำรังผึ่งมาแวนหน้าประตูบ้าน เพราะเชื่อกันว่าจะป้องกันไม่ให้ผีนอกบ้านเข้าไปในบ้าน (สมใจ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

                   ๒.๑.๒ นำหญ้าคาจากโรงศพของคนในครอบมาแขวนไว้หน้าบ้าน เพราะเชื่อกันว่าจะไม่ให้ผีหรือดวงวิญญาณของคนตายเข้ามายอกลูกหลาน (สมใจ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

          ๒.๓ อาหาร

free unlimited image hosting

                   ๒.๓.๑ น้ำพริกตาแดงไม่ใส่กะปิ (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

                   ๒.๓.๒ ปลาหมักเกลือทอด (เต๊ะ นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

          ๒.๔ ประเพณี

free unlimited image hosting

                   ๒.๔.๑ ประเพณีเดือน ๔ เรียกว่าพ่อตาสัมพันธ์ โดยใช้เต่าบ้าน ไก่บ้านนำไปต้ม และยังมี ข้าวเหนียวขาว ข้าวหุงสุก ซึ่งจะทำทุกปีเป็นปีละครั้งทำจนเป็นประเพณีประจำปีไปแล้ว ชาวเลจะนำของไปตั้งโต๊ะทำพิธีไหว้ พิธีนี้ทำเพื่อส่งส่วนบุญหรือทำบุญให้กับบรรพบุรุษของตัวเอง (ตะแอ้น นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

                   ๒.๔.๒ ประเพณีเดือน ๕ เรียกว่าหาบค้อน ซึ่งชาวเลจะตัดเล็บ ตัดผม เอาไม้ฟืน ข้าวสาร ห่อด้วยผ้าซึ่งเป็นผ้าอะไรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ผ้าถุงห่อ และนำไปผูกที่ราว ซึ่งราวนั้นชาวเลทำขึ้นมาเอง ก็คือ มีไม้ปักเป็นเสาสองเสาและไม้พาดข้างบนชาวบ้านสามารถนำไปผูกได้เลย ชาวเลทำเพื่อสะเดาะเคราะห์ (ตะแอ้น นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

                   ๒.๔.๓ ประเพณีเดือน ๙ ซึ่งคล้ายๆกับประเพณีเดือน ๔ แต่เดือน ๙ จะใช้ของหวานเป็นส่วนใหญ่เช่น ขนมมอด ขนมเปียก เพื่อมาทำพิธี ซึ่งจะทำในชาวเลบางสัก (ตะแอ้น นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

                   ๒.๔.๔ ประเพณีเดือน ๑๒ ซึ่งคล้ายๆกับประเพณีเดือน ๔ แต่เดือน ๙ จะใช้ของหวานเป็นส่วนใหญ่เช่น ขนมมอด ขนมเปียก เพื่อมาทำพิธี ซึ่งจะทำในชาวเลบ้านน้ำเค็ม (ตะแอ้น นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

free unlimited image hosting

                   ๒.๔.๕ ประเพณีลอยเรือ การลอยเรือของชาวเลสิงห์ ถือว่าเป็นการนำสิ่งชั่วร้ายที่มีอยู่ในร่างกายและหมู่บ้านของชาวเลทั้ง ๒ กลุ่ม ออกไปทิ้งในท้องทะเลลึก เพื่อให้ชาวเลทั้ง ๒ กลุ่มมีชีวิตที่เป็นสุข เป็นความเชื่อที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ ของผู้ที่ได้ใช้ทะเลเพื่อการดำรงชีวิต การประกอบพิธีลอยเรือนั้น ชาวเล ได้ประกอบพิธีปีละ ๒ ครั้ง ทำให้ชาวเลมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น (มุญ หาญทะเล ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

          ๒.๕ เครื่องมือประกอบอาชีพ

                   ๒.๕.๑ ถุงกระเทียว ลักษณะเครื่องมือประมง เป็นถุงทำจากเนื้ออวนหรืออวนไนล่อนสีเขียว ความยาวประมาณ ๖๐-๘๐ เซนติเมตร ปากถุงร้อยด้วยเชือกเป็นหูรูด

                    วิธีทำการประมง ใช้ใส่ปลาที่ชาวประมงจับได้ ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ ปลาทุกชนิด

                   ๒.๕.๒ ลอบขังปลา ลักษณะเครื่องมือประมง ทำจากไม้ไผ่ถักเป็นรูปทรงกระบอกลักษณะคล้ายลอบนอน โครงทำด้วยไม้ หรือเหล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ด้านหัวและท้ายใช้ไม้ไผ่ถักปิดหมดทั้ง ๒ ด้าน แต่เจาะด้านใดด้านหนึ่งสำหรับเอาปลาเข้าออก โดยมีไม้เนื้อแข็งหรือแผ่นพลาสติกแข็งเป็นฝาปิด

