Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow หุ่นทหารไม่ใช่ของจิ๋นซีฮ่องเต้
หุ่นทหารไม่ใช่ของจิ๋นซีฮ่องเต้ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 14 สิงหาคม 2009

นักปวศ.จีนเชื่อหุ่นทหารไม่ใช่ของจิ๋นซีฮ่องเต้

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์14 สิงหาคม 2552 08:10 น.


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น


เอเอฟพี – นักประวัติศาสตร์จีนฉีกตำราเก่า ประกาศหุ่นทหารจิ๋นซีที่เลื่องชื่อของจีนไม่ใช่ของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกของประเทศ แต่เป็นของเซวียนไทเฮา บรรพบุรุษหญิงของจิ๋นซี
       
       สร้างความฮือฮา เมื่อเฉิน จิ่งหยวน นักประวัติศาสตร์จีนให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวโกลบอลไทม์ถึงข้อสันนิษฐานของเขาว่า จักรพรรดินีเซวียน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของจิ๋นซีฮ่องเต้ และสิ้นพระชนม์ก่อนจิ๋นซีฮ่องเต้จะลืมตาดูโลกถึง 55 ปี เป็นเจ้าของสุสานและผู้สั่งสร้างหุ่นทหารที่แท้จริง
       
       โดยที่ผ่านมาเชื่อกันว่า กองทัพหุ่นทหารซึ่งขุดพบใกล้กับเมืองซีอัน มณฑลส่านซีเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเฝ้าสุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้ ผู้รวม 6 รัฐให้เป็น 1 เมื่อช่วง 221 ปีก่อนคริสตศักราช และประกาศตัวเป็นจักรพรรดิองค์แรกของประเทศจีน
 

       เฉินนำเสนอหลักฐานที่ยืนยันความเชื่อดังกล่าวในหนังสือเล่มใหม่ของเขา “ความจริงของหุ่นทหาร” (The Truth of Terracotta Warriors) ซึ่งบอกรายละเอียดที่ขัดแย้งกับข้อสันนิษฐานก่อนหน้านี้ อาทิ ระยะห่างของหุ่นทหารกับสุสานจิ๋นซี รูปแบบผมและเสื้อผ้าของนักรบ ซึ่งเขาระบุว่า หลักฐานทั้งหมดชี้ว่าหุ่นเหล่านี้เป็นของจักรพรรดินี
       
       “สไตล์การทำผมตามลักษณะจีนโบราณของหุ่นทหารที่ขุดพบ รวมทั้งหลักฐานอื่นๆ บ่งชัดว่าเจ้าของหุ่นทหารเหล่านี้คือจักรพรรดินีเสวียน หนึ่งในผู้หญิงที่ทรงอำนาจที่สุดในประวัติศาสตร์จีน” เฉินกล่าว
       
       นอกจากนี้ เสื้อผ้าของหุ่นทหารยังมีสีสันหลากหลาย ซึ่งขัดแย้งกับชุดเกราะทหารสีดำของจิ๋นซีฮ่องเต้
       
       “ในช่วงที่จักรพรรดินีเสวียนอยู่ในอำนาจ รัฐฉินเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ความมั่งคั่งร่ำรวยนี้หมายความว่า หญิงผู้ทรงอำนาจคนนี้มีเงินมากพอที่จะสร้างโครงการใหญ่ยักษ์เช่นนี้” เฉินกล่าว
       
       อย่างไรก็ตาม ความเชื่อของเฉินก็ถูกคัดค้านโดยนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีท่านอื่นๆ
       
       หลิว จั้นเฉิง ผู้อำนวยการทีมนักประวัติศาสตร์ศึกษาหุ่นทหารจิ๋นซีให้สัมภาษณ์ว่า มีหลักฐานแน่หนาว่า จักรพรรดิองค์แรกคือเจ้าของหุ่นที่แท้จริง
       
       “อย่างแรกคือ หุ่นเหล่านี้อยู่ภายในอาณาเขตสุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้ นอกจากนี้อาวุธของพวกเขาล้วนมีชื่อของอัครเสนาบดีสลักไว้ด้วย”
       

