Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก
อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 26 เมษายน 2009
 

อนุสาวรีย์ถลางชนะศึก

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

โทร. ๐๘๑ ๓๒๖ ๒๕๔๙;  ๐๘๓ ๑๐๒๕ ๖๐๖

 

 

ท่านผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี) ยืนสง่างาม สุขุม ใบหน้าแสดงความเปี่ยมปิติที่ได้รับชัยชนะ มือขวาถือดาบปลายแหลมยกสูงขึ้นแสดงชัยชนะ มือซ้ายยกไปแตะที่แขนซ้ายคุณมุก “พอแล้วน้อง ไม่ต้องตามล่าไปถึงพม่าหรอก เพียงแค่นี้ ยี่หวุ่นก็ไม่กล้าหวนกลับมาอีกแล้ว”

คุณมุก(ท้าวศรีสุนทร) ยืนสง่างาม มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวจริงจังที่จะตามติดพิชิตยี่หวุ่นให้ถึงพม่า มือซ้ายถือดาบปลายแหลมชูขึ้นสุดแขนแสดงความมีชัย “ข้าฯจะตามล้างยี่หวุ่นให้ถึงที่ซุกหัวนอน”

ประวัติศาสตร์ : ท่านผู้หญิงจัน(ผู้พี่)และคุณมุก(น้องสาว) บุตรีของจอมร้างเจ้าเมืองถลางบ้านเคียน กับนางหม้าเสี้ย(บุตรีเจ้าเมืองไทรบุรี) คุณมุก(ท้าวศรีสุนทร)ไม่มีทายาทสืบสายสกุล ท่านผู้หญิงจันถูก กองทัพไทยเกาะกุมตัวไปจำขังแทนสามีที่ถึงแก่กรรม ที่ค่ายปากพระ ยี่หวุ่นพาทหารพม่า ๓,๐๐๐ คน เข้าปล้นค่ายปากพระ ท่านผู้หญิงจันจึงตีฝ่าวงล้อมพม่าคืนกลับเมืองถลางบ้านเคียน ระดมพลจัดเป็น กองทัพเมืองถลางต่อสู้กับกองทหารยี่หวุ่นเป็นเวลาเดือนเศษ กองทัพถลางใช้ยุทธวิธีพระพิรุณสังหาร มีแม่นางกลางเมืองเป็นปืนหลัก ทหารพม่าเจ็บป่วยล้มตาย ๓๐๐-๔๐๐ คน พม่าแตกพ่ายไปเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก ตรงกับวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘ เป็นวันถลางชนะศึก

พญาถลางทองพูน ณ ถลาง (ลงจากหลังช้าง)ใช้ของ้าวเป็นด้ามธง ยืนจับด้ามธง มือขวาจับ ด้ามธงผลักให้สูงขึ้น มือซ้ายคว่ำลงจับด้ามธงกดลง หน้าตาดวงตามุ่งมั่นที่จะได้รับการโปรดเกล้าฯ ขึ้นครองเมืองถลางต่อไป

พญาถลางเทียน ประทีป ณ ถลาง หันหลังให้ด้ามธง มือซ้ายคว่ำลงแตะที่ด้ามธง(อยู่ระหว่าง มือซ้ายและขวาของพญาถลางทองพูน) “ชัยชนะพม่าครานี้ จะส่งผลให้กรมพระราชวังบวรมหา สุรสิงหนาทโปรดข้าฯ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองถลางได้ด้วยความมั่นใจ” มือขวาจับปืนยาวยกชูขึ้น “นี่คือชัยชนะ ของชาวถลาง”

ประวัติศาสตร์ : พญาถลางทองพูน บุตรจอมเฒ่าเจ้าเมืองถลางบ้านดอน ได้ขึ้นครองเมืองถลางบ้านดอน หลังพญาพิมลอัยาขัน สามีท่านผู้หญิงจันถึงแก่กรรม มีศักดิ์เป็นลูกผู้พี่ของท่านผู้หญิงจัน มีศักดิ์เป็นลุงของ พญาถลางเทียน เป็นต้นสกุล ณ ถลาง

พญาถลางเทียน เป็นบุตรคนที่สองของท่านผู้หญิงจัน เคยเป็นเจ้าเมืองภูเก็จ พบแหล่งแร่ดีบุกที่บ้านสะปำ ติดต่อกับพ่อค้าชาวยุโรป สั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ส่งไปเมืองหลวงตามเส้นทางตะโกลาเขาศก หลังเสร็จศึก ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพญาทุกรราช รองเจ้าเมืองถลาง ช่วยปกครองแปดหัวเมือง(ถลาง ภูเก็จ ภูงา ตะโกลา (ตะกั่วป่า) คุระ คุรอด ก็รา กระโสม(ตะกั่วทุ่ง))ฝั่งอันดามัน และได้ขึ้นครองเมืองถลางเมื่อได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพญาเพชรคีรีศรีพิไชยสงครามรามคำแหง ต้นสกุล ประทีป ณ ถลาง

ทหาร๑ มือซ้ายถือคันธนูยกสูงขึ้น สะพายกระบอกธนู มือขวาดึงมีดสั้นที่เหน็บที่สะเอวออกมา พอให้เห็นว่าเป็นมีด “เข้ามาประชิด ข้าฯต้องเสียบมีดปักอกเอ็ง”

