Skip to content

Phuketdata

default color
Home arrow News arrow วิถีชีวิตชาวเหมือง arrow ศาสนาสิกข์ในภูเก็ต
ศาสนาสิกข์ในภูเก็ต PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 11 กุมภาพันธ์ 2008


ศาสนาสิกข์

 ศาสนาสิกข์เกิดขึ้นในแคว้นปัญจาบ  ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  ติดกับประเทศปากีสถาน มีภาษาและตัวอักษรเป็นของตนเอง เรียกว่า ภาษาปัญจาบี ผู้ก่อตั้งศาสนาคือคุรุนานักเทพ

ชาวสิกข์คนแรกที่เข้ามาเมืองไทยในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เข้ามาค้าผ้า และต่อมาได้ชักชวนชาวสิกข์ คนอื่น ๆ ให้เข้ามาทำมาหากินในประเทศไทยมากขึ้น  ส่วนใหญ่ประกอบกิจการขายผ้า เมื่อชาวสิกข์เข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ก็ได้รวมตัวกันจัดตั้งสมาคมศรีคุรุสิงห์สภาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวสิกข์ในประเทศไทย" (กุลธิดา  สามะพุทธ : สารคดี :  ๙๗) สำหรับชาวสิกข์ในภูเก็ตนั้นเข้ามาประมาณ ๗๐-๘๐ ปี มาแล้วโดยครั้งแรกนั้นเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ปีนัง แล้วค่อยอพยพเข้ามาอยู่ในภูเก็ตในระยะแรกมีกลุ่มชาวสิกข์เพียง ๑๐ คน เข้ามาประกอบอาชีพขายผ้าอยู่บริเวณถนนถลาง ซึ่งเป็นย่านธุรกิจดั้งเดิมของภูเก็ต แต่อยู่ในลักษณะคนต่างด้าวต้องเดินทางไป ๆ มา ๆ ระหว่าง ภูเก็ตปีนัง ต่อมาเมื่อมีชาวสิกข์เข้ามาอยู่ในภูเก็ตมากขึ้น จึงได้จัดตั้งวัดสิกข์ (คุรุทวารา) ขึ้นบริเวณถนนสุทัศน์ ตรงข้ามกับเรือนจำภูเก็ต ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ วัดคือศูนย์รวมของชาวสิกข์ทุกคนในจังหวัดภูเก็ต มีผู้นำชาวสิกข์ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งนายกสมาคมศรีคุรุสิงห์สภาของจังหวัดภูเก็ต คือ นายจี. ซิงห์ เศรษฐี  ชาวสิกข์ในภูเก็ตมีประมาณ ๒๐๐ คน เกือบทุกครอบครัวประกอบอาชีพขายผ้า มี ๒ ครอบครัว ที่ประกอบอาชีพขายเพชร และขายเฟอร์นิเจอร์ ส่วนมากตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณ หาดป่าตอง กะรน และในตลาดภูเก็ต ชาวสิกข์จะยึดมั่นอยู่ในคำสอนของคุรุอย่างเคร่งครัด และอยู่ในสังคมของชาวภูเก็ตอย่างสงบ ชาวสิกข์จึงเป็นส่วนหนึ่งของชาวภูเก็ตในปัจจุบันเพราะสามารถพูดภาษาไทย และภาษาไทยท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

หลักคำสอนของศาสนาสิกข์

 ศาสนาสิกข์ส่งเสริมให้ผู้คนที่นับถือศาสนามีความกล้าอันประกอบด้วยเหตุผล  ไม่ให้กลัวต่อการขู่เข็ญคุกคาม  ไม่ให้เชื่อต่อการหลอกลวงเพื่อได้รางวัล  ศาสนาสิกข์สอนให้เชื่อในชัยชนะของการบำเพ็ญความดีด้วยความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว
 ท่านศาสดาคุรุนานักเทพย้ำถึงความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคนและต้องการให้เรามีความก้าวหน้าโดยวิธีการแห่งการรู้จักตนเองและควบคุมตนเอง  ตามระเบียบวินัย ๓ ประการ คือ วินัยทางกาย ทางศีลธรรม และทางจิตใจ
 วินัยทางกาย คือการให้บริการคนอื่นทางกาย วาจา เช่น การให้ทาน ซึ่งเป็นการบริการของผู้ครองเรือน 
 วินัยทางศีลธรรม  คือ การเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม  ไม่มีความเห็นแก่ตัว  จิตใจสูงกว่าคนธรรมดาสามัญ  ผู้ยึดตัวตนเป็นประการสำคัญ
 วินัยทางจิตใจ  คือ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว  ซึ่งอยู่เหนือกาละเทศะและเหนือเทพทั้งหลาย  ศาสนาสิกข์เชื่อว่าในโลกนี้มีความหวังแม้แต่คนที่สิ้นหวังที่สุดก็จะยังมีโอกาสได้รับผลสำเร็จในชีวิต  ถ้าเขามีความพยายามไม่หยุดหย่อน   นอกจากนี้ยังสอนให้หลีกตนจากบาปสำคัญ ๕ อย่าง คือ ตัณหา โกรธ โลภ โมหะ อหังการ  บาปทั้ง ๕ นี้เป็นศัตรูสำคัญของมนุษย์และทำให้มนุษย์ตกระกำลำบากตลอดไป

ศาสนสถานสิกข์

ตั้งอยู่ที่ ถนนสุทัศน์  ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

News

สมุดภาพเหมืองแร่

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้204
mod_vvisit_counterเมื่อวาน5656
mod_vvisit_counterทั้งหมด11017694