       ทั้งนี้ หุ่นทหารจิ๋นซีถูกขุดพบครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.1974 หรือ 2517 โดยเกษตรกรคนหนึ่งที่เดิมทีต้องการไปขุดบ่อน้ำ ปัจจุบันเชื่อว่ายังมีหุ่นลักษณะคล้ายมีชีวิตอีก 5,000 กว่าตัวยังถูกฝังอยู่ใต้ดินและรอการขุดพบ
       
       กองทัพหุ่นทหารจิ๋นซีกลายเป็นสุดยอดสถาปัตยกรรมของมนุษยชาติ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2530

 

อ้างอิง

http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1623632/นักปวศ.จีนเชื่อหุ่นทหารไม่ใช่ของจิ๋นซีฮ่องเต้
  

Saturday, April 21, 2007

“ สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ” สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก








เนินดินขนาดใหญ่กว่ามหาปิรามิดแห่งอียิปต์ทางด้านเหนือของเชิงเขาหลีซัน ห่างจากตัวเมืองซีอันไปทางทิศตะวันออก 35 กิโลเมตร เบื้องหน้าเป็นแม่น้ำเว่ย คือ ชัยภูมิของสุสานจักรพรรดิจิ๋นซี (ฉินสื่อหวงตี้ หรือฉินซีฮ่องเต้ ปี 259-210 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งนักโบราณคดีจีนเชื่อว่า อาณาเขตของสุสานทั้งสิ้น 2,180 ตารางกิโลเมตรนี้ แบ่งออกเป็น พระราชฐานชั้นนอกและชั้นใน ซึ่งนอกจากจะบรรจุพระศพของจักรพรรดิแล้ว ยังได้ฝังสมบัติ ข้าวของเครื่องใช้ในพระชนม์ชีพ ตลอดจนนางสนมกำนัล กองทหาร และสัตว์ใหญ่ไปพร้อมกัน เพื่อร่วมในการเดินทางครั้งสุดท้ายของจักรพรรดิฉินองค์แรก
ตามความที่บันทึกในต้นสมัยฮั่นโดยนักประวัติศาสตร์ ซือหม่าเชียน พรรณนาว่า ‘โลงศพของจักรพรรดิองค์แรกแห่งแผ่นดินฉิน หล่อขึ้นด้วยทองแดง ตั้งอยู่ ณ โถงใจกลางสุสาน ที่ก่อสร้างและประดับประดาด้วยเพชรนิลจินดาราวกับพระราชวังใต้ดิน... เพดานเลี่ยมไข่มุกและเพชร รูปพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว กับอัญมณีที่ประดับบนพื้นโถง รูปสายน้ำ ทะเลสาบ และทะเล..เป็นเสมือนตัวแทนของสวรรค์และพิภพ....สว่างไสวด้วยตะเกียงน้ำมันปลาวาฬ เพื่อความเป็นอมตะ...และกับดักเกาทัณฑ์ที่พร้อมจะปลิดชีพผู้บุกรุก ทุกเมื่อ...’

บันทึกนี้อาจเป็นหลักฐานชิ้นเดียวที่บอกเล่าถึง สภาพภายในมหาสุสานที่มีอายุใกล้เคียงช่วงเวลานั้นที่สุด ที่นักโบราณคดีจีนเชื่อว่า เชื่อถือได้ และใต้ผืนดินในอาณาบริเวณรอบนอกสุสานที่บรรจุพระศพนี้ คือทัพทหารที่ถวายการอารักขาองค์จักรพรรดิในปรภพ

29 มีนาคม ค.ศ.1974 14 นาฬิกาเศษ หยังจื้อฟาชาวนาหมู่บ้านซีหยัง พบซากดินเผาชิ้นส่วนร่างกายมนุษย์ ขณะกำลังขุดบ่อน้ำที่ความลึก 3 เมตร ห่างจากสุสานจักรพรรดิฉินสื่อหวงไปทางตะวันออก 1.5 กิโลเมตร

หลายวันต่อมา เจ้าคังหมิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายวัฒนธรรมประจำอำเภอหลินถง รุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ กว้านซื้อซากโบราณวัตถุที่ชาวบ้านขุดพบ และที่เคยขายออกไปก่อนหน้านี้ ได้ 3 คันรถ หลังจากนั้นกลับไปยังห้องวิจัยเพื่อทำการศึกษา

