Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow ภูเก็จเมืองแก้ว
ภูเก็จเมืองแก้ว PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 09 สิงหาคม 2009

ภูเก็จเมืองแก้ว

 

ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

๑๓ มีนาคม ๒๕๓๖


ศรัทธาสูงสุดของชีวิตได้น้อมมอบถวายไว้แด่พระศาสนา สิ่งล้ำค่าสุดสูงคือองค์พระศาดาหลักธรรมคำสอนและผู้สืบสานสารธรรมพุทธศาสนิกชนจึงได้รวมขานสิ่งล้ำเลิศสุดประเสริญแห่งองค์พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ว่า แก้วสามดวง

นักปราชญ์ได้ยกสิ่งสูงค่าให้เป็น แก้ว มหาชนก็สร้างแก้วให้มีค่า ไม่ว่าจะเป็นเพชร มณี มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดาหาร เพทาย ไพฑูรย์ คือ แก้วเก้าส่งผลให้มีทหารแก้ว ขุนนางแก้ว กวีแก้ว เมียแก้ว ลูกแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว และเมืองแก้ว

ภารกิจของเมืองอันนี้มีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะนำ “แก้ว” ไปใช้ ต้องได้รับการพิสูจน์ตรวจสอบด้วยการณกาลให้กล่าวขวัญถึงแก้วกอปรแล้วเป็นแก่นเมือง

ทรัพยากรแห่งดิน และสินแห่งน้ำอันอุดม สมบูรณ์ของเกาะภูเก็จ ได้ปรากฏหลักฐานสืบกาลมาตั้งแต่ พ.ศ. ๗๐๐ ที่คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวไว้ในชื่อ JUNK CEYLON และจีนเรียก SILAN ผ่านมาถึง พ.ศ. ๑๕๖๗ ได้ขานเรียกเกาะภูเก็จว่ามณิครัมที่แปหมายว่าเมืองแก้ว บรรดาสามายนามที่เกี่ยวข้องกับเมืองก็ต้องสอดคล้องกับเมืองแก้วให้รับกันได้ จึงต้องมีเจ้าแห่งเมืองว่า “ออกญาเพชร” ว่าการเมืองแก้วที่อุดมด้วยสินแร่ อำพัน มุก สัตว์ป่าและป่าไม้

ตอนต้นรัชกาลที่ ๕ มีเหตุการณ์จลาจลอั้งยี่เกิดขึ้นในแผ่นดินภูเก็จ เป็นเหตุให้เกิดวีรกรรมของพ่อท่านสมเด็จเจ้าวัดฉลอง ในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เป็น “พระครูสุทธิวงษาจาริย์ญาณมุนีสังฆปาโมกข์” ภูเก็จจึงมีพระแก้วในหัวใจสืบมาอีกรูปหนึ่ง

ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงตอนต้นสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีขุนนางแก้วประดับภูเก็จอีกคือ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี(คอซิมบี๊ ณ ระนอง)

กาลสืบมาถึงปัจจุบัน ภูเก็จได้รับการขานชื่อระบือก้องไปทั่วโลกว่า “ไข่มุกแห่งอันดามัน” “ไข่มุก” นั่นก็คือแก้ว


เกือบสมบูรณ์แล้ว… ภูเก็จเมืองแก้วแห่งสยามประเทศ หากชื่อจังหวัดไม่ตกเป็นทาสทางภาษาอาณานิคมให้กับมลายู

 


ภูเก็จใช้ชื่อนี้สืบเนื่องมานานปรากฏหลักฐานเก่าแก่ในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ ๑ ถึง ๒ ครั้ง ฉบับที่ ๔ บรรทัดแรก ๑ ครั้ง เมื่อมีการบันทึกคำ ภูเก็จที่ใดตรงนั้นก็ปรากฏ ภูเก็จ เสมอ เริ่มมาใช้สลับสับสนปนเป็นไปเป็นภาษาต่างด้าวประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ภูเก็จ ที่เป็นชื่อไทยอันหมายถึง เมืองแก้ว กำลังจางหายไป ผู้มีหัวใจที่รักความเป็นไทย เมื่อเห็นหลักฐานการใช้ชื่อภูเก็จแล้ว จึงร่วมกันปลดแอกภาษาเทศ “ภูเก็ต” ทิ้งไว้ให้เป็นรอยด่างทางประวัติศาสตร์บรรทัดหนึ่ง หวนกลับมาใช้ ภูเก็จ อันเป็นมงคลนามของไทยว่าภูเก็จ…เมืองแก้วอย่างสมภาคภูมิ.

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 09 สิงหาคม 2009 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้822
mod_vvisit_counterเมื่อวาน4333
mod_vvisit_counterทั้งหมด11066034