Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร
อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พุธ, 20 พฤศจิกายน 2013

อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร

 

ที่ตั้ง  สี่แยกอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

สภาพปัจจุบัน              อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ได้รับการปรับปรับสภาพภูมิทัศน์ให้มีความเรียบร้อยสวยงาม แต่ยังขาดความสะดวกในการเข้าไปเคารพสักการะ

ประวัติความสำคัญ      ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระเจ้าผดุง แห่งพม่ายกทัพ ๙ ทัพ มาตีไทยโดยกระจายทัพต่าง ๆ เข้ามาทางชายแดนไทยทุกทิศ ทัพที่ ๑ ยกมาทางใต้มีทั้งทัพบกและทัพเรือ ทัพบกให้ตีตั้งแต่ชุมพรไปถึงสงขลา ทัพเรือตี หัวเมืองฝั่งตะวันตกตั้งแต่ตะกั่วป่าไปถึงถลาง ขณะนั้นเหตุการณ์ภายใน เกาะถลางเองก็วุ่นวายอยู่ เพราะพระยาพิมล(ขันธ์) เจ้าเมืองถลาง เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม เเละทางกรุงเทพ ฯ   ยังมิได้แต่งตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ขึ้นปกครอง เหลือแต่ท่านผู้หญิงจันภริยา เจ้าเมืองถลาง ซึ่งถูกพระยาธรรมไตรโลก ข้าหลวงผู้ควบคุม การเร่งรัดภาษีอากร   จับไปควบคุมตัวไว้ ที่ค่ายปากพระ เมืองตะกั่วทุ่ง  เพื่อบีบบังคับให้ทางถลางส่งเงินภาษีอากรที่เจ้าเมืองค้างส่งอยู่ แต่พอดีพม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองตะกั่วทุ่ง ท่านผู้หญิงจันจึงได้โอกาสหลบหนีกลับถลาง  แต่เมื่อกลับถึงถลางปรากฏว่าชาวเมืองพากันหลบหนีเข้าป่ากันหมด  เพราะหวาดกลัวกองทัพพม่าที่กำลังรุกไล่เข้ามา

บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร

 

ท่านผู้หญิงจันแม้จะเป็นผู้หญิงแต่ก็ไม่วางเฉยต่อบ้านเมือง ท่านผู้หญิงจันกับคุณมุก ผู้เป็นน้องสาวพยายามรวบรวมชาวถลางที่หนีพม่ากระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ กลับเข้าเมือง รวมกันจัดทัพวางแผนการตั้งรับตลอดจนกลอุบายต่าง ๆ อย่างรัดกุม  พม่าจึงเข้าตีถลางไม่ได้ หลังจากตั้งล้อมเมืองอยู่เป็นเวลาถึง ๑ เดือน พม่าก็ต้องถอยยกทัพกลับไปเพราะขาดเสบียง อาหารเมื่อเสร็จการศึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดกล้าฯแต่งตั้ง ท่านผู้หญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี  และคุณมุก เป็นท้าวศรีสุนทร

วีรกรรมอันกล้าหาญของท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทรในครั้งนั้น เป็นเหตุการณ์ที่ตรึง  อยู่ในความทรงจำของชาวภูเก็ตเป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้นต่อมาในสมัยที่นายอ้วน   สุรกุล เป็นผู้ว่า ราชการจังหวัดภูเก็ต จึงมีนโยบายว่าจะสร้างอนุสาวรีย์วีรสตรีทั้งสองท่านขึ้น อนุสาวรีย์ออกแบบ โดยสนั่น  ศิลากร ปฏิมากร กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เมื่อปี พ.. ๒๕๐๙ กระทำพิธียก อนุสาวรีย์ขึ้นประดิษฐานบนฐาน ณ สี่แยกบ้านท่าเรือ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.. ๒๕๑๐

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๐ ที่ฐานมีจารึกดังนี้  ท้าวเทพกระษัตรี (จัน) ท้าวศรีสุนทร (มุก) ได้กระทำ การป้องกันรักษาเมืองไว้เป็นสามารถ มิให้ข้าศึกยกมาประชิดเมืองถลาง เมื่อ พ.. ๒๓๒๘ ตีหัก เอาเมืองได้  พม่าแตกทัพกลับไปเมื่อ ๒ ฯ มะเส็ง สัปตศก จ.. ๑๑๔๗ เป็นวีรกรรมอันควร แก่ชาวเมืองถลาง ตลอดจนชาวไทยทั่วไปยกย่องสรรเสริญ    ชาวเมืองถลางโดยการนำของนายอ้วน  สุรกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต  ช่วยกันสร้างไว้เมื่อ ๕ฯ ๖ มะเมีย อัฐศก จ.. ๑๓๒๘ ๒๘  เมษายน พ..๒๕๐๙ เวลา ๙.๐๐ น. ขอให้ดวงวิญญาณของวีรสตรี  ทั้งสองจงสถิตเป็นมิ่งขวัญปกป้อง ชาวถลางสืบไป

 

(จถล.2303) 

 

    *************

 ประวัติศาสตร์ : ประวัติศาสตร์

 

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 22 มีนาคม 2018 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4762
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016597