Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow กล่าวรายงาน 100 ปี ถนนเทพกระษัตรี
กล่าวรายงาน 100 ปี ถนนเทพกระษัตรี PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อาทิตย์, 26 เมษายน 2009
 ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

เรียน ........(ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นาย.......) ประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี

 

ข้าพเจ้า.....(นายนาง....... ตำแหน่ง.......) ตัวแทนชาวจังหวัดภูเก็ต กราบขอบพระคุณท่านที่เมตตาให้ เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ ๒ ช่วงวันที่ ๒๔ - ๓๐ เมษายน ๒๔๕๒ ในวโรกาสนั้น พระองค์ทรงพระราชทานนามถนนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน ๓ สาย คือถนนภูเก็ตและถนนวิชิตสงครามในวันที่ ๒๘ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ และถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒

ใน “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘” ของ “นายแก้ว”(พระนามแฝงในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) สรุปพระราชกรณียกิจความว่าในเช้าวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จมาทรงเปิดถนนเทพกระษัตรี เจ้าพนักงานมณฑลภูเก็ตได้ปลูกปะรำไว้ที่ถนน โกมารภัจจ์ ซึ่งอยู่ริมโรงพยาบาลมณฑลภูเก็จใกล้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในครั้งนั้นมณฑลภูเก็ตได้อาราธนาคณะพระสงฆ์ มีเจ้าคุณอริยกระวี เจ้าคณะมณฑลภูเก็จเป็นประธาน หม่อมเจ้าประดิพัทธ์เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็จ เป็นผู้ถวายรายงานการสร้างถนนเทพกระษัตรี เเล้วกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯทรงเปิดถนนเทพกระษัตรี ทรงมีพระราชดำรัสตอบ พระราชทานนามถนนว่า ถนนเทพกระษัตรี ตามนามท้าวเทพกระษัตรีที่ได้ต่อสู้รบพุ่งต้านต่อกับพม่ายี่หวุ่น พล ๓,๐๐๐ คน เป็นเวลาเดือนเศษ พม่าเจ็บป่วยล้มตาย ประมาณ ๓๐๐ ๔๐๐ คน พม่าแตกทัพกลับไปเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘ มีนามปรากฏอยู่ในพระพงศาวดาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ตรัสชมว่าท้าวเทพกระษัตรีนี้ เป็นผู้หญิงเก่ง คนหนึ่ง ผู้หญิงที่จะได้มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในตำนานของชาติไทยเรามีน้อยนัก เพราะฉะนั้น จึงเป็นการสมควรแล้ว ที่จะมีอนุสาวรีย์ไว้ให้คนระลึกถึงและจำได้ต่อไปชั่วกาลนาน การที่ พระราชทานนามถนนสายถลางสายนี้ ตามนาม ท้าวเทพกระษัตรี นี้นั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง

ถนนเทพกระษัตรี(พ.ศ.๒๕๕๒)ยาวประมาณ ๔๓ กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนภูเก็ตติดถนนถลาง บริเวณ แถวน้ำ ในเขตเทศบาลนครภูเก็ตไปทางทิศเหนือผ่านหน้าโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย หน้าวัดโฆษิตวิหาร ควนดินแดงเขต อบต.รัษฎาและ อบต.เกาะแก้ว ตัดข้ามคลองบางคูคดอันเป็นเขตแดนเมืองภูเก็จกับเมืองถลาง เข้าสู่อำเภอถลางในพื้นที่ อบต.ศรีสุนทร ผ่านด้านหลังจวนเจ้าเมืองภูเก็จพระยาวิชิตสงครามทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ในพื้นที่ของ พญาถลางเจ๊ะมะเจิม ผู้เป็นบิดาของพญาภูเก็จแก้วหรือปู่ของพญาภูเก็จทัต ผ่านสี่แยกบ้านท่าเรือต้นถนนศรีสุนทร และถนน เจ้าคุณคินเกตุ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ผ่านเมืองถลางบ้านลิพอน ถึงบ้านนครัม ข้ามบางปู สู่บ้าน หินรุ่ย เขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี “แต่ถนนไม่หมดอยู่เพียงนี้ ยังมีต่อไปอีกจนถึงท่ามะพร้าวฝั่งทะเล ขณะนั้นยังไปไม่ได้ เพราะสะพานยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ถนนช่วงหน้าวัดโฆษิตวิหารถึงบ้านท่าเรือโรยศิลาแล้วแน่นหนาเรียบดี ตอนตั้งแต่ บ้านท่าเรือไปบ้านเคียน อำเภอถลางยังไม่ได้โรยศิลา”

