Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow มรดกโลกในจีน ตอน ๓
มรดกโลกในจีน ตอน ๓ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 03 พฤษภาคม 2010

ต่อจาก มรดกโลกในจีน ตอน ๒

 

ความคิดเห็นที่ 19  
17. เมืองโบราณผิงเหยา  Ancient City of Ping Yao

ปีที่ขึ้นทะเบียน 1997
หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่  2 3 4

เมืองเก่าผิงเหยา   (平遥) ตั้งอยู่บนที่ราบไท่หยวนริมฝั่งแม่น้ำเฝินเหอ ตอนกลางของมณฑลซันซีทางภาคเหนือของจีน ห่างจากเมืองไท่หยวนเมืองเอกของมณฑลไปราว 90 กิโลเมตร เคยเป็นศูนย์กลางตลาดทางการเงินของประเทศมาแต่เก่าก่อน จนได้รับสมญานามว่าเป็น ‘ปักกิ่งน้อย’

ผิงเหยา เป็นเมืองเก่าที่มีอายุกว่า 2,700 ปี ยังคงรักษาโครงสร้างบ้านเมืองแบบชาวฮั่นในสมัยหมิงและชิง(ราวค.ศ. 1368–1911)ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ เมืองแห่งนี้ผ่านกาลเวลาอันยาวนานและกลายเป็นแหล่งสะสมทางโบราณคดีที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง ปัจจุบันมีหน่วยงานรักษาโบราณวัตถุกว่า 300 แห่ง ในจำนวนนี้ ที่มีความสำคัญระดับชาติ 3 แห่ง ได้แก่ กำแพงเมืองเก่า วัดเจิ้นกั๋ว และวัดซวงหลิน นอกจากนี้การวางผังเมืองได้รับการออกแบบอย่างเป็นระเบียบ สิ่งปลูกสร้างภายในเมืองอย่าง วัดวาอาราม อาคารหอสูง ถนน บ้านเรือนราษฎร ฯลฯ ต่างสะท้อนให้เห็นถึงวิทยาการความรู้และวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ค. 53 05:37:41

 
 

จากคุณ: Humble
เขียนเมื่อ: 3 พ.ค. 53 05:11:38
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 20  
18. สวนโบราณ เมืองซูโจว Classical Gardens of Suzhou

ปีที่ขึ้นทะเบียน 1997
หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่  1 2 3 4 5

สวนคลาสสิคเมืองซูโจวมีประวัติศาสตร์มานาน 2,000 กว่าปี นับตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในยุคชุนชิวชาวเมืองซูโจวได้รู้จักการสร้างและจัดสวนมาเนิ่นนานแล้ว มาในสมัยราชวงศ์หมิงแฟชั่นสร้างสวนของซูโจวยิ่งเป็นที่นิยมไปทั่ว ส่งผลให้ปลายสมัยราชวงศ์ชิงมีสวนทั้งในและนอกเมืองซูโจวรวมอยู่ถึง 170 กว่าสวน
     
สวนหลากหลายในเมืองซูโจว แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ สวนในที่พักอาศัย สวนในวัด และสวนชานเมือง โดยมีสวนในที่พักอาศัยเป็นพระเอก เพราะมีปริมาณมากที่สุด อีกทั้งมีกลิ่นอายของศิลปะที่ละเมียดละไมโดดเด่น แต่ทั้งหมดล้วนสร้างสีสันและบรรยากาศให้เมืองซูโจว เมืองแห่งแม่น้ำและลำคลอง หรือ ‘ดินแดนเวนิสแห่งตะวันออก’ นี้ ยังเป็นดินแดนแห่งสวนยุคราชวงศ์หมิงและชิง ในคริสต์ศตวรรษที่ 14-20 หรือ ‘เมืองแห่งสวน’

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ค. 53 05:38:12

 
 

จากคุณ: Humble
เขียนเมื่อ: 3 พ.ค. 53 05:12:13
ถูกใจ: unicorn-k

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 21  
19. เมืองเก่าลี่เจียง Old Town of Lijiang

ปีที่ขึ้นทะเบียน 1997
หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่  2 4 5