ทหาร๒ มือซ้ายหงายจับด้ามหอกยาวยกขึ้น มือซ้ายคว่ำจับด้ามหอกกดลง กระชับมั่นอยู่ในมือ ทั้งสองพร้อมที่จะพุ่งทะลวงเข้าเสียบอกศัตรู เหน็บกริชที่สะเอว กระบอกกริชถูกอาวุธศัตรูกระทบ จนแตกออกเห็นคมกริช กริชเป็นสัญลักษณ์หมายถึงความหลากหลายความเชื่อแต่มาร่วมหนึ่งน้ำใจเดียว สู้ศึกด้วยกัน

ประวัติศาสตร์ : ชาวถลางผู้ร่วมศึกถลาง พ.ศ.๒๓๒๘ เคียงบ่าเคียงไหล่พลีชีพในกองทัพของท่าน ผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี) คุณมุก(ท้าวศรีสุนทร) สืบสกุลมาเป็นสกุลจันทร์ จันทโรจวงศ์ จันทวงศ์ ชนะศึก ฤกษ์ถลาง ไกรเลิศ แก่นตะเคียน ตะเคียนทอง ถิ่นถลาง (ช่วยเสนอเพิ่ม) ฯลฯ

แม่ปราง บุตรสาวหัวปีของท่านผู้หญิงจัน ยืนถือธนู สะพายกระบอกเก็บลูกธนู หันตัวไปด้าน ทิศตะวันออกสู่เมืองถลางบ้านเคียน และเอียงหน้าไปที่บ้าน(อยู่ที่บ้านสะปำ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของอนุสาวรีย์) เพราะเป็นห่วงแร่ดีบุกที่จะเป็นทุนซื้อเสบียงมาเลี้ยงกองทัพถลาง.

 

สตรี และ เด็ก เป็นสัญลักษณ์ของหญิง(แม่) ผู้ปกป้องภยันตรายและสร้างความมั่งคั่งมั่นคง ทางเศรษฐทรัพย์แก่เหล่าอนุชน(เด็ก)  สตรีอายุ ๖๐ ปี นั่งทำงานเป็นกองเสบียง(มือถือ รวงข้าว)และเสร็จจากการดูแลเหมืองแร่ดีบุก (เลียง) เอื้อมมือจับรั้งตัวเด็กไว้ เพราะเด็ก (เกิดวันที่ ๖ เมษายน ๒๓๒๕ ถึงวันถลาง ชนะศึกมีอายุ ๓ ขวบ)สนใจที่จะรับรู้ข่าวถลาง ชนะศึก จึงลุกเดินมุ่งตามศัตรู(การต่อสู้ อุปสรรค)เพื่อสรรค์สร้างอนาคตจนเกือบลืม ภยันตราย  สตรีผู้มีประสบการณ์จึงรั้งไว้ ให้คิดก่อนทำ.

—————

จากข้อเสนอของคุณสกุล ณ นคร ให้ทายาทยืนแสดงท่าดังความข้างต้นนี้ ผมจะนำไปเป็น กิจกรรมเสริมให้ทายาทแต่ละสกุลที่ร่วมศึก แสดงท่าบนแท่นฐานอนุสาวรีย์ (ยกเป็นเวทีกลม สูงขึ้นสัก ๑ เมตร) ประทีป ณ ถลาง เป็น พญาถลางเทียน, ณ ถลาง เป็น พญาถลางทองพูน

ส่วนสายสกุลอื่น(สกุลจันทร์ จันทโรจวงศ์ จันทวงศ์ ชนะศึก ฤกษ์ถลาง ไกรเลิศ แก่นตะเคียน ตะเคียนทอง ฯลฯ)ที่มีใจเข้าร่วมประชุม คัดเลือก ๗ คน แสดงเป็น ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร แม่ปราง ทหาร ทหาร แม่และเด็ก

และมีแท่นฐานขนาด ๑-๒ คน ไว้แสดงเป็นคู่ ๆ พญาถลางเทียนกับพญาถลางทองพูน ท้าวเทพ กระษัตรีกับท้าวศรีสุนทร ทหาร ๒ คน แม่ปรางกับทหารถือหอก

เมื่อคิดเอง เออเอง ก็คิดว่า เราต้องหาเครื่องแต่งกายให้ใกล้เคียงไว้ให้ยืม ต้องหาอาวุธเท่าที่ เสนอไว้ จะจ้างใครทำอาวุธจำลองให้ ยังไม่รู้ เสียเงินอีกเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ใครจะมาแต่งหน้าแต่งตาพอให้ เข้ากล้องได้ ก็ยังไม่รู้ ใครจะช่วยสร้างแท่นฐานให้ ก็ยังไม่รู้ ห้องกำบังเปลี่ยนผ้า แขวนผ้า ใครจะดูแลการ ถ่ายรูปตลอดงาน ก็ยัง...ไม่...รู้...

ท่านว่ายังไงเจ้าขา?

สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์

พมร. กะทู้

๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 23 พฤษภาคม 2009 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4576
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016411