Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
บทสรุปงานวิจัยชั้นเรียน PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 23 เมษายน 2013

บทสรุปงานวิจัยชั้นเรียน 

ชื่องานวิจัยชั้นเรียนเรื่อง  การศึกษาวิจัยเรื่อง  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  โดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คศ.542     ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2554  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 

ผู้ทำวิจัย  นางจุฬารัตน์  เสงี่ยม

การศึกษาวิจัยเรื่อง  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  โดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คศ.542     ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2554  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  ผู้วิจัยได้กำหนดประเด็นของการศึกษา  คือ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารผ่านเกณฑ์ร้อยละ  50  หลังใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind Mapping)  สรุปบทเรียน  ผลการศึกษาสามารถสรุป  อภิปรายผล  และมีข้อเสนอแนะ  ดังต่อไปนี้

สรุป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  โดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind Mapping) ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา  คศ.542 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2554  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ  50

วิธีการศึกษาค้นคว้า 

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  โดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คศ.542  ภาคเรียนที่ 1              ปีการศึกษา  2554  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและศึกษาวิจัยตามขั้นตอน  ดังนี้

1.  ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา  คศ.542  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2554  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  และทำใบงานสรุปบทเรียนแต่ละบทโดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) จำนวน  8  เรื่อง  จากทั้งหมด  10  เรื่อง  คิดเป็น ร้อยละ  80  จำนวน  37  คน

3.  สร้างใบงานให้สรุปบทเรียนแต่ละบทโดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) จำนวน  10  เรื่อง

4.  ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียนแบบเลือกตอบ  100  ข้อ 

5. หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องหรือแต่ละบท  และให้นักศึกษาทำ    ใบงาน  คือสรุปบทเรียนแต่ละบทโดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) มาส่งในคาบเรียนหน้า

6. ให้นักศึกษาส่งใบงาน  คือสรุปบทเรียนแต่ละบทโดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) ตามที่ได้รับมอบหมายแต่ละครั้ง  จากบทที่  1  -  4    จะได้ใบงานคนละ  5  เรื่อง 

7.  ให้นักศึกษาทำข้อสอบกลางภาคเรียน  80  ข้อ  ตรวจผลงาน  วิเคราะห์ข้อมูล  โดยนำข้อมูลมาตรวจเพื่อวิเคราะห์หาค่าร้อยละเองไม่ใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์  โดยกำหนดเกณฑ์การผ่านการประเมินร้อยละ  50  ของจำนวนข้อสอบ

8.  หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องหรือแต่ละบท  และให้นักศึกษาทำ   ใบงาน  คือสรุปบทเรียนแต่ละบทโดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) มาส่งในคาบเรียนหน้า

9.  ให้นักศึกษาส่งใบงาน  คือสรุปบทเรียนแต่ละบทโดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) ตามที่ได้รับมอบหมายแต่ละครั้ง  จากบทที่  5  -  8    จะได้ใบงานคนละ  5  เรื่อง 

10.  ให้นักศึกษาทำข้อสอบปลายภาคเรียน  90  ข้อ  ตรวจผลงาน  วิเคราะห์ข้อมูล  โดยนำข้อมูลมาตรวจเพื่อวิเคราะห์หาค่าร้อยละเองไม่ใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์  โดยกำหนดเกณฑ์การผ่านการประเมินร้อยละ  50  ของจำนวนข้อสอบ

11.  นำผลการทำข้อสอบกลางภาคเรียน  80  ข้อ  และข้อสอบปลายภาคเรียน  90  ข้อ มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบกับผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียน 