ณ แผ่นดินที่เคยเป็นเมืองเก่าต้าเหยียนลี่เจียง ลือนามในฐานะที่เป็นตลาดนัดและเมืองยุทธศาสตร์เก่าแก่มาแต่ครั้งโบราณ บันทึกประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองเก่าต้าเหยียนสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายราชวงศ์ซ่ง ต้นราชวงศ์หยวน (คริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 13) โดยบรรพบุรุษตระกูลมู่แห่งเมืองลี่เจียง อาจงอาเหลียง เมื่อครั้งที่ย้ายศูนย์กลางการปกครองจากไป๋ซามาที่เชิงเขาสิงโต เริ่มสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ตั้งชื่อว่า ‘ต้าเย่ฉ่าง’ ภายหลังรัชสมัยจื้อหยวน ปีที่ 13 (ค.ศ.1276) ในราชวงศ์หยวน เปลี่ยนชื่อเป็น ‘ลี่เจียง’ (丽江) ตามชื่อเก่าของแม่น้ำจินซาเจียง(金沙江)  ต่อมาในรัชสมัยหงอู่ ปีที่ 16 ในราชวงศ์หมิง จึงได้มีการก่อสร้างศาลาว่าการเมืองลี่เจียงขึ้น มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก จนถูกชมเชยว่าเป็น ‘น้องๆพระราชวังต้องห้าม’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ‘ต้าเหยียนหลี่’ ในสมัยราชวงศ์ชิง และหลังจากนั้นเมืองลี่เจียงก็ค่อยๆรุ่งเรืองขึ้นเป็นรูปเป็นร่างตลอดยุคสมัยที่ผ่านมา ลี่เจียง เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การศึกษาและวัฒนธรรมแห่งชนชาติ และครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย หยุนหนัน(ยูนนาน) และทิเบต และชุมทางพักม้าระหว่างการเดินทางที่สำคัญสิ่งปลูกสร้างที่เป็นศิลปะเฉพาะตัวของชนชาติน่าซี ที่มีพื้นฐานมาจากรูปแบบโครงสร้างที่ไม่ใช้คานและเสา (รูปแบบโครงสร้างจิ่งกัน) พัฒนาและผสมผสานกันอย่างกลมกลืนกับศิลปะท้องถิ่นของชนชาติฮั่น ทิเบตและไป๋

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ค. 53 05:39:30

 
 

จากคุณ: Humble
เขียนเมื่อ: 3 พ.ค. 53 05:12:35
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 22  
20. พระราชวังฤดูร้อนและอุทยานในกรุงปักกิ่ง Summer Palace

ปีที่ขึ้นทะเบียน 1998
หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่  1 2 3

พื้นที่ที่เป็นพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวนในปัจจุบันนี้ มีประวัติศาสตร์มาเกือบพันปีแล้ว ย้อนหลังไปราวคริสต์ศักราชที่ 11 สมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ. 1115-1234)พื้นที่ในเขตไห่เตี้ยน(海淀区) นอกกรุงปักกิ่ง มีภูมิประเทศของขุนเขางดงาม ประดุจภาพวาด อากาศเย็นสบาย เหมาะแก่การพักผ่อน อีกทั้งไม่ไกลจากเมืองหลวงมากนัก จึงเหมาะเป็นสถานที่ที่เจ้านายผู้ปกครองในระบบศักดินานิยมมาพักผ่อนตากอากาศ และก่อสร้างพระราชวังฤดูร้อนขึ้น

ในสมัยจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911)พระราชวังฤดูร้อนได้ทวีความสำคัญขึ้น โดยจักรพรรดิต่อมาอีกหลายพระองค์โปรดเสด็จมาประทับทรงงาน ตลอดจนว่าราชการแผ่นดินที่พระราชวังฤดูร้อนนอกเขตพระราชฐาน จนทำให้พระราชวังฤดูร้อนมีบทบาทสำคัญในด้านเป็นศูนย์กลางทางการเมือง กล่าวกันว่า การก่อสร้างพระราชวังฤดูร้อนนอกพระราชฐานนี้ดำเนินมาตลอดเวลา 800 ปีจวบจนกระทั่งสิ้นสุดกาลสมัยของราชวงศ์แมนจู

และสำหรับ สวนในพระราชวังอี๋เหอหยวน แห่งนี้ เดิมทีคือ 'อุทยานชิงอีหยวน' (清漪园) อยู่ในอาณาเขตพระราชวังหยวนหมิงหยวน (圆明园) ริมเชิงเขาวั่นโซ่วซัน  ด้านตะวันตกมีทะเลสาบชื่อ ทะเลสาบซีหู (西湖) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น ทะเลสาบคุนหมิง ซึ่งใช้แรงงานนับแสนคนในการขุด