ต้นเดือนพฤษภาคม เจ้าคังหมิน จำกัดพื้นที่ 120 ตารางเมตรรอบบ่อน้ำเพื่อทำการขุดหาซากดินเผาเพิ่ม

ขณะนั้นเป็นเวลาประจวบเหมาะที่ ลิ่นอันเหวิ่น นักข่าวหนังสือพิมพ์ซินหัว กลับไปเยี่ยมญาติที่อำเภอหลินถง เห็นสิ่งที่ชาวนาและเจ้าหน้าที่ขุดพบ เมื่อกลับสู่ปักกิ่งนำเรื่องตีพิมพ์ลงใน ‘ชุนนุมเหตุการณ์’ ของสำนักพิมพ์เหรินหมินยื่อเป้า
ต้นเดือนกรกฎาคม รองนายกรัฐมนตรีหลี่เซียนเนี่ยน มีคำสั่ง ให้กองโบราณคดีและคณะกรรมการมณฑลส่านซี ร่วมหามาตรการอนุรักษ์โบราณวัตถุนี้

15 กรกฎาคม ค.ศ.1974 หยวนจงอี เจ้าคังหมิน นำทีมนักโบราณคดี เดินทางเข้าหมู่บ้านซีหยังอีกครั้ง การขุดค้นครั้งสำคัญเริ่มต้นขึ้น ..โลกตกตะลึง..กองทัพหุ่นทหารดินเผา เครื่องสังเวยในหลุมสุสานขนาดมหึมา

1 ตุลาคม ค.ศ.1979 พิพิธภัณฑ์หุ่นดินเผากองทหารสุสานจักรพรรดิฉินสื่อหวง เปิดให้สาธารณชนเข้าชมอย่างเป็นทางการ ได้รับการโจษขานเป็น ‘สิ่งมหัศจรรย์ของโลกลำดับที่ 8 แห่งศตวรรษที่ 20’....กระทั่ง ธันวาคม ค.ศ. 1987 องค์การยูเนสโกลงมติให้เป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม

หลุมขุดค้นที่ 1 ปรากฏกองทัพใต้ดินอันทรงพลานุภาพ ประกอบด้วยหุ่นทหารติดอาวุธกว่า 6,000 ตัว รวมถึงหุ่นม้า และรถศึก หุ่นดินเผาทหารและม้าศึกมีขนาดใหญ่เล็กเหมือนของจริง หุ่นทุกตัวมีสีหน้าและทรงผมเป็นลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกัน สูงราว 5 ฟุต 8 นิ้ว ถึง 6 ฟุต 5 นิ้ว ยืนตระหง่านเรียงรายเป็นหมวดหมู่ ในหลุมสุสานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 197 ฟุต (62 เมตร) ยาว 689 ฟุต(230 เมตร) ลึก 14.8-21.3 ฟุต(5 เมตร)

นักโบราณคดีจีน ตั้งข้อสังเกตว่า กองทหารอารักขาสุสานของจักรพรรดิฉินสื่อหวงที่พบในหลุมนี้ มีแนวการจัดทัพตามบันทึกในตำราพิชัยสงครามซุนอู่

หลุมขุดค้นที่ 2 ห่างจากหลุมขุดค้นที่ 1 ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 20 เมตร พบในปี 1976 พื้นที่ 6,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 4 ส่วน ขุดพบหุ่นดินเผาทหาร 1,000 ตัว ม้าศึก 500 ตัว และรถม้าทำจากไม้ 89 คัน เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเมื่อปี 1994

หลุมขุดค้นที่ 3 ห่างจากหลุมที่ 1 ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 25 เมตร พบในปี 1976 ขนาด 520 ตารางเมตร พบหุ่นทหาร 68 ตัว กับรถม้า 1 คัน และม้าศึก 4 ตัว รวมถึงกระดูกสัตว์และเขากวาง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเครื่องบูชายัญในพิธีศพ

