พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต กะทู้ | |
ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ บริจาคที่ดินกว่า ๔๐๐ ไร่ บริเวณเหมืองท่อสูง สร้างพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ PHUKET MINING MUSEUM ด้วยงบประมาณ ๕๐.๗ ล้านจากโครงการผู้ว่าซีอีโอในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ปัญจภัทร(ตูน) ชูราช เป็นผู้ออกแบบอาคารตามแบบสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส ที่โดดเด่นในเขตเทศบาลนครภูเก็ตมากว่า ๑๕๐ ปี บริษัท SEA รับวางแผนสร้างห้องนิทรรศการตามแนวคิด(STORY BOARD)พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต(LIFE MUSEUM)ของ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ในเดือนเมษายน-สิงหาคม ๒๕๕๐ ในวงเงิน ๗ ล้านบาท และให้บริษัทหลายบริษัทร่วมกันจัดแบ่งห้องนิทรรศการในอาคาร"อังมอเหลา" ในวงเงิน ๑๔ ล้านเศษ ระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๑ และสร้างรางเหมืองแร่ที่หน้าผารางเหมือง และปรับภูมิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓ ในวงเงิน ๔๘ ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการได้ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ผู้ประสงค์เข้าเยี่ยมชมก่อนกำหนดเปิดโปรดโทร.08 1958 1097 TOURIST 100 Baht ผู้ใหญ่ ๕๐.- นักศึกษา ๒๐.- นักเรียน ๑๐.- (อัตราค่าเข้าชมปลายปี ๒๕๕๓) ดูภาพในหมวดนี้ |
เยี่ยมชม พมร. | |
พมร. คืออักษรย่อของ "พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต" อ.กะทู้ พมร.ภูเก็ตเริ่มสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๔๙ หลังคลื่นยักษ์สึนามิ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ สร้างยังไม่ทันเสร็จ ก็มีผู้ฅนเข้ามาเยี่ยมชมทุกสัปดาห์ แล้วท่านละขอรับ มาชม พมร.ภูเก็ต กี่ครั้งแล้วขอรับครับกระผม ผู้ประสงค์เข้าเยี่ยมชมก่อนกำหนดเปิดโปรดโทร.08 1958 1097 TOURIST 100 Baht ผู้ใหญ่ ๕๐.- นักศึกษา ๒๐.- นักเรียน ๑๐.- (อัตราค่าเข้าชมกลางปี ๒๕๕๔) ดูภาพในหมวดนี้ |
เหมืองเรือขุดแร่ดีบุก | |
เหมืองเรือขุดแร่ดีบุกขุดแร่ในอ่าวภูเก็ตเป็นครั้งแรกของโลกเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ กัปตันเอ็ดเวิร์ด โทมัส ไมล์ ชาวออสเตรเลียได้ดัดแปลงเรือขุดร่องน้ำมาเป็นเรือขุดแร่ดีบุก มีลูกเชอ(Bucket)เป็นที่ตักแร่; เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ นายหัวเหมืองได้สร้างเรือแพดูดแร่ขึ้นแทนเรือขุดที่เคยใช้มาแต่เดิม ขุดแร่ที่บ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จ.พังงา ดูภาพในหมวดนี้ |
เหมืองฉีด | |
พัฒนาการเครื่องยนต์ช่วยเปลี่ยนเหมืองหาบที่ใช้กุลีจำนวนมาก มาใช้เครื่องสูบน้ำในโรงหัด และสูบน้ำส่งไปหัวฉีด(จุ๊ยปีด)เป็นเหมืองฉีด คนฉีดเหมืองสวมชุดจั่งซุ้ย(เสื้อกันฝนชาวเหมืองทำด้วยใยปาล์มชก) ดูภาพในหมวดนี้ |
เหมืองหาบ | |
เหมืองที่ใช้กุลีมากคือเหมืองหาบ แต่ละเหมืองจะมีกุลีมากกว่า ๑๐๐ คน ช่วยขุด ช่วยขน ช่วยหาบ ลำเลียงน้ำเข้า ลำเลียงน้ำออก ขนหิน ขนดิน ขนแร่ ขนทราย ให้นายหัวเหมือง ดูภาพในหมวดนี้ |
เหมืองรูหรืออุโมงค์ | |
เหมืองรูเป็นการขุดลงไปเป็นบ่อและ/หรือขุดลึกเข้าไปในหน้าผา เป็นช่องพอที่จะคลานเข้าไปได้ มีไม้ค้ำยันดินรอบข้าง บนปากบ่อที่ลึกมักใช้ก้าถาวช่วยกว้านถังแร่ขึ้นลง (พมร.แสดงไว้ที่ห้องสายแร่แห่งชีวิต นายหัวประชา ตัณฑวณิช หมุนก้าถาวอยู่ปากบ่อ) ส่วนเหมืองอุโมงค์เป็นเหมืองรูที่ขุดรูเป็นช่องขนาดใหญ่ สามารถเดินได้ในช่องอุโมงค์ (พมร.แสดงไว้ที่ห้องสายแร่แห่งชีวิต ติดกับเหมืองรู) ดูภาพในหมวดนี้ |
อุกกาบาต | |
อุกกาบาต เป็นวัตถุทางดาราศาสตร์ที่มาจากนอกโลก พุ่งเข้าสู่บรรยากาศโลก เสียดสีจนเห็นเป็นแสงสว่าง เรียกว่า ผีพุ่งไต้ หรือ ดาวตก ส่วนที่เสียดสีแล้วสลายตัวไม่หมดจึงตกลงบนโลก เรียกว่า อุกกาบาต พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้)ต้องการจัดแสดงไว้ในห้องกำเนิดโลก ขอเชิญผู้ครอบครองผู้ใจบุญ เมตตาบริจาคอุกกาบาตไว้จัดแสดงในห้องกำเนิดโลกให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ขอได้โปรดแจ้งผ่าน 083 1025 606 หรือ museum@kathutin.comดูภาพในหมวดนี้ |
จตุคามรามเทพ | |
ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ ปรารถนาจะสร้างโรงครัวและซุ้มประตูให้อ๊ามในทู และสร้างสื่อให้เยาวชนที่พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ จึงได้จัดสร้างจตุคามรามเทพ รุ่นเศรษฐีเหมืองแร่ อัญเชิญเทพเจ้าพราหมณ์ เทพเจ้าจีนและพระภิกษุสงฆ์ ร่วมด้วยช่วนกันสมโภชมงคลวัตถุในหลายสถานที่ เช่นวัดมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราช ศาลเจ้ากะทู้(อ๊ามในทูเต้าบูเก๊ง) และสถานที่ที่ตั้งมวลสารมงคล เช่นธูปบูชาพ่อท่านสมเด็จเจ้าวัดฉลองพ่อท่านแช่ม อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ศาลเจ้าในจังหวัดภูเก็ต เหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๕๕๐ สมโภชเมื่อ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๐ ดูภาพในหมวดนี้ |
ดีบุก | |
๕๐๐ กว่าปีในแผ่นดินภูเก็ตภูเก็จถลาง มีการขุดแร่ดีบุกส่งขายโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ จากแร่เป็นผงใช้ความร้อนแยกแร่ดีบุกออกจากเพื่อนแร่ได้โลหะดีบุกสีเงิน มนุษย์รู้จักใช้ดีบุกผสมกับ ทองแดง เป็นสัมฤทธิ์ สำริดหรือบรอนซ์ มากว่า ๕,๐๐๐ ปี ดีบุก (Sn)ในตารางธาตุ มีโปรตอน ๕๐ ตัว ดูภาพในหมวดนี้ |
เพชรภูเก็จ | |
เหมืองเรือขุดแร่ดีบุกในอ่าวภูเก็ตได้ส่งแร่ดีบุกไปแยกออกจากเพื่อนแร่ นายสมบูรณ์ อัยรักษ์ ได้เพชรภูเก็จที่ปนอยู่กับผงแร่ดีบุกในขบวนการคัดแยกแร่ มอบให้นางบุญกอบ อัยรักษ์ จัดทำเป็นหัวแหวนโดยไม่ได้เจียระนัย สวมใส่ประจำตัวมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๕ เมื่อทราบว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้) ประสงค์จะได้เพชรภูเก็จ จึงได้มอบให้นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ พมร.ได้ลงทะเบียนไว้ที่หมายเลข พมร.OB ๖๙๐ จัดแสดงไว้ ณ ห้องอัญมณีนายหัวเหมืองของอังมอเหลา พมร.ภูเก็ต ดูภาพในหมวดนี้ |
เพชรอันดามัน | |
ทะเลอันดามันมีดีบุกทั่วท้องทะเล ก่อน พ.ศ.๒๕๒๐ รัฐเปิดโอกาสให้ชาวบ้านขุดแร่ในทะเลอันดามัน ตั้งแต่หาดท้ายเหมือง หาดเขาหลัก หาดบางเนียง แหลมปะการัง น้ำเค็ม เรือขุดของชาวบ้านเรียกว่าแพดูดบ้าง แพดันบ้าง เมื่อได้แร่ดีบุก จักต้องทำความสะอาดแร่ดีบุกออกจากเพื่อนแร่ ระยะแรก ชาวบ้านไม่ทราบว่าเพื่อนแร่ที่เป็นก้อนคือเพชร จนพ่อค้าเพชรพ่อค้าร้านทองบอก ชาวบ้านจึงเลือกไปขาย เม็ดงามเม็ดโตก็ส่งไปเจียระนัย เพชรดิบขนาดใหญ่สุดที่พบคือขนาด ๕๐ กะรัต ดูภาพในหมวดนี้ |
ปลาดึกดำบรรพ์ | |
นักชีววิทยาสัตว์โบราณได้พบซากฟอสซิลของปลาดึกดำบรรพ์ coelacanth (ซีลาแคนท์) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๒ รูปร่างของครีบที่ปรากฏมีความละม้ายคล้ายคลึงกับกระดูกแขนและขาของสัตว์บก ดูภาพในหมวดนี้ |
พดหอย ๔๐ ล้านปี | |
นางวันทนีย์ มีใจ จากศูนย์พระเครื่องสมเกียรติ บ้านสามกอง ได้ฟอสซิลหอย ๒ ฝา ขนาด ๑๐ กรัมจากท้องทะเลอันดามันในแหล่งลานแร่ดีบุก ใช้เป็นเครื่องลางของขลังประจำตัว ได้มอบให้นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ ไว้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ หมายเลข พมร.OB ๖๙๓ ดูภาพในหมวดนี้ |
เหมืองพลอย | |
พลอย เป็นอัญมณีเกิดในหินลาวาภูเขาไฟ ในประเทศไทยมี พลอย ที่จังหวัดจันทบุรีและกาญจนบุรี พมร.แสดงพลอยดิบที่มีแม่เหล็กในพลอยและพลอยปรกติในห้องนิรมิตเล่นแร่แปรธาตุดูภาพในหมวดนี้ |
ไดโนเสาร์ | |
ไดโนเสาร์ที่ค้นพบในไทย พบที่ภูเวียง ขอนแก่นและภูกุ้มข้าว สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ได้ชื่อ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่, สยามโมซอรัส สุธีธรนิ ทั้งขอนแก่นและกาฬสินธ์ได้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งการเรียนรู้ธรณีวิทยา ธรณีกาล บรรพชีวินและวิทยาศ่าสตร์ ดูภาพในหมวดนี้ |
ปลาพญานาค | |
ลิขสิทธิ์ผู้ใดก็ไม่รู้ ส่งมาทางอีเมล์ เห็นว่าเป็นภาพปลาหายาก เขาเรียกว่า ปลาพญานาค จึงได้บันทึกไว้ตั้งคำถาม มีจริงหรือ มีอยู่ส่วนไหนของโลก เหตุใดอควาเรี่ยมจึงไม่นำไปเสนอไว้ เพาะพันธุ์ไว้ดูเล่นได้ไหม ทำไมจึงเพาะพันธุ์ไม่ได้ไม่ได้ โปรดถามไปเถอะ ถามเองก็ตอบเองนะเจ้า ดูภาพในหมวดนี้ |
ค้างคาวกิตติ | |
กิตติ ทองลงยา ค้นพบค้างคาวกิตติเมื่อปี ๒๕๑๖ และได้รับการประกาศว่า เป็นค้างคาวชนิดใหม่ของโลก ไม่อาจจัดไว้ในวงศ์ใดได้ จึงต้องตั้งวงศ์ให้ใหม่โดยมี ค้างคาวกิตติอยู่ตัวเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ จนถึงการศึกษา ครั้งล่าสุดซึ่งเกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่ห่างกันนานเกือบ ๓๐ ปี ความลี้ลับและ ปริศนาว่าด้วยการดำรงอยู่ของ ค้างคาวกิตติแทบ จะยังไม่ได้รับการคลี่คลาย ชาวฮกเกี้ยนภูเก็จเรียกค้างคาวว่า หุงเปียนฝู (โชคดี โชคลาภ)ดูภาพในหมวดนี้ |
แผนที่ที่ตั้ง พมร.กะทู้ | |
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้) ตั้งอยู่ในเหมืองท่อสูง ระหว่างตลาดในทู อำเภอกะทู้กับบ้านบางคูเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาเก็ตหนี อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขานางพันธุรัต มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่ เปิดให้เข้าชมในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ ดูภาพในหมวดนี้ |
