Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow Search
ระบบการลงทะเบียนภัณฑ์ใน พมร.ภูเก็ต PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 15 มิถุนายน 2012
ฝากรูป 

 

บ้านเลขที่ ๑๗๕ หมู่ ๑ บ้านหินรุ่ย

ตำบลเทพกระษัตรี ถนนเทพกระษัตรี

อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๑๐

๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕

 

เรื่อง ระบบการรับบริจาค “ภัณฑ์” ของ พมร.ภูเก็ต

เรียน นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกะทู้

สิ่งที่ส่งมาด้วย เอกสาร จห.๑๐๒๔ มห.ภูเก็จ 261 และ 175 จำนวน ๓ แผ่น

 

ด้วยพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต(พมร.ภูเก็ต) มีระบบการรับบริจาค “ภัณฑ์” ที่ได้ปฏิบัติมา ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙ ในการนี้ ลูกจ้างชั่วคราว เช่นนายอนุพงศ์ คำแหง เคยมีประสบการณ์เมื่อเข้ามาปฏิบัติงาน ในระยะแรก ข้าพเจ้าได้จัดทำขั้นตอนในการรับ “ภัณฑ์” เข้าเป็นสมบัติของ พมร.ภูเก็ต ดังเอกสารรหัส พมร. จห.๑๐๒๔ ในสิ่งที่ส่งมาด้วย

ขั้นตอนที่ ๑ ข้าพเจ้าเคยเสนอท่านไปรับแร่ ชิ้นโลหะ ชิ้นธาตุ จากคุณไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ ส่วนหนึ่งได้จัดทำขั้นตอน ๑๐ แสดงไว้ในตู้ “สรรเสริญเกียรติคุณน้ำใจดี” และบางชิ้นส่วนได้จัดทำตาม ขั้นตอนที่ ๓ มีบัญชีเดินทุ่ง (มห.ภูเก็จ 261) บางส่วนจัดทำในขั้นตอนที่ ๑๑ แล้ว นำออกมารวมเป็นปึก รอ การเย็บเล่มเก็บรักษาไว้ที่ห้องวรรณวิเศษปัญญภูมิ ข้างบันไดเวียนขึ้นชั้นลอย(มห.ภูเก็จ 175) เพื่อรอ พนักงานของ ทม.กะทู้ มารับงานตามที่อดีต สส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ตกลงด้วยกันกับนายสมเกียรติ ขวัญ สุวรรณ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ ห้องวรรณวิเศษปัญญภูมิ

เมื่อนายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณ แต่งตั้งให้นางสาวสุทธิลักษณ์ เรืองจันทร์ เป็นหัวหน้างาน พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ แล้ว ข้าพเจ้าได้รายงานให้นางสาวสุทธิลักษณ์ เรืองจันทร์ พร้อมเอกสารการรับ “ภัณฑ์” ที่โต๊ะใต้บันไดเวียนขึ้นชั้นลอย ห้องวรรณวิเศษปัญญภูมิ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓

หลังจากที่ท่านมีหนังสือไล่ข้าพเจ้าออกจาก พมร.ภูเก็ต แล้ว ข้าพเจ้าจะแจ้งย้ำการลง ทะเบียนภัณฑ์แก่นายอนุพงศ์ คำแหง และผู้ปฏิบัติงานใน พมร.ภูเก็ต ทุกครั้งที่มีโอกาส และเป็นเงื่อนไข มาตั้งแต่เริ่มมี พมร.ภูเก็ต แล้วว่า “ภัณฑ์” ใด ๆ ที่ พมร.ภูเก็ตดำเนินการเสร็จสิ้นในขั้นตอนที่ ๗ แล้ว “ภัณฑ์” ชิ้นนั้นจะเป็นสมบัติของ พมร.ภูเก็ต ซึ่งข้าพเจ้าได้แจ้งนายสมเกียรติ ขวัญสุวรรณ และนางทัศนี แช่ทอง ทราบในช่วงบรรยายให้แขกของ ทม.กะทู้ และในช่วงการประชุม เช่นในการประชุมในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ณ ชั้นที่ ๒ ของ พมร.ภูเก็ต มีนายอรรถพงษ์ จันทรัตนวงศ์ เป็นประธาน เป็นต้น ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติ การรับ “ภัณฑ์” ตามเงื่อนไขในเอกสารรหัส พมร. จห. ๑๐๒๔ ตลอดมา

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาแจ้งผู้เกี่ยวข้องกับงาน พมร.ภูเก็ต ได้ทราบเงื่อนไขนั้น

 

ขอแสดงความนับถือ

 

(นายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์)

www.phuketdata.net

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

โทร. 081 326 2549

ฝากรูป 

ฝากรูป 

การรับ “ภัณฑ์” บริจาค

 

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต

๑ มิถุนายน ๒๕๕๓

 

การลงทะเบียน “ภัณฑ์” ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต เป็นไปตามหลักวิชาการตรงกับหลักสูตร ในสถานอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกแห่ง พมร.ได้ประยุกต์จำแนกทะเบียน “ภัณฑ์” เป็นรหัส OB BK AR PHO PIC CD MAP SD หรือ วถ นส จห ภาพ รูป ซีดี ผท โสต เป็นต้น