นักโบราณคดีคาดว่า หลุมที่ 3 นี้อาจเป็นกองบัญชาการกลางควบคุมกองทหาร ตามใบหน้าของหุ่นดินเผาทหาร เสื้อเกราะและอาวุธที่ขุดพบมีสีทาไว้ แต่เมื่อนักโบราณคดีเปิดสุสานครั้งแรก อากาศภายนอกทำให้สีบนตัวหุ่นสลายไปในเวลาอันรวดเร็ว หลุมขุดค้นที่ 3 เปิดให้สาธารณชนเข้าชมในปี 1989

รวมวัตถุโบราณที่ค้นพบทั้งที่เป็นหุ่นทหารดินเผา สรรพาวุธ รถม้าและม้าศึกที่ใช้ในการสงคราม ทั้งสิ้นกว่า 7,400 ชิ้น ในหลุมสุสาน 25,000 กว่าตารางเมตร

จนถึงวันนี้ลึกลงไปใต้สุสานจักรพรรดิจิ๋นซี ยังคงเป็นปริศนาท้าทายนักโบราณคดีทั่วโลก ถึงแม้นักโบราณคดีจีนจะคาดการณ์ได้ว่า สุสานแห่งนี้มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลเพียงใด แต่การขุดค้นความจริงภายใต้สุสาน จำเป็นต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่ก้าวหน้ามาก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุล้ำค่า ดังนั้นการคิดค้นกระบวนการขุดค้นอันซับซ้อน จึงยังเป็นความหวังของนักโบราณคดีต่อไป.

อ้างอิง

http://weloveearth.blogspot.com/2007/04/8.html
ข้อเสนอใหม่ "หุ่นทหารดินเผา ไม่ใช่ของจิ๋นซีฮ่องเต้" vote  

เอเอฟพี – นักประวัติศาสตร์จีนฉีกตำราเก่า ประกาศหุ่นทหารจิ๋นซีที่เลื่องชื่อของจีนไม่ใช่ของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกของประเทศ แต่เป็นของเซวียนไทเฮา บรรพบุรุษหญิงของจิ๋นซี
     
      สร้างความฮือฮา เมื่อเฉิน จิ่งหยวน นักประวัติศาสตร์จีนให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวโกลบอลไทม์ถึงข้อสันนิษฐานของเขาว่า จักรพรรดินีเซวียน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของจิ๋นซีฮ่องเต้ และสิ้นพระชนม์ก่อนจิ๋นซีฮ่องเต้จะลืมตาดูโลกถึง 55 ปี เป็นเจ้าของสุสานและผู้สั่งสร้างหุ่นทหารที่แท้จริง
     
      โดยที่ผ่านมาเชื่อกันว่า กองทัพหุ่นทหารซึ่งขุดพบใกล้กับเมืองซีอัน มณฑลส่านซีเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเฝ้าสุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้ ผู้รวม 6 รัฐให้เป็น 1 เมื่อช่วง 221 ปีก่อนคริสตศักราช และประกาศตัวเป็นจักรพรรดิองค์แรกของประเทศจีน
     
      เฉินนำเสนอหลักฐานที่ยืนยันความเชื่อดังกล่าวในหนังสือเล่มใหม่ของเขา “ความจริงของหุ่นทหาร” (The Truth of Terracotta Warriors) ซึ่งบอกรายละเอียดที่ขัดแย้งกับข้อสันนิษฐานก่อนหน้านี้ อาทิ ระยะห่างของหุ่นทหารกับสุสานจิ๋นซี รูปแบบผมและเสื้อผ้าของนักรบ ซึ่งเขาระบุว่า หลักฐานทั้งหมดชี้ว่าหุ่นเหล่านี้เป็นของจักรพรรดินี
     
      “สไตล์การทำผมตามลักษณะจีนโบราณของหุ่นทหารที่ขุดพบ รวมทั้งหลักฐานอื่นๆ บ่งชัดว่าเจ้าของหุ่นทหารเหล่านี้คือจักรพรรดินีเสวียน หนึ่งในผู้หญิงที่ทรงอำนาจที่สุดในประวัติศาสตร์จีน” เฉินกล่าว
     
      นอกจากนี้ เสื้อผ้าของหุ่นทหารยังมีสีสันหลากหลาย ซึ่งขัดแย้งกับชุดเกราะทหารสีดำของจิ๋นซีฮ่องเต้
     
