Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow วิถีชีวิตชาวเหมือง arrow พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 27 มกราคม 2008

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง

ลักษณะอาคาร
อาคารอเนกประสงค์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เป็นอาคารหลังหนึ่งในกลุ่มอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต เน้นลักษณะของอาคารไทยภาคใต้เฉพาะถิ่น ที่เป็นเรือนไม้มีหลังคา ๓ ด้าน  โดยมีด้านสกัดเป็นรูปจั่วยกพื้นสูง เสาเหลี่ยมหรือกลมหลังคามุงจาก โครงหลังคาเป็นเรือนฟูกคล้ายภาคกลาง ทางเข้าใหญ่อยู่ตรงด้านสกัดหน้าจั่วของอาคาร  ผนังเป็นเป็นไม้กระดานแผ่นมีสลักถอดได้  มีหน้าต่างขนาดเล็ก พื้นเป็นไม้กระดานหรือไม้ไผ่ทุบ  โครงเสาเป็นไม้ไผ่  ฝาเรือนเป็นไม้ไผ่ขัดแตะยอดจั่วมักเป็นไม้ไผ่สานลายขัดปิดยอดจั่ว


การออกแบบตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ จึงดัดแปลงรูปแบบอาคารดังกล่าวมาเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็กเลียนแบบหลังคาเรือนเครื่องผูก  ตัวอาคารมีลักษณะบ้านพื้นถิ่น  แต่นำวัสดุสมัยใหม่มาประยุกต์ในการก่อสร้างเพื่อความคงทนถาวร  จึงเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าในแง่ของการอนุรักษ์แบบบ้านโบราณ  ซึ่งจากการคัดเลือกผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามพระบรมราชูปถัมภ์ ในงานนิทรรศการ “สถาปนิก ๓๐“ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้รับรางวัลออกแบบสถาปัตกรรมดีเด่น  ประเภทอาคารที่ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ชื่อรางวัล Gold Medal ซึ่งเป็นผลงานของนายอุดม  สกุลพานิชย์

ในปีงบประมาณ ๒๕๓๙       อธิบดีกรมศิลปากร ได้อนุมัติเงินกองทุนโบราณคดี เป็นเงิน ๗,๘๘๘,๐๐๐.๐๐ บาท (เจ็ดล้านแปดแสนแปดหมื่นแปดพันบาทถ้วน)  เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ตามรูปแบบที่สถาปนิกได้ออกแบบไว้และได้จัดสรรงบประมาณในปี ๒๕๔๐ เพิ่มเติมสำหรับเป็นค่าติดตั้งครุภัณฑ์ระบบสไลด์มัลติวิชั่นและวิดีโอคอมพิวเตอร์ภายในอาคาร    รวมทั้งผลิตสื่อสไลด์มัลติวิชั่น  สื่อวีดิทัศน์ เรื่องเมืองภูเก็ต รวมเป็นเงินประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน)  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๙,๘๘๘,๐๐๐ บาท (เก้าล้านแปดแสนแปดหมื่นแปดพันบาทถ้วน) เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม  เช่น การแสดงนาฏดุริยางคศิลป์ การฉาย สไลด์มัลติวิชั่น เพื่อให้บริการนักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยวที่เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง  รวมทั้งเป็นพื้นที่บริการชุมชนสำหรับหน่วยงานอื่น ๆ หรือชุมชนในท้องถิ่นเข้ามาใช้บริการอันเป็นแนวทางที่ทำให้ผู้คนได้รู้จักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง มากยิ่งขึ้น และส่งผลต่อความก้าวหน้าของพิพิธภัณฑ์ให้สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมและสถานศึกษานอกระบบที่สามารถก่อเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง.
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้267
mod_vvisit_counterเมื่อวาน5656
mod_vvisit_counterทั้งหมด11017757