ผาCLIFFพมร.กะทู้ | |
ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้) ซึ่งสร้างอังมอเหลา(ตึกเศรษฐีนายหัวเหมืองเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ภายใน)ไว้เป็นสง่ากลางลานทรายเหมืองแร่ เมื่อกลางปี พ.ศ.๒๕๔๙ รอบอังมอเหลามีหน้าผาจากการทำเหมืองแร่ดีบุกของเหมืองท่อสูง เลิกร้างไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ ทิ้งผาเหมืองแร่ไว้ คือ ผาเหมืองท่อสูง ผารางเหมือง ผาปล่องภูเขาไฟ ผาดีบุก ผาแม่พระธรณี ผาฐานธรณินท์ ผาขาวกิจไพศาล ผาพระพักตร์นพคีตนาฏราชิน ดูภาพในหมวดนี้ |
ร่อนแร่ดีบุกด้วยเลียง | |
ชาวเหมืองใช้ภาชนะไม้ทรงกลมคล้ายถาดท้องลึกเหมือนจานในการร่อนแร่ดีบุก ภาชนะนี้เรียกว่า เลียง ดูภาพในหมวดนี้ |
แผนที่ | |
แผนที่ ทั้งแผนผัง ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม โลกในอดีต ดูภาพในหมวดนี้ |
ตรา | |
ตรา เป็นภาพลายเส้นเป็นผลจากการสังเคราะห์วิเคราะห์ภาระงานของเจ้าของหน่วยองค์กรนั้น เช่นตรากลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ออกแบบให้มีรูปภูเขา ๒ เส้นคือ ภูเก็จ และถลาง มีเพชรเพราะภูเก็จหมายถึงภูเขาแก้ว เพชรคือแก้วชนิดหนึ่งที่พบในอ่าวภูเก็ต; ตราศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต; ตรามูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ดูภาพในหมวดนี้ |
บรรพชีวินพืช | |
แหล่งไม้กลายเป็นหิน(ซากบรรพชีวินพืช)ที่พบมากที่สุดในประเทศไทย พบที่บ้านโกรกเดือนห้า จังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจึงได้ดำเนินการขอความร่วมมือจากหลายหน่วยงานหลายองค์กรจัดสร้างเป็นสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน นำไม้กลายเป็นหินจากทุกแหล่งในประเทศไทยมาจัดแสดง เป็นพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่สุดในเอเซีย ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล เป็นผู้อำนวยการ ดูภาพในหมวดนี้ |
ไม้กลายเป็นหิน | |
แหล่งไม้กลายเป็นหินที่พบในประเทศไทย มีอายุประมาณ ๘ แสนปี พบที่โกรกเดือนห้า นครราชสีมา อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ, จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดตาก ดูภาพในหมวดนี้ |
บ้านจีน | |
บ้านเรือนแบบจีน สร้างด้วยดิน เรียกว่า ตึกดิน หรือกว้านดิน เนื่องจากวัสดุ ที่ใช้ก่อสร้างทำด้วยดิน หรือดินเผา ดินที่ใช้ในการสร้างบ้านเรือนแบบนี้นัยว่าเป็นดินที่ผสม ด้วยวัสดุบางอย่าง เพื่อให้มีคุณสมบัติเกาะยึดติดแน่นไม่เปราะและไม่ผุพังง่าย ชาวจีนใช้ดิน ผสมนี้อัดกระทุ้งให้เรียบสนิท เสริมสูงขึ้นจากพื้นจนเป็นรูปกำแพง และใช้เป็นฝาผนังบ้านทั้ง สี่ด้าน มีประตู หน้าต่าง ใช้ไม้แก่นเนื้อแข็งเป็นวงกบประตู หน้าต่าง และบานประตู หาก เป็นบ้านสองชั้นจะใช้ไม้เป็นคาน รอดและปูพื้น ส่วนหลังคาจะวางขื่อ แป และจันทัน ด้วย ไม้โกงกางหรือไม้แสม หลังคาจะมุงกระเบื้องรางซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมทำด้วยดินเผา บ้านเรือนแบบนี้ส่วนมากเป็นเรือนชั้นเดียว ถ้าสูงกว่านี้ก็เป็นเรือนสองชั้นเท่านั้น เพราะ เสี่ยงต่อการพังทลายได้ง่าย บ้านแบบนี้หาดูได้จาก บ้านห้องแถวบริเวณแถวน้ำ ห้องแถว บริเวณบางเหนียว (ถนนภูเก็ต) และตึกแถวในตลาดอำเภอกะทู้ ดูภาพในหมวดนี้ |
ชิโนโปรตุกีสสไตล์ | |
ลักษณะบ้านแบบชิโนโปรตุกีส เป็นแบบผสมระหว่างสถาปัตยกรรมจีน กับสถาปัตยกรรมโปรตุเกส คือแปลนอาคารแบ่งออกเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงจะมีช่องสำหรับให้แสงสว่างตามธรรมชาติส่องลงมาได้ ช่วยให้มีอากาศหมุนเวียนภายในอาคาร โครงสร้างเป็นตึกก่ออิฐหรือเทคอนกรีตแบบยุโรป มีหน้าต่างหรือเฉลียงยื่นออกมาจากตัวบ้าน กรุบานหน้าต่างหรือประตูกระจกสี ตกแต่งลวดลายตามขอบประตูและหน้าต่าง หัวเสามีลักษณะเป็นเสาแบบยุโรป คือลักษณะเสาแบบดอริค (Doric) ไอโอนิค (Ionic) และโครินเธียน (Corinthian) ระหว่างเสาจะมีลักษณะเป็นประตูโค้งแบบโรมัน ด้านหน้าจะประดับด้วยลายปูนปั้นแบบจีน กระเบื้องปูพื้นจะเป็นกระเบื้องปูแบบฝรั่ง แต่หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา แบบ ทรงกระบอกผ่าซีก ดูภาพในหมวดนี้ |
รนภูเก็จ | |
ชาวภูเก็จเรียกบ้านเรือนที่พักอาศัยว่า เริน รูปแบบคำใช้ รน ในคำกะรน(อ่าวเรือน) มีใต้ถุน บันไดขั้นคี่ เช่น สาม ห้า เจ็ด เสาบันไดพาดนอกชาน ตรงประตูเข้าไปบนเบียง ตรงข้ามเบียงเป็น บนโรง ยาวไปถึงห้องครัว ระดับบนโรงสูงสุด เบียงลดต่ำลง ครัวและชานระดับพอ ๆ กัน ดูภาพในหมวดนี้ |
จดหมายเหตุ | |
ท่านผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี) เขียนจดหมายติดต่องานราชการแผ่นดินและติดต่อแลกซื้อดีบุกกับกัปตันฟรานซิส ไล้ท์(พระยาราชกปิตัน) ขณะนี้ ต้นฉบับอยู่ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน อดีตผู้ว่าราชการอ้วน สุระกุล ได้ขอสำเนากลับจังหวัดภูเก็ต รวม ๖ ฉบับ เป็นจดหมายท้าวเทพกระษัตรี ๒ ฉบับ ดูภาพในหมวดนี้ |
พ่อท่านแช่ม | |
เมื่อภูเก็จเกิดจราจลอั้งยี่(วุ่นจีน) เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ต้นรัชกาลที่ ๕ อั้งยี่ถูกศิษย์วัดฉลองตีแตกพ่าย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ทรงนิมนต์พ่อท่านวัดฉลองเข้ารับพระราชทานเป็น พระครูวิสุทธิวงษาจาริย์ญาณมุนี สังฆปาโมกข์เมืองภูเก็จ ชาวภูเก็จรุ่นนั้นและถัดมาเรียกขานพ่อท่านแช่มหรือพ่อท่านวัดฉลองว่า พ่อท่านสมเด็จเจ้า ผู้ศรัทธาได้สร้างหุ่นจำลองประดิษฐานไว้ในมณฑปจตุรมุข และสร้างหุ่นขี้ผึ้งประดิษฐานไว้บนกุฏิจำลอง ดูภาพในหมวดนี้ |
ร.๙ เสด็จภูเก็ต | |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จฯเยี่ยมจังหวัดภูเก็ต เมื่อ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒ - ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๒ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ตามเสด็จฯ, เสด็จฯครั้งที่ ๒ วันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๐ ทรงเปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ตามเสด็จฯ, เสด็จฯครั้งที่ ๓ เมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๑๑ เสด็จฯ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร ตามเสด็จฯ และเสด็จฯ ครั้งที่ ๔ เมื่อ ๑๖ เมษายน ๒๕๑๖ เสด็จฯเยี่ยมราษฎรเกาะนาคาน้อย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ตามเสด็จฯ ดูภาพในหมวดนี้ |
นายหัวเหมือง | |
หัวหน้าในการประกอบกิจการส่วนตัว ชาวภูเก็จใช้ "นายหัว" นายหัวไปทำสวนยางพาราก็เรียกว่า นายหัวสวนยาง ทำการประมงก็เรียกว่านายหัวแพปลา ในส่วนนี้ เมื่อนายหัวไปทำเหมืองแร่ ชาวภูเก็จก็เรียกว่า นายหัวเหมือง มีหลักฐานการทำเหมืองแร่มาไม่น้อยกว่า ๕๐๐ ปี เจ้าเมืองหรือผู้ปกครองเมืองจะเป็นนายหัวเหมืองมาโดยตลอด แม้ท้าวเทพกระษัตรี ก็เคยมีปรากฏในจดหมายว่ามาทำแร่ดีบุกที่บ้านสะปำ เมืองภูเก็จเทียนก็มาทำแร่ที่บ้านบางคู พญาภูเก็จแก้วไปทำแร่ที่บ้านเก็ตโฮ่ พญาวิชิตสงครามก็มาทำแร่ที่เมืองภูเก็จทุ่งคา เมื่อเอกชนเริ่มทำเหมืองในรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ชื่อนายหัวเหมืองก็ปรากฏมนเอกสารมากหน้าหลายตา เช่น พระพิทักษ์ชินประชา, พระอร่ามสาครเขตร, พระพิไสยสรรพกิจ, หลวงอำนาจนรารักษ์, หลวงอนุภาษภูเก็ตการ, ขุนชนานิเทศ, หลวงชนาทรนิเทศ, นายฮั่นก๋วน อุปัติศฤงค์, ขุนเลิศโภคารักษ์, ขุนวิเศษนุกูลกิจ เป็นต้น ดูภาพในหมวดนี้ |
ถลางภูเก็จภูเก็ต | |
แผนที่การเดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ได้ระบุตำแหน่งเกาะภูเก็ต ไว้ในนาม JUNK CEYLON พระภิกษุจีนเรียก SILAN ชาวไทยเรียกว่า สิลัน, สลาง, ฉลาง และ ถลาง พม่าตีเมืองถลางแตกเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒ เมืองภูเก็จจึงได้เจริญเติบโตเป็นเมืองใหญ่ เป็นชื่อจังหวัดภูเก็ตแบ่งการปกครองเป็น ๓ อำเภอคืออำเภอทุ่งคา(อำเภอเมืองภูเก็ต) อำเภอถลางและอำเภอกะทู้ มีประวัติศาสตร์ที่ชาวไทยรับทราบคือศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ เป็นเหตุให้เกิดวีรสตรี ๒ ท่าน คือท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ดูภาพในหมวดนี้ |
กะทู้ทุ่งคาภูเก็จ | |
แผนที่การเดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ได้ระบุตำแหน่งเกาะภูเก็ต ไว้ในนาม JUNK CEYLON หลังพม่าตีเมืองถลางแตกเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒ เมืองภูเก็จจึงได้เจริญเติบโตเป็นเมืองใหญ่ เป็นชื่อจังหวัดภูเก็ตแบ่งการปกครองเป็น ๓ อำเภอคืออำเภอทุ่งคา(อำเภอเมืองภูเก็ต) อำเภอถลางและอำเภอกะทู้ พระยารัษฎาฯ ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ(ร.๖) เสด็จเปิดถนนวิชิตสงครามและเสด็จฯไปน้ำตกกะทู้เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๔๕๒ รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯไปป่าตองเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๐๒ เป็นเหตุให้เกิดราชปาทานุสรณ์ ดูภาพในหมวดนี้ |
อัญมณี | |
เพชรดีมณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์ นี่คือนพรัตน์ อันเป็นส่วนหนึ่งของอัญมณี ดูภาพในหมวดนี้ |
ศาลเจ้า | |
ชาวภูเก็จเรียกศาลเจ้าจีนหรือโรงพระว่า อ๊าม เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของวงศตระกูล เมื่อเป็นที่เลื่อมใสของคนทั่วไป ก็กลายเป็นศาสนสถานสาธารณะ แต่มีกรรมการจากวงศ์ตระกูลเป็นกรรมการหลัก ในภูเก็ตมีอ๊ามหลายอ๊าม เช่น อ๊ามกะทู้ อ๊ามจุ้ยตุ่ย อ๊ามบางเหนียว อ๊ามสามกอง อ๊ามท่าเรือ อ๊ามสะปำ อ๊ามหล่อโรง อ๊ามปุดจ้อ อ๊ามเชิงทะเล ดูภาพในหมวดนี้ |
