Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow ร.๕ เสด็จฯภูเก็ต
ร.๕ เสด็จฯภูเก็ต PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 25 มีนาคม 2018

 

 

 

รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯภูเก็ต
(มห.ภูเก็ต 2325)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสต้นแหลมมลายูเมื่อ รศ.109 (พ.ศ.2433) ในการนี้พระองค์ได้ทอดพระเนตรเหมืองแร่บริเวณภาคใต้ของประเทศ โดยในวันที่ 26 เมษายน รศ.109 พระองค์ได้เสร็จทอดพระเนตรการทำเหมืองที่จังหวัดระนอง 28 เมษายน รศ.109 เสด็จลงเรือทอดพระเนตรโรงถลุงแร่ที่ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และวันที่ 1 พฤษภาคม รศ.109 ได้ทรงทอดพระเนตรการทำเหมืองแร่บริเวณตะพานหิน จังหวัดภูเก็ต

๒๓ เหมืองดีบุกในแดนสยามทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตก เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ เข้ามากรุงเทพ ฯ กราบบังคมทูล ฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอไปตรวจดูเหมืองดีบุกที่เมืองตระบุรีเมืองระนอง เมืองหลังสวน และเมืองตะกั่วป่า ก็โปรด ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามประสงค์ และให้มีข้าหลวงไปด้วย เมื่อไปตรวจดูตลอดท้องที่แล้ว พระพิเทศพาณิชย์ขอพระราชทานทำเหมืองดีบุกที่เมืองตระบุรี ซึ่งยังไม่มีผู้ใดรับทำมาแต่ก่อน ผะเอิญในเวลานั้นเกิดมีข้อวิตกของรัฐบาลขึ้นเนื่องด้วยเมืองตระบุรี เหตุด้วยฝรั่งเศสขุดคลองสุเอสในประเทศอิยิปต์สำเร็จได้พวกฝรั่งเศสก็พากันคิดจะหาที่ขุดคลองทำนองเดียวกันในประเทศอื่นต่อไป มีฝรั่งเศสบางจำพวกคิดจะขุดคลองแต่เมืองตระบุรีมาออกเมืองชุมพรให้เป็นทางใช้เรือกำปั่นจากยุโรปไปถึงเมืองจีนเร็วขึ้นได้หลายวันโดยมิต้องอ้อมแหลมมะลายูไปทางเมืองสิงค์โปร์ ถึงคิดแผนที่และเรียกชื่อว่า "คลองตระ" ความคิดของฝรั่งเศสในเรื่องคลองตระครั้งนั้น เป็นแต่เลื่องลืออื้อฉาว แต่ยังไม่ปรากฎในทางราชการว่ารัฐบาลฝรั่งเศสจะสนับสนุนสักเพียงใด แต่ฝ่ายไทยคิดเห็นได้ว่าถ้าฝรั่งเศสมีอำนาจถึงได้ขุดคลองตระในครั้งนั้นคงจะมีผล ๒ อย่าง คือเสียแดนดินพระราชอาณาเขตต์ทางแหลมมะลายูมิมากก็น้อยอย่าง ๑ เสียประโยชน์การค้าขายของอังกฤษทางเมืองเกาะหมาก และสิงคโปร์ด้วยจะมีเรือไปค้าขายน้อยลงอย่าง ๑ กับแลเห็นความสำคัญในส่วนไทยอีกข้อ ๑ ที่ต้องให้อังกฤษเชื่อว่าไทยมิได้สนับสนุนฝรั่งเศสในเรื่องจะขุดคลองนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ๒๔ พระพิเทศพาณิชย์ทำเหมืองดีบุกที่เมืองตระบุรี จึงทรงตั้งพระพิเทศพาณิชย์ให้เป็นที่พระยาอัษฎงคตทิศรักษา ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตระเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ อันเป็นปีที่สุดแห่งรัชชกาลที่ ๔ นั้น แต่ตัวพระยาอัษฎงคตทิศรักษา ( ตันกิมเจ๋ง ) ก็คงอยู่ที่เมืองสิงค์โปร์และทำราชการเป็นกงสุลสยามอยู่ด้วย เป็นแต่แต่งผู้แทนตัวไปทำเหมืองดีบุกที่เมืองตระบุรี ก็หาสำเร็จผลได้กำไรร่ำรวยเหมืองอย่างเมืองอื่นไม่ ถึงรัชชกาลที่ ๕ เมื่อปีวอก พ.ศ.๒๔๑๕ พระยาอัษฎงคตทิศรักษา (ตันกิมเจ๋ง) เข้ามายื่นเรื่องราวต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บัง คับการหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตกอยู่ในสมัยนั้น ว่าพระยาวิชิตสงครามจางวางว่าราชการเมืองภูเก็ต เก็บภาษีอากรได้เงินเอาเป็นผลประโยชน์ ส่วนตัวเสียเป็นอันมาก คงส่งเงินหลวงแต่ปีละ ๑๗,๓๖๐ บาท พระยาอัษฎงคต ฯ ขอรับผูกขาดเก็บเงินภาษีอากรเมืองภูเก็ต จะประมูลเงินขึ้นปีละ ๒๐๒,๖๔๐ บาท รวมเป็นปีละ ๓๒๐,๐๐๐ บาท การที่พระยาอัษฎงคต ฯ ขอประมูลเงินภาษีอากรเมืองภูเก็ตครั้งนั้น เป็นเหตุข้อสำคัญอัน ๑ ในเรื่องตำนานหัวเมืองฝ่ายตะวันตก รวมทั้งเมืองระนองด้วย ด้วยมีผลทั้งฝ่ายข้างดีและฝ่ายข้างร้ายในเวลาต่อมา คือเมื่อพระยาอัษฎงคต ฯ ยื่นเรื่องราวร้องประมูลนั้น ลักษณะการเก็บภาษีอากรยังใช้วิธีเรียกประมูลอยู่ทั้งในกรุงเทพ ฯ และตามหัวเมือง ที่เจ้าเมืองทางฝ่ายตะวันตกได้มีอำนาจในการเก็บภาษีอากรในเมืองที่ตนปกครอง
 