 วิธีทำการประมง ใช้ขังปลาที่ชาวประมงจับได้ ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ ปลาทุกชนิด (ประทิน กล้าทะเล ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

๒.๕.๒  เบ็ดน้ำเต้า ลักษณะเครื่องมือประมง เป็นเบ็ดที่ผูกสายติดกับทุ่น ตัวเบ็ดที่ใช้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก ได้แก่ เบอร์ ๑๖-๑๘ เชือกจะมีความยาวประมาณ ๑-๒ เมตร วัสดุที่ใช้ทำทุ่น ได้แก่ โฟม

 วิธีทำการประมง ทำการประมงในหนอง บึง โดยใช้ไส้เดือน,กุ้งฝอย,เขียดตาย เป็นเหยื่อแล้วปล่อยให้เบ็ดลอยอยู่ในหนอง เช้าวันถัดไปจึงไปกู้เบ็ด ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้  ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ปลาแขยง (ประทิน กล้าทะเล ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

 

๒.๕.๓  เฝือก ลักษณะเครื่องมือประมง ทำจากไม้ไผ่ที่เหลาเป็นซี่ แล้วนำมาถักเป็นผืนด้วยหวายหรือเชือก ความถี่ห่างของช่องตาขึ้นอยู่กับขนาดปลาที่ต้องการจับ ความสูงขึ้นกับระดับน้ำที่จะนำไปใช้

 วิธีทำการประมง มักจะใช้ร่วมกับเครื่องมือประเภทลอบ ไซ เพื่อใช้กันให้ปลาเข้าลอบ ไซชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ ปลาทุกชนิด (ประทิน กล้าทะเล ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

๒.๕.๔ ข้อง ข้องลอย ข้องขัดเอว

ลักษณะเครื่องมือประมง ทำจากไม้ไผ่สานมีรูปร่างต่างๆ กัน คล้ายแจกันทรงเตี้ยบ้าง คลายเป็ดบ้าง ที่ปากมีงาสามารถเปิดปิดได้ มีเชือกสำหรับสะพายหรือมัดเอว ข้องบางอันติดทุ่นที่ทำจากไม้ไผ่ หรือโฟม เพื่อให้ลอยน้ำได้ ปลาจะได้ไม่ตาย มีขนาดต่างกันขึ้นกับปริมาณสัตว์น้ำที่ต้องการใส่

 วิธีทำการประมง ใช้ใส่ปลาที่จับได้ทุกชนิด ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ ปลาทุกชนิด (ประทิน กล้าทะเล ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)

๓. ผสม มีทั้งมุขปาฐะและอมุขปาฐะ

 

free unlimited image hosting

(https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B9%87%E0%B8%87&biw=1366&bih=662&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwisipOL-t_QAhXCmpQKHRAFBjUQ_AUIBigB#tbm=isch&q=%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B9%87%E0%B8%87+%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A5&imgrc=ivqQEDkWRNNmLM%3A)

๓.๑ ร็องแง็ง (ละมัย นาวารักษ์ ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙)   รองเง็ง  เป็นการละเล่นของชาวบ้านประเภทผสมผสานระหว่างท่าเต้นกับบทร้อง  การแสดงเหมือนกับรำวงทั่วไป  กล่าวคือ  มีการจัดตั้งคณะรองเง็งขึ้นเป็นคณะ  คณะหนึ่งมีนางรำประมาณ ๔ - ๑๐ คน  นางรำเหล่านี้จะถูกฝึกให้มีความชำนาญในจังหวะการเต้นแบบต่างๆ  พร้อมกันนั้นก็จะต้องสามารถร้องเนื้อร้องได้ทุกทำนอง  และต้องรู้ทั้งบทกลอนที่ท่องกันมาและสามารถผูกกลอนสดขึ้นร้องโต้ตอบกับคู่รำได้อย่างคล่องแคล่วและชำนาญ  นางรำส่วนใหญ่มักจะได้รับการฝึกหัดมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก  ในสมัยโบราณคณะรองเง็งคณะหนึ่ง  มักจะเป็นคนในครอบครัวหรือเครือญาติเดียวกัน  หรือไม่ก็คนในหมู่บ้านเดียวกัน (เพราะสะดวกในการฝึกซ้อม  และในการเรียกรวมตัวเมื่อมีผู้มาติดต่องานการแสดง)  หนึ่งในจำนวนนั้นจะมีนายโรงคนหนึ่งซึ่งมักจะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมของรองเง็งเป็นอย่างดี  และมักจะเป็นมือซอหรือมือไวโอลินประจำคณะด้วย

