Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow พมร.ภูเก็ต แหล่งเรียนรู้ที่น่าทึ่ง
พมร.ภูเก็ต แหล่งเรียนรู้ที่น่าทึ่ง PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 12 สิงหาคม 2009

พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่

แหล่งการเรียนรู้ที่น่าทึ่ง

ป้าแป๋วไม่มีภัย


เมื่อเดือนที่แล้ว ป้าแป๋วได้มีโอกาสไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ อ.กระทู้ จ.ภูเก็ตค่ะ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ป้าแป๋วประทับใจและทึ่งในแนวคิดและการจัดทำขึ้นมาค่ะ เดิมทีป้าแป๋วคิดว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คงเต็มไปด้วยความรู้เหมืองแร่ แร่ธาตุ ดิน หิน ฯลฯ ที่ไม่น่าสนใจเอาซะเลยแต่ความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปเมื่อได้ไปสัมผัสของจริงที่นี่

ครอบครัวของเราได้รับความกรุณาจาก ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ที่พาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ป้าแป๋วและเด็กๆ ตื่นเต้นและประทับใจทุกๆ ก้าวที่ได้ก้าวเข้าไปชมค่ะ

เริ่มด้วยห้องนิทรรศการทรัพย์นายหัวเหมืองเป็นส่วนแสดงวัฒนธรรมของคนภูเก็ตก็ว่าได้ค่ะ

แต่ก็ตื่นเต้นมากๆ เมื่อเข้าห้องนิทรรศการกำเนิดโลก(ในระบบสุริยจักรวาล) ที่สามารถเข้าไปในโลกได้เห็นกำเนิดแร่ กำเนิดสิ่งมีชีวิตและคน

 

เดินตามมาเลยค่ะ ข้างในมีเรื่องน่าเรียนรู้เยอะแยะเลยค่ะ

ตรงนี้จะมีรูปปั้นมนุษย์ดึกดำบรรพ์มาวางไว้ค่ะ

มีแร่ประเภทต่างๆ จัดแสดงไว้ด้วยค่ะ

ต่อไปก็เป็นส่วนของการทำเหมืองแร่แบบต่างๆ ค่ะ

เหมืองแล่น เป็นเหมืองเปิดตามเขา ใช้แรงงานคนฉีดน้ำแล้วปล่อยให้ดินปนแร่ไหลไปตามราง หรือทำในหน้าฝน เป็นเหมืองที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีทุนน้อย

เหมืองรู หรือเหมืองปล่องเป็นเหมืองใต้ดิน ใช้แรงงานคนเปิดเหมืองและใช้เครื่องกว้านแร่สำหรับขนดินปนแร่ขึ้นมา

เหมืองหาบเป็นเหมืองที่ใช้กุลีมากที่สุด ช่วยขุด ช่วยขน ช่วยหาบ ลำเลียงน้ำเข้า ลำเลียงน้ำออก ขนหิน ขนดิน ขนแร่ ขนทราย ให้นายหัวเหมือง

เหมืองฉีดเป็นเหมืองที่เริ่มมีเครื่องยนต์มาใช้ในการสูบน้ำแล้วส่งไปยังหัวฉีด คนงานเหมืองฉีดจะใส่ชุดกันฝนที่เรียกว่า "จั่งซุย" ซึ่งทำมาจากใบปาล์มชก

รูปจั่งซุ้ยนี้ไปแอบหยิบมาจากบล็อค เจ้าป้ามหาภัย ขอบคุณมากๆ ค่ะ

หัวฉีดหรือจุ๊ยปีด

เหมืองเรือขุด กัปตันเอ็ดวาร์ด ไมล์ชาวออสเตรเลียได้ดัดแปลงเรือขุดร่องน้ำมาเป็นเรือขุดแร่ดีบุก ในปีพ.ศ.2452

ลูกเชอหรือกะพ้อตักแร่ของเหมืองเรือขุด

ต่อไปก็เป็นส่วนของการส่งแร่ ทำความสะอาดแร่ แยกแร่ ถลุงแร่และแปรแร่ดีบุกเป็นโลหะดีบุก และทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

รูปยังไม่หมดนะคะ เอาไว้มาต่อบล็อคหน้านะคะ ป้าแป๋วกลัวจะโหลดนานค่ะ

ขอขอบคุณ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ สำหรับความกรุณาที่นำเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ตลอดจนรูปภาพและบทความต่างๆ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ปล. ติดตามความรู้มากมายในเวปไซต์ของอาจารย์ได้ที่นี่นะคะ กระทู้ถิ่นดอทคอม

Create Date : 18 มิถุนายน 2551
Last Update : 20 มิถุนายน 2551 11:13:13 น.   58 comments 
Counter : 912 Pageviews. 