 

พวกเราเหล่าอนุชนได้อ่านบทพระราชนิพนธ์ดังกล่าว มีความซาบซึ้งเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมใน พระราชกรณียกิจในครั้งนั้นของพระองค์ และปวงข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ด้วยความจงรักภักดีแด่สถาบันพระมหากษัตราธิราชเจ้า ในช่วงที่พระองค์พระราชทานนามถนนเทพกระษัตรี กาลล่วงแล้วครบ ๑๐๐ ปีในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ วันนี้ด้วยอีก ประการหนึ่งนั้น จึงร่วมกันจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ

๑. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้รับทราบและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวภูเก็ต

๒. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้มีโอกาสร่วมถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราช-

สุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา

๓. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเกิดความสำนึก ความภาคภูมิใจ ในประวัติศาสตร์แผ่นดินของตนเอง

๔. เพื่อเป็นโอกาสอันดีที่ผู้นำศาสนาจะได้นำศาสนิกชนร่วมประกอบคุณงามความดีอีกวาระหนึ่ง

 

การจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี ดำเนินงานมาได้ด้วยความร่วมมือขององค์กรรัฐ องค์กรเอกชน และบุคคลจำนวนมาก อาธิเช่น
.............................................................................

........................................................................................

 

ข้าพเจ้าจึงขอกราบเรียนท่านประธานประกอบพิธีเปิดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี จักได้เป็นสิริ มงคลสืบกาลสืบไป.

-------------------------------------------

 

ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

นมัสการพระเดชพระคุณเจ้า ......................

เรียน ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดภูเก็ต

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต

นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต

........................................... .................................. ....................................

ท่านผู้มีเกียรติ

 

ด้วยหน้าที่ที่ดำรงไว้แห่งใจของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าพเจ้ามา บำรุงงานราชการในจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับข้าราชการหลายท่านในที่นี้

ข้าพเจ้าทราบดีว่าจังหวัดภูเก็ตเคยเป็นขุมคลังพระราชทรัพย์ในองค์พระมหากษัตราธิราชเจ้ามาตั้งแต่ สมัยสุโขทัย ชาวภูเก็ตและชาวถลางได้ทำงานอย่างหนักมาตลอด ๕๐๐ ปีที่ผ่านมาเพื่อรักษาและส่งพระราชทรัพย์เข้าสู่คลัง เมืองหลวง พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีจำนวน ๔ พระองค์ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจการเหมืองแร่ดีบุกในจังหวัด ภูเก็ตมาตั้งแต่บรรพกาล และทราบรายละเอียดจากรายงานในพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานนามถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ และพี่น้องประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้ใช้ถนนเทพกระษัตรีสืบมายาวนานจนมีอายุครบ ๑๐๐ ปีในวันนี้

ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ได้ร่วมจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี จนเป็นรูปธรรม ด้วยความเรียบง่าย แต่มากล้นด้วยคุณค่าอเนกอนันต์ทางด้านจิตใจเพื่อดำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งความ สามัคคีของทุกหมู่เหล่า บำรุงพระศาสนาทุกศาสนาอย่างเช่นวันนี้ และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีให้ปรากฏแก่สายตา ชาวโลกอย่างมั่นใจ

ข้าพเจ้าขออำนาจธรรมคุณของทุกพระศาสนา ขออำนาจบารมีในองค์พระมหากษัตริยาราชเจ้าทุก พระองค์ และบารมีแห่งความกล้าหาญด้วยสติปัญญาประดุจเทพของท้าวเทพกระษัตรี ได้ร่วมอำนวยพรให้ท่านผู้มีเกียรติ

มีความสุขความเจริญสืบไป

 

ข้าพเจ้าขอเปิดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี ณ ฤกษ์มงคลบัดนี้

 

 

------------------------------------------------------------------------------------

ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

เจริญพร สาธุชนผู้ยึดมั่นในความกตัญญูกตเวทิตาคุณ

โยม........(ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นาย.......) ประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี

โยม........