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ค. 53 05:40:27

 
 

จากคุณ: Humble
เขียนเมื่อ: 3 พ.ค. 53 05:13:06
ถูกใจ: มหาโจรแห่งบ้านลี้

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 23  
21. หอสักการะฟ้าเทียนถัน Temple of Heaven

ปีที่ขึ้นทะเบียน 1998
หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่  1 2 3

หอสักการะฟ้าเทียนถันเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่ออกแบบมา เพื่อรับใช้คติในการแสดงความเคารพต่อ 'ฟ้า' ของชาวจีน  ซึ่งปัจจุบันนับเป็นสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมการเซ่นไหว้ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มโบราณสถานประเภทเดียวกันที่หลงเหลืออยู่ในกรุงปักกิ่ง

หอสักการะฟ้าเทียนถัน เดิมเรียก 'หอสักการะฟ้าดิน'  แรกเริ่มเป็นสถานที่ที่จักรพรรดิเสด็จมาเซ่นไหว้เทพเจ้าฟ้าและดิน มาในสมัยราชวงศ์หมิงปีที่ 9 แห่งรัชกาลหมิงเจียจิ้ง (ค.ศ.1530) ได้มีการสร้าง 'หอสักการะดิน'(地坛) ขึ้นทางทิศเหนือชานกรุงปักกิ่ง สถานที่แห่งนี้จึงเป็นที่สำหรับเซ่นไหว้สักการะเฉพาะเทพเจ้าแห่งฟ้า แล้วเปลี่ยนมาใช้นาม เทียนถัน(天坛)
     
ทั้งนี้ การประกอบพิธีสักการะ และสวดมนต์ภาวนาต่อสวรรค์ของกษัตริย์ราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368-1644) และชิง(ค.ศ.1644-1911) กระทำขึ้นเพื่อขอความสิริมงคลแก่ตน ขอฟ้าขอฝนให้พืชผลในไร่นาอุดมสมบูรณ์ พสกนิกรอยู่ร่มเย็นเป็นสุข

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ค. 53 05:41:04

 
 

จากคุณ: Humble
เขียนเมื่อ: 3 พ.ค. 53 05:13:35
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 24  
22. งานแกะสลักหินต้าสู   Dazu Rock Carvings

ปีที่ขึ้นทะเบียน 1999
หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่    1 2 3

หินสลักที่อำเภอต้าสู(大足县) มีความสำคัญทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านศาสนา ซึ่งไม่เพียงแต่มีงานศิลปะของพุทธศาสนาเท่านั้น ยังเป็นศูนย์รวมงานศิลปะของศาสนาเต๋า และแนวคิดสำนักปรัชญา‘หยู่เจียเสียว์’ของขงจื๊อรวมอยู่ด้วย หากกล่าวว่า ถ้ำผาม่อเกาคู อันยิ่งใหญ่ที่เมืองตุนหวง และถ้ำผาหยุนกัง ที่เมืองต้าถง คือสัญลักษณ์ของงานศิลปะถ้ำยุคเริ่มแรกของจีน หินสลักที่ต้าจู๋ เมืองฉงชิ่ง ก็นับได้ว่าเป็นตัวแทนของศิลปะถ้ำในยุคหลัง ซึ่งได้รวบรวมผลงานศิลปะการแกะสลักหินของจีนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงยุคกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตลอดจนสะท้อนแนวคิดความเชื่อทางศาสนา และรสนิยมในสังคมสามัญชน
     
หินสลักสำคัญที่อำเภอต้าจู๋อยู่ในอาณาบริเวณของ‘เทือกเขาทั้ง 5’ ได้แก่ เขาเป่ยซัน เป๋าติ่งซัน หนันซัน สือจ้วนซัน และเขาสือเหมินซัน ซึ่งประกอบด้วยหินสลักที่กระจายอยู่ตามเขาต่างๆนี้กว่า 75 จุด รวมรูปหินสลักทั้งหมดมากกว่า 100,000 ชิ้น

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ค. 53 05:41:33

 
 

จากคุณ: Humble
เขียนเมื่อ: 3 พ.ค. 53 05:14:06
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 25  
23. เขาอู่อี๋ซาน Mount Wuyi