สวัสดีค่ะป้าแป๋วแวะมาเที่ยวพิพิธภันฑ์ด้วยคนค่ะ

โดย: paerid  วันที่: 20 มิถุนายน 2551 เวลา:13:33:07 น.     
 
สวยค่ะ เป็นแหล่งความรู้ได้ดีจริงๆค่ะ

อ.สมหมาย น่ารักเสมอค่ะ ฝันของ อ.เป็นจริงแล้ว สุดยอดค่ะ

โดย: เจ้าป้ามหาภัย IP: 124.157.217.173 วันที่: 20 มิถุนายน 2551 เวลา:22:53:37 น.    

นับว่าเป็นความรู้สำหรับเราคนไทย น่าสนใจมากๆ ค่ะ

แวะมาเก็บความรู้ด้วยค่ะ

ค่ะ รักษาสุขภาพ นะค่ะ

โดย: Lek (INGEN ER PERFEKT ) วันที่: 21 มิถุนายน 2551 เวลา:0:34:18 น. 

 

 













แต่ก็ตื่นเต้นมากๆ เมื่อเข้าห้องนิทรรศการกำเนิดโลก(ในระบบสุริยจักรวาล) ที่สามารถเข้าไปในโลกได้เห็นกำเนิดแร่ กำเนิดสิ่งมีชีวิตและคน





เดินตามมาเลยค่ะ ข้างในมีเรื่องน่าเรียนรู้เยอะแยะเลยค่ะ








ตรงนี้จะมีรูปปั้นมนุษย์ดึกดำบรรพ์มาวางไว้ค่ะ


มีแร่ประเภทต่างๆ จัดแสดงไว้ด้วยค่ะ




ต่อไปก็เป็นส่วนของการทำเหมืองแร่แบบต่างๆ ค่ะ



เหมืองแล่น เป็นเหมืองเปิดตามเขา ใช้แรงงานคนฉีดน้ำแล้วปล่อยให้ดินปนแร่ไหลไปตามราง หรือทำในหน้าฝน เป็นเหมืองที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีทุนน้อย



เหมืองรู หรือเหมืองปล่องเป็นเหมืองใต้ดิน ใช้แรงงานคนเปิดเหมืองและใช้เครื่องกว้านแร่สำหรับขนดินปนแร่ขึ้นมา



เหมืองหาบเป็นเหมืองที่ใช้กุลีมากที่สุด ช่วยขุด ช่วยขน ช่วยหาบ ลำเลียงน้ำเข้า ลำเลียงน้ำออก ขนหิน ขนดิน ขนแร่ ขนทราย ให้นายหัวเหมือง



เหมืองฉีดเป็นเหมืองที่เริ่มมีเครื่องยนต์มาใช้ในการสูบน้ำแล้วส่งไปยังหัวฉีด คนงานเหมืองฉีดจะใส่ชุดกันฝนที่เรียกว่า "จั่งซุย" ซึ่งทำมาจากใบปาล์มชก



รูปจั่งซุยนี้ไปแอบหยิบมาจากบล็อค เจ้าป้ามหาภัย ขอบคุณมากๆ ค่ะ


หัวฉีดหรือจุ๊ยปีด



เหมืองเรือขุด กัปตันเอ็ดวาร์ด ไมล์ชาวออสเตรเลียได้ดัดแปลงเรือขุดร่องน้ำมาเป็นเรือขุดแร่ดีบุก ในปีพ.ศ.2452





ลูกเชอหรือกะพ้อตักแร่ของเหมืองเรือขุด



ต่อไปก็เป็นส่วนของการส่งแร่ ทำความสะอาดแร่ แยกแร่ ถลุงแร่และแปรแร่ดีบุกเป็นโลหะดีบุก และทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

อ้างอิง

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=paewphuket/&month=06-2008&date=18&group=12&gblog=69

 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4610
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016444