Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
มนิสา สาริพัฒน์:คติชนหมู่บ้านบางนายสี PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 15 ธันวาคม 2016

คติชนในหมู่บ้านบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

๑. มุขปาฐะ

๑.๒ คำทุภาษา

๑.๒.๑ แคบๆ= เร็วๆ

๑.๒.๒ พรอก= กะลามะพร้าว

๑.๒.๓ แตงจีน= แตงโม

๑.๒.๔ เคย= กระปิ

๑.๒.๕ เกือก= รองเท้า

๑.๒.๖ หย่าหมู= ฝรั่ง

๑.๒.๗ เซล้อง= ชาดำเย็น

๑.๒.๘ ปุ้นต้าว= ที่โกยขยะ

๑.๒.๙ แต่วา= เมื่อวาน

๑.๒.๑๐ กาหยี= มะม่วงหิมพานต์

๑.๒.๑๑ ขี้พร้า =ฟัก

๑.๒.๑๒ ขี้หมิ้น= ขมิ้น

๑.๒.๑๓ ไคร= ตะไคร้

๑.๒.๑๔ ลูกเผ็ด= พริก

๑.๒.๑๕ ลอกอ= มะละกอ

๑.๒.๑๖ หย่านัด= สับปะรด

๑.๒.๑๗ ดอกมะเละ= ดอกมะลิ

๑.๒.๑๘ ผักหมึง= ตำลึง

๑.๒.๑๙ ลูกม่วง= มะม่วง

๑.๒.๒๐ พรือบ้าง= เป็นอย่างไร

๑.๒.๒๑ ฮัว= วัว

๑.๒.๒๒ ลุย= เยอะ

๑.๒.๒๓ โหมเด็ก= แฟน

๑.๒.๒๔ เจียนฉี่= ตะหลิว

๑.๒.๒๕ หรอย= อร่อย

๑.๒.๒๖ ม่ารู้ม่าย= ไม่รู้

๑.๒.๒๗ โมระ= ขี้เหร่

๑.๒.๒๘ หวังเหวิด= เป็นห่วง

๑.๒.๒๙ หลา =ศาลา

๑.๒.๓๐ ไซ= ทำไหม

๑.๒.๓๑ โคม= กะละมัง

๑.๒.๓๕ หล่าว= อีกแล้ว

๑.๒.๓๖ หนำ= กระท่อม

๑.๒.๓๗ ขบ= กัด

๑.๒.๓๘ แตกเบี้ย= เอาเงินไปแลก

๑.๒.๓๙ ได้แรงอก= สะใจดี

๑.๒.๔๐ แป้งหวาน= ผงชูรถ

๑.๒.๔๑ กาแคว= กาแฟ

๑.๒.๔๒ หยบ= แอบ

๑.๒.๔๓ น้ำชุบ= น้ำพริก

๑.๒.๔๔ เหล็กโคน= ตะปู

๑.๓ คำพังเพย

๑.๓.๑ หมาเห่าเรือบิน หมายถึง พูดจาเกินฐานะ หรือทำอะไรไม่เจียมตัว (สมศรี สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๓.๒ อย่ามาทำดอใหญ่ หมายถึง ทำอวดตนว่ายิ่งใหญ่ (สมศรี สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๓.๓ หมาหัวเน่า หมายถึง ไม่มีใครสนใจ (สมศรี สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๓.๔ ตาเท่าไข่ห่าน หมายถึง อาการที่แสดงถึงความอยากได้มาก (สมศรี สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๓.๕ ผอมเหมือนไม้เสียบผี หมายถึง ผอมมาก (สมศรี สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) ๑.๓.๖ สูงเหมือนเปรตเดือนสิบ หมายถึง สูงมาก (สมศรี สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๓.๗ รักกันเหมือนติฉีกวานดม หมายถึง ยอมทำเพื่อความรักทุกอย่าง (สมศรี สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๓.๘ หมาหวงก้าง หมายถึง หวงสิ่งที่ทิ้งไปแล้ว (สมศรี สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๓.๙ ไม่รู้จักหวันวันโน หมายถึง ไม่รู้เรื่องอะไรสักอย่าง (สมประสงค์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๓.๑๐ กินเหมือนผีอยู่ใน หมายถึง กินเยอะมาก (สมประสงค์ สาริพัฒน์  ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๔ คำสาบาน