๔๐ สยามมงกุฎพิชัยวิชิตขึ้นมาบนเมือง ๑๐๐ คน รุ่งขึ้นณวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เพลา ๕ โมงเช้า เรือมรุธาวสิทธิสวัสดิ์ซึ่งไปฟังราชการเมืองระนองกลับมาถึงเมืองภูเก็ต กัปตันไตเกลอพาทหารขึ้นมาบนเมือง ๒๐ คน ข้าพระพุทธเจ้าได้รับหนังสือพระยารัตนเศรษฐีลงวันเสาร์เดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีชวดอัฐศกฉะบับ ๑ ประทับตรากรมการ ๑๑ รายชื่อใจความว่าพวกจีนยังกำเริบอยู่ ขอให้เรือรบกลับไปเมืองระนองอีกสักครั้งหนึ่งก่อน ในเวลานั้นที่เมืองภูเก็ต พวกจีนโจรยังลอบเผาบ้านเรือนของราษฎรฆ่าฟันกัน แต่ยังไม่ทราบว่าไทยจีนจะตายสักเท่าใด พวกจีนหัวหน้าพวกจีนต้นแซ่รวม ๕๐ นาย พากันเข้ามาที่ออฟฟิศปรึกษาพร้อมกันทำหนังสือสัญญาไว้ต่อข้าพระพุทธเจ้า และพระยาวิชิตสงครามจางวาง ใจความว่าพวกจีนหัวหน้าซึ่งเป็นต้นแซ่จะกำชับพวกจีนตามแซ่มิให้เที่ยวปล้นชิงเผาบ้านเรือนทำอันตรายแก่คนฝ่ายไทย และจะห้ามพวกจีนมิให้ถือเครื่องศัสตราวุธเข้ามาในเมือง จีนผู้ใดไม่ฟังจะเอาปืนยิง ถ้าถูกตายจะตรวจดูว่าคนที่ตายนั้นเป็นแซ่ไหนแน่แล้ว จะปรับไหมจีนหัวหน้าต้นแซ่นั้นให้กับผู้ตาย ณวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ข้าพระพุทธเจ้าให้กัปตันไตเกลอพาเรือมรุธาวสิทธิสวัสดิ์ ถือหนังสือไปถึงเจ้าพระยาไทรบุรี ขอคนมาช่วยรักษาเมืองภูเก็ต และได้เขียนหนังสือถึงกรแนนแอนเซนแลบเตอแนล เกาวนาปีนัง ความว่าพวกจีนเมืองระนอง เมืองภูเก็ต เกิดวิวาทกันขึ้นกับพวกคนไทย ขอให้แลบเตอแนลเกาวนาห้ามปืนกะสุนดินดำ อย่าให้ลูกค้าบรรทุกเข้ามาขายในเมืองไทย แล้วได้สั่งให้กัปตันไตเกลอซื้อกัศริสปัสตันปืน
 
 
3 มีนาคม พ.ศ. 2415 ถึงภูเก็ต และประทับที่ภูเก็ต 1 คืน
4 มีนาคม พ.ศ. 2415 ถึงพังงาและประทับที่พังงา 2 คืน (อ้างอิง
 
 
ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์
(มห.ภูเก็ต 2325)

 

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 25 มีนาคม 2018 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4771
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016606