ปีที่ขึ้นทะเบียน 1999
หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่    3 6 7 10

เขาอู่อี๋ซัน (武夷山) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ในมณฑลฝูเจี้ยนเขาอู่อี๋ซัน ครอบคลุมพื้นที่ของเขตอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ 4 เขต ได้แก่ เขตโบราณสถานทิวทัศน์เขาอู่อี๋ซัน เขตอนุรักษ์ธรรมชาติเขาอู่อี๋ซัน โบราณสถานเมืองเก่าสมัยฮั่น และเขตอนุรักษ์ต้นน้ำจิ่วชีว์ซี และยังเป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมความเชื่อและศาสนา ตลอดจน ‘การผลิตชา’ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เปรียบเสมือนลมหายใจของชาว สำหรับที่เขาอู่อี๋ซันนี้ ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่เป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมชาที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน โดยเฉพาะการผลิตชาที่ทั่วโลกรู้จักกันดี คือ ชาอูหลง乌龙茶อีกทั้งยังมีประเพณีการดื่มชาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นอีกด้วย    
     
ลักษณะทางภูมิศาสตร์อยู่ในเขตโซนร้อนแถบเอเชียกลาง มีสภาพอากาศอบอุ่น ส่งผลให้พืชพันธุ์ในแถบเทือกเขานี้ มีลักษณะพิเศษกว่าถิ่นอื่นๆในประเทศจีน และสามารถรักษาสภาพป่าไม้ และพันธุ์พืชอันหลากหลายได้ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเฉพาะป่าฝนทางใต้ของจีน และป่าเขตร้อนแถบเอเชียเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ค. 53 05:41:59

 
 

จากคุณ: Humble
เขียนเมื่อ: 3 พ.ค. 53 05:14:34
ถูกใจ: มหาโจรแห่งบ้านลี้

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 26  
24. หมู่บ้านโบราณตอนใต้ของมณฑลอานฮุย ซีตี้และหงชุน Ancient Villages in Southern Anhui - Xidi and Hongcun

ปีที่ขึ้นทะเบียน 2000
หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่  3 4 5

หมู่บ้านอนุรักษ์ซีตี้   西递 และหงชุน  宏村 นับเป็นหมู่บ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของการอยู่อาศัยในสมัยโบราณที่โดดเด่นทางตอนใต้ของมณฑลอันฮุย มีรูปแบบการวางเค้าโครงทางสถาปัตยกรรม การเลือกตำแหน่งที่ตั้ง หรือทิศทางการตั้งบ้านเรือน ซึ่งอิงทฤษฎีฮวงจุ้ยตามตำราโจวอี้เป็นที่ตั้ง สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดปรัชญาโบราณของจีน ที่แสดงว่า มนุษย์มีความเลื่อมใสและเคารพต่อกฎแห่งธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงความเป็นหนึ่งเดียวของสวรรค์กับพิภพ
     
ภูมิปัญญาโบราณของผู้ปลูกสร้างบ้านเรือนเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ได้ผสมผสานความงามทางธรรมชาติรวมเข้ากับที่อยู่อาศัยแล้ว ยังแฝงความมีรสนิยมและความเป็นวิทยาศาสตร์เข้าไว้ในชีวิตประจำวันของพวกเขาอีกด้วย ซึ่งนี่ คือแก่นสารของแบบฉบับการสร้างที่อยู่อาศัยในอดีตของชาวจีน
     
นอกจากนี้โครงสร้างการจัดการและระบบการใช้น้ำในหมู่บ้านทั้งสองแห่ง โดยเฉพาะในหมู่บ้านหงชุน ซึ่งเป็นก่อรูปขึ้นเป็นตัวสัตว์ ยังแสดงถึงภูมิปัญญาชั้นสูงในการดัดแปลงทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังมีคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์อีกทางหนึ่งด้วย

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ค. 53 05:42:34

 
 

จากคุณ: Humble
เขียนเมื่อ: 3 พ.ค. 53 05:14:59
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 27  
25. สุสานจักรพรรดิราชวงศ์หมิงและชิง  
  Imperial Tombs of the Ming and Qing Dynasties, including the Ming Dynasty Tombs and the Ming Xiaoling Mausoleum*

ปีที่ขึ้นทะเบียน 2000 2003
หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่  3 4 5