9.  เสนอผลการวิจัยในรูปของตารางประกอบคำอธิบาย

10.  สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

สรุปผล

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา       คศ.542  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2554  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  เฉพาะที่ทำใบงานสรุปบทเรียนแต่ละบทโดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) จำนวน  8  เรื่อง  จากทั้งหมด  10  เรื่อง  คิดเป็น ร้อยละ  80  จากประชากรทั้งหมด  จำนวน   43  คน  มีผู้ส่งใบงานผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  80  จำนวน  37  คน  คิดเป็น   ร้อยละ  86.04  และ มีผู้ส่งใบงานไม่ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  80  จำนวน  6  คน  คิดเป็นร้อยละ  13.95   

ผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  แบบเลือกตอบ  จำนวน  100  ข้อ   พบว่า  มีผู้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  จำนวน  21  คน  คิดเป็น   ร้อยละ  56.75  และ มีผู้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนไม่ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  จำนวน  16  คน  คิดเป็น

ร้อยละ  43.24

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  โดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คศ.542  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2554  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  ปรากฏผลดังนี้

ผลจากการใช้แผนที่ความคิด (Mind  Mapping) สรุปบทเรียนหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องหรือแต่ละบท  จากบทที่  1  -  4  พบว่า   ผลการทำข้อสอบกลางภาคเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารแบบเลือกตอบ  จำนวน  80  ข้อ  จะเห็นได้ว่านักศึกษาทำข้อสอบกลางภาคเรียน  ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  ทั้งหมด  จำนวน  37  คน  คิดเป็น   ร้อยละ  100 

ผลจากการใช้แผนที่ความคิด (Mind  Mapping) สรุปบทเรียนหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องหรือแต่ละบท  จากบทที่  5  -  8  พบว่า  ผลการทำข้อสอบปลายภาคเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารแบบเลือกตอบ  จำนวน  90  ข้อ  จะเห็นได้ว่านักศึกษาทำข้อสอบปลายภาคเรียน  ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  จำนวน  28  คน  คิดเป็น   ร้อยละ  75.67  มีนักศึกษาทำข้อสอบปลายภาคเรียนไม่ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  จำนวน  9  คน  คิดเป็น   ร้อยละ  24.32 

ผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  แบบเลือกตอบ  จำนวน  100  ข้อ เปรียบเทียบกับผลการทำข้อสอบกลางภาคเรียน  80  ข้อ  และข้อสอบปลายภาคเรียน  90  ข้อปรากฏผลดังนี้

นักศึกษาที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียน  ไม่ผ่านตามเกณฑ์  สามารถทำข้อสอบกลางภาคเรียน  ผ่านตามเกณฑ์ และทำข้อสอบปลายภาคเรียน ไม่ผ่านตามเกณฑ์   ร้อยละ  50  จำนวน  8  คน  คิดเป็น  ร้อยละ  21.62 

นักศึกษาที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียน  ไม่ผ่านตามเกณฑ์   สามารถทำข้อสอบกลางภาคเรียน  ผ่านตามเกณฑ์   และสามารถทำข้อสอบปลายภาคเรียน  ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  จำนวน  8  คน  คิดเป็น    ร้อยละ  21.62 

นักศึกษาที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียน  ผ่านตามเกณฑ์   สามารถทำข้อสอบกลางภาคเรียน  ผ่านตามเกณฑ์   และสามารถทำข้อสอบปลายภาคเรียน  ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  จำนวน  20  คน  คิดเป็น    ร้อยละ  54.05 

นักศึกษาที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียน  ผ่านตามเกณฑ์   สามารถทำข้อสอบกลางภาคเรียน  ผ่านตามเกณฑ์   และทำข้อสอบปลายภาคเรียน  ไม่ผ่านตามเกณฑ์  ร้อยละ  50  จำนวน 1 คน  คิดเป็น    ร้อยละ  2.70 