๑.๔.๑ ข้าพเจ้าขอสาบานหากผิดคำพูดขอให้มีอันเป็นไป (สมประสงค์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๔.๒ ข้าพเจ้าขอสาบานว่าจะปฏิบัติตนตามคำพูด (สมประสงค์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๕ คำอธิษฐาน

๑.๕.๑ ขอให้ลูกพบเจอแต่สิ่งดีดีในชีวิตด้วยเทอญ (สมประสงค์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๕.๒ ขอให้อย่าให้มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนเลยสาธุ (สมประสงค์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๕.๓ ขอให้ชีวิตขอลูกมีแต่ความก้าวหน้า เงินทองไหลมาเทมา ด้วยเทอญ (สมประสงค์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๕.๔ ขอให้ลูกมีการงานที่ดี มีชีวิตที่สุขสบายด้วยเทอญ (สมประสงค์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๕.๕ ขอให้มีความสุข ทั้งตัวเองและคนในครอบครัวด้วยเถอะสาธุ (สมประสงค์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๕.๖ ขอให้สมหวังในความรักและในทุก ๆ ด้านด้วยเทอญ (สมประสงค์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖ คำอวยพร

๑.๖.๑ แม่ขอให้ลูกมีความสุขในทุก ๆ เรื่องนะลูกนะ (จารุณี ทองสลับ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖.๒ ขอให้หลานของป้ามีแต่เงินทองไหลมาเทมานะ (จารุณี ทองสลับ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖.๓ ขอให้อย่ามีโรคภัยไข้เจ็บมารบร้าวนะลูกนะ (จารุณี ทองสลับ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖.๔ ขอให้สวยวันสวยคืน ใครเห็นใครรัก (จารุณี ทองสลับ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๖.๕ ขอให้ลูกมีความเจริญในหน้าที่การงาน ตั้งใจทำงานนะลูกนะ (จารุณี ทองสลับ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๗ คำอุทิศ

๑.๗.๑ ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายด้วยเทอญ (จารุณี ทองสลับ

๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๗.๒ ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ญาติมิตรและบรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้วให้ได้รับส่วน ผลบุญด้วยเทอญ (จารุณี ทองสลับ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๐ ตำนาน

๑.๑๐.๑ ตำนานเขานางหงส์

กาลครั้งหนึ่ง มีชายสองคนชื่อนายเต่าและนายเฒ่าเป็นเพื่อนรักใคร่ชอบพอกันมาแต่มีอายุต่างกันคือ นายเต่ามีอายุมากกว่านายเฒ่า หลายปี นายเต่ามีลูกสาวสวย ชื่อว่า "นางหงส์" นายเฒ่าเป็นคนรูปหล่อและนิสัยดีไม่ได้เฒ่าแก่ตามชื่อเลยนายเต่าเห็นว่าเป็นคนมี หลักฐานมั่นคง จึงตัดสินใจยกลูกสาวให้ เพราะลูกสาวจะได้เป็นฝั่งเป็นฝาเสียทีพอถึงวันฤกษ์ดีนายเฒ่าก็ยกขบวนขันหมากมายังบ้านนายเต่า ทางบ้านนายเต่าก็เตรียมจัดทำสำรับกับข้าวอาหารคาวหวานต่างๆ เพื่อเลี้ยงแขกที่จะมาในงาน เมื่อนางหงส์ได้ยินว่านายเฒ่าจะมาสู่ขอตัวงเอง นางก็คิดว่า นายเฒ่าคงเป็นคนแก่เฒ่าไม่เจียมตัว นางทั้งโกรธ ทั้งอายและเสียใจ จึงวิ่งเข้าห้องปิดประตูแล้วร้องด่านายเฒ่าต่างๆ นานา ประกาศว่านางจะไม่ยอมแต่งงานกับนายเฒ่าเด็ดขาด นายเฒ่าโกรธจัดจึงเหวี่ยงขันหมากทิ้ง จนกลายเป็นเขาขันหมาก นายเต่าโมโหลูกสาว จึงเตะกะทะคว่ำลงไป กลายเป็นเขา กะทะคว่ำ ในปัจจุบันหลายวันต่อมา นางหงส์ไปเที่ยวในงานแห่งหนึ่ง นางแอบเห็นนายเฒ่าเข้าจึงตกตลึงเพราะนายเฒ่ายังเป็นหนุ่มรูปหล่อ ไม่แก่เหมือนชื่อ นางเสียใจจึงกลับมาจัดข้าวตอกดอกไม้เดินทางไปขอขมาต่อนายเฒ่า พอพบหน้านายเฒ่านางก็ตรงไปกราบขอขมา และขอคืนดีแล้วบอกว่ายินดีจะแต่งงานด้วย ฝ่ายนายเฒ่ายังไม่หายโกรธพอเห็นหน้านางหงส์มาขอขมาจึงตวาดและขว้างปาข้าวตอก ดอกไม้ไปต่อหน้า นางหงส์รู้สึกอับอายอย่างมาก จึงวิ่งกลับบ้านวิ่งพลางร้องไห้ไปพลาง จนเหนื่อย แค้นแสนแค้น นางกระเสือกกระสน ล้มตายอยู่กลางป่านอนตะแคงกลายเป็น เขานางหงส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นเทือกเขาที่สูงชันและสลับซับซ้อนมากกั้นระหว่างเขตอำเภอเมือง พังงากับอำเภอทัปปุดจนตราบเท่าทุกวันนี้ (สรินยา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๐.๒ ตำนานเขาตะปู

