Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow อนุสรณ์เมืองถลาง
อนุสรณ์เมืองถลาง PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
เสาร์, 10 กรกฎาคม 2010
ฝากรูป

 

รายงานการประชุมโครงการอนุสรณ์สถานเมืองถลาง
วันจันทร์  ที่  28  มิถุนายน พ.ศ.  2553
ณ  ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต


วาระที่  1   ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ 


 1.  เรื่องการสร้างอนุสรณ์สถานเมืองถลาง  ไม่ได้เป็นงานเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นงานของส่วนรวมของคนทั้งจังหวัด  ดังนั้นควรจะมีการเชิญประชุมสมาชิกกลุ่มใหญ่  เพื่อให้ได้รับรู้ด้วย


 2.  เรื่องงบประมาณที่ทางอบจ.ให้กับโครงการเพื่อจัดทำรั้ว  จำนวน  6  ล้านบาท  ตอนนี้อบจ.ได้ทำเรื่องงบประมาณไว้ในแผนปีงบประมาณ  54   แล้ว  โดยจะให้เงินเป็นจำนวน  10  ล้านบาท
 3.  เรื่องการส่งโครงการสร้างอนุสรณ์สถานเมืองถลางเข้าประกวดโครงการดีเด่นระดับประเทศของจังหวัดภูเก็ต

 
ท้าวเทพกระษัตรี  (ท่านผู้หญิงจัน)
พญาถลางเทียน  (พญาเพชรคีรีศรีพิไชยสงครามรามคำแหง) เมืองภูเก็จ พญาทุกรราชเทียน (จดหมายพญาเทียน)
 

วาระที่  2  เรื่องรับรองรายงานการประชุม
 ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม  ครั้งที่  2/2553  เมื่อวันที่  30  เมษายน  2553

วาระที่  3    เรื่องเพื่อทราบ


 1.   เลื่อนกำหนดการวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานเมืองถลาง   ประธานแจ้งที่ประชุมทราบว่าจากการที่ต้องเลื่อนการวางศิลาฤกษ์ที่ผ่านมาเนื่องจากทางคณะกรรมการเตรียมการไม่ทัน  แต่ทางสำนักพระราชวังได้ตอบรับมาแล้วว่า สมเด็จพระเทพฯ  ได้ทรงตรัสว่าให้ดำเนินการก่อนเมื่อเสร็จแล้วจะเสด็จ ฯ มาเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดให้


 2.  จากการที่กรมศิลปากรได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์ฯ  ในการประชุมครั้งที่  4/2553  เมื่อวันที่  14  พฤษภาคม  2553  ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการให้จังหวัดภูเก็ตก่อสร้างอนุสรณ์สถาน  บริเวณนาหลวง  หมู่ที่  3  ตำบลเทพกระษัตรี  อำเภอถลาง  จังหวัดภูเก็ต  โดยใช้ชื่อ  อนุสรณ์สถานเมืองถลาง  ที่ประชุมมีความคิดเห็นว่าน่าจะมีการจัดสัมมนาประวัติศาสตร์  ครั้งที่  3  ขึ้น  เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชื่อและเนื้อหาประวัติศาสตร์อีกครั้ง  โดยมี อบจ.  เป็นเจ้าภาพในการจัดครั้งนี้  ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อโครงการต้องกระทำหลังการสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองถลาง ครั้งที่  3  ก่อน

 