อภิปรายผล 

จากการวิจัยเรื่อง  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร  โดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คศ.542     ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2554  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำใบงานสรุปบทเรียนแต่ละบทโดยใช้วิธีแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) จำนวน  8  เรื่อง  จำนวน  37  คน  จากประชากรทั้งหมด  43  คน  ผลการศึกษาพบว่าหลังจากการใช้แผนที่ความคิด (Mind  Mapping) สรุปบทเรียนหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องหรือแต่ละบท  จากบทที่  1  -  4  พบว่า   ผลการทำข้อสอบกลางภาคเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารแบบเลือกตอบ  จำนวน  80  ข้อ  จะเห็นได้ว่านักศึกษาทำข้อสอบกลางภาคเรียน  ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  ทั้งหมด จำนวน  37  คน  คิดเป็น   ร้อยละ  100  แสดงให้เห็นว่าหลังเรียนและหลังจากการใช้แผนที่ความคิด (Mind  Mapping) สรุปบทเรียน  นักศึกษาร้อยละ 100  มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

ผลจากการใช้แผนที่ความคิด (Mind  Mapping) สรุปบทเรียนหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องหรือแต่ละบท  จากบทที่  1  -  8  พบว่า  ผลการทำข้อสอบปลายภาคเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารแบบเลือกตอบ  จำนวน  90  ข้อ  จะเห็นได้ว่านักศึกษาทำข้อสอบปลายภาคเรียน  ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  จำนวน  28  คน  คิดเป็น   ร้อยละ  75.67  มีนักศึกษาทำข้อสอบปลายภาคเรียนไม่ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  จำนวน  9  คน  คิดเป็น   ร้อยละ  24.32  แสดงให้เห็นว่าหลังเรียนและหลังจากการใช้แผนที่ความคิด (Mind  Mapping) สรุปบทเรียน  นักศึกษาร้อยละ 75.67    มีพัฒนาการที่ดีขึ้น  แม้จะไม่ผ่านเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ทั้งหมดก็ตาม   หากพิจารณาการพัฒนาการหลังการเรียนของนักศึกษาจะพบว่าส่วนใหญ่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักศึกษาได้มีการสรุปประเด็นสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสั้น  กะทัดรัด  ได้ใจความ  และได้วาดออกมาเป็นแผนที่ความคิด (Mind  Mapping) สรุปบทเรียน 

ส่วนนักศึกษาที่ทำข้อสอบปลายภาคเรียนไม่ผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ  50  จำนวน  9  คน  คิดเป็น   ร้อยละ  24.32  ทั้งนี้เป็นเพราะนักศึกษาเหล่านี้มีพฤติกรรมการขาดเรียนหลายครั้ง  ทำให้มีเวลาไม่เพียงพอกับการเรียน   อีกทั้งส่งใบงานตามที่ได้รับมอบหมายช้ากว่ากำหนด  ดังนั้นครูผู้สอนจึงนัดส่งใบงานช้ากว่ากลุ่มตัวอย่างคนอื่น  1  สัปดาห์  และให้เพื่อน ๆ ช่วยกันแนะนำบทเรียนอีกครั้งหนึ่ง  จึงทำให้นักศึกษาเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งหมด  

นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการใช้แผนที่ความคิด (Mind  Mapping) สรุปบทเรียนหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องหรือแต่ละบท  พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ชอบใบงานการใช้แผนที่ความคิด (Mind  Mapping) สรุปบทเรียน  เพราะไม่น่าเบื่อ  ทั้งยังได้ฝึกจับใจความและสรุปความจากการอ่านด้วย

ข้อเสนอแนะ

1.  ครูผู้สอนควรมีการประเมินคุณลักษณะของตนในแต่ละด้านอยู่เสมอตามทัศนะของนักศึกษา  เพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุง  พัฒนาตนเองให้เป็นครูที่มีบุคลิกภาพและเกิดประสิทธิภาพในการสอนมากยิ่งขึ้น

2.  ครูควรพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้เรียนได้  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ  เช่น  การเล่นเกม  บทบาทสมมติ  การระดมสมอง  และการใช้แผนที่ความคิด (Mind  Mapping)

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 23 เมษายน 2013 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้33
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11011867