เกาะตาปูเป็นเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งอยู่หน้าเขาพิงกัน ใกล้เกาะปันหยี ในบริเวณอ่าวพังงา มีสัณฐานคล้ายตาปูปักอยู่กลางทะเล

เกาะตาปูมีนิทานเล่ากันสืบมาว่า นานมาแล้ว มีชายคนหนึ่งมีอาชีพหาปลาขาย โดยการทอดแหตามชายทะเล อยู่มาวันหนึ่ง ชายคนนั้นออกทอดแหตามปกติ แต่ทอดอยู่นานเท่าไรก็ไม่ได้ปลาเลย เหนื่อยจนตาลาย เห็นผิวน้ำไหวๆ ก็เหวี่ยงแหลงไปด้วยความมั่นใจว่าติดปลาแน่ๆ ครั้นสาวแหขึ้นมา ปรากฏว่าติดตาปูขึ้นมาเพียงตัวเดียว แกโมโหมาก หยิบตาปูนั้นเหวี่ยงลงน้ำไป แล้วทอดแหที่จุดอื่นต่อไป ปรากฏว่าติดตาปูตัวเดิมมาอีก เหวี่ยงทิ้งแล้วทอดที่อื่นอีก ก็ติดตาปูตัวเดิมอีก แกโมโหสุดขีดใช้มีดยาวันตาปูเต็มแรง ตาปูตัวนั้นกระเด็นพุ่งหัวปักลงทะเล หัวตาปูตัวนั้นโผล่พ้นผิวน้ำอยู่ ณ ที่นั้น กลายเป็นเกาะมาจนทุกวันนี้ และชาวบ้านเรียกเกาะนั้นว่า เขาตาปู หรือ เกาะตาปู สืบมาจนบัดนี้ (สรินยา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๓ เนื้อเพลงเปล

๑.๑๓.๑ น้ำชุบต้มจุ้ม

ฮาเฮอ เห่อเฮ่อ บ้านนี้ เหอ เขาเล่าเขาลือว่าหนุกนัก

ต้มจุ้มแมงลักน้ำชุบแกงเลียงส้มเหม้า กินหรอยเหลือหรอยพี่เณรเหอ

ทอโพรกทอรือค่อยมาเล่า น้ำชุบแกงเลียงส้มเหม้า

พี่เจ้าไม่เคย เห่อ เหอะ กิน พี่เจ้าไม่เคย เห่อ เหอะ กิน

(สรินยา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๓.๒ นางงามลงเก็บข้าว

ฮาเฮอ เห่อเฮ่อ เดือนสาม เหอ นางงามจะลงเก็บข้าว

เก็บนาไหนเจ้า เก็บข้าวที่นาโคหา

แนะทางให้พี่ไป เห็นบ้านนายไกรอยู่สาขา

ตกแต่ต้นหว้า นั้นและหัวนา เห่อ เหอะ น้อง

(สรินยา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๓.๓ เช้าพระยืนบาตร

ฮาเฮอ เห่อเฮ่อ เช้าๆ เหอ หุงข้าวพระมายืนบาตร

คดข้าวใสถาด คดทั้งข้าวบาตรข้าวบิน

กรวดน้ำพิษฐาน ให้ท่านสมภารได้กิน

คดทั้งข้าวบาตรข้าวบิน เชิญกิน พ่อทูล เห่อ เหอะ หัว

(สรินยา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๓.๔ พ่อทองหลออย่าไปขอเมียไกล