วาระที่  4  เรื่องเพื่อพิจารณา
 4.1   การจัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติมให้กรมศิลปากรเพื่อประกอบการพิจารณา  ประกอบด้วย
  1.    แผนผังบริเวณที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ก่อสร้างอนุสาวรีย์  โดยระบุให้ชัดเจน
  2.  รูปแบบภาพร่างอนุสาวรีย์พร้อมแนวคิดในการออกแบบ
  3.   ระบุชื่อหน่วยงานหรือเอกชนที่รับผิดชอบในการดำเนินการ
ซึ่งคุณประเจียด  อักษรธรรมกุล  ได้เสนอที่ประชุมว่าทางคณะกรรมการได้ดำเนินการในเรื่องแผนผังและระบุชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเรียบร้อยแล้ว  แต่ยังขาดในเรื่องของรูปแบบอนุสาวรีย์  ซึ่งได้นำเรียนที่ประชุมว่าในการทำ  TOR  ของการออกแบบ ถ้าหากว่าต้องการให้ทันในปีนี้จะต้องไม่มีการประกวด  ต้องว่าจ้างโดยทีมงานผู้ชำนาญการเป็นผู้ออกแบบ
ที่ประชุมเสนอรายละเอียดและคุณสมบัติของผู้ออกแบบควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญระดับชาติ  เช่น  กรมศิลปากร  กองสถาปัตยกรรม  กองประติมากรรม  ที่ประชุมมอบหมายให้ทางมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ฯ ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางดำเนินการสรรหาชื่อบุคคล
งบประมาณในการว่าจ้างทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตรับ(ปากว่าจะ)ดำเนินการจัดหางบประมาณให้  โดยขอให้ทางคณะกรรมการประสานงานกำหนดและแจ้งให้ทราบ
4.2 รายชื่อคณะกรรมการจัดทำขอบเขตงาน  (TOR) 
อาจารย์สมหมายเสนอที่ประชุมว่าในการตั้งคณะกรรมการจัดทำขอบเขตงาน  TOR   น่าจะระบุชื่อหน่ายงานดีกว่าระบุชื่อบุคคลเพราะบุคคลส่วนใหญ่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานทั้งสิ้น 
ที่ประชุมชี้แจงให้ทราบว่าการทำ  TOR      จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นชื่อบุคคลใด แต่สามารถระบุได้ว่ามาจากหน่วยงานใด  บุคคลนั้นจะมอบหมายให้บุคคลอื่นมาแทนได้

4.3  เรื่องกำหนดวันวางวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานเมืองถลาง
ที่ประชุมเสนอให้กราบบังคมทูลขอพระราชทานวโรกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวเพื่อขอให้พระองค์ทรงเจิมศิลาฤกษ์เพื่อเป็นมงคลแก่ชาวภูเก็ต  หลังจากนั้นพระองค์จะโปรดเกล้า ฯ ให้ตัวแทนพระองค์มาทำพิธีเปิด  ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ  (มอบให้มูลนิธิท้าวเทพฯ ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางประสานทางพระราชวังเพื่อขอเข้าเฝ้า)

วาระที่  5  เรื่องอื่น ๆ
 1.  คุณชาญ  วงศ์สัตยนนท์  กรรมการมูลนิธิท้าวเทพฯ  ได้เสนอที่ประชุมว่า  น่าจะมีการทำแผนการดำเนินการของโครงการนี้  โดยการกำหนดขั้นตอน  ระยะเวลา  งบประมาณ  ในการดำเนินการว่าเริ่มและจบเมื่อไร  โดยเสนอว่า
 -  ควรว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการเพื่อทำหน้าที่เขียนแผนการดำเนินการ  ควบคุมการก่อสร้าง  การใช้งบประมาณ  ตลอดจนการบริหารการจัดการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้  โดยมีคณะกรรมการคอยกำกับ
 -  ควรกำหนดเจ้าภาพให้ชัดเจน  เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการของคนทั้งจังหวัดหน่วยงานที่สามารถเป็นศูนย์รวมของทั้งจังหวัดได้ก็คือ  จังหวัดภูเก็ต
 -  ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการทำงาน  กำหนดบทบาทและหน้าที่ให้ชัดเจนเพื่อง่ายต่อการขับเคลื่อนโครงการ  เช่น  คณะกรรมการกำกับ  คณะกรรมการ  TOR  คณะกรรมการดูแลงบประมาณ  คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย
 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ  ให้ดำเนินการปรึกษาหารือแนวทางการทำแผนการดำเนินการโครงการเพื่อให้โครงการเป็นไปตามแผนที่วางไว้แต่ขอให้เป็นแผนระยะสั้น   และมอบหมายให้จังหวัดภูเก็ต  โดยกลุ่มยุทธศาสตร์  เป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนโครงการ 

 

ประชุมกลุ่มย่อยของมูลนิธิท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

๒๐ กันยายน ๒๕๕๓

ฝากรูป
ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 13 กุมภาพันธ์ 2018 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4762
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016597