 

 

 

อาตมาภาพ.....(........ สมณศักดิ์.......) ตัวแทนคณะสงฆ์จังหวัดภูเก็ต ได้เห็นญาติโยมสาธุชนมาร่วมชุมชุม ประกอบสาธารณกุศลด้วยความเต็มใจ เพียงเหตุเบื้องต้นดั่งนี้ อาตมาขอชื่นชมในคุณมงคลของสาธุชน

 

ในกรณียกิจแห่งมหาบพิตรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ ๒ ช่วงวันที่ ๒๔ - ๓๐ เมษายน ๒๔๕๒ ในวโรกาสนั้น องค์มหาบพิตรรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานนามถนนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน ๓ สาย คือถนนภูเก็ตและถนนวิชิตสงครามในวันที่ ๒๘ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ และถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ กาลล่วงแล้วครบ ๑๐๐ ปีในวันนี้ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒

 

เมื่อ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา เจ้าพนักงานมณฑลภูเก็ตได้ปลูกปะรำไว้ที่ถนนโกมารภัจจ์ ซึ่งอยู่ริมโรงพยาบาล มณฑลภูเก็จใกล้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในครั้งนั้นมณฑลภูเก็ตได้อาราธนาคณะพระสงฆ์ มีเจ้าคุณอริยกระวี เจ้าคณะมณฑลภูเก็จเป็นประธาน หม่อมเจ้าประดิพัทธ์เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็จ เป็นผู้ถวายรายงานการสร้าง ถนนเทพกระษัตรี เเล้วกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ ทรงเปิดถนนเทพกระษัตรี ทรงมีพระราชดำรัสตอบ พระราชทานนามถนนว่า ถนนเทพกระษัตรี ตามนามท้าวเทพกระษัตรี ผู้เป็น ๑ ใน ๔ ของวีรสตรีสยามประเทศ

 

กุศลจิตของสาธุชนเป็นสิ่งที่มนุษยชาติพึงปรารถนาให้เกิดขึ้นทั้งในครอบครัว ชุมชนสถานที่อยู่อาศัย แผ่ไกลสู่เพื่อนร่วมชาติร่วมศาสนา ร่วมสายธาราแห่งชีวิต อาตมาจึงขออำนาจบารมีพระรัตนตรัยที่เผยแผ่ไพศาลมานานกว่า ๒๕๕๒ ปี ได้เป็นที่พึ่งพาเสริมกำลังจิตของสาธุชนประกอบคุณงามความดีอันก่อให้เกิดจตุรพิธพรชัยทั้งตนเอง ครอบครัว เครือญาติผู้สืบสายสกุล ให้มีความสุขเกษมสำราญตลอดกาลนิรันดร์ เทอญ

 

------------------------------------------------------------------------------------

 

ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

เจริญพร สาธุชนผู้ยึดมั่นในความกตัญญูกตเวทิตาคุณ

โยม........(นายอำเภอถลาง นาย.......) ประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี เขตอำเภอถลาง

โยม........

 

อาตมาภาพ.....(........ สมณศักดิ์.......) ตัวแทนคณะสงฆ์อำเภอถลาง ได้เห็นญาติโยมสาธุชนมาร่วมชุมชุม ประกอบสาธารณกุศลด้วยความเต็มใจ เพียงเหตุเบื้องต้นดั่งนี้ อาตมาขอชื่นชมในคุณมงคลของสาธุชน

 

ในกรณียกิจแห่งมหาบพิตรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ ๒ ช่วงวันที่ ๒๔ - ๓๐ เมษายน ๒๔๕๒ ในวโรกาสนั้น องค์มหาบพิตรรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานนามถนนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน ๓ สาย คือถนนภูเก็ตและถนนวิชิตสงครามในวันที่ ๒๘ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ และถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ กาลล่วงแล้วครบ ๑๐๐ ปีในวันนี้ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒

 

เมื่อ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา เจ้าพนักงานมณฑลภูเก็ตได้ปลูกปะรำไว้ที่ถนนโกมารภัจจ์ ซึ่งอยู่ริมโรงพยาบาล มณฑลภูเก็จใกล้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในครั้งนั้นมณฑลภูเก็ตได้อาราธนาคณะพระสงฆ์ มีเจ้าคุณอริยกระวี เจ้าคณะ มณฑลภูเก็จเป็นประธาน หม่อมเจ้าประดิพัทธ์เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็จ เป็นผู้ถวายรายงานการสร้าง ถนนเทพกระษัตรี เเล้วกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ ทรงเปิดถนน เทพกระษัตรี ทรงมีพระราชดำรัสตอบ พระราชทานนามถนนว่า ถนนเทพกระษัตรี ตามนามท้าวเทพกระษัตรี ผู้เป็น ๑ ใน ๔ ของวีรสตรีสยามประเทศ พระองค์เสด็จประทับรถพระที่นั่งทรงขับรถยนต์ด้วยตัวพระองค์เองเสด็จฯมาทอด พระเนตรค่ายท้าวเทพกระษัตรีที่เกาะบ้านเคียน เสด็จฯวัดพระทอง เสด็จฯจวนพญาเมืองภูเก็จพระยาวิชิตสงครามทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ที่บ้านท่าเรือแล้วเสด็จกลับพลับพลาที่ประทับที่บ้านสามกอง

 

กุศลจิตของสาธุชนเป็นสิ่งที่มนุษยชาติพึงปรารถนาให้เกิดขึ้นทั้งในครอบครัว ชุมชนสถานที่อยู่อาศัย แผ่ไกลสู่เพื่อนร่วมชาติร่วมศาสนา ร่วมสายธาราแห่งชีวิต อาตมาจึงขออำนาจบารมีพระรัตนตรัยที่เผยแผ่ไพศาลมานานกว่า ๒๕๕๒ ปี ได้เป็นที่พึ่งพาเสริมกำลังจิตของสาธุชนประกอบคุณงามความดีอันก่อให้เกิดจตุรพิธพรชัยทั้งตนเอง ครอบครัว เครือญาติผู้สืบสายสกุล ให้มีความสุขเกษมสำราญตลอดกาลนิรันดร์ เทอญ.

 

------------------------------------------------------------------------------------

 

ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

เรียน ........(นายอำเภอถลาง นาย.......) ประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี ในส่วนอำเภอถลาง

 

ข้าพเจ้า.....(นายนาง....... ตำแหน่ง.......) ตัวแทนชาวอำเภอถลาง กราบขอบพระคุณท่านที่เมตตาให้ เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิดฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ ๒ ช่วงวันที่ ๒๔ - ๓๐ เมษายน ๒๔๕๒ ในวโรกาสนั้น พระองค์ทรงพระราชทานนามถนนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน ๓ สาย คือถนนภูเก็ตและถนนวิชิตสงครามในวันที่ ๒๘ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ และถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒

 