ฮาเฮอ เห่อเฮ่อ พ่อทองหลอเหอ อย่าขอเมียไกล

ขอแค่แค่หัวใด เรินต่อชายคา

อดหมากได้ยื่นหมาก อดยาได้ยื่นยา

เรินต่อชายคา ได้หมากได้ยาทองร้อย เห่อ เหอะ ชั่ง

(สรินยา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๓.๕ กำเนิดนางโนรา

ฮาเฮ่อ เห่อเฮ่อ นางโนรา เหอ เดือนหกเจ้าพี่เอย เกิดช้างเกิดม้า

เมื่อเกิดนางโนรา เกิดภูเขาเงินภูเขาทอง

ผุดขึ้นล่องลอยสี่มุมประสาท แม่ตั้งใจปองให้ลูกอยู่ครองเมืองไกรลาศ

โนราศีสวาท คลาดแม่ไปเมือง เห่อ เหอะ ไกล

(สรินยา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๓.๖ ชักใบถอยหลัง

ฮาเฮ่อ เห่อเฮ่อ เรือใหญ่ เหอ ชักใบถอยหลังน่าสังเวท

ยกมือขึ้นไหว้ท่านกาเกด น้ำเนตรลงมาสก ๆ

เอามือมาลูบอก หนิดจาตัวเอยเรามีกรรม

เหนือยเหอเหนือยนัก หยุดพักที่นางคูรำ

โนราตาดำ ทำบวงคล้องคอ เห่อ เหอะ น้อง

(สรินยา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๓.๗ นกเขาเดินได้แต่เช้านั่งโยนกุก

ฮาเฮอ เห่อเฮ่อ นกเขา เหอ เตินได้แต่เช้านั่งโยนกุก

ตัวเดียวเกียวไม้พุก ขันถ่อล่อชายได้ทุกวัน

วันนี้ไปไหนนางเนื้อเกลี้ยง ที่ไม่ได้ยินเสียงนกเขาขัน

ขันถ้อล้อชายได้ทุกวัน ขันให้พี่ชายฟัง เหอ เหอะ เสียง

(สรินยา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๓.๘ นกจอกคาบดอกทองหลาง

ฮาเฮอ เห่อเฮ่อ นกจอก เหอ คาบดอกทองหลาง

ข้างเรินอีสีนาง โนรามาขออีเพ็งจันทร์

ขอเหนียวสักถ้วย น้ำเทะสักขัน

โนรามาขออีเพ็งจันทร์ เหนียวหมันมัน เห่อ เหอะ

(โสฑิฎา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๓.๙ ขวัญเจ้านอนในเปลผ้า

ฮาเฮอ เห่อเฮ่อ น้องนอน เหอ เชิญขวัญเจ้านอนในเปลผ้า

เจ้านอนเสียเถิดนะกานดา ครั้นตื่นขึ้นมาได้เหวยนม

นอนเถิดแก้วแม่ ขวัญข้าวของแม่อย่าปราหรม

ตื่นขึ้นทรามชม เหวยนม พระมาร เห่อ เหอะ ดา

(โสฑิฎา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

 ๑.๑๓.๑๐ ยามเย็นผันเห็นนกร่อน

ฮาเฮอ เห่อเฮ่อ ยามเย็น เหอ ผันเห็นนกร่อนบนคีรี

นกแขกเต้าเคล้าโค่กับปักสี เหมือนพี่กับน้องชวนกันเชย

เสียงลมหลาตันนั้นพัดกล้า สาลิกาบ้าแล้วแก้วอกเอย

เหมือนพี่กับนวลชวนกันเชย อกเอยเรามี เห่อ เหอะ กรรม

(โสฑิฎา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๖ เนื้อเพลงประกอบการละเล่น