      “ในช่วงที่จักรพรรดินีเสวียนอยู่ในอำนาจ รัฐฉินเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ความมั่งคั่งร่ำรวยนี้หมายความว่า หญิงผู้ทรงอำนาจคนนี้มีเงินมากพอที่จะสร้างโครงการใหญ่ยักษ์เช่นนี้” เฉินกล่าว

จากผู้จัดการ
     
***
ลองมาดูเหตุผลทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้านกันบ้างครับ (จากเวปต่างประเทศ)
สำหรับฝ่ายที่เชื่อว่าเป็นของจิ๋นซี คือนาย หลู่ จ้านเฉิน หัวหน้าทีมขุดค้น ระบุถึงเหตุผลว่า หุ่นดินเผาเป็นของจิ๋นซี
1. หลุมขุดค้น อยู่ในเขตสุสานจิ๋นซี

2. ได้พบอาวุธ ซึ่งสลักคำว่า “หลีปู้เหว่ย” ซึ่งเป็นเสนาบดีของจิ๋นซี อยู่ด้วย

3. สถาปัตยกรรมและชั้นดิน วิเคราะห์แล้วเป็นยุคเดียวกับอาวุธ รถม้า และเหล่าทหาร

ซึ่งอาณาเขตของสุสานกว้างถึง 56.25 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเหล่าทหารเหล่านี้ เรียงเป็นแถวยาว และมีความสัมพันธ์กับสุสาน ส่วนการสวมเลื้อสีดำ ในสมัยนั้น แน่นอนว่าจะสวมใส่กันเฉพาะงานพิธีเท่านั้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใส่ทุกวัน

สำหรับฝ่ายที่นำเสนอทฤษฎีใหม่ว่าเป็นของจักรพรรดินีเซวียน ระบุว่า
1. ระยะทางระหว่างสุสานและเหล่าทหารดินเผา อยู่ไกลกันเกินไป ห่างกันถึง 1.5 กิโลเมตร ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากของใช้ในหลุมศพ ต้องวางใกล้สุสาน

2. เรื่องการไว้ทรงผม (ต้องถามน้องเหนียวเนื้อดู) ระบุว่าการไว้สไตล์ทรงผมอยู่ในช่วงสมัยของจักรพรรดินีเซวียน ซึ่งไปทางแคว้นฉู่ หากเป็นหุ่นทหารจิ๋นซี ต้องไว้ทรงผมแบบฮั่น

3. เสื้อผ้าของหุ่น ต่างทาสีสันสวยงาม ซึ่งตรงกันข้ามกับเหล่าหทารชุดสีดำ ของจิ๋นซี

4. รายละเอียดของรถม้า และซี่ล้อ บ่งบอกถึงรถม้าที่ใช้กันทุกวัน ไม่ใช่รถม้าศึกแต่อย่างใด

นายเฉิน กล่าวเสริมอีกว่า ต้องเป็นโครงการของพระนางผู้ยิ่งใหญ่ หรือ พระนางซูสีไทเฮาครั้งโบราณ ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลมากในประวัติศาสตร์จีน ซึ่งก่อนรัฐฉินจะสร้างตัว พระนางมีเงินทองพอที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ได้สำเร็จ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 14:03:26
ถูกใจ: Dr.modx, หลี่ เสียนหลอ, เหนียวเนื้อ, ผู้ดูแลสุสานโบราณ, digimontamer



      ความคิดเห็นที่ 1  

      ขอบคุณสำหรับข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่งไปชมมาเมื่อปีที่แล้ว ยิ่งใหญ่มาก ๆ จนอยากย้อนเวลาไปตอนที่เขาสร้างจังเลยค่ะ

      จากคุณ: Dr.modx
      เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 14:51:36
        

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 2  

      ผู้หญิงที่ปวศ.จีนจารึกว่าเป็นจักพรรดินีมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น คืออู่เจ๋อเทียน
      แล้วเสวียนไทเฮาโผล่มาจากไหน ใครที่รู้ประวัติสตรีผู้นี้ช่วยขยายความ(ไม่)รู้ให้ผมหน่อยครับ?
      แม้แต่เนินดินมหึมาที่สันนิษฐานว่าเป็นสุสานของฉินสื่อหวงที่จีนยังไม่อนุมัติให้ขุดค้น ก็มีช่างก่อสร้างคนหนึ่งพยายามจะหาเหตุผลต่างๆมาสนับสนุนความเชื่อของเขาว่า ไม่ใช่สุสานของฉินสื่อหวง