ใน “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘” ของ “นายแก้ว”(พระนามแฝงในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) สรุปพระราชกรณียกิจความว่าในเช้าวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จมาทรงเปิดถนนเทพกระษัตรี เจ้าพนักงานมณฑลภูเก็ตได้ปลูกปะรำไว้ที่ถนน โกมารภัจจ์ ซึ่งอยู่ริมโรงพยาบาลมณฑลภูเก็จใกล้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในครั้งนั้นมณฑลภูเก็ตได้อาราธนาคณะพระสงฆ์ มีเจ้าคุณอริยกระวี เจ้าคณะมณฑลภูเก็จเป็นประธาน หม่อมเจ้าประดิพัทธ์เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็จ เป็นผู้ถวายรายงานการสร้างถนนเทพกระษัตรี เเล้วกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯทรงเปิดถนนเทพกระษัตรี ทรงมีพระราชดำรัสตอบ พระราชทานนามถนนว่า ถนนเทพกระษัตรี ตามนามท้าวเทพกระษัตรีที่ได้ต่อสู้รบพุ่งต้านต่อกับพม่ายี่หวุ่น พล ๓,๐๐๐ คน เป็นเวลาเดือนเศษ พม่าเจ็บป่วยล้มตาย ประมาณ ๓๐๐ ๔๐๐ คน พม่าแตกทัพกลับไปเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘ มีนามปรากฏอยู่ในพระพงศาวดาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ตรัสชมว่าท้าวเทพกระษัตรีนี้ เป็นผู้หญิงเก่ง คนหนึ่ง ผู้หญิงที่จะได้มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในตำนานของชาติไทยเรามีน้อยนัก เพราะฉะนั้น จึงเป็นการสมควรแล้ว ที่จะมีอนุสาวรีย์ไว้ให้คนระลึกถึงและจำได้ต่อไปชั่วกาลนาน การที่ พระราชทานนามถนนสายถลางสายนี้ ตามนาม ท้าวเทพกระษัตรี นี้นั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง

ถนนเทพกระษัตรี(พ.ศ.๒๕๕๒)ยาวประมาณ ๔๓ กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนภูเก็ตติดถนนถลาง บริเวณ แถวน้ำ ในเขตเทศบาลนครภูเก็ตไปทางทิศเหนือผ่านหน้าโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย หน้าวัดโฆษิตวิหาร ควนดินแดงเขต อบต.รัษฎาและ อบต.เกาะแก้ว ตัดข้ามคลองบางคูคดอันเป็นเขตแดนเมืองภูเก็จกับเมืองถลาง เข้าสู่อำเภอถลางในพื้นที่ อบต.ศรีสุนทร ผ่านด้านหลังจวนเจ้าเมืองภูเก็จพระยาวิชิตสงครามทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ในพื้นที่ของ พญาถลางเจ๊ะมะเจิม ผู้เป็นบิดาของพญาภูเก็จแก้วหรือปู่ของพญาภูเก็จทัต ผ่านสี่แยกบ้านท่าเรือต้นถนนศรีสุนทร และถนน เจ้าคุณคินเกตุ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ผ่านเมืองถลางบ้านลิพอน ถึงบ้านนครัม ข้ามบางปู สู่บ้าน หินรุ่ย เขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี “แต่ถนนไม่หมดอยู่เพียงนี้ ยังมีต่อไปอีกจนถึงท่ามะพร้าวฝั่งทะเล ขณะนั้นยังไปไม่ได้ เพราะสะพานยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ถนนช่วงหน้าวัดโฆษิตวิหารถึงบ้านท่าเรือโรยศิลาแล้วแน่นหนาเรียบดี ตอนตั้งแต่ บ้านท่าเรือไปบ้านเคียน อำเภอถลางยังไม่ได้โรยศิลา”

 

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงขับรถพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง เสด็จฯ จากหน้าวัดโฆษิตวิหาร อำเภอเมืองภูเก็ต เข้าสู่อำเภอถลาง เสด็จฯ ทอดพระเนตรค่ายท้าวเทพกระษัตรี ที่เกาะบ้านเคียน เสด็จฯ วัดพระทอง เสด็จฯ เสวยพระกระยาหารเที่ยงที่บ้านหลวงบริบูรณ์ นายอำเภอถลาง เสด็จฯ จวน เจ้าเมืองภูเก็จพระยาวิชิตสงครามทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จึงเสด็จฯ กลับพลับพลาที่ประทับที่บ้านสามกอง

 

พวกเราเหล่าอนุชนได้อ่านบทพระราชนิพนธ์ดังกล่าว มีความซาบซึ้งเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมใน พระราชกรณียกิจในครั้งนั้นของพระองค์ และปวงข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ด้วยความจงรักภักดีแด่สถาบันพระมหากษัตราธิราชเจ้า ในช่วงที่พระองค์พระราชทานนามถนนเทพกระษัตรี กาลล่วงแล้วครบ ๑๐๐ ปีในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ วันนี้ด้วยอีก ประการหนึ่งนั้น จึงร่วมกันจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ

๑. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้รับทราบและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวภูเก็ต

๒. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้มีโอกาสร่วมถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราช-

สุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา

๓. เพื่อให้ประชาชนชาวภูเก็ตได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเกิดความสำนึก ความภาคภูมิใจ ในประวัติศาสตร์แผ่นดินของตนเอง

๔. เพื่อเป็นโอกาสอันดีที่ผู้นำศาสนาจะได้นำศาสนิกชนร่วมประกอบคุณงามความดีอีกวาระหนึ่ง

 

การจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี ดำเนินงานมาได้ด้วยความร่วมมือขององค์กรรัฐ องค์กรเอกชน และบุคคลจำนวนมาก อาธิเช่น
.............................................................................

........................................................................................

 

ข้าพเจ้าจึงขอกราบเรียนท่านประธานประกอบพิธีเปิดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี จักได้เป็นสิริ มงคลสืบกาลสืบไป.

 

 

------------------------------------------------------------------------------------

 

ถนนเทพกระษัตรี

นามพระราชทาน ครบ ๑๐๐ ปี

(พ.ศ.๒๔๕๒ - ๒๕๕๒)

------

นมัสการพระเดชพระคุณเจ้า ......................

เรียน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี

นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี

ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอถลาง

........................................... .................................. ....................................

ท่านผู้มีเกียรติ

 

ด้วยหน้าที่ที่ดำรงไว้แห่งใจของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงได้มอบหมาย ให้ข้าพเจ้ามาบำรุงงานราชการในอำเภอถลาง ร่วมกับข้าราชการหลายท่านในที่นี้

ข้าพเจ้าทราบดีว่าอำเภอถลางซึ่งพัฒนามาจากเมืองถลางเคยเป็นขุมคลังพระราชทรัพย์ในองค์พระ มหากษัตราธิราชเจ้ามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ชาวถลางได้ทำงานอย่างหนักมาตลอด ๕๐๐ ปีที่ผ่านมาเพื่อรักษาและส่ง พระราชทรัพย์เข้าสู่คลังเมืองหลวง พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีจำนวน ๔ พระองค์ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจการ เหมืองแร่ดีบุกในจังหวัดภูเก็ตมาตั้งแต่บรรพกาล และทราบรายละเอียดจากรายงานในพระราชกรณียกิจในพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานนามถนนเทพกระษัตรี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ และพี่น้อง ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้ใช้ถนนเทพกระษัตรีสืบมายาวนานจนมีอายุครบ ๑๐๐ ปีในวันนี้

ข้าพเจ้าทราบว่าพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จฯ ถึงอำเภอถลาง คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวในกาลสืบมา พระองค์ได้เสด็จฯ ถึงค่ายท้าวเทพกระษัตรีที่เกาะบ้านเคียน และทรงพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุ ร.ศ.๑๒๘ ให้พวกเราซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์แผ่นดินถลางแผ่นดินมาตุภูมิของพวกเรา

ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ได้ร่วมจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี จนเป็นรูปธรรม ด้วยความเรียบง่าย แต่มากล้นด้วยคุณค่าอเนกอนันต์ทางด้านจิตใจเพื่อดำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งความ สามัคคีของทุกหมู่เหล่า บำรุงพระศาสนาทุกศาสนาอย่างเช่นวันนี้ และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีให้ปรากฏแก่สายตา ชาวโลกอย่างมั่นใจ

ข้าพเจ้าขออำนาจพระธรรมคุณของทุกศาสนา ขออำนาจบารมีในองค์พระมหากษัตริยาราชเจ้าทุก พระองค์ และบารมีแห่งความกล้าหาญด้วยสติปัญญาประดุจเทพของท้าวเทพกระษัตรี ได้ร่วมอำนวยพรให้ท่านผู้มีเกียรติ

มีความสุขความเจริญสืบไป

 

ข้าพเจ้าขอเปิดงานฉลอง ๑๐๐ ปี ถนนเทพกระษัตรี ในส่วนอำเภอถลาง ณ ฤกษ์มงคลบัดนี้

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4109
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11015944