บรรพชีวินสัตว์ | |
ภาคใต้มีแหล่งบรรพชีวินที่มีชื่อเป็นที่รู้จักทั่วไปคือสุสานหอย ๗๕ ล้านปี อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราและหมู่เกาะพีพี ที่จังหวัดกระบี่ เป็นฟอสซิลหอยน้ำจืด อายุประมาณ ๔๕ ล้านปี อีกที่หนึ่ง อาจารย์เบญจรงค์ ทองตัน อดีตอาจารย์วิทยาลัยครูภูเก็ต ได้แจ้งให้ทราบว่าที่หาดอ่าวนางมีหินก้อนโตขนาดรถเก๋ง หล่นจากหน้าผาสูงลงสู่ปากคลองเล็ก ๆ น่าจะมีฟอสซิล ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ได้ตรวจสอบหินด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่ามีร่องรอยสิ่งมีชีวิตอาจเป็นปะการังหรือพืชประเภทสาหร่ายปรากฏอยู่ในหินนั้น คงรอนักชีววิทยาให้ร่วมด้วยช่วยกัน ที่บ้านพรุดินนามีหอยฝาเดียวอยู่ที่ข้างเนินเขาหินปูน ยังไม่ทราบอายุ ภาคอีสานพบไดโนเสาร์ที่ภูเวียง(เวียงเก่า)ประเภทกินเนื้อ นอกนั้นมีที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์สิรินธร ส่วนที่บ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา พบซากไดโนเสาร์ ช้าง เต่า สัตว์อื่น ๆ และไม้เป็นหินจำนวนมาก ได้สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ดูภาพในหมวดนี้ |
เกาะบริวารภูเก็ต | |
เกาะภูเก็ตเป็นเกาะใหญ่สุดของไทย มีเกาะบริวารรอบเกาะภูเก็ต ๓๖ เกาะ เช่น เกาะเฮ เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย เกาะแรด เกาะรัง(พรั่ง)ใหญ่ เกาะรังน้อย เกาะดอกไม้ เกาะ(มะ)พร้าว เกาะสิเหร่ เกาะไม้ท่อน เกาะโหลน เกาะทะนาน๑-๒ เกาะบอน เกาะแก้วน้อย เกาะแก้วใหญ่ เกาะรายา(ราชา)ใหญ่ เกาะรายาน้อย(นุ้ย) เกาะปู เกาะตายมดึง เกาะทะ ดูภาพในหมวดนี้ |
แหลมในภูเก็ต | |
เกาะภูเก็ตมีแหลมที่มีชื่อเสียงคือแหลมพรหมเทพ แหลมกา แหลมสิงห์ (อยู่ระหว่างหาดสุรินทร์กับหาดกมลา) ทุกสองข้างอ่าวในภูเก็ตจะเป็นแหลม ทุกสองข้างอ่าวบนเกาะบริวารจะเป็นแหลม ภูเก็ตจึงมีแหลมจำนวนมาก เช่น แหลมพันวา แหลมตุ๊กแก แหลมตายมดิง แหลมเพชร แหลมหลา แหลมหิน ดูภาพในหมวดนี้ |
หาดในภูเก็ต | |
หาดมีทรายหลายขนาด มีสีขาวสีน้ำตาล(แต่ภูเก็ตไม่มีหาดทรายสีดำเหมือนตรัง) ๕ หาดมีซิลิกอนสูง คือ หาดทรายแก้ว หาดในทอน หาดอู่ตะเภา หาดกะรนน้อยและหาดกะรน(สมญานามคือหาดร้องเพลง) หาดทรายเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว SAND sea sun หลายหาดมีแร่ดีบุกและเพื่อนแร่ เช่น หาดกะรน หาดเลพัง หาดบางเทา หาดสุรินทร์ ดูภาพในหมวดนี้ |
หลักฐานจีนในภูเก็ต | |
หลักฐานใด ๆ ที่เป็นภาษาจีน บ่งบอกถึงความเป็นจีน ในจังหวัดภูเก็ต ดูภาพในหมวดนี้ |
โบราณวัตถุ | |
วัตถุมีค่าต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน ดูภาพในหมวดนี้ |
ทรัพย์สินมีค่า | |
ของมีค่าในแผ่นดินภูเก็ต ดูภาพในหมวดนี้ |
สะพานรักสารสิน | |
ความรักของหนุ่มรถโปท้องกับสาวแม่พิมพ์ เรื่องจริงที่จะกลายเป็นตำนาน ให้เล่าขานถึงรักไม่สมหวัง จนสะเทือนใจมาตราบกาลบัดนี้ ดูภาพในหมวดนี้ |
สะพานสารสิน | |
พจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการได้ลงนามสร้างสะพานสารสิน เชื่อมแผ่นดินใหญ่ปากใต้กับเกาะภูเก็ตที่ช่องปากพระ แรกเริ่มสร้างทางฝั่งท่านุ่น ถัดมาบริษัทญี่ปุ่นถมหินจากฝั่งท่าฉัตรไชย เมื่อถมหินไม่สำเร็จ จึงได้สร้างเป็นสะพานคอนกรีต ความยาว ๖๖๐ เมตร ดูภาพในหมวดนี้ |
สะพานท้าวเทพกระษัตรี | |
กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จเป็นแกนนำดำเนินการเสนอให้รัฐเรียกชื่อสะพานที่สร้างคู่ขนานกับสะพานสารสินว่า เทพกระษัตรี ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่นเพื่อเป็นเกียรติแด่วีรสตรี เพราะท่านผู้หญิงจันตีฝ่าวงล้อมพม่าจากค่ายปากพระกลับเมืองถลาง รวบพลต้านต่อตีทัพญี่หวุ่นแตกพ่ายไปเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘ ดูภาพในหมวดนี้ |
รถโปท้อง | |
ชาวภูเก็จใช้และอาศัยรถโปท้อง(รถสองแถว) เป็นยานพาหนะมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก่อนหน้านั้นเรียกว่ามอเตอร์ก้า การสตาร์ทใช้เหล็กต่อกับเครื่องสตาร์ทด้านหน้ารถ หมุนหลายรอบเพื่อจุดสตาร์ท พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้) แสดงรถโปถ้องไว้ที่ห้อง"โปท้องหง่อก่ากี่" ใน Story Board "เปิดลับแลม่านฟ้าเกาะพญามังกร" ดูภาพในหมวดนี้ |
ชาวในทูดูงิ้ว | |
ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกะทู้และวินัย เรืองจารุวัฒนา ผู้จัดการบริษัทซันไชน์ นำคณะชาวอ๊ามในทูเต๊าบูเก๊งเชื่อมสัมพันธ์ชาวอ๊ามสิงคโปร์ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐ ดูภาพในหมวดนี้ |
พระจีนประติมากรรม | |
ดูภาพในหมวดนี้ |
สิ่งมีชีวิตในกรัง | |
ปะการัง กัลปังหา กุ้ง หอย ปู ปลา กั้ง สาหร่าย ฟองน้ำ ดูภาพในหมวดนี้ |
ภูเขาไฟ | |
ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐาน (โดยทั่วไป คือ ภูเขา) ที่หินหนืด (หินภายในโลกที่ถูกหลอมเหลวด้วยความดันและอุณหภูมิสูง) ปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ แม้ว่าเราจะสามารถพบภูเขาไฟได้หลายแห่งบนดาวเคราะห์หินและดาวบริวารในระบบสุริยะ แต่บนโลก ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก กับเนื้อโลกชั้นนอก ในประเทศไทยมีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วที่จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดลำปาง มีหินภูเขาไฟที่สลายตัวจากลาวาไปเป็นหินตะกอน ที่อำเภอบ่อพลอยจังหวัดกาญจนบุรีเป็นหินบะซอลต์ปนนิล ดูภาพในหมวดนี้ |
เสวนา | |
องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดเสวนาแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์ถลาง ณ ห้องจามจุรี โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดูภาพในหมวดนี้ |
สภา ทต.ทม.กะทู้ | |
สภาเทศบาลตำบลหรือเทศบาลเมือง เป็นตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรท้องถิ่นมีหน้าที่ตรากฎระเบียบให้เป็นตามธรรมาภิบาลอันยังความสุขให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่นั้น มีประธานสภาเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ดูภาพในหมวดนี้ |
ผู้บริหาร ทม.กะทู้ | |
เทศบาลกะทู้จะก้าวไปเป็นเทศบาลเมืองกะทู้ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๑ ความเจริญก้าวหน้าขององค์ขึ้นอยู่กับบุคลากรหลายส่วน นายกเทศมนตรีเป็นประธานฝ่ายบริหารและผู้อำนวยการกองมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้ ทม.มีศักยภาพเต็มหน้าที่ ดูภาพในหมวดนี้ |
ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล | |
"หักดิบของเสพไม่พึงประสงค์ได้ด้วยลูกสาว" เป็นจิตของผู้มีพลังเท่านั้น ไม่ก้าวไปแต่ตัว แต่ช่วยให้ฅนอื่นในหน้าที่ก้าวพัฒนาไปด้วยอย่างเต็มศักยภาพ มุ่งมั่นที่จะตอบแทนคุณบรรพบุรุษผู้สร้างบ้านแปงเมืองในทูอันเป็นรากเหง้าแท้ของกะทู้สู่ภูเก็จให้สำแดงประจักษ์ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) พ.ศ.๒๕๔๙ พมร.จึงมีจึงก้าวด้วยแรงผลักของประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกะทู้ ดูภาพในหมวดนี้ |
สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ | |
ประสบการณ์การสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ก็ดี กุฏิจำลองพ่อท่านสมเด็จเจ้าแช่มก็ดี พิพิธภัณฑ์ไทยจีนภูเก็ตไทยหัวก็ดี อนุสรณ์สถานถลางชนะศึกก็ตาม เป็นพลังขับเคลื่อนให้สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มาวาดฝันให้เป็นจริงในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.)กะทู้ แหล่งเรียนรู้บูรณาการทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ กระทรวงวัฒนธรรมมอบโล่วัฒนธรรมให้ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓ ดูภาพในหมวดนี้ |
ศิษย์สมหมายช่วยวัฒน์ | |
ลูกศิษย์ของ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา ทั้งศิษยานุศิษย์โดยตรงและครูพักลักจำ ได้เป็นโซ่เฟืองทองขับเคลื่อนสาธารณะประโยชน์แผ่แพร่ทั่วแผ่นพื้นปฐพี ดูภาพในหมวดนี้ |
ชีวิตฅนพัฒน์ | |
ปฏิสนธิชีวิตมนุษย์เริ่มแรกเมื่อ ๔,๓๐๐ ล้านปี(โลกมีอายุล่วงแล้ว ๔,๕๖๐ ล้านปี) ชีวิตแรกอันเป็นบรรพชนมนุษยชาติพัฒนาเพิ่มเซล ต่อสู้กับภัยรอบข้าง เป็นสัตว์คล้ายปลาในทะเลก็ตกเป็นเหยื่อปลาใหญ่ หนีภัยไปน้ำจืด ขาดออกซิเจนจึงต้องพัฒนาให้มีปอด น้ำจืดแห้งเหือดหายจึงได้สร้างตีนขึ้นคลานสี่ขาชายฝั่ง หนีไดโนเสาร์เข้าอยู่รูโพรง ภัยไฟบรรลัยกัลป์ไหม้ผิวโลก ไดโนเสาร์รับเคราะห์ไปหมดโลก เอ้า ต้องผจญภัยกับนกยักษ์อีก จำต้องหนีเข้าป่า โอย... กว่าเป็น ฅน นี่แหละมนุษย์ :สารคดีวิทยาศาสตร์ของ HONDA ดูภาพในหมวดนี้ |
พืชพันธุ์ไม้ | |
จุลชีพพัฒนาขนาดใหญ่ขึ้น จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พัฒนาต่อเนื่องจนจำแนกออกจากสัตว์ ในวิกิพีเดียให้ อาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ ลักษณะพิเศษที่ต่างไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นก็คือการสังเคราะห์แสง แต่มีพืชจำพวกปรสิตประมาณ 300 สปีชี่ส์ที่ไม่สังเคราะห์แสงเอง แต่เกาะดูดอาหารจากพืชชนิดอื่น ดูภาพในหมวดนี้ |
อาณาจักรสัตว์ | |
