Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow ร.๗ เสด็จฯ ภูเก็ต
ร.๗ เสด็จฯ ภูเก็ต PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 23 มีนาคม 2018

 ร.๗ เสด็จฯภูเก็ต ๒๔๗๑

(มห.ภูเก็จ 2322) 

วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๗๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. เรือพระที่นั่งถึงอ่าวภูเก็ต เสด็จขึ้นบกไปประทับแรมที่พลับพลา เวลาค่ำเสด็จทอดพระเนตรการตกแต่งโคมไฟ

 

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ เวลาเช้า เสด็จออกศาลารัฐบาล ม.อ.ท. หม่อมเจ้าสฤษดิเดช สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตอ่านคำถวายชัยแล้วเสด็จทอดพระเนตรสถานที่ราชการโดยที่มีพระราชดำรัสตอบ ความสำคัญว่า “ด้วยประเพณีการปกครองสยามถือสืบมาแต่โบราณว่า พระเจ้าแผ่นดินกับประชาชนย่อมร่วมทุกข์สุขเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” จึงได้เสด็จฯ มาเพื่อที่จะได้ทรงทราบกิจการในมณฑลด้วยพระองค์เองเพื่อประกอบพระราชภารกิจ “ในการปกครองบ้านเมืองให้ประชาชนทั้งหลายในมณฑลนี้มีความเจริญสุขยิ่งขึ้นไป” และรับสั่งเช่นเดิมเกี่ยวกับการที่มีชนต่างด้าวทั้งจีนและฝรั่งมาทำการขุดแร่ด้วยวิธีขุดที่เจริญขึ้นตามลำดับมา “ถ้าการค้าขายและการทำเหมืองแร่ได้ผลมาก รัฐบาลก็ได้ประโยชน์มากขึ้นด้วย ถ้าผลตกต่ำก็ต่ำลงด้วยกัน สำคัญอยู่แต่ให้มีความปรองดองด้วยเห็นอกกันในระวางบุคคลต่างหน้าที่และต่างจำพวก กับช่วยกันรักษาความเรียบร้อยแลความสุขของบ้านเมือง...” [16]เสด็จศาลยุติธรรมประทับบัลลังก์ทรงฟังการชำระคดีถวาย ทรงลงพระบรมนามาภิไธยในคำพิพากษานั้น เวลาบ่ายเสด็จวัดโฆสิตวิหาร ประพาสบริเวณเมืองแล้วไปตามถนนสายตะวันตกถึงอ่าวฉลอง ทอดพระเนตรเรือขุดแร่ดีบุก นายเอ.เลียต หัวหน้าบริษัททุ่งคาฮาร์เบอร์ถวายของและกราบบังคมทูลชี้แจงกิจการแล้วประทับเรือยนต์ไปทอดพระเนตรเรือขุดทำการขุดแร่ในอ่าว แล้วเสด็จกลับสู่ที่ประทับแรม [17]

อนึ่ง การทำเหมืองแร่ดีบุก ในสยามเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องมา ในยุคแรกใช้แรงงานคนเป็นหลัก แล้วจึงใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ตามลักษณะเหมืองแต่ละประเภท เช่น เหมืองรูหรือเหมืองปล่องใช้การเจาะรูหรือปล่องให้คนลอดเข้าไปบนหินดินทรายออกมาเพื่อล้าง หาแร่ เหมืองฉีดใช้เครื่องดูดหินทรายปนแร่ขึ้นมาแล้วฉีดสู่รางกู้แร่ เหมืองสูบและการใช้เรือขุดต้องใช้เครื่องจักรทันสมัยที่มีราคาสูงมาก จึงเป็นของชาวตะวันตกโดยมาก นอกจากนั้น มีเหมืองหาบและเหมืองเจาะงัน เป็นต้น [18] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จฯ เสด็จฯ ทอดพระเนตรการทำเหมืองประเภทต่าง ๆ ด้วยความสนพระราชหฤทัยและพระราชมานะ ดังจะเห็นได้ต่อไป

วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ เวลา ๑๐.๑๐ น. เสด็จฯ ตำบลกะทู้ ทอดพระเนตรการทำเหมืองแร่ด้วยเรือขุดขนาดใหญ่ของบริษัทกระทู้หินจนถึงเวลา ๑๒.๓๐ น. เสด็จกลับ เวลา ๒๐.๐๐ น. เสด็จเสวยพระกระยาหารค่ำที่ศาลารัฐบาล พ่อค้าจีนและแขกอินเดีย และผู้แทนนายเหมืองแร่เฝ้าฯ หัวหน้าพ่อค้าถวายพระพรชัยมงคล มีพระราชดำรัสตอบ ความตอนหนึ่งว่า “จีนกับไทยที่จริงเหมือนกันญาติกัน ด้วยร่วมศาสนาแลมีจารีตประเพณีคล้ายคลึงกัน...จีนที่เข้ามาอยู่ในประเทศสยามจึงเข้ากันได้สนิทสนม จนถึงร่วมสมพงศ์มีวงศ์วารเป็นไทยอยู่ในประเทศสยามเป็นอันมาก...ส่วนตัวเราก็ชอบจีน และปรารถนาจะรักษาประเพณีอันดีซึ่งมีมาแต่โบราณไว้ให้ถาวรสืบไป...พวกแขกชาวอินเดีย ถึงมีมาอยู่ในประเทศสยามน้อยกว่า จำนวนจีนก็ดีไทยเราถือว่าเป็นพวกที่ได้มีไมตรีกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ ศาสนาและขนบธรรมเนียมต่างๆ ของไทยก็ได้มาจากอินเดียเป็นพื้น...ควรหวังใจได้ว่าจะได้รับความอุปถัมภ์บำรุงในประเทศสยาม ไม่น้อยหน้ากว่าชาวอินเดียไปอยู่ในประเทศอื่น” [19]นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทรงมีพระราชปรารภถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมแต่กลมกลืนกันในสยามหนึ่งเดียว

รัชกาลที่ ๗ เสด็จ ภูเก็ต
  : สถาบันพระะปกเกล้า

ีร.๗ เสด็จฯ ฝั่งตะวันตก

ภาพ ร.๗ เสด็จฯ ภูเก็ต พ.ศ.๒๔๗๑ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

ประวัติศาสตร์  ประวัติศาสตร์
(มห.ภูเก็จ 2322) 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 25 มีนาคม 2018 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4636
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016471