Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow วัฒนธรรมคหศิลป์ arrow ใจครูต้องมีเศรษฐกิจพอเพียง
ใจครูต้องมีเศรษฐกิจพอเพียง PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 28 กันยายน 2009

มศว.เตรียมยกเครื่องเรียนครู ๕ ปี 

 

มศว. ให้นิสิตครู 5 ปีเรียนการต่อรองกับวัฒนธรรมการบริโภค หวังให้ครูไทยไม่ตกเป็นเหยื่อบริโภคนิยม ครวญคุรุสภาไม่เข้าใจรายวิชาวิชาชีพครู ออกระเบียบหวังสร้างครูแบบเดียวเหมือนเย็บเสื้อโหล ทำนายอนาคตครูไทยคิดไม่เป็น ไม่กล้าคิด ติดกรอบเดิม เป็นผู้นำไม่ได้...

วันนี้ (27 ก.ย.)ดร.พิศมัย รัตนโรจน์สกุล หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) กล่าวว่านิสิตที่เรียนในวิชาชีพครูทุกคน ควรจะได้เรียนและทำความเข้าใจต่อแนวคิด กระบวนการและกลไกทางสังคม โดยเฉพาะในโลกยุคทุนนิยมที่เน้นวัฒนธรรมการบริโภคเป็นหลัก ผู้ที่จะออกเข้าสู่เส้นทางอาชัพครูควรจะได้เตรียมตัวเองและรู้เท่าทันสังคม โลกที่เน้นระบบทุน ซึ่งมันจะมาพร้อมกับวัฒนธรรมการบริโภค ซึ่งทางภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา จึงมีรายวิชาการต่อรองกับวัฒนธรรมการบริโภค หรือ Negotiating Consumer Culture เพราะทางมศว.ตระหนักดีว่าผู้ที่จะเข้าสู่เส้นทางอาชีพครูนั้น ไม่ใช่จะรู้แต่กฎระเบียบ จรรยาบรรณ ข้อควรปฏิบัติของครูเท่านั้น หากแต่สิ่งที่ครูรุ่นใหม่ๆ ต้องเผชิญอยู่คือการจะฝันฝ่าวัฒนธรรมความคิดความเชื่อที่มีต่อวัฒนธรรมการ บริโภคที่โหมกระหน่ำเข้ามาได้อย่างไร

" ทำอย่างไรที่ครูไทยจะรู้เท่าทันวัฒนธรรมการบริโภค อีกทั้งสร้างฐานคิดของความพอเพียงในการดำรงชีวิต พร้อมจะลุกขึ้นมาต่อสู้และสร้างอำนาจต่อรองอย่างมีสติและมีปัญญากับวัฒนธรรม การบริโภคนิยม เพราะอย่าลืมว่าครูไทยทุกคนต้องสร้างกระบวนการคิด วิเคราะห์ แยะแยะ รู้เท่าทัน และมีวิธีการต่อรอง ให้เกิดขึ้นในเด็กไทย เพราะถ้าสถาบันการศึกษาไม่ช่วยกันเปิดวิชาชีพครูที่สอนให้รู้จักสร้าง กระบวนการคิด แยกแยะวิเคราะห์ ให้แก่นิสิตครู สถาบันการศึกษาที่ผลิตครูก็จะได้ผู้ที่เดินเข้าสู่เส้นทางอาชีพครูที่อ่อนแอ และพร้อมจะเดินตามกระแสโลกทุนนิยมอย่างไม่รู้จักตั้งคำถาม และเป็นเหยื่อของวัฒนธรรมการบริโภคในระบบทุนนิยม และอย่าหวังที่จะสอนให้เด็กไทยรู้จักความพอเพียงได้เมื่อครูไทยยังพ่ายแพ้ ต่อวัฒนธรรมการบริโภคนิยม” ดร.พิศมัย

หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา กล่าวอีกว่า วิชาการต่อรองกับวัฒนธรรมการบริโภค เป็นวิชาบังคับที่ให้นิสิตครูไม่ว่าจะเป็นนิสิตที่เรียนในวิชาเอกปฐมวัย วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ พละศึกษา และศิลปกรรม เข้าใจการก่อรูปของวัฒนธรรมการบริโภคในระบบทุนนิยม รู้ระบบสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมการบริโภคที่ส่งผ่านทางสื่อในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปของการโฆษณาสินค้าและในที่แฝงเร้นในรูปแบบต่างๆ ผลกระทบของวัฒนธรรมการบริโภคต่อการดำรงชีพของผู้คนในสังคม การสร้างกระบวนการคิดให้นิสิตที่จะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นครูได้ตระหนักถึง ปัญหา แลรู้เท่าทัน และพร้อมจะสร้างอำนาจต่อรองกับวัฒนธรรมบริโภคอย่างชาญฉลาด เมื่อผู้ที่จะออกไปเป็นครูเข้าใจ การจะออกไปสอนเด็กไทยให้รู้เท่าทันวัฒนธรรมการบริโภคก็ไม่ยาก และจะทำให้เข้าถึงการสอนเรื่องความพอเพียงในการใช้ชีวิต”

ดร.พิศมัย กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการ มาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานการผลิตเพื่อการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตร ทางการศึกษาคุรุสภา ต้องการให้มหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนในคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์จัดการเรียนการสอนในแบบที่ครุสภาต้องการ ซึ่งหมายถึงมีกรอบให้เราผลิตครูแบบเดียวให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ครุสภาเป็นคน กำหนด ไม่ยืดหยุ่น มิฉะนั้นแล้วนิสิตนักศึกษาจะไม่ได้ไปประกอบวิชาชีพ ตามวุฒิการศึกษาบัณฑิต หลักสูตร 5 ปี การที่คุรุสภากำหนดเกณฑ์กเพื่อจะวางมาตรฐานด้านวิชาชีพครู แต่ในความเป็นจริงของการเขียนเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมานั้น คุรุสภาไม่เข้าใจว่าเพราะอะไรที่คณะต้องสอนวิชานี้ แต่จะพิจารณาอย่างเดียวว่าเป็นไปตามลายลักษณ์อักษรที่กำหนดหรือไม่  แนวทางที่คุรุสภาออกกฎระเบียบคล้ายกับการเย็บเสื้อเป็นโหลขาย ความจริงแล้วคุรุสภาควรจะยืดหยุ่นกรอบให้แต่ละมหาวิทยาลัยที่ผลิตครูให้เขา มีอิสระและสามารถสร้างจุดแข็งของตัวเอง แต่ละมหาวิทยาลัยสามารถสร้างอัตลักษณ์การผลิตนิสิต นักศึกษาศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ที่มีอัตลักษณ์ของตัวเอง

"อย่าลืมโรงเรียนต้องการครูที่มีความหลากหลาย ไม่ใช่เป็นแบบเดียวกันอย่างที่คุรุสภากำหนดกรอบให้ศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัยเป็นผู้ผลิต โดยต้องเป็นไปตามลายลักษณ์อักษรที่คุรุสภากำหนด แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะใช้คำบางคำที่มีความหมายกว้างกว้างครอบคลุมกว่า แต่คุรุสภาก็ไม่ยอมรับและไม่เปิดใจกว้างรับ ในตัวหลักสูตรถ้ามหาวิทยาลัยไหนต้องการผ่านการประเมินจึงต้องปรับให้เป็นไป ตามที่คุรุสภากำหนดทุกประการ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากที่คุรุสภาไม่เข้าใจฐานคิดแต่ละรายวิชาใน รายวิชาชีพครูของแต่ละมหาวิทยาลัย "หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา กล่าว

 

อ้างอิง

http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1693569/มศว.เตรียมยกเครื่องเรียนครู5ปี
 
< ก่อนหน้า

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4140
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11015975