๑.๑๖.๑ บ้านทราย

บ้านทรายทองมีชั้นบน มีชั้นล่าง มีด้านหน้ามีด้านหลัง

มีพร้อม ๆ กันชักกะเป่ายิ้งฉุบ ชักกะเป่ายิ้งฉุบ

(โสฑิฎา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๖.๒ หนูแดงแกงไก่

หนูแดงแกงไก่ใส่พริกไทย ร้อยเม็ดคุณย่าว่าเผ็ด

ใส่น้ำเยี่ยวครึ่งโหล หนูแดงโมโหชักกะเป่ายิ้งฉุบ

(โสฑิฎา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๖.๓ มอญซ่อนผ้า

มอญซ่อนผ้าตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ใครนั่งไม่ระวังฉันจะตีก้นเธอ

(โสฑิฎา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๖.๔ งูกินหาง

แม่งูเอ่ยกินน้ำบ่อไหน กินน้ำบ่อหินบินไปก็บินมา

แม่งูเอ่ยกินน้ำบ่อไหน กินน้ำบ่อทรายย้ายไปก็ย้ายมา

แม่งูเอ่ยกินน้ำบ่อไหน กินน้ำบ่อโศกโยกไปก็โยกมา

แม่งูเอ่ยกินหัวหรือกินหาง กินกลางตลอดตัว

(โสฑิฎา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๖.๕ รีรีข้าวสาร

รีรีข้าวสารสองทะนานข้าวเปลือก เด็กน้อยตาเหลือก

เลือกท้องใบลานคดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว

(โสฑิฎา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๑๖.๖ จุ้มจี้จุ้มจวด

จุ้มจี้จุ้มจวดพาลูกไปบวช ถึงวัดถึงวาพอสึกออกมา

ตุ๊กตาพุงป่องทำท่าไหว้ก็อง พุงป่องตาเหล่ทำท่าจับเข้เข้ขบไข่ขาด

ทำท่าไหว้สาดสาดพลัดใส่หัว ทำท่าท่าไหว้ผัวผัวฉัตรพลัดคลอง

(โสฑิฎา สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๓ ปริศนาคำทาย

๑.๒๓.๑ อะไรเอ๋ยต้นเท่านิ้วก้อยพระนั่งห้าร้อยไม่หัก

ตอบ ต้นดีปลี (คลอง สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๓.๒ อะไรเอ๋ยต้นเท่าโพนลูกโหยนไปไกล

ตอบ ต้นยาง (คลอง สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๓.๓ อะไรเอ๋ยพระไอไหร้อยู่ปลายสุด

ตอบ พระยอด (คลอง สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๓.๔ อะไรเอ๋ยต้นเท่าครกลกดกรอบแขน

ตอบ โพน (คลอง สาริพัฒน์  ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๓.๕ อะไรเอ๋ยต้นเท่าลำแขนเป็นลูกหนวยเดียว

ตอบ ลูกมาลิ (ลูกสับปะรด) (ปาริชาติ ชูเหล็ก ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๓.๖ อะไรเอ๋ยมาแต่เมืองนอกยังดอกหาไหม้ใบ

ตอบ ดอกฝน (ปาริชาติ ชูเหล็ก ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๓.๗ อะไรเอ๋ยตัวแดงหัวลานกินข้าวเช้าเที่ยงค่ำกินไม่ได้

ตอบ พระ (ปาริชาติ ชูเหล็ก ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๓.๘ อะไรเอ๋ยเขียวเหมือนพระอินทร์ข้างในกินล้วมัน

ตอบ พร้าว (มะพร้าว) (รชต สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๓.๙ อะไรเอ๋ยต้นเท่าหิดมีฤทธิ์เหลือเหตุ

ตอบ ดีปลี (พริกขี้หนู) (รชต สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๓.๑๐ อะไรเอ๋ยยักไอไหร้ไม่กินคน

ตอบ ยักคิ้ว (รชต สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๙ สำนวน

๑.๒๙.๑ กลองโนรากลองหนัง ดังกว่ากลองวัด

หมายถึง สนใจความบันเทิงมากว่าสนใจธรรมะ (คลอง สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๙.๒ ขี้ไก่ไม่ให้หก ขี้นกไม่ให้หล่น