ลักษณะการแสดงรองรองเง็งแตกต่างจากรำวงอย่างสิ้นเชิง  คือ บทร้อง  การแสดงรองเง็งจะมีบทร้อง  ๒  ลักษณะคือ  ลักษณะแรกบทร้องเก่าๆ  ที่จดจำสืบต่อกันมา  อีกลักษณะหนึ่งเป็นการร้องสด  คือทั้งนางรำและคู่เต้นรำจะคิดเนื้อร้องสดๆ  ขึ้นมาร้องโต้ตอบกันในขณะที่เต้น  เนื่องจากเนื้อหาเป้าหมายของบทร้องเพลงรองเง็งส่วนใหญ่จะมุ่งอยู่ที่เรื่องราวเกี่ยวกับความรักและการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว  การโต้ตอบแก้เพลงกันระหว่างคู่เต้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดและสนุกสนานที่สุดด้วย  การแสดงรองเง็งของชาวบ้านนี้ผู้เล่นจะต้องมีปฏิภาณสูง  ต้องคิดกลอนได้เร็ว  มีความคิดแหลมคมจึงจะสามารถเล่นได้ดี

การรำ  โดยปกติในการรำวงนั้นนางรำและคู่รำเดินไปรอบๆ  วง  แต่รองเง็งนั้นทั้งนางรำและคู่รำจะยืนอยู่ที่เดียว

สำหรับท่ารำ  แตกต่างจากรำวงเพราะการแสดงนี้ผู้รำไม่ได้เดินไปรอบๆ  วงเหมือนรำวง แต่ผู้รำจะยืนอยู่ที่เดียว  มีการใช้ท่าเท้า  ท่ามือ  การโอนตัวอ่อน  การโยกตัวและการย่อตัวเป็นหลัก (http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance/331-----m-s เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙

นามานุกรม

ตะแอ้น นาวา เพศชาย เกิดประมาณ ๒๔๗๕ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๔๒/๑๑ หมู่ที่ ๗ บ้านทับตะวัน ตำบลบางม่วง จังหวัดพังงา ไม่เครื่องมือสื่อสาร ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙

เต๊ะ นาวารักษ์ เพศชาย เพศหญิง เกิดประมาณ ๒๔๙๕ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๕๔/๑๑ หมู่ที่ ๗ บ้านทับตะวัน ตำบลบางม่วง จังหวัดพังงา ไม่เครื่องมือสื่อสาร ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙

ประทิน กล้าทะเล เพศหญิง เกิดประมาณ ๒๕๑๓ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๖๐/๑๔ หมู่ที่ ๓ บ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง จังหวัดพังงา ไม่มีเครื่องมือสื่อสาร ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙

พรพรรณ นาวารักษ์ เพศหญิง เกิดประมาณ ๒๕๒๑ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๕๔/๑๐ หมู่ที่ ๗ บ้านทับตะวัน ตำบลบางม่วง จังหวัดพังงา ไม่เครื่องมือสื่อสาร ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙

มุญ หาญทะเล เพศหญิง เกิดประมาณ ๒๕๐๕ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๔๒/๑๕ หมู่ที่ ๗ บ้านทับตะวัน ตำบลบางม่วง จังหวัดพังงา ไม่เครื่องมือสื่อสาร ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙

ละมัย นาวารักษ์ เพศหญิง เกิดประมาณ ๒๔๙๘ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๒๔/๒ หมู่ที่ ๗ บ้านทับตะวัน ตำบลบางม่วง จังหวัดพังงา ไม่มีเครื่องมือสื่อสาร ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙

สุทิน กลิ่นทะเล เพศชาย เกิดประมาณ ๒๕๑๙ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๕๒/๖ หมู่ที่ ๗ บ้านทับตะวัน ตำบลบางม่วง จังหวัดพังงา ไม่เครื่องมือสื่อสาร ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙

สมใจ นาวารักษ์ เพศหญิง เกิดประมาณ ๒๕๒๔ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง อยู่ที่ ๔๒/๑๐ หมู่ที่ ๗ บ้านทับตะวัน ตำบลบางม่วง จังหวัดพังงา ไม่เครื่องมือสื่อสาร ให้ข้อมูลมนสิทธิ์ มนทอง เมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙

คติชน :คติชนวิทยา 

 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1817
mod_vvisit_counterเมื่อวาน5656
mod_vvisit_counterทั้งหมด11019307