วิกิพีเดียให้สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด จัดอยู่ใน อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ พยาธิใบไม้ กบ ลิง กระต่าย ดาวทะเล แมงดาทะเล พลานาเรีย หอยสองฝา แมลงสาบ ในทางชีววิทยา มนุษย์ ก็จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ โดยคำว่าสัตว์ กลายความหมายมาจากคำว่า "สตฺตฺว" ในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่าสิ่งมีชีวิต[1]ประเภทของสัตว์ สัตว์ในโลกนี้มีมากมายหลายชนิด นักวิทยาศาสตร์ได้จัดแบ่งสัตว์เป็นกลุ่ม โดยถือรูปร่างลักษณะที่เหมือนกัน หรือต่างกันเป็นสำคัญ อริสโตเติล นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ใช้กระดูกสันหลังเป็นเกณฑ์ในการแบ่งสัตว์ได้เป็น 2 พวก คือสัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังดูภาพในหมวดนี้ |
สมุนไพร | |
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ให้สมุนไพรคือ พืช ผัก ผลไม้ ที่มีสรรพคุณทางยา เพื่อรักษาโรค โดยพืชสมุนไพรสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล นำไปรับประทาน หรือ แปรรูปเป็นยาได้ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) มีตัวอย่างสมุนไพรใน "เป๊ะอ๊านต๋อง" ตรงข้ามร้านของชำ "ตันขวด"ดูภาพในหมวดนี้ |
แร่เหล็กเขาเหล็ก | |
แร่เหล็กที่เขาเหล็ก อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช; อาจารย์อรุณรัตน์ สรรเพ็ชรและจิรชัย อนุสัตย์ ได้เลือกแร่เหล็กนำมาแสดงที่พิพิภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้)ในห้องกำเนิดแร่ : ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ถ่ายภาพเมื่อ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๑ ดูภาพในหมวดนี้ |
หินอ่อนสีชมพู | |
พมร.กะทู้ได้รับหินอ่อนสีชมพูจากบริษัทยะลา ด้วยความอนุเคราะห์ประสานงานของผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคยะลา นายสวัสดิ์ บริษัท ได้มอบหมายให้ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ อาจารย์อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร และจิรชัย อนุสัตย์ ไปรับหินอ่อนสีชมพูที่จังหวัดยะลาเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๑ ดูภาพในหมวดนี้ |
ขอรับเงินหมื่นด้วยครับ | |
กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ได้สร้างคำถามประวัติศาสตร์ถลางภูเก็จภูเก็ต เพื่อให้ผู้สนใจประลองภูมิ หากท่านตอบ EQ0015 ได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร จะมอบรางวัลให้ท่านในวันถลางชนะศึก ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ลองแลหน่อยต้ะ ดูภาพในหมวดนี้ |
ปลาศิลาประติมากรรม | |
กิตติ สินอุดม ชาวเพชรบุรี เคยเป็นผู้จัดการแพปลาสินอุดมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้แกะสลักหินอ่อนเป็นรูปปลา สรรค์สร้างปลาศิลาประติมากรรมมากกว่าพันตัว จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ปลาหิน(Rock Fish Museum) ไว้ที่บ้านวังหิน อ.ดอนสัก จ.สุราษฏร์ธานี ได้มอบประติมากรรมปลา(กะรัง=เก๋า)หินอ่อนบ้านน้ำฉา ไว้ในห้องกำเนิดชีวิต พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๑ดูภาพในหมวดนี้ |
สมหมายเสนองาน พมร. | |
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ รับคำเชิญ ทต.กะทู้ ให้เสนอแนวคิดการบริหารงานและการจัดนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ เสนอคณะกรรมการบริหารระดับสูงของ ทต.กะทู้ เมื่อช่วงเทศกาลกินผัก ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ ณ ห้องนายกเทศมนตรี ทต.กะทู้ดูภาพในหมวดนี้ |
สมหมายรับฟังงาน พมร. | |
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ รับคำเชิญจาก ทต.กะทู้ เข้าร่วมดำเนินการในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ ให้ดูแบบแปลน พมร.กะทู้ เมื่อ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ณ ห้องนายกเทศมนตรี ทต.กะทู้ และพาไปสถานที่ก่อสร้าง ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ขอเชิญนายกฯ และคณะผู้บริหารไปชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ในวันเดียวกันดูภาพในหมวดนี้ |
สมหมายรับเชิญจากSEA | |
นายกานตพันธุ์ พิศาลสุขสกุล ผู้จัดการโครงการจัดแสดงนิทรรศการภายใน พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ของ Southeast Asia Management Co.Ltd.(SEA) บริษัทเซาท์อีสท์ เอเชีย แมเนจเม้นท์ จำกัด เข้าปรึกษาการบริหารโครงการการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) กับ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เมื่อเช้าวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๐ และส่งฅนเข้ารับทำฐานข้อมูลใน www.kathutin.com ในช่วงบ่ายดูภาพในหมวดนี้ |
ประสิทธิ ชิณการณ์ | |
ประสิทธิ ชิณการณ์ ชาวตำบลฉลอง อ.เมืองภูเก็ต ศิษย์เก่าภูเก็ตวิทยาลัย เลขานุการของขุนเลิศโภคารักษ์ ที่บริษัทโฮ่ยเซี้ยง ผู้ประพันธ์เพลง"ยอดนารีศรีถลาง" นักเขียนในหนังสือพิมพ์ปักษ์ใต้ ถวายข้อมูลภูเก็ตเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จฯภูเก็ต พ.ศ.๒๕๐๒ มัคคุเทศก์ถวายแด่พระราชอาคันตุกะ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขามนุษยศาสตร์ บัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศศ.บ.(วัฒนธรรมศึกษา) ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คนดีศรีภูเก็จของ อบจ.ภูเก็ต สมญานาม"ขุมทรัพย์วัฒนธรรมเมืองภูเก็จ"ดูภาพในหมวดนี้ |
แหล่งลูกปัด | |
ภาคใต้มีแหล่งลูกปัดอยู่ที่ควนลูกปัด จ.กระบี่, อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี, ภูเขาทอง จ.ระนอง, เหมืองทอง เกาะคอเขา จ.พังงา. ลูกปัดสีเดียว ลูกปัด ๒ สี ลูกปัดหลากสี; ลูกปัดหน้าอินเดียนแดง; พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาลูกไว้จำนวนมากมีใน พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา จ.สงขลา, พิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อม จ.กระบี่, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ดูภาพในหมวดนี้ |
สำรวจบางปัน | |
บางปันเกิดจากควนปันในเทือกเขาพันธุรัตน์ในเขตอำเภอกะทู้ ไหลไปรวมกับบางอื่นใจกลางพื้นที่กะทู้เกิดเป็น(คลอง)บางใหญ่ไหลไปสามกอง โรงเรียนสตรีภูเก็ต ผ่านทุ่งคาไปออกปาก(คลอง)บางใหญ่ อ่าวภูเก็ต คณะสำรวจมีอาจารย์ฤดี ภูมิภูถาวร อาจารย์เอมอร นาคหลง อาจารย์อรุณรัตน์ สรรเพ็ชร ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ และนักเรียนโรงเรียนสตรีภูเก็ต เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดูภาพในหมวดนี้ |
รถสามล้อถีบ | |
เมื่อหล่างเชี้ยหรือรถลากหายไป ภูเก็ตก็มีรถสามล้อถีบชนิดพ่วงข้าง ถึงปี พ.ศ.๒๕๕๐ มีไม่ถึง ๒๐ คัน มีไว้รับส่งคนครัวไปซื้อกับข้าวและบรรทุกวัตถุดิบไปทำอาหารเป็นส่วนใหญ่ บริษัทการท่องเที่ยวพยายามจะจัดให้มีสามล้อ ได้ออกแบบให้ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบที่นั่งผู้โดยสารเพื่อความแข็งแรง แต่รถก็หนักมาก การจัดการยังไม่ได้มาตรฐาน ดูภาพในหมวดนี้ |
ภาพเก่าฉากร้านถ่ายรูป | |
ภูเก็ตมีร้านถ่ายรูปจำนวนหลายร้าน เช่น นายสว่าง(Nai Sawang) มาสเตอร์ สุภาพ เลี่ยงอิ้ว ฉายาลักษณ์ เจริญศิลป์ และมีช่างภาพแป๊ะเสงจ๋าน(นายแสงจันทร์)ที่ฝากภาพไว้เป็นมรดกภูเก็จ ภาพเหล่านั้นเป็นลิขสิทธิของนายสมชาย บำรุงวงศ์ ทายาทหงวนซุนต๋อง ดูภาพในหมวดนี้ |
หัวหน้าส่วนงานราช | |
ข้าราชการชั้นผู้บริหาร ท่านเจ้าคุณเทศาภิบาล ท่านเจ้าเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวส่วนราชการ ข้าราชการสำคัญ ดูภาพในหมวดนี้ |
สวนเด็กสนุกน้ำ | |
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เสนอให้มีสวนเด็กสนุกน้ำ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถเข้าร่วมเล่นได้ ให้เด็กเล่นตามลำพังก็ได้ ให้ปลอดภัยทุกเมื่อ กิจกรรมเช่น พ่นน้ำเป็นรุ้ง เป่าลูกโป่งฟองสบู่ ทดลองการใช้พลังน้ำ กาลักน้ำ ดนตรีพลังน้ำ น้ำพุ ท่อน้ำเทน้ำ กระดานลื่น ขอนไม้ลอยน้ำ เดินบนลูกทรงกลมที่ลอยในน้ำ จึงมีภาพตัวอย่างไว้ในนี้ ดูภาพในหมวดนี้ |
แทนทาลั่มประท้วง | |
พ.ศ.๒๕๒๙ ชาวภูเก็ตประท้วงการตั้งโรงงานแทนทาลั่มที่บ้านลักกงษี ตำบลรัษฎา อ.เมืองภูเก็ต บริเวณติดกับมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต รัฐบาลอ้างว่ามีป่าไม้กันโรงงานกับชุมชนไว้แล้ว โรงงานไม่มีพิษภัย ชาวภูเก็ตจึงไปรอรับฟัง รมต.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ศาลาประชาคม แต่ รมต.ไม่ไป ชาวภูเก็ตบางคนจึงเผารถหน้าโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน ขอให้ รมต.ออกพบประชาชน เมื่อไร้ผล การประท้วงก็ลุกลามออกไปถึงขั้นเผาโรงงานแทนทาลั่ม รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน ดูภาพในหมวดนี้ |
กำเนิดโลก | |
ก่อน ๔,๕๖๐ ล้านปี โลกเป็นกลุ่มก๊าซหมุนรอบดวงอาทิตย์ เย็นตัวลงบ้างแล้วก็ถูกอุกกาบาต(หรือดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล)ขนาดเดียวกับโลก ชนถึง ๙ ครั้ง แรงปะทะของแต่ละครั้งทำให้โลกกลายเป็นดวงไฟ การชนครั้งสุดท้ายมีกลุ่มก๊าซกระจัดกระจายหมุนวนรอบโลก เมื่อเย็นตัวลงก็ถูกอุกกาบาตชนทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกลายเป็นดวงจันทร์ในวงโคจรของโลก โลกมีขนาดใหญ่พอเหมาะที่มีแรงดึงดูดให้น้ำอยู่ผิวโลกกลายเป็นมหาสมุทร ส่วนที่เป็นผิวพื้นแข็งก็กลายเป็นทวีป ภายในโลกร้อน ทำให้หินหนืดเคลื่อนตัวเกิดแผ่นดินไหวภูเขาไฟระเบิด กลายเป็นหิน(มีแร่ตั้งแต่ ๑ ชนิดรวมอยู่เป็นก้อน)แกรนิต หินภูเขาไฟเช่นบะซอลล์ แปรไปเป็นหินตะกอน(เช่นหินปูน)และ/หรือหินแปร(เช่นหินอ่อน) HONDA เสนอ ดูภาพในหมวดนี้ |