หมายถึง แสดงความรอบคอบ รู้จักเก็บเล็กผสมน้อย (คลอง สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) ๑.๒๙.๓ คนทีหลัง กินดังเหนียว หรือ คนมาหล้า กินลูกหว้าแก่

หมายถึง คนทำงานล่าช้าย่อมเสียเปรียบผู้อื่น (คลอง สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) ๑.๒๙.๔ ข้ามก็ไม่รอด ลอดก็ไม่พ้น

หมายถึง จะข้ามก็ไม่ได้ จะลอด (หนี) ก็ลอดไม่ได้ หมายถึง มนุษย์หลีกไม่พ้นเกิดแก่เจ็บตาย หรือไม่พ้นเคราะห์กรรมที่ตามมา (คลอง สาริพัฒน์  ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๙.๓ ขวัญข้าวเท่าหัวเรือ ขวัญเกลือเท่าหัวช้าง

หมายถึง การรู้จักบุญคุณของสิ่งที่ให้คุณแก่ชีวิตเรา ดังเช่นข้าวและเกลือ (วิรุฬห์ ชูเหล็ก ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๙.๔ ชื่อได้ข้า หน้าได้พี่เณร

หมายถึง การทำงานบางครั้งความเหนื่อยเป็นของผู้ทำ แต่การได้หน้าหรือได้เกียรติเป็นของผู้อื่น

(วิรุฬห์ ชูเหล็ก ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๘.๕ ตื่นสายให้สร้างสวนพร้าว ตื่นเช้าให้สร้างสวนยาง

หมายถึง การประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับอุปนิสัย (วิรุฬห์ ชูเหล็ก ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) ๑.๒๙.๘ ถือฆ้องให้เพื่อนตี ตรันวานหมีให้เพื่อนเล่น

หมายถึง ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น แต่ตัวเองต้องเหน็ดเหนื่อย บางครั้งถึงกับเสี่ยงภัย (วิรุฬห์ ชูเหล็ก ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๙.๖ น้ำเต้าล่ามา ขี้พร้าล่าไป

หมายถึง การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน หรืออาจหมายถึงบุคคลเฉื่อยชา ล่าช้า ทำงาน ด้วยกัน (วิรุฬห์ ชูเหล็ก  ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๑.๒๙.๗ ข้างในไฟคลอก ข้างนอกวันทอ

หมายถึง เก็บความโกรธไว้มิให้ผู้อื่นรู้

(คลอง สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

 

อมุขปาฐะ

๒.๕ ความเชื่อ

๒.๕.๑ ห้ามไปงานศพเวลาเรากำลังเป็นแผล

ความเชื่อนี้คนเฒ่าคนแก่ถือกันมาก เพราะว่างานศพเป็นงานอวมงคล เกี่ยวกับคนตาย วิญญาณ ดังนั้นหากใครเป็นแผลสดหรือแผลเปื่อย ไม่ควรไปร่วมงานศพ เพราะจะทำให้แผลเปื่อยมากขึ้น หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาไม่หาย (อารีย์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๕.๒ ห้ามชวนใครกลับบ้านโดยไม่เอ่ยชื่อ

สมัยก่อนมีแต่ป่า ภูติผีปีศาสแรง หลอกหลอนคนได้แม้กระทั่งกลางวัน และคนสมัยก่อนก็มักไปไหน มาไหนโดยการเดิน ผ่านป่าบ้าง ผ่านวัดบ้าง ผ่านป่าช้าบ้าง เวลาจะชวนใครไปบ้านระหว่างทางก็จะ เอ่ยชื่อด้วย เพราะหากเผลอชวนแบบดื้อๆก็อาจจะมีสิทธิ์ได้คนที่ไม่รู้จักไปแทน (อารีย์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๕.๓ เวลาเข้าป่าอย่าพูดถึงสิงสาราสัตว์ เวลากลางคืนไม่ควรพูดถึงเรื่องวิญญาณ