      จากคุณ: เหนียว-อวี่
      เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 16:24:26
        

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 3  

      เหอะๆ มาอ่านอย่างเดียวเลย ได้ความรู้ไปอีกแบบ
      แต่ก็ยังสรุปไม่ได้ว่ายังไงกันแน่

       
       

      จากคุณ: คุณค่าที่คุณคู่ควร
      เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 16:27:27
        

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 4  

      อ่านข่าวมาเหมือกันครับ

      จริงๆ เสวียนไทเฮา ยังไม่น่าถือว่าเป็น จักพรรดินี เพราะก่อนยุค ฉิน สูงสุด

      เป็นแค่ อ๋อง ปกครอง แคว้นเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเรียกว่า หรือถือว่าอะไร

      เสวียนไทเฮา ก็มีอยู่จริง


      http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9520000092112
      แหมน่าสนุกจริงๆ

      จากคุณ: หลี่ เสียนหลอ
      เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 17:19:48
        

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 5  

      เอาความรู้ ข้อมูลใหม่ๆมาฝากกันอีกแล้ว

      จากคุณ: น้ำเต้าสีรุ้ง (เหนียวเนื้อ)
      เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 17:49:03
        

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 6  

      ตามมาอ่านครับ ตามมาอ่าน

      ขอบคุณครับ ชอบมากๆ

      จากคุณ: เหมียวออก้า (orcahappy)
      เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 17:55:32
        

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 7  

      มาอ่านค่ะ แต่ไม่เชี่ยวปวศ เลยขอมาเก็บความรู้อยางเดียวค่ะ แหะ แหะ

      จากคุณ: peiNing
      เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 18:17:00
        

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 8  
      จักรพรรดินีเซวียน น่าจะหมายถึงไทเฮาเซวียน หน่ะครับ

      พระนามเดิมของพระนางคือ ฮุ่ยกงจู๊ หรือหมี่ฮุ่ยครับ เป็นเชื้อสายของราชสกุลหมี่ แห่งแคว้นฉู่ครับ ตามประเพณีแคว้นฉู่และฉินเดิมนั้น มักนิยมส่งพระธิดาไปสมรสกับฝ่ายตรงข้่ามเสมอๆ (อย่างในสมัยที่กองทัพหวู๋บุกแคว้นฉู่นั้น กองทัพฉินก็เข้าช่วยเหลือ เพราะไทเฮาแคว้นฉู่มีศักดิ์เป็นน้องสาวของประมุขแคว้นฉิน)
      เข้าใจว่าเมื่อนางถูกส่งมาเป็นพระสนมในแคว้นฉิน ก็น่าจะได้รับการยกขึ้นเป็นเจ้าหญิงยศเล็กๆตามธรรมเนียมของแคว้นฉู่ด้วยหน่ะครับ

      เนื่องด้วยสตรีชาวฉู่ขึ้นชื่อว่างดงามนัก ฉินฮุ่ยเหวินอ๋องจึงโปรดปรานพระนางมากๆ

      311 ปีก่อนคริสตกาล ฉินฮุ่ยเหวินอ๋องสวรรคต พระโอรสองค์ใหญ่ที่เป็นรัชทายาทขึ้นเป็นเจ้าแคว้นฉินแทน นักประวัติศาสตร์ถวายพระนามว่า ฉินอู่อ๋อง

      ฉินอู่อ๋องทรงเป็นนักบู๊ที่เก่งกล้าครับ พระองค์นำทัพออกทำศึกหลายครั้ง ตีกองทัพหานและเว่ยหนีเตลิด ยึดดินแดนจำนวนมากแถบแม่น้ำจางและลั่วมาได้ ขยายดินแดนของแคว้่นฉินจนไปจรดเขตแดนของจักรพรรดิโจว

      ปี 307 ฉินอู่อ๋องเสด็จไปเยือนราชสำนักโจว แต่ดันเล่นสนุกไปยกติ่งสามขาของแคว้นยงเล่น เลยโดนติ่งหล่นทับ พระเพลาหักสะบั้นทั้งสองข้าง และสวรรคตในเวลาต่อมา....(มีบุญจริงๆ)