การลงทะเบียน แต่ละรหัส จะต้องบันทึกข้อมูลภัณฑ์ในสมุดลงทะเบียนประจำรหัส เช่น การ ลงทะเบียนวัตถุ ( OB หรือ วถ ), หนังสือ ( BK หรือ นส ), จดหมายเหตุลายลักษณ์ ( AR หรือ จห ), รูปภาพเป็นกลุ่ม ( PHO หรือ รูป ), ภาพเดี่ยว ( PIC หรือ ภาพ ), ภาพเคลื่อนไหว ( CD หรือ ซีดี ), แผนที่ ( MAP หรือ ผท ), เสียง ( SD หรือ โสต ) มีลำดับย่อ คือ

๑. รับวัตถุภัณฑ์ด้วยไมตรีจิตมิตรภาพ(รับติดต่อ กำหนดวันรับทราบรับรู้ กำหนดวันรับมอบ ฯลฯ)

๒. ถ่ายภาพผู้บริจาคพร้อม “ภัณฑ์” ที่มอบให้ตามเงื่อนไข

๓. กำหนดรหัส - หมายเลข และบันทึกในบัญชีเดินทุ่ง

๔. ขนย้ายไว้ในที่อันควร เหมาะสมกับการอนุรักษ์ให้ยั่งยืนยาวนาน

๕. ทำความสะอาดเบื้องต้นตามหลักการอนุรักษ์ภัณฑ์

๖. ตรวจสอบขนาด ลักษณะพื้นฐาน (เช่นวัดขนาด ชั่งน้ำหนัก ค้นหาชื่อภาษาถิ่น ชื่อภาษากลาง ชื่อเรียก) ตามที่ระบุไว้ในบัญชีเดินทุ่ง

๗. บันทึกลงทะเบียนในสมุดทะเบียนของกลุ่มรหัส OB BK AR PHO PIC CD MAP SD

๘. ถ่ายภาพหรือสำเนา “ภัณฑ์” เป็นรายชิ้น เพื่อจัดทำระเบียนภัณฑ์ ทั้งในกระดาษและดิจิทัล (ภาพ หรือสำเนา จะเป็น AR PHO PIC หรือ จห รูป ภาพ ให้นำภัณฑ์ในส่วนนี้ดำเนินการเริ่มงานข้อ ๗ โดยอนุโลม ยกเว้นและข้ามขั้นตอนเฉพาะที่เป็นงานซ้ำซ้อนเท่านั้น)

๙. เสนองานสารบรรณเพื่อแจ้งขอบคุณ (ร่าง พิมพ์ ตรวจทาน เสนอผู้บังคับบัญชา เสนอลงนาม ส่ง) (ฉบับสำเนาเป็น AR หรือ จช ของ พมร. เริ่มงานข้อ ๓ โดยอนุโลม ยกเว้นและข้ามขั้นตอนเฉพาะที่เป็นงานซ้ำซ้อน เท่านั้น)

๑๐. จัดทำบัตรดรรชนี ประกาศในตู้เกียรติคุณน้ำใจดี และตู้ INDEX ห้องวรรณวิเศษปัญญภูมิ

๑๑. ลงทะเบียนดิจิทัล พร้อมที่จะลงในเวปไซต์ สำเนาออกมาจัดทำระเบียนทะเบียนภัณฑ์ พมร.

๑๒. ประชาสัมพันธ์ใน www.phuketdata.net ให้ได้ประโยชน์ทั้งข้อเท็จจริง และ SEARCH

๑๓. แจ้งเรื่องให้มัณฑนากร ดำเนินการคัดสรรและสร้างสรรค์ให้เหมาะกับ Story board ซึ่งเป็นไป ตามหลักการ ๑. สามารถเร้าใจ ๒. มีศักยภาพในการสร้างความสนใจ ๓. ผู้รับสารติดตาม “ภัณฑ์” (และ ๔. บริโภค)

๑๔. ดำเนินการจัดนิทรรศการ หรือเก็บรักษาในคลังสมบัติ พมร.(ไว้สับเปลี่ยน, จัดนิทรรศการที่อื่น, วิจัย) ให้เป็นระบบที่สามารถตรวจสอบ ค้นหา เคลื่อนย้าย ได้

๑๕. ปรับเพิ่มเสริมงานในทะเบียนเพื่อ LINK ทั้งในสมุดทะเบียน สมุดระเบียนเดินทุ่ง ส่วนดิจิทัล INDEX และ www.phuketdata.net

๑๖. แจ้งมัคคุเทศก์เพื่อจัดทำคำบรรยายที่สอดคล้องกับ(ความแตกต่างของ)ผู้รับสารและ Story board ประสานงานกับส่วนงานวิชาการตรวจสอบคำบรรยายเพื่อใช้ร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง(เช่น ปชส. แผ่นพับ บทบรรยายกำกับภัณฑ์ เอกสารวิชาการ เป็นต้น)

 

***

มห.ภูเก็จ 284

ประวัติศาสตร์ ข้อมูลภูเก็จ phuketdata

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 17 มิถุนายน 2012 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้5404
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11017238