ความเชื่อเรื่องนี้หลายคนคงทราบดีแล้ว และมันก็ควรเป็นเช่นนั้น เช่น เวลาเดินป่า เราไม่ควรพูดถึง สัตว์ที่น่ากลัว เช่น เสือ งู หากลงน้ำก็อย่าพูดถึงพราย หรือจระเข้ เป็นต้น เพราะมันจะมาให้เราเจอ เลยทีเดียว เช่น เดียวกับเวลากลางคืนอย่าพูดถึงเรื่องผีหรือวิญญาณ (อารีย์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๕.๔ ห้ามนอนขวางทางเดิน

ความเชื่อนี้ยังขลังมาถึงบัดนี้ คำว่าอย่านอนขวางทางนั้น หมายความว่า ตรงไหนที่เป็นทางสัญจรไม่ ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เราไม่ควรไปนอนขวางทาง บางคนเป็นหลับง่ายต้องระวังให้ดี เช่น นอน ขวางทางเข้าบ้าน เข้าร้าน เป็นต้น คุณอาจจะต้องเจอกับอาการที่เค้าเรียกกันว่า “ผีอำ” คำนี้ไม่ได้ แปลว่าโดนสิงสู่ แต่แปลว่าโดนเหยียบโดนทับ เนื่องจากวิญญาณจะสัญจรผ่านทางดังกล่าว

(อารีย์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๕.๕ อย่าเล่นซ่อนแอบเวลากลางคืน

ความเชื่อนี้เป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือเสียจริง เพราะเวลากลางคืน เป็นเวลาที่สิ่งลึกลับออกมาเผ่นพ่าน เวลาเราเล่นซ่อนแอบกัน บางทีเราอาจจะต้องเจอกับแขกที่ไม่ได้รับเชิญเข้ามาร่วมเล่นด้วย อีก ประการคือกลางคืนมันมีตะขอตะขาบ งู สัตว์มีพิษทั้งหลาย หรือแม้แต่หนาม ตะปู กระเบื้อง เราไม่ เห็นแล้วไปเหยียบเข้า อาจจะได้รับอันตรายได้

(อารีย์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๕.๖ อย่านอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก และอย่านอนเอามือทั้งสองกุมหน้าอก

ความเชื่อนี้มีคนเชื่อมากมาย เนื่องจากคนเป็นควรจะนอนหันหัวไปทางทิศไหนก็ได้ แต่ไม่ใช่ทิศ ตะวันตก เพราะทิศตะวันตกนั้นเป็นทิศที่เค้าหันหัวศพคนตายไปหา ดังนั้นเรายังมีชีวิตอยู่ ก็อย่าไป นอนแบบคนตาย อีกนัยหนึ่งคือมันไม่เป็นสิริมงคลกับชีวิตนั่นเอง (อารีย์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๕.๗ หลังจากกลับงานศพ หรือ กลับจากเดินทางไกล ให้ล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน

ความเชื่อนี้มีมานานแล้ว โดยคนสมัยก่อนเวลากลับจากไปไหนมาไหน เค้ามักล้างมือล้างเท้าก่อน ขึ้นเรือน เพื่อเป็นการชำระสิ่งสกปรกที่ติดตัวมา อีกนัยหนึ่งคือชำระสิ่งไม่ดีที่ติดตัวมาด้วย เนื่องจาก มันมากับตัวเรา เข้าสู่บริเวณบ้านของเราโดยเจ้าที่เจ้าทางในบ้านมิได้ขัดขวาง หากเราลืมล้างเท้า สิ่งเหล่าไม่ดีเหล่านั้นก็จะเข้าบ้านเราไปด้วย (อารีย์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๕.๘ วันสำคัญของเรา จงอย่าออกไปไหน

เราคงเคยได้ยินข่าวการเสียชีวิตของคนบางจำพวก เช่น นาคที่จะบวชเป็นพระเสียชีวิตก่อนได้บวช เจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวเสียชีวิตก่อนได้แต่งงาน นักศึกษาเสียชีวิตก่อนได้รับปริญญา เป็นต้น บางครั้ง ไม่ได้เสียชีวิตหรอก แต่ก็เป็นเหตุให้งานสำคัญๆของเราต้องหยุดไปหรือเสียหายไป

(อารีย์ สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)