การสร้างสุสานกษัตริย์ของชาวจีน นับเป็นผลงานทางสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า สะท้อนศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ของชาติ โดยนิยมแบ่งเป็น 2 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนบนดิน และใต้ดิน ซึ่งจะยึดหลักฮวงจุ้ยที่ว่า ต้องมีพลังหยินหยางเกื้อกูลค้ำจุนกัน คือ ‘หลังอิงขุนเขา หันหน้าสู่น้ำ’ จักพรรดิในยุคสมัยแห่งราชวงศ์หมิงและชิง(ค.ศ.1368-1911) ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องฮวงจุ้ยมากเป็นพิเศษ จนกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองแห่งศิลปะการก่อสร้างสุสาน โดยมีปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิง-ฮ่องเต้จูหยวนจาง เป็นผู้ปฏิรูปข้อบังคับกฎระเบียบในการสร้างสุสานขึ้นใหม่ อาทิ      
     
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง ก็ยึดหลักเกณฑ์ตามแบบฉบับของหมิง โดยเพิ่มเติมในเรื่องของการสร้างสวนภายในให้สอดคล้องกับธรรมชาติโดยรอบ รวมถึงให้ความสำคัญในเรื่องการจัดลำดับตามศักดิ์อาวุโส อีกทั้งเกิดรูปแบบการฝังพระศพฮ่องเต้ ฮองเฮา นางสนมรวมไว้ในสุสานเดียวกัน และสร้างตำหนักประกอบพิธีเซ่นไหว้ให้มีความสอดคล้องสมบูรณ์มากขึ้นด้วย

- สุสานหมิงเสี่ยน สุสานชิงตะวันออก และสุสานชิงตะวันตก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปีค.ศ. 2000
- สุสาน 13 กษัตริย์ราชวงศ์หมิง และสุสานหมิงเสี้ยว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปีค.ศ. 2003

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ค. 53 05:43:32

 
 

จากคุณ: Humble
เขียนเมื่อ: 3 พ.ค. 53 05:15:24
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 28  
26. ถ้ำผาหลงเหมิน  Longmen Grottoes

ปีที่ขึ้นทะเบียน 2000
หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่  1 2 3

ถ้ำผาหลงเหมิน  龍門石窟  เปรียบเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ที่หลงเหลือจากอดีตระหว่างรอยต่อยุคราชวงศ์เหนือสู่ราชวงศ์ถังอันรุ่งเรือง เป็นหนึ่งในถ้ำผาที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธ ทั้งนี้ได้แสดงออกซึ่งผลงานศิลปะที่ให้แง่คิดในด้านลัทธิความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาพุทธ ซึ่งนับเป็นแหล่งรวมงานศิลปะการแกะสลักหินชั้นสูงอีกแห่งหนึ่งของชาติ

ดังที่ทราบกันว่า ถ้ำผาหลงเหมินเป็นขุมทรัพย์ทางศิลปะของงานแกะสลักถ้ำหินอันโด่งดัง เทียบเคียงกับถ้ำผาม่อเกาคู ที่ตุนหวงในมณฑลกันซู่ และถ้ำผาหยุนกัง ที่ต้าถงในมณฑลซันซี ซึ่งล้วนสร้างขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ระหว่างยุคราชวงศ์เหนือเชื่อมต่อกับราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธในจีนมีวิวัฒนาการและเจริญขึ้นถึงขีดสุด ถ้ำผาหลงเหมินจึงมีงานเจาะสกัดหินชิ้นใหญ่มหึมาหลายชิ้น และยังเป็นแหล่งรวมงานศิลปะชั้นหัวกะทิในยุคนั้นด้วยเนื่อวจากได้รับการ ทะนุบำรุงจากจักรพรรดิทั้งในสมัยราชวงศ์เหนือเรื่อยมาจนถึงสมัยราชวงศ์ถัง โดยเฉพาะการบูรณปฏิสังขรณ์ต่างจากถ้ำผาที่อื่นๆ

แก้ไขเมื่อ 03 พ.ค. 53 05:44:03

 
 

จากคุณ: Humble
เขียนเมื่อ: 3 พ.ค. 53 05:15:54
ถูกใจ: Ms. Pumpkin

 
 

ดูต่อ มรดกโลกในจีน ตอนที่ ๔

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 04 พฤษภาคม 2010 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4769
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016604