MiraclePlanet | |
วิวัฒนาการโลกและชีวิต กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย ได้จัดงานเปิดตัวรายการ "Miracle Planet : เปิดบันทึกโลกมหัศจรรย์...กับฮอนด้า" สารคดีวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลกและสิ่งมีชีวิต จัดรอบปฐมฤกษ์ฉายรายการเป็นครั้งแรกในไทย พร้อมเปิดตัวพิธีกรดำเนินรายการ - นิรุตติ์ ศิริจรรยา ผู้ที่จะนำทางทุกคนไปสู่โลกแห่งอดีตกาล นอกจากนี้ยังมีการเสวนาพูดคุยกับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล และ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ในหัวข้อ"ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษยชาติ" อาทิ เรื่องอุกกาบาตหรือดาวหางพุ่งชนโลก ภูเขาไฟประทุและเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ เป็นต้น โดยมีคุณอดิศักดิ์ โรหิตะศุนรองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด และคุณมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นเกียรติในงาน ดูภาพในหมวดนี้ |
รอยเท้าไดโนเสาร์ | |
เด็กหญิง ๒ คน พบรอยเท้าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ชนิดกินเนื้อ ลำตัวเจ้าของรอยเท้ายาว ๗-๘ เมตร อายุ ๑๔๐ ล้านปี พบที่ภูแฝก จังหวัดกาฬสินธ์ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงได้จำลองรอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝกมอบให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้)จัดแสดงไว้ที่ห้องไดโนเสาร์ ดูภาพในหมวดนี้ |
มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย | |
มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย(ARF) มีความมุ่งมั่นที่จะแบ่งปันทรัพยากรและเสริมสร้างศักยภาพสู่ความเข้มแข็งของเอเชีย Sharing Resources and Building Capacity Towards an Empowered Asia สำนักงานที่ 1562/113 หมู่บ้านพิบูลย์ ซอย ๑/๑ ถนนประชาราษฎร์ แขวงและเขตบางซื่อ กทม.๑๐๘๐๐; สาขาระนอง อยู่ที่ ๕๐/๒ หมู่ ๑ ต.กะเปอร์ ถนนเพชรเกษม อ.เมืองระนอง ๘๕๑๒๐ โทรศัพท์และโทรสาร ๐๗๗/๘๔๓๑๑๐; สาขาปัตตานี อยู่ที่อำเภอเมืองปัตตานี; สาขาภูเก็ต อยู่ที่ ๒๔/๒๐ ซอยอุดมสุข หมู่ ๑ ตำบลวิชิต ถนนศักดิเดชน์ อ.เมืองภูเก็ต ๘๓๐๐๐ โทรศัพท์และโทรสาร ๐๗๖-๓๙๓๐๔๖ กิขกรรมเช่น การเลี้ยงแพะและโคของผู้ด้อยโอกาส การเฝ้าระวังภัย เตรียมพร้อมต้านภัยพิบัติธรรมชาติ อบรมการใช้ GPS ดูภาพในหมวดนี้ |
กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมภาคใต้ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมทางภาคใต้ ยอมรับกันว่ามี ๔ กลุ่ม คือ กาฮาซี(สูญพันธุ์) เซมัง(สูญพันธุ์) ซาไก(SENOI อาศัยที่จังหวัดยะลา นาทวีสงขลา และจังหวัดสตูล) และซียิปซี(SEA GYPSY) ซียิปซีมี ๒ เผ่า คือ มอแกน(มาซิง, สิง) และอูรักลาโว้ย(อูรังลาโอด) สถานที่อูรักลาโว้ยอาศัยถึงปี พ.ศ.๒๕๕๑ คือ จังหวัดสตูลที่เกาะหลีเป๊ะ, จังหวัดกระบี่ที่เกาะลันตา(สังกาอู้และศาลาด่าน) เกาะจำ เกาะพีพี(แหลมตง) จังหวัดภูเก็ตที่บ้านสะปำ แหลมตุ๊กแกเกาะสิเหร่ บ้านราไวย์ จังหวัดที่อาศัยของมอแกนคือจังหวัดพังงา และเกาะหลาว จังหวัดระนอง ดูภาพในหมวดนี้ |
มอแกนเกาะเหลาระนอง | |
กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมทางภาคใต้ มี ๔ กลุ่ม คือ กาฮาซี เซมัง ซาไก(SENOI) และซียิปซี(SEA GYPSY) ซียิปซีเผ่ามอแกน(มาซิง, สิง) อาศัยที่บ้านแหลมหลาภูเก็ต จังหวัดพังงาในอำเภอท้ายเหมือง ตะกั่วป่า และคุระบุรี และเกาะหลาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ใช้ภาษามาซิงเฉพาะกลุ่มตน เช่น กะบาง=เรือ ยำจ๊อน=กินข้าว (ซียิปซีเผ่าอูรักลาโว้ยเรียกเรือว่าปะราฮู กินข้าว=มากันนาซิ) ดูภาพในหมวดนี้ |
เทพทาโรไม้หอม จวง | |
ชาวภูเก็จเรียกไม้เทพทาโรว่า จวง เป็นไม้หอมใช้เผาให้ควันหอมในเทศกาลกินผัก ประติมากร(เช่นนายเฉ่ง เลิศกิจสมบูรณ์)แกะสลักรูปเทพเจ้าจีน(เช่นเทพกวนอู, เจ้าแม่กวนอิม(ปุดจ้อ), เลาเอี๋ยเจ้าอ๊าม, หลี้โลเชี้ย, บกเชี้ย, เจงอ๋อง) และรูปเหมือนพ่อท่านสมเด็จเจ้า(พ่อท่านแช่ม) ด้วยไม้เทพทาโร ในปี พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๐ ช่วงปลายในการสร้างจตุคามรามเทพ หลายองค์กรได้ใชไม้จวงเป็นมวลสารมงคล ต้นเทพทาโรในภูเก็ตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่วัดอนุภาษกฤษฎาราม(วัดเก็ตโฮ่) อำเภอกะทู้ เทศบาลตำบลกะทู้ให้ไม้เทพทาโรเป็นไม้ประจำตำบลกะทู้ ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ปลูกไว้ใกล้หน้าผาปล่องภูเขาไฟ ดูภาพในหมวดนี้ |
ราชินีเหมือง กล้วยไม้ดินเหมือง | |
กล้วยไม้บนดินเหมืองแร่เป็นกอ ประกอบด้วยต้นขนาดนิ้วก้อยมากกว่า ๑๐ ต้น สูงราว ๒ เมตร กลีบดอกด้านนอกเป็นสีขาว กลีบในใกล้เกสรเป็นสีม่วง มีดอกตลอดปี พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ (พมร.กะทู้) ให้สมญากล้วยไม้ดินเหมืองแร่ว่า ราชินีเหมือง ดูภาพในหมวดนี้ |
พืชพันธุ์ไม้ใน พมร.กะทู้ | |
บริเวณรอบอังมอเหลานายหัวเหมืองมีพื้นที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่เคยทำเหมืองแร่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ บนเนินหน้าผาขาวกิจไพศาลมีพืชที่มีหนาม เช่นขี้แรด หนามทัน เตย แต้ว ส้าน หน้าผารางเหมืองมีเฟิร์นสามร้อยยอด(ตีนตุ๊กแก) หม้อข้าวหม้อแกงลิง ผักหวานป่า กล้วยไม้ดินราชินีเหมือง เนินควนเขามีไม้ขนาดใหญ่เป็นป่าเขตร้อนชื้น มีไม้ตีนเป็ด กล้วยเถื่อน มราย นน ดูภาพในหมวดนี้ |
ทายาทปิ่นพุทธศิลป์ | |
ทายาท "ปิ่นพุทธศิลป์" มีส่วนร่วมด้วยช่วยคิดสร้าง ให้งานของ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ดำเนินการไปได้ จึงต้องกล่าวถึงบุตรทั้ง ๓ คน คือนายสุพรหมินทร์(เอ๋), นายจักรพัณน์(ป่อง) และ(นาง)นันทพร(หญิง) พุทธเสน บุตรแต่ละคนมีทายาทสืบต่อก็เป็นหลานไว้ช่วยงานสังคมแห่งสติปัญญาต่อไป ดูภาพในหมวดนี้ |
กุ้ง เป็นสัตว์ | |
กุ้ง เป็นสัตว์น้ำ ส่วนหัวมีกรีเป็นอาวุธป้องกันตัว ตามีกระบอกตาโผล่พ้นหัวได้ ดูภาพในหมวดนี้ |
หอย | |
หอยเป็นสัตว์ทั้งในน้ำ(เค็มและจืด)และบนบก มี ๒ ฝา และฝาเดียว หอยฝาเดียวจะมีทับตรงส่วนปาก ก้นหอยหมุนวนขวา เชื่อว่าเป็นมงคล(ทักษิณาวัฏ) แต่มีบางตัวหมุนวนซ้าย(เชื่อว่า)เป็นอวมงคลก็จริง แต่ราคาแพงมาก เพราะเป็นหอยผิดปรกติ ดูภาพในหมวดนี้ |
ฮาลาลฟู้ดฮิลาลทาวน์ | |
อบจ.ภูเก็ต จัดงานฮาลาลฟู้ด ฮิลาลทาวน์ ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ที่ตำบลกมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ปี พ.ศ.๒๕๔๙ จัดที่อนุสรณ์ถลางชนะศึก ช่างออกแบบใช้ผ้าบาติกเป็นฉากได้อย่างอลังการ ดูภาพในหมวดนี้ |
Archive 12GO Phuket | |
ARCHIVE FROM 1 2 GO AIRLINE went to PHUKET in 2007 at International Airport ดูภาพในหมวดนี้ |
ไฟ FIRE | |
ไฟเกิดขึ้นพร้อมโลก เมื่อ ๔,๕๖๐ ล้านปีที่แล้ว (4,560 Million Years Ago= 4,560 Mya.) ปฐมจุลชีพเกิดขึ้นเมื่อ ๔,๓๐๐ Mya. ฅนผู้เป็นบรรพชนมนุษย์ก็พัฒนามาตั้งแต่นั้น พัฒนาไปเป็นปลา ปลามีปอด ปลามีมือมีขา คลานขึ้นบก พัฒนาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, เป็นลูซี่, Homo Habilis รู้จักใช้เครื่องมือหิน, H. Erectus เมื่อ ๒ Mya. และรู้จักนำไฟมาใช้เมื่อ ๗๙๐,๐๐๐ ปีที่แล้ว(0.79 Mya.) กว่า H. Sapient จะรู้จักหลอมดีบุกและทองแดงเป็นสัมฤทธิ์เมื่อ ๕,๐๐๐ ปีที่แล้ว ดูภาพในหมวดนี้ |
ธงถลางชนะศึก | |
นักศึกษาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ไม่มีพื้นที่ที่แสดงความกตัญญูต่อวีรชนวีรสตรีท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรในวันวางพวงมาลาสักการะท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรในวันถลางชนะศึก ๑๓ มีนาคม ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ จึงเสนอให้นักศึกษาเชิญธงถลางชนะศึกในบริเวณสมรภูมิศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ ให้นักศึกษาปักเสาธงไว้ จะนำธงสีแดง(เสมือนธงชาติสมัยรัชกาลที่ ๒)ไปให้ นักศึกษาใช้ไม้ไผ่เป็นเสาปักไว้ข้างคลองบางใหญ่ในทุ่งนาระหว่างบ้านดอนบ้านเคียนบ้านเหรียง ซึ่งปัจจุบันคืออนุสรณ์สถานถลางชนะศึก และร่วมเชิญธงถลางชนะศึกขึ้นสู่ยอดเสาธงชัยเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๒ ปีถัดไปได้เพิ่มภาพวีรชนไว้กลางธงแดง ดูภาพในหมวดนี้ |
การอุปสมบท | |
ชายพุทธที่มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะเข้าพิธีอุปสมบท(บวช) ถือเป็นมงคลแก่ผู้บวช พ่อแม่ และเครือญาติ รวมไปถึงสาธุชนก็พร้อมที่จะอนุโมทนา ชายไทยที่บวชเรียนแล้วถือว่าเป็นคนสุก เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะเป็นผู้นำครอบครัวได้ มาระยะหลัง ๆ ประเพณีอุปสมบทเป็นเพียงประเพณีที่พึงกระทำ แต่ลดแก่นสารลง คือบวชแล้วไม่ต้องเรียนไม่ต้องศึกษา ลาสิกขาแล้วก็อ้างว่าบวชแล้ว หลายวัดจึงได้รื้อฟื้นให้พิธีอุปสมบทมีความหมายที่เป็นสาระของชีวิต รณรงค์ส่งเสริมให้อุปสมบทตั้งแต่ช่วงเยาววัย เช่นอุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อน; อุปสมบทเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล; อย่างไรก็ตาม การอุปสมบทก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพระพุทธศาสนาได้แนวทางหนึ่ง ดูภาพในหมวดนี้ |
มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร | |
จู่โจมปัจจาสู้จนกว่าสิ้นลมปราณ เพื่อลูกหลานไทยได้มีสิทธิเสรี เด็ดเดี่ยวดังชายไม่ระคายครั่นคร้าม คิดทำสงครามปรามศึกไม่นึกหนี ดูภาพในหมวดนี้ |
อาวุธบนศาลากลาง | |
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ได้คัดเลือกอาวุธที่จะใช้บนอนุสาวรีย์ถลางชนะศึก เคยเห็นบนศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ จึงติดต่อขอถ่ายภาพศาสตราวุธ เลือกง้าว(มีปลายคมหลายรูปแบบ) ใช้เป็นง้าวของพญาถลางทองพูนและใช้เป็นด้ามธงชาติไทยสีแดง สมัยรัชกาลที่ ๑ คราศึกถลาง ๒๓๒๘ ให้พญาถลางทองพูน ณ ถลาง และพญาถลาง(ภูเก็จ)เทียน ประทีป ณ ถลาง ร่วมกันชูด้ามธงแสดงชัยชนะ ดูภาพในหมวดนี้ |
ระบบสุริยะ | |
จักรวาล มีหลุมดำ แกแล็กซี่ สุริยจักรวาลในดาราจักรทางช้างเผือกมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ ๘ ดวงหมุนรอบดวงอาทิตย์ จากใกล้ดวงอาทิตย์แล้วไกลออกไปตามลำดับ คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เดิมมีอีกดวง คือ ดาวพลูโต ปัจจุบันนี้ (พ.ศ.๒๕๕๑) ให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ในระบบสุริยะมีสะเก็ดดาว ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ดาวหาง ดูภาพในหมวดนี้ |
เทพเจ้าในระบบสุริยะ | |
ฅนเชื่อว่าสถานที่ที่ฅนหรือมนุษย์เดินทางไปไม่ถึงเป็นสถานที่ที่มีความสุขสัมบูรณ์ จึงกำหนดเป็นถิ่นที่สถิตของเทพเจ้า เทวดา เทวา เทวะ เทพ เทพี พระ เจ้า พระเจ้า GOD พระผู้เป็นเจ้า ส่วนสถานที่สถิตก็เป็นสถานที่อุดมด้วยสุข คือสวรรค์ ฟ้า กิ่งฟ้า ปราสาท มณเฑียร วิมาน พิมาน; อิทธิพลจากรามายณะ(รามเกียรติ์)ก่อให้มีพระศิวะ(อิศวร)บนยอดเขาไกรลาส เขาพระสุเมรุ; พระพรหมบนเวหาดาราดาว; พระนารายณ์(วิษณุ)ในเกษียรสมุทร และมีพระอาทิตย์(สุริยเทพ-APOLLO เทพแห่งแสงสว่าง) พระพุธ(MERCURYเทพแห่งการสื่อสาร) พระศุกร์(VENUSเทพีแห่งรัก) พระจันทร์(DIANAเทพีแห่งจินตนาการ) พระอังคาร(MARSเทพเจ้าแห่งสงคราม) พระพฤหัสบดี(JUPITERเทพบดีแห่งครู) พระเสาร์(SATURNเทพเจ้าแห่งการเกษตรกรรม) ดูภาพในหมวดนี้ |
เครื่องมือหิน | |
สมองมนุษย์เพิ่มมากขึ้นหลังยุคมนุษย์วานรลูซี่(3.9-2.9 Mya.)ผ่านไป ๑ ล้านปี, มนุษย์โฮโมฮาบิลีสก็อุบัติขึ้น รู้จักใช้หินเป็นเครื่องมือในการดำรงชีพ เมื่อ 2.2-1.6 Mya., โฮโมเออแกสเตอร์(1.9 Mya.) ใช้เขี้ยวสัตว์บ่งบอกความสามารถและเริ่มภาษาพูด,โฮโมอีเรคตัส(2 Mya.) รู้จักใช้ไฟ(0.79 Mya.), มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล(0.35-0.03 Mya.) เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือหินเฉือดเฉือนแต่งเครื่องนุ่งห่มหนังสัตว์ได้ด้วยความประณีต; โฮโมซาเปี้ยน พัฒนามาเป็นเรา ใช้ดีบุกหลอมกับทองแดงเป็นสัมฤทธิ์เมื่อ ๕ พันปีที่แล้ว และหลอมเหล็กได้เมื่อ ๔ พันปีที่แล้ว ดูภาพในหมวดนี้ |
แดนสุขาวดีดิน | |
หมดทุกข์ ที่ไม่ต้องโศกเศร้าโสกาอาลัย ไม่ต้องใส่ใจเมื่อปล่อยทุกข์ ไม่ต้องสนุกเก็บฉลากไว้ชิงโชค ปล่อยไปเถอะ สิ้นสุดแล้วก็มีแต่สบายไร้กังวล จึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งสุขา(ที่ยังไม่มีสร้อยว่า วดี ) ดูภาพในหมวดนี้ |
หอจดหมายเหตุ ถลาง | |
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ได้เสนอแนวคิดสร้างหอจดหมายเหตุในภูเก็ตเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ ให้กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ดำเนินการตั้งแต่สมัยอาจารย์ประสิทธิ ชิณการณ์ เป็นประธานกลุ่มฯ พิมพ์จดหมายเหตุเมืองถลาง เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ดำเนินการด้วยการตั้งคณะกรรมการจัดงานฉลอง ๒๐๐ ปีวีรสตรีเมืองถลาง จัดสัมมนาประวัติศาสตร์ถลางเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ และฉลอง ๒๐๐ ปีฯ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘ เมื่อ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี ผวจ.ภูเก็ตก่อตั้งมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร จึงเป็นเครือข่ายผลักดันให้มีหอจดหมายเหตุในอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก อวยพร สกุลตัน ผอ.กองการศึกษา อบจ.ภูเก็ต อนุญาตให้ใช้หอสมุดเฉลิมพระเกียรติฯ ถลาง เป็นสถานที่ดำเนินการหอจดหมายเหตุ ถลาง เมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ผศ.สมหมาย ออกแบบตราฯ เมื่อเมษายน ๒๕๕๑ดูภาพในหมวดนี้ |
อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก | |
กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จมอบหมายให้อ.สิรินพัณ พันธุเสวี ออกแบบอนุสาวรีย์เป็นรูปหอกเมืองถลางจากหอกบ้านนางชม วุฒิมงคล(ฤกษ์ถลาง)เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรผลักดันให้เกิดอนุสรณ์สถานถลางชนะศึก เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ อบจ.ภูเก็ต สมัย น.พ.ประสิทธิ์ โกยศิริพงศ์ จัดทำแผนแม่บท กลุ่มฯภูเก็จย้ำให้มีอนุสาวรีย์ถลางชนะศึก สนง.โบราณคดีภูเก็ตประมาณทุนสร้าง ๑๗ ล้านตามที่ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เสนอแบบให้มีวีรชนถลางชนะศึก ๒๓๒๘ จำนวน ๙ คนและบริจาค ๙ บาทเป็นฤกษ์ระดมทุน ดูภาพในหมวดนี้ |
BABA PERANAKAN | |
8th. in Singapor 2005 9th. in PHUKET 2006 10th. in Penang 2007 11th. in Malacka ... 2008 ภูเก็ตใช้บาบ๋า ทั้งชายและหญิง, ประเทศเพื่อนบ้านใช้ PERANAKAN เป็นคำรวม แยกชายเป็น Baba และหญิงเป็น Nyonya (เสียงนาสิกทั้งสองพยางค์) ภูเก็ตเอ่ยชื่อว่า ยอหยา ยะหยา หมายถึงชุดการแต่งกายของสตรีที่สวมเสื้อลูกไม้ชายแหลมและนุ่งผ้าปาเต๊ะ ดูภาพในหมวดนี้ |
พมร.กะทู้ประชุม | |
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) จัดการประชุมในหลายระดับ เช่น ผู้บริหารเทศบาลตำบลกะทู้ ประชุมคณะกรรมการตรวจการจ้าง(สร้าง พมร., ออกแบบนิทรรศการ, จัดนิทรรศการ) คณะกรรมการดำเนินการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ พนักงานพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๔๙ ดูภาพในหมวดนี้ |
ลายลักษณ์หมายเหตุ | |
พมร.กะทู้ กำหนดให้มีหอจดหมายเหตุพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ เป็นงานส่วนสำคัญหนึ่งใน พมร.กะทู้ เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้และการวิจัย แบ่งเป็นจดหมายเหตุภาพ(รหัส pic) จดหมายเหตุแผนที่(รหัส map) จดหมายเหตุลายลักษณ์(รหัส ar) ต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่ห้อง "วรรณวิเศษปัญญภูมิ" (Data Archive) ดูภาพในหมวดนี้ |
ขายที่ดิน | |
บริการประกาศขายที่ดิน(อาจมีสิ่งก่อสร้างก็ได้) แสดงภาพบริเวณพื้นที่ หลักฐานการครอบครองของเจ้าของเดิมผู้ประสงค์พึงขาย ติดต่อสื่อสารตามที่ระบุไว้ในข้อความประกอบภาพนั้น ต้องการให้ช่องทางนี้รับบริการจากท่าน โปรดส่งข้อความแนบ File ภาพและหลักฐาน ผ่าน museum@kathutin.com หรือ sommai@usa.com ดูภาพในหมวดนี้ |
ช่วยซื้อให้ พมร.กะทู้ | |
เจ้าของทรัพย์สินประสงค์จะขายให้ผู้ใจบุญในราคามิตรภาพเพื่อมอบให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) แสดงในห้องเปิดลับแลม่านฟ้าพญามังกรทอง โปท้องหง่อก่ากี่ อัญมณีนายหัวเหมือง เรืองดากร สายแร่แห่งชีวิต เนรมิตเล่นแร่แปรธาตุ ฉลาดนาวาชีวิต ลิขิตปรัชญ์สืบสาน บันซ้านบางเหนียว เก่วเกี้ยวในทู หลงผิดเสพ เทพาภรณ์ คฤหปตนินท์ บาบ๋าสินสมรส ฉายาบทนฤมิต ภาพกิจปฐมเหตุ หรือวรรณวิเศษปัญญภูมิ ดูภาพในหมวดนี้ |
แต้มแต่งวาดฝัน | |
อบจ.ภูเก็ต จัดงาน "แต่งแต้มไข่มุกอันดามัน วาดฝันเมืองภูเก็ต" เมื่อ ๘ เมษายน ๒๕๔๘ เชิญ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ๒ สมัย มาเป็นประธานเปิดงาน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลภูเก็ต จิตรกรรมของเหล่าจิตรกรจึงฉายแสงแย้มยิ้มพริ้มเพราพรายส่งประกายมาแต่กาลนั้น ดูภาพในหมวดนี้ |
อังมอเหลา | |
อังมอเหลา คือ ตึกของเศรษฐี จากความหมายและนัยของศัพท์คำยืมจีนฮกเกี้ยน; อัง=สีแดง สีแห่งความเป็นมงคล; มอ=ผม hair; อังมอ=ผมสีแดง หมายถึงฝรั่ง ปอร์ตุเกส เป็นชาติแรกที่เข้าสู่ถลางภูเก็จในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ตามด้วยฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ; เหลา=อาคาร, ตึก, ที่อยู่อาศัย; อังมอเหลา ขนาดใหญ่ เช่นตึกพระอร่ามสาครเขตร ตึกพระพิทักษ์ชินประชา ตึกกุลวดีแซ่ตัน ดูภาพในหมวดนี้ |
มอบสมบัติเข้าคลังเหมือง พมร. | |
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ได้จัดทำทะเบียนวัตถุที่มีผู้นำสมบัติมามอบให้เข้าคลังเหมือง เริ่มทะบียน พมร. OB ๐๐๑ เป็นแท่งโลหะดีบุก น้ำหนัก ๒๗ กก. นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล นายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ มอบเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๐ พมร.จัดแสดงไว้ที่ห้องนิรมิตเล่นแร่แปรธาตุ; สมเกียรติ วงศ์สิทธิสิริเดช มอบเพชรอันดามัน ๔ เม็ด บุตรสาว(ด.ญ.วิไลวรรณ) มอบ ๓ เม็ด เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยมีนายสมคิด ชูสวัสดิ์ รองนายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ รับมอบ ลงทะเบียนไว้ที่ พมร. OB ๖๘๖ - OB ๖๙๒; อาจารย์บุญกอบ อัยรักษ์ มอบเพชรภูเก็จ ๒ เม็ด พมร.แสดงไว้ที่ห้องอัญมณีนายหัวเหมือง ดูภาพในหมวดนี้ |
มอบหนังสือเข้าคลังเหมือง พมร. | |
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ได้จัดทำทะเบียนหนังสือที่มีผู้นำมามอบให้เข้าคลังเหมือง "วรรณวิเศษปัญญภูมิ" เริ่มทะเบียน พมร. BK ๐๐๑ ดูภาพในหมวดนี้ |
