Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow ถลางภูเก็จภูเก็ต arrow ชื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในภูเก็ต : ราชันกาญจนวณิช
ชื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในภูเก็ต : ราชันกาญจนวณิช PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
พฤหัสบดี, 10 เมษายน 2008

ชื่อต่าง ๆ ที่ใช้กันในภูเก็ต

ราชัน กาญจนะวณิช
----------------

เมื่อห้าสิบปีก่อน คือก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ถ้าจะเข้าไปยังใจกลางเมืองภูเก็ต จะต้องเรียกว่า “ทุ่งคา” เพราะอำเภอเมืองในปัจจุบันมีชื่อว่า อำเภอทุ่งคา ในสมัยก่อน ชื่อหมู่บ้าน เกาะ หรืออ่าว ในบริเวณเกาะภูเก็ตนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามภาษาต่าง ๆ ที่ใช้กันบนเกาะมหาสมบัตินี้ แม้แต่เกาะภูเก็ตเองก็มีชื่อต่าง ๆ กันไปตามกาลสมัย เช่น สลาง จังซิลอน ถลาง และภูเก็ต หมู่บ้านหรือตำบล เช่น ตีนเล ซึ่งอยู่ริมทะเลอ่าวบางเทา ก็ได้รับการตบแต่งเป็นเชิงทะเล ให้เพราะพริ้ง อ่าวบางเทาก็ถูกเรียกว่าเลพัง หลังจากน้ำทะเลเซาะชายฝั่งท่วมขุมเหมือง ใกล้ ๆ กับเกาะภูเก็ต มีเกาะเล็ก ๆ ที่เรียกว่า เกาะฮี อยู่ทางทิศใต้ของเกาะภูเก็ตระหว่างเกาะบอนและเกาะแอว ก็ถูกเรียกว่า “เกาะเฮ” เพราะชาวกรุงไม่พอใจการออกเสียงของชาวภูเก็ต แต่เกาะเฮที่ถูกต้องนั้นเป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ทางทิศเหนือของเกาะภูเก็ต ใกล้ ๆ กับเกาะงำ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแหลมส้ม

แหลมของภูเก็ตที่มีชื่อกล่าวขวัญออกอากาศทางวิทยุอยู่ทุกวันว่า แหลมพรหมเทพนั้น ตามแผนที่กรมอุทกศาสตร์ปี พ.ศ. 2485 เรียกว่าแหลมพระเจ้า พระเจ้าของภูเก็ตที่เคยมีชื่อต่างๆ ตามดวงใจของผู้นับถือศาสนานั้น ๆ ก็ได้กลายเป็นพระเจ้าของศาสนาฮินดูแต่เพียงองค์เดียว

 

เกาะต่าง ๆ ในทะเลรอบ ๆ เกาะภูเก็ตนั้น มักจะได้ชื่อคู่กัน เช่น เกาะตะเภาใหญ่ และเกาะตะเภาน้อย ซึ่งเป็นทีจอดเรือนอกอ่าวทุ่งคา ทางด้านราไวย์ก็มี เกาะแก้วใหญ่ และ เกาะแก้วน้อย ทางด้านตะวันออกก็มีเกาะรังใหญ่ และ เกาะรังน้อย เหนืออ่าวพังงามี เกาะยาวใหญ่ และ เกาะยาวน้อย ก็เป็นเกาะที่สำคัญที่สุด ทางด้านตะวันตกก็มีอ่าวกะรน และ กะรนน้อย อ่าวปะตองที่เคยรู้จักกันในหมู่นักเดินเรือนานาชาติก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อ่าวป่าตอง เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวนานาชาติ อ่าวกำมะรา นั้นชาวไทยทางเหนือออกเสียง ร-เรือ ไม่ได้ เลยถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กมลา

ดร. คอนิค นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ค ที่โดยสารเรือบริสตอล มากับกัปตัน ฟรานซิล ไลท์ ถึงภูเก็ตเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2322 ได้บันทึกไว้ว่า ได้แล่นใบเรือไปหน้าช่องแคบระหว่างเกาะยาวใหญ่และเกาะยาวน้อย แล้วทอดสมออยู่ระหว่าง เกาะสลางน้อยและเกาะสลางใหญ่ ต่อมาในวันที่ 28 มีนาคม ก็ได้ตัดไม้ที่เกาะสลางน้อยเพื่อใช้ไม้ฟืน เกาะสลางนี้อยู่ใดไม่ปรากฏแน่ชัด เพราะชื่อเสียงคงเปลี่ยนไปตามกาลสมัย แต่มีคนคิดว่าน่าจะเป็นเกาอลัง ซึ่งคงจะเป็นเกาะรังในปัจจุบัน แต่เมื่อ ดร.คอนิค กลับมาภูเก็ตอีก และเขียนบันทึกลงวันที่ 31 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ว่าได้แล่นใบไปเกาะสลางใหญ่ ซึ่งมีช่องแคบ ๆ จากเกาะสลางน้อย และเกาะสลางใหญ่มีขนาดเป็นสองเท่าของเกาะสลางน้อย หมู่เกาะนี้อยู่ขนานกับฝั่งเกาะภูเก็ต ตามแนวทิศอิสาน-หรดี และต่อมาในวันที่ 4 มิถุนายน ก็แล่นในไปทางแหลมยามู เมื่อพิจารณาดูก็ทำให้เข้าใจว่า เกาะสลางนั้นอาจเป็นเกาะนาคาก็ได้ เพราะดูจากทะเลแล้ว เกาะนาคาใหญ่มีความยาวประมาณสองเท่าของเกาะนาคาน้อย ส่วนเกาะรังน้อยนั้นเล็กมาก มีความยาวไม่ถึง 1 ใน 4 ของเกาะรังใหญ่ การเปลี่ยนชื่อบ่อย ๆ ทำให้คนรุ่นหลัง ๆ สับสนในการอ่านประวัติเก่า ๆ

การปกครองของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งอาศัยรูปแบบการปกครองเมืองขึ้นและใช้ข้าราชการส่วนกลางย้ายไปมานั้น ในระยะยาวจะทำให้ภาษาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่นสูญหายไป

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้4763
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016598