      ว่าแล้วไทเฮาฮุ่ย หรือไทเฮาเสวียน ก็เลยหันไปดันโอรสองค์หนึ่งของฮุ่ยเหวินอ๋อง ให้ขึ้นครองราชย์แทนพระนามว่า ฉินจาวเซียงอ๋อง หรือนิยมเรียกกันว่า ฉินจาวอ๋อง ครับผม ในปี 308 ก่อนคริสตกาล

      ส่วนไทเฮาเหวินก็เข้ามาร่วมกุมอำนาจและว่าราชการในราชสำนักด้วย เพราะตอนที่ฉินจาวเซียงอ๋องขึ้นครองราชย์ยังพระชนม์เพียง 17 ชันษา ไม่สามารถทรงพระมาลาห้อยมุกได้ (เหมือนจิ๋นซีเลย แต่จิ๋นซีเป็นอ๋องตอนอายุน้อยกว่าทวดของพระองค์ 4 ปี)

      อำนาจของพระนางนั้นล้นพ้นครับ และยังชักนำเอาสตรีในราชสกุลหมี่แห่งแคว้นฉู่เข้ามาถวายตัวในราชสำนักฉินเยอะแยะ แถมด้วยพาพวกลูกๆหลานๆสกุลหมี่เข้ามาอีกต่างหาก หุหุ

      ฉินจาวเซียงอ๋องก็ดำรงอำนาจแบบเกรงใจพระมารดาเลี้ยงเสมอมา จนไทเฮาเสวียนยอมลงจากอำนาจแบบจำยอมในปีที่ 266 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะสวรรคตในปีต่อมาครับ

      พระีราชประวัติโดยย่อสามารถอ่านได้จากที่นี่ครับ http://baike.baidu.com/view/1358716.htm

      ปล. ผมอ่านออกแบบงูๆปลาๆ กาๆไก่ๆ ถ้าแปลผิดก็ขออภัยด้วยนะขอรับ

      แก้ไขเมื่อ 14 ส.ค. 52 20:02:10

      แก้ไขเมื่อ 14 ส.ค. 52 19:50:28

      จากคุณ: อุ้ย (digimontamer)
      เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 19:43:34
      ถูกใจ: หนุ่มรัตนะ, เจ้่าชายกบ, หลี่ เสียนหลอ

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 9  
      ขอบคุณครับน้องขิงและคุณอุ้ย ทีนี้ผมยังคิดอยู่ว่า หากเป็นหุ่นทหารของพระนางจริงๆแล้ว สุสานพระนาง ก็ต้องตั้งอยู่แถวนี้ด้วย แต่ไม่เห็นพูดถึงเลย ต้องไปค้นคว้ากันต่อแล้ว..

      แก้ไขเมื่อ 14 ส.ค. 52 19:52:40

      จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
      เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 19:44:53
        

       
       
       
      ความคิดเห็นที่ 10  
      ส่วนอันนี้เป็นเหตุการณ์สำคัญคร่าวๆ ในรัชสมัยของฉินจาวอ๋อง ครับผม

      http://baike.baidu.com/view/407989.htm

      ฉินจาวอ๋อง เป็นพระบิดาของ ฉินเซียวเหวินอ๋อง
      ฉินเซียวเหวินอ๋อง เป็นพระบิดาของ ฉินจวงเซียงอ๋อง
      ฉินจวงเซียงอ๋อง ก็เป็นพระบิดาของ ฉินอ๋องเจิ้ง

      ดังนั้น หมี่ฮุ่ยน่าจะเป็น ย่าทวด (ไม่ทราบว่าราชาศัพท์ใช้คำว่าอะไร พระบรมอัยยิกาหรือเปล่า) ของจิ๋นซี

      แก้ไขเมื่อ 14 ส.ค. 52 19:55:16

      จากคุณ: อุ้ย (digimontamer)
      เขียนเมื่อ: 14 ส.ค. 52 19:54:28

อ้างอิง

http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K8201547/K8201547.html
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( ศุกร์, 14 สิงหาคม 2009 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4761
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016596