มอบจดหมายเหตุเข้าคลัง พมร. | |
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ได้จัดทำทะเบียนจดหมายเหตุที่มีผู้นำมามอบให้เข้าคลัง "วรรณวิเศษปัญญภูมิ" เริ่มทะบียน พมร. AR ๐๐๑ ดูภาพในหมวดนี้ |
มอบภาพเข้าคลังเหมือง พมร. | |
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ได้จัดทำทะเบียนรูปภาพที่มีผู้นำมามอบให้เข้าคลังเหมือง "ภาพกิจปฐมเหตุ" เริ่มทะเบียน พมร. PIC ๐๐๑ ดูภาพในหมวดนี้ |
มอบแผนที่เข้าคลังเหมือง พมร. | |
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(พมร.กะทู้) ได้จัดทำทะเบียนแผนที่ที่มีผู้นำมามอบให้เข้าคลังเหมือง "วัฒน์พรหมเพ็ญ" เริ่มทะบียน พมร. MAP ๐๐๑ แผนที่เหมืองในทู ระเงง ดูภาพในหมวดนี้ |
แผ่นพับประชาสัมพันธ์ | |
กว่าจะเป็นแผ่นพับ ผู้จัดทำต้องคิด ต้องพบปัญหา ต้องแก้ปัญหา แสวงหาข้อมูล คัดสรรค์ข้อมูลทั้งภาพ แผนที่และเนื้อความที่อาจจะมีมากชิ้นหรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ต้องใช้ปัญญาประเมินค่าวินิจฉัย ต้องใช้ผู้จัดทำที่มีศิลปะจึงจะวางรูปแบบให้เร้าใจผู้บริโภคให้พึงใจพึงสนใจ ติดตามและบริโภคแผ่นพับ ดูภาพในหมวดนี้ |
ปู เป็นสัตว์ขาปล้อง | |
ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้อง (อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะแปดขา มีหลายหลายชนิดที่อยู่ทั้งปูน้ำจืด(เช่น ปูราชินี ปูนา)และปูทะเล(เช่นปูมะพร้าว(เป็นปูบกอยู่ชายทะเลมากกว่าในป่าดิบ) ปูม้า ปูดำ ปูเสฉวน) ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่าง โดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้น และแข็งแรง เพื่อเกาะยึดกับหิน เช่น ปูใบ้ก้ามดำ(WIKIPEDIA); ปูในทะเลลึก เช่น ปูจักจั่นหรือปูโบราณ ดูภาพในหมวดนี้ |
เต่า เป็นสัตว์เลือดเย็น | |
เต่า (Turtle) คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ (Order) Chelonia จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น และเป็นสัตว์เลื้อยคลานด้วย ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซี่ยมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางชนิดก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์อัลดาบร้า (Geochelone gigantica) ที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะในทวีปแอฟริกา ในขณะที่เต่าน้ำ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ(WIKIPEDIA) |
เรือสำเภา | |
"ภ สำเภา กางใบ" แล่นเข้าสู่ภูเก็จ เท่าที่มีหลักฐานเป็นภาพที่อ่าวภูเก็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ แต่หลักฐานจากเอกสารลายลักษณ์เป็นสำเภาโปรตุเกส พ.ศ.๒๐๕๔ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ กระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในปี พ.ศ.๒๑๕๐ มีชาวฮอลันดาเข้ามาเป็นชาติที่ ๒ และในปี พ.ศ.๒๒๒๘ มีการซื้อขายแร่ดีบุกอย่างเป็นล่ำเป็นสันในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีชาวฝรั่งเศสมาตั้งห้างรับซื้อแร่ดีบุกเป็นการผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในจังหวัดภูเก็ต ดูภาพในหมวดนี้ |
เรือกอจ๊าน | |
เรือกอจ๊าน คือเรือประมงชายฝั่ง ท้ายเรือเป็นเรือท้ายตัด มีปีกทั้งสองข้างโค้งเชิดขึ้นด้วยความอ่อนช้อย หัวเรือเป็นแกนไม้เชิดสูงขึ้นเล็กน้อย (ถ้าสูงมากเป็นหัวเรือหัวโทง) หลายลำมักทำเป็นดวงตา บางลำทาสีดวงตาให้เห็นเด่นชัด แคมเรือโค้งหวานจากท้ายเรือไปแกนหัวเรือ ปี พ.ศ.๒๕๕๑ มี ๖ ลำ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ซื้อมาเก็บไว้ ๑ ลำ ลำเลียงเข้า พมร.เมื่อ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ ดูภาพในหมวดนี้ |
ลุมพินีสังเวชนียสถาน | |
พระนางสิริมหามายาเสด็จฯ ถึงพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ สวนลุมพินี(อยู่ในประเทศเนปาล)(๑/๔สังเวชนียสถาน) เหนี่ยวกิ่งสาละประสูติเจ้าชายสิทธัตถะในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อน พ.ศ.๘๐ ปี, ช่วง พ.ศ.๒๗๔-๓๑๔ พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างเสาหลักแสดงไว้เป็นเครื่องหมาย, จัสคาราน ซิงห์ นายทหารอินเดียตามล่าสัตว์เข้าเขตเนปาล พบเสาอโศกโดยบังเอิญเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ เป็นการฟื้นฟูพุทธสังเวชนียสถาน ดูภาพในหมวดนี้ |
พุทธคยาสังเวชนียสถาน | |
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จฯออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ศึกษาตามแนวอุปนิษัทของพราหมณ์จากอุทกดาบสและอาฬารดาบส และบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ภูเขาดงคสิริ มีปัญจวัคคีย์ผู้เชื่อในทางตบะช่วยอุปัฏฐากย์ และปัญจวัคคีย์หลีกทางไปป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา และทรงรับหญ้ากุสะจากโสตถิยพราหมณ์ ปูลาดใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เข้าสู่สมาธิตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนวิสาขบูชาวันเพ็ญเดือน ๖ ที่พุทธคยา เมื่อพระชนมายุ ๓๖ พรรษา, เซอร์อะเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม พบหลักฐานเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ดูภาพในหมวดนี้ |
ธรรเมกขสถูปสังเวชนียสถาน | |
พระพุทธเจ้าเสด็จฯ มาโปรดปัญจวัคคีย์เมื่อวันเพ็ญเดือน ๘ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ประกาศพุทธศาสน์"ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร" ได้พระสงฆ์รูปแรกคือพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นวันอาสาฬหบูชา เป็นวันครบองค์สาม "พระรัตนตรัย" พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ มีหลักฐานทางโบราณคดีของพระเจ้าอโศกมหาราช ดูภาพในหมวดนี้ |
กุสินาราสังเวชนียสถาน | |
พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พุทธธรรมเป็นเวลา ๔๕ พรรษา ทรงปลงอายุสังขารที่เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ก่อนดับขันธปรินิพพาน ๓ เดือน เสด็จฯ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ณ ใต้ต้นสาละคู่เป็นรัตนบัลลังก์มหาปรินิพพาน ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระมหากัสสปพระเถระมาเป็นประธานถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธเจดีย์ เป็นพุทธสังเวชนียสถาน ดูภาพในหมวดนี้ |
ถนนในภูเก็ต | |
ชื่อถนนในจังหวัดภูเก็ตในอดีตเป็นชื่อเมือง(บัดนี้เป็นชื่อจังหวัดหรืออำเภอ)หรือสถานที่ที่อยู่ในมณฑลภูเก็จ เช่น พังงา กระบี่ ตรัง ปะเหลียน สตูล ระนอง และชื่อบุคคลเช่นเดียวกับชื่อถนนในเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรีเป็นชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ เช่นจอมร้าง ดอนจอมเฒ่า เพชรคีรี หลายพื้นที่ได้พัฒนาชื่อเพื่อยกย่องบุคคลในประวัติศาสตร์และเพื่อรักษาศัพท์คำเดิมไว้ก็มี เช่นถนนเหมืองท่อสูง ถนนวัดพระทอง ถนนวิชิตสงคราม ถนนเทพกระษัตรี ถนนศักดิเดชน์ ถนนดำรง ถนนนริศร ถนนสุทัศน์ ดูภาพในหมวดนี้ |
นามสถาน | |
ชื่อบ้านนามเมืองเฉพาะที่เป็นชื่อ"บ้าน" ในภูเก็ต ๒๐๐ ชื่อ จำแนกเป็นกลุ่มการตั้งชื่อจากมากไปน้อยตามลำดับได้ดังนี้ ลำดับมากที่สุด คือตั้งชื่อตามสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเด่น เช่นบ้านหัวควน ไสน้ำเย็น ลำดับที่ ๒ คือ ตั้งชื่อโดยอาศัยสภาพธรรมชาติที่มีโดดเด่น เช่น แหลมหิน ในยาง ลำดับที่ ๓ คือ ตั้งชื่อตามกิจกรรมหรือวัฒนธรรมชุมชน เช่นบางเหนียว ลำดับที่ ๔ คือ (ยัง)ไม่ทราบความหมายของชื่อ เช่นกะหลิม แขนน ลำดับที่ ๕ ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่เหตุการณ์และบุคคลสำคัญ เช่น สุรินทร์ บางโจ ลำดับที่ ๖ ตั้งชื่อโดยอาศัยนิทานหรือตำนาน เช่น กะตะ กะรน ลำดับที่ ๗ ตั้งชื่อโดยอาศัยจินตภาพของผู้เรียก เช่น เกาะแก้ว พรหมเทพ และลำดับที่ ๘ ตั้งชื่อเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น กู้กู ดูภาพในหมวดนี้ |
หลักฐานภูเก็จ | |
ภูเก็จมีหลักฐานจากเอกสารชัดเจนในจดหมายของท่านผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี)เขียนที่เมืองถลางบ้านเคียนไปถึงกัปตันฟรานซิส ไลท์ ซึ่งจอดเรือสินค้าอยู่ที่บ้านท่าเรือกล่าวถึง เมืองภูเก็จ คือ พญาเทียน ต้นสกุล ประทีป ณ ถลาง ถึง ๒ ครั้ง แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ทางตอนใต้ของเกาะถลางเป็นเมืองภูเก็จ มีเส้นแบ่งเขตที่บางคูคด คำภูเก็จ แปลว่า ทรัพย์อันมีค่าจำนวนมากขนาดเท่าภูเขา(พระสุเมรุ)หรือมีค่ามากเท่าแผ่นพื้นปฐพี ดูภาพในหมวดนี้ |
หญ้ากุสะและหญ้าคา | |
ในพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าละบำเพ็ญทุกรกิริยาจากภูเขาดงคสิริ เสด็จฯไปประทับอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา หลังเสวยข้าวมธุปายาสที่รับถวายจากนางสุชาดาแล้ว ทรงรับหญ้าคา(ชุดคำแปลเดิม)จากโสตถิยพราหมณ์จำนวน ๘ กำ ปูลาดเป็นอาสนะใต้โพธิบัลลังก์ และตรัสรู้ในวันเพ็ญกลางเดือน ๖ นั้น ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เดินทางถึงพุทธคยาเมื่อวันที่ ๑ - ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ตามหาต้นหญ้าคา แต่ไปเจอต้นกุสะคล้ายหญ้าแฝก เจอหญ้าคาขนาดเล็กที่กรุงกบิลพัสดุ์(ใหม่) และมีหญ้าคารอบบริเวณอาคารสิริมหามายาเทวีที่ลุมพินีวัน ดูภาพในหมวดนี้ |
ฝั่งคงคาพาราณสี | |
ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เดินทางไปเมืองพาราณสีเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ตั้งใจจะสัมผัสบรรยากาศวิญญาณแห่งคงคาท่าน้ำเมืองพาราณสี น้ำคงคาไหลเชี่ยวกราก จึงได้แต่ยืนมองอยู่ริมฝั่งที่ท่าอัศวเมศวร์ ส่วนการเผาศพได้ไปดูที่ท่าเมืองคยา ดูภาพในหมวดนี้ |
เด็กอินเดีย | |
นักจิตวิทยาให้เด็กเป็นเสมือนผ้าขาวบริสุทธิ์ สังคมป้ายสีใดให้ เขาก็จักเป็นสีนั้น ประเทศอินเดียเคลื่อนที่จากโลกตอนใต้ผ่านขึ้นไปชนกับธิเบตหลังคาโลก รอยต่อสูงขึ้นเป็นเทือกเขาหิมาลัย อินเดียตอนเหนืออยู่ในเขตอบอุ่น ผิวสีของฅนน่าจะผิวขาว แต่อินเดียไม่เป็นดั่งนั้น เพียงดวงตาเขา ไร้เดียงสาตามประสาอินเดีย ดูภาพในหมวดนี้ |
ทุกรกิริยา | |
ณ เขาดงคสิริ เมืองคยาอินเดีย พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา(อาการที่กระทำได้ด้วยความยาก)เพื่อให้หลุดพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บและตาย ตามแนวทางตบะในอุปนิษัทของพราหมณ์ ซึ่งเป็นแนวทางที่ปัญวัคคีย์เชื่อ จึงคอยถวายอุปัฏฐากเป็นวัตรปฏิบัติ แต่ทางสายนี้ ไม่สามารถหลุดพ้นได้ดั่งที่คิดเชื่อ พระพุทธองค์จึงทรงเปลี่ยนไปเป็นแนวโยคะ ใช้จิตเป็นแนวทางเข้าสู่การตรัสรู้ที่โพธิคยาฝั่งเนรัญชรา ปราศจากปัญวัคคีย์ในคืนเพ็ญเดือน ๖ ดูภาพในหมวดนี้ |
เกิด | |
ปฏิสนธิฟูมฟักพักตัวอ่อนฅนในครรภ์ถ้วนครบทศมาส จึงเคลื่อนออกจากครรภ์เรียกว่าคลอด เกิด ประสูติ เป็นพัฒนาการของเหล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ครองโลก ดูภาพในหมวดนี้ |
แก่เฒ่าชรามีค่ายิ่ง | |
ฅนแก่ ฅนเฒ่า ฅนชรา หากเป็นผู้มีสติปัญญาก็พ้นจาก เฒ่าลอกอ รักษากายด้วยสุขอนามัยเป็นเหตุให้เซลล์สดชื่น มีกิจกรรม(เช่นทำจิตให้ผ่องใส บริหารร่างกายพอประมาณ)แกล้งเซลล์ให้หมั่นทำงาน ธรรมชาติก็จักรักษาชีวิตไว้ให้ยาวยืนนาน การทำตนให้หงอยเหงา เป็นการวิ่งเข้าสู่วัยชราที่ไร้ประโยชน์ ดูภาพในหมวดนี้ |
เจ็บป่วยมีโรคาพยาธิ | |
การทำตนให้หงอยเหงา เป็นการวิ่งเข้าสู่วัยชรา(เป็นฅนแก่ฅนเฒ่า)ที่ไร้ประโยชน์(เฒ่าลอกอ) ธรรมชาติเตรียมรับชีวิตคืนกลับโลก เซลล์ไม่ปรกติสุข โรคาพยาธิมาเยี่ยมเยือน จิตหม่นหมองจิตเครียด พาลกายเจ็บปวดทรมาน เซลล์ชงัก ฅนที่พ้นทุกขกรรมนี้ จักเป็นอโรคยา ปรมลาภา สมบูรณ์แบบ ดูภาพในหมวดนี้ |
ตายอย่างมีเกียรติ | |
การวิ่งเข้าสู่วัยชราอย่างฅนแก่ฅนเฒ่าลอกอ ธรรมชาติก็จักรับชีวิตคืนกลับโลก เซลล์หยุดทำงาน วิญญาณออกจากร่าง สิ้นสุดชีวิต พรหมก็ไม่ลิขิต ชีวิตอนิจจัง สลายไปดั่งอนัตตาให้เรียกว่า มรณังสังขาร ถึงแก่อนิจกรรมมรณภาพ ตาย วายชีวัน สวรรคต ม้วยมรณ์ปลดปลิดชีพ หากละสังขารด้วยความสงบเย็นก็เป็นนิพพาน ดูภาพในหมวดนี้ |
ราชคฤห์แคว้นมคธ | |
กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ของพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าอชาติศัตรูเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ก่อนพุทธศาสนาจะประดิษฐานมั่นคงแข็งแรงในกรุงราชคฤห์ มีนักบวชพราหมณ์มากลัทธิต่างมีสานุศิษย์เต็มเมือง พระพุทธองค์ทรงเป็นพระบรมครูที่สอนชาวราชคฤห์ให้เปลี่ยนศาสนามาเป็นพุทธได้อย่างมั่นคง ได้ใช้ภาษาบาลีภาษามคธแผ่พระศาสนามาตั้งแต่นั้น พระเจ้าพิมพิสารสร้างวัดเวฬุวนารามถวายเป็นวัดแรก เป็นวัดสร้างครู ๑,๒๕๐ รูปในวันเพ็ญเดือนมาฆบูชา ดูภาพในหมวดนี้ |
นักเรียนนักศึกษา | |
สร้างเสริมสติปัญญาให้มีความรู้(Knowledge) ทักษะ(Skill) และเจตคติ(Attitude)ที่ดี เมื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีได้ ก็ได้สมชื่อสมนามว่านักเรียนนักศึกษา ที่ไม่มืด ไม่บอด ไม่โง่ ไม่เขลา ไม่เบาปัญญา ดูภาพในหมวดนี้ |
การละเล่นของเด็ก | |
เล่นนางชี เรือบิน อีฉุด มิดลอ จิ้ว หมากเก็บ หมากหน่วย หมากห้าหน่วย ดาวเด้อ อาหว้าย บินเลียด ขว้างโพล้ ขว้างราว ทอยราว เป่ากบ โดดเชือก ฯลฯ บางรายการมีเพลงประกอบ เช่น ตดฉีดตดฉ้าด ท้อนท้อนไม่หวาน หนึ่งปล่อยเป็ดสองปล่อยไก่ เด็กขี้ร้องจับใส่ป้อง ดูภาพในหมวดนี้ |
กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ | |
กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. ศึกษาและค้นคว้าประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นมาของเมืองภูเก็จ ๒. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จแก่บุคคลที่สนใจ ๓. ส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุของจังหวัดให้อยู่ในสภาพที่ดีเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ๔. สร้างความสัมพันธ์และร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีประสิทธิ ชิณการณ์ เป็นประธานกลุ่มฯคนแรก สกุล ณ นคร เป็นประธานคนที่ ๒ ร.ต.ณรงค์ แสงสุริยงค์ เป็นประธานคนที่ ๓ และสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ เป็นประธานคนที่ ๔ ฤดี ภูมิภูถาวร เป็นเลขานุการ ดูภาพในหมวดนี้ |
แหล่งหิน | |
หินอัคนีและหินแปรสึกกร่อนผุพังสลายกลายเป็นหินตะกอน หินตะกอนแปรไปเป็นหินแปร หินเหล่านี้มีทุกภูมิภาค แต่ละพื้นที่จะมีสีสัน ความหนาแน่น และชนิดแตกต่างกันไป หินชุดตะรุเตาเป็นหินที่เก่าแก่ที่สุดในภาคใต้ หินตะกอนหลายแหล่งมีบรรพชีวิน(Fossil) เช่นที่กระบี่(สุสานหอยและพรุดินนา) สตูล(อำเภอละงู)หรือนครศรีธรรมราช(อำเภอขนอม) ดูภาพในหมวดนี้ |
ชัยบาติกภูเก็ต | |
ชัยบาติก "สิริชัย จันทร์ส่องแสง" ได้วาดภาพจิตรกรรมไว้บนผืนผ้าอย่างหลากหลายรูปแบบและสีสัน ชัยบาติกพัฒนาการบาติกจาก ผชช.อ.ชูชาติ ระวืจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ดูภาพในหมวดนี้ |
แผ่นดินไหวภัยสึนามิ | |
26 ธันวาคม 2547 เกิดแผ่นดินไหวกว่า 7 ริกเตอร์ที่ปลายแหลมสุมาตรา ส่งผลให้เกิดสึนามิ Tsunami แผ่วงกว้างไปทั่วชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ในประเทศไทยกระทบชายฝั่งอันดามัน ๖ จังหวัดประสบภัยสึนามิคือระนอง พังงา(เขาหลัก หนักที่สุด) ภูเก็ต(กะรน ป่าตอง กมลา เกาะราชา หนักกว่าสถานที่อื่น) กระบี่(เกาะพีพีดอน หนักที่สุด) ตรัง และสตูล ดูภาพในหมวดนี้ |
ภาพจากหอจดหมายเหตุถลาง | |
หอจดหมายเหตุถลางได้ลงทะเบียนภาพเรียงตามลำดับหมายเลขทะเบียน ตั้งแต่ pic001 pic002 pic003 ... หากประสงค์จะใช้ภาพใดที่ยังไม่ได้บันทึกลงทะเบียน ได้โปรดโทรศัพท์แจ้ง "หมายเหตุรักษ์" ของห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา ประจำอำเภอถลาง(หน้าโรงเรียนถลางพระนางสร้าง) หมายเลข 076-311322; 076-311323 ดูภาพในหมวดนี้ |
เตี่ยมฉู่ทุ่งคาถนนถลาง | |
ตลาดทุ่งคามีศูนย์กลางอยู่ที่ถนนถลาง มีตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์ที่ชาวบาบ๋าเรียกว่า เตี่ยมฉู่ มีอาคารติดต่อกันมากกว่า ๒๗๐ คูหา ทั้งสองฟากถนนบริเวณด้านหน้าประตูเตี่ยมฉู่เป็นที่โล่งยาว ๕ กากี เรียกว่า หง่อก่ากี่(อาเขด) เป็นสินน้ำใจของชาวทุ่งคาที่เว้นไว้ให้สาธารณชนใช้ในเมืองฝนแปดแดดสี่ มาไม่น้อยกว่า ๑๕๐ ปีมาแล้ว อาคารแต่ละหลังเป็นสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกันหลากหลาย ผศ.ดร.ยงธนิศร พิมลเสถียร นำศิษย์เทคโนโลยี่พระจอมเกล้าช่วยกันถอดแบบหน้าบ้านออกมาเป็นภาพลายเส้น ดูภาพในหมวดนี้ |
ฟิสิกส์เคมี | |
ฟิสิกส์ อะตอม โปรตอน Protons อีเลคตรอน นิวตรอน Quarks Leptons งานไฟฟ้า กลศาสตร์ สารเคมี Quantum
ดูภาพในหมวดนี้ |
GUIDE | |
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชีวิต (LIFE MUSEUM) จึงมีมัคคุเทศก์เป็นผู้ชี้แนะนำแนวทางปัญญาและนันทนาการให้กับแขกด้วยมิตรไมตรีดุจดั่งญาติสหายธรรม นายหัวเหมืองเชิญแขกร่วมดื่มชา ช่วยกันร่อนแร่ รำลึกถึงความหลังเมื่อแร่มีค่าเมื่อ ๕๐ - ๔๕๐ ปีที่ผ่านมา การเคลื่อนย้ายถิ่นของจีนบาบ๋าจากมณฑลฮกเกี้ยน(ฝูเจี้ยน)เข้าสู่พระบรมโพธิสมภาร ร่วมด้วยช่วยกันสร้างบ้านแปงเมืองให้เรืองรุ่งสืบลูกปลูกใจหลานผสานรักแผ่นดินไทย พมร.ภูเก็ตจึงภูมิใจที่ได้มีไกด์เสมอคุณเทิดทุนปัญญาเผื่อแผ่กุศลสุข แบ่งปันมุขขำขันบันเทิงรื่นเริงภารกิจ เชิญชวนให้เกียรติงานผ่างเต๋ ร่วมถ่ายรูปเป็นที่รำลึกก่อนอำลาอาลัย อย่าลืมมาเยี่ยมเยียน พมร.อีกหลาย ๆ คราครั้งนะขอรับครับกระผม ดูภาพในหมวดนี้ |
จดหมายเหตุ มทศ. | |
กรทิชาต์ วัฒนพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรมีเอกสารลายลักษณ์จำนวนมากได้เสนอที่ประชุม มทศ.ให้จัดทำจดหมายเหตุของมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์อาสาเป็นผู้อำนวยการหมายเหตุรักษ์ มทศ. มอบหมายให้ปาณิศรา(นก) ชูผลเป็นผู้ช่วยหมายเหตุรักษ์ ร่วมด้วยช่วยกันให้มีจดหมายเหตุลายลักษณ์ไว้เป็นเอกสารอ้างอิงในการดำเนินงานของ มทศ. และเป็นประโยชน์แก่นักวิจัย นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจงานทางด้านนี้ ปี พ.ศ.๒๕๕๓ มทศ.มุ่งเป้าไปสู่จดหมายเหตุที่ช่วยงานอนุสรณ์สถานเมืองถลาง และด้วยเหตุที่เมืองถลางมีประวัติยาวนานจาก พ.ศ.๗๐๐ ที่ปรากฏ JUNK CEYLON ในแผนที่การเดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เปลี่ยนมาเป็น SILAN ตามคำเรียกของพระภิกษุจีนอี้จิง และเปลี่ยนเป็นสลาง ฉลาง จนคนทั่วไปรู้จักถลาง มีประวัติวีรสตรีท้าวเทพกระษัตรี(ท่านผู้หญิงจัน) ท้าวศรีสุนทร(คุณมุก) แม่ปราง พญาถลางเทียน ประทีป ณ ถลาง(อดีตเจ้าเมืองภูเก็จ) และเหล่าวีรชนเมืองถลางแห่งศึกเมืองถลางที่เป็น ๑ ในศึก ๙ ทัพต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จนชาวภูเก็จภูเก็ตมีวันถลางชนะศึกในวันที่ ๑๓ มีนาคมของทุกปี ดูภาพในหมวดนี้ |
วัฒนธรรม2วัฒน์ | |
พจนานุกรมภาษาถิ่นภูเก็จ ดูภาพในหมวดนี้ |
นันทนาการ | |
การร้องรำทำเพลง มหรสพ งานรื่นเริง ดูภาพในหมวดนี้ |