๒.๒๐ อาหาร

๒.๒๐.๑ น้ำชุบ

๒.๒๐.๒ คั่วเกลือหมู

๒.๒๐.๓ แกงพุงปลา

๒.๒๐.๔ แกงส้มปลา

๒.๒๐.๕ แกงเลียง

๒.๒๐.๖ ผัดเครื่องแกงหมู

๒.๒๐.๗ แกงเทโพ

๒.๒๐.๘ น้ำเต้าผัดไข่

๒.๒๐.๙ แกงกะทิหมูกับหนอเหรียง

๒.๒๐.๑๐ แกงน้ำเคย

๒.๒๐.๑๑ แกงส้มกุ้งกับย่าหนัด

๒.๒๐.๑๒ กล้วยบวช

๒.๒๐.๑๓ บัวลอยไข่หวาน

๒.๒๐.๑๔ ขนมบ้า

๒.๒๐.๑๕ ขนมถ้วยฟู

๒.๒๐.๑๖ ขนมตาล

๒.๒๐.๑๗ ขนมชั้น

๒.๒๐.๑๘ ขนมรังผึ้ง

๒.๒๐.๑๙ ขนมถ้วย

๒.๒๐.๒๐ แกงส้มชะอมทอด

๒.๒๐.๒๑ ปลาทอดเครื่อง

๒.๒๐.๒๒ หมูต้มผักกาดดอง

๒.๒๐.๒๓ ผัดเผ็ดหมูเถื่อน

๒.๒๐.๒๔ คั่วกลิ้งหมู

๒.๒๐.๒๕ มะพร้าวคั่ว

๒.๒๐.๒๖ ขนมโค

๒.๒๐.๒๗ ขนมเข่ง

๒.๒๐.๒๘ แกงคั่วพริก

๒.๒๐.๒๙ แกงพริกปลาซิว

๒.๒๐.๓๐ แกงพริกไก่ใบรา

๒.๒๐.๓๑ แกงกะทิเห็ดเผาะ

๒.๒๐.๓๒ แกงส้มกบ

(คลอง สาริพัฒน์ ๓ พฤศจิกา ๒๕๕๙)

 

นามานุกรม

อารีย์ สาริพัฒน์ เพศหญิง อายุ๗๖ ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา ที่อยู่ ๖๔/๒ หมู่๒ ต.บางนายสี อ. ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้ข้อมูล มนิสา สาริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

คลอง สาริพัฒน์ เพศชาย อายุ ๙๖ ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา ที่อยู่ ๖๔/๒ หมู่๒ ต.บางนายสี อ. ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้ข้อมูล มนิสา สาริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

วิรุฬห์ ชูเหล็ก เพศชาย อายุ๔๖ ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา ที่อยู่ ๖๔/๒ หมู่๒ ต.บางนายสี อ. ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้ข้อมูล มนิสา สาริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

รชต สาริพัฒน์  เพศชาย อายุ๓๖ ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา ที่อยู่ ๓๐/๓ หมู่๒ ต.บางนายสี อ. ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้ข้อมูล มนิสา สาริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ปาริชาติ ชูเหล็ก เพศหญิง อายุ๔๓ ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา ที่อยู่ ๖๔/๒ หมู่๒ ต.บางนายสี อ. ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้ข้อมูล มนิสา สาริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

สมศรี สาริพัฒน์ เพศหญิง อายุ๔๙ ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา ที่อยู่ ๖๔/๒ หมู่๒ ต.บางนายสี อ. ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้ข้อมูล มนิสา สาริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

สมประสงค์ สาริพัฒน์ เพศชาย อายุ๕๐ ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา ที่อยู่ ๖๔/๒ หมู่๒ ต.บางนายสี อ. ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้ข้อมูล มนิสา สาริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

จารุณี ทองสลับ เพศหญิง อายุ๕๔ ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา ที่อยู่ ๖๔/๓ หมู่๒ ต.บางนายสี อ. ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้ข้อมูล มนิสา สาริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

สรินยา สาริพัฒน์ เพศหญิง อายุ๓๐ ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา ที่อยู่ ๖๔/๒ หมู่๒ ต.บางนายสี อ. ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้ข้อมูล มนิสา สาริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

โสฑิฎา สาริพัฒน์ เพศหญิง อายุ๓๒ ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา ที่อยู่ ๖๔/๒ หมู่๒ ต.บางนายสี อ. ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้ข้อมูล มนิสา สาริพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

คติชน :คติชนวิทยา

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้3748
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11015583