Skip to content

Phuketdata

default color
Home
มทศ.จห.๓ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
จันทร์, 20 ธันวาคม 2010

จดหมายเหตุเมืองถลาง

มทศ.จห.๓

ใช้หมายเลขตรงกับ ศวภ.๓

Click at the image to view full size
ฝากรูป

ประสิทธิ ชิณการณ์ ขุมทรัพย์วัฒนธรรมภูเก็จ อ่าน 

 

มทศ.จห.๓ (ใช้หมายเลขตรงกับ ฉบับ ศวภ ๓) 

คำอ่าน ๐ หนังสือท่านพระยาสุรินทราชาพระยาพิมลขัน(พญาถลางพิมลอัยา)ให้ไว้แก่กปิตัน บังเกน ด้วยกปิตันบังเกน  บรรทุกปืนชาติตุระหมัดมาจำหน่าย ณ เมืองถลาง สี่ร้อยเก้าสิบ บอกคิดหกบอกต่อภารา เป็นดีบุกแปดสิบเอ็ดภาราห้าแผ่นสามบาทสลึง และไดรับเอาปืนชาติตุระหมัดสี่ร้อยเก้าสิบบอกไว้แล้ว และดีบุกนั้น ฝ่ายกปิตันบังแกนว่าจะไปเมืองมะละกาก่อน จึงจะกลับมารับเอาดีบุก ถ้ากปิตันบังเกนกลับมาแต่เมืองมะละกาแล้วจึงจะส่งดีบุกค่าปืนให้ตามหนังสือสัญญาซึ่งทำให้นี้ปิดตราให้ไว้ ณ วันอังคาร เดือนเก้าขึ้นสองค่ำ ศักราชพันร้อยสามสิบเก้าปีระกานศก ๐ 


วิเคราะห์ ๐ สุนัย ราชภัณฑารักษ์ วิเคราะห์ว่าพระยาสุรินทราชาพระยาพิมลขันเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยเอกสารฉบับนี้ได้ระบุทั้งยศตามตำแหน่งเจ้าเมืองถลาง ซึ่งสมัยนั้นมีบรรดาศักดิ์ว่า "พระยาสุรินทราชา" แต่ระบุชื่อตัวคือ พระยาพิมลขัน(พญาถลางพิมลอยา) เพื่อชี้ชัดว่า "พระยาสุรินทราชา"ที่กล่าวถึงในเอกสารฉบับนี้ คือพระยาสุรินทราชาผู้นี้เท่านั้น มิได้หมายถึงพระยาสุรินทราชาที่เคยรับตำแหน่งเจ้าเมืองถลางมาก่อน หรือจะมารับตำแหน่งภายหลัง 
 กปิตันบังเกน หรือบังแกน ที่เอกสารฉบับนี้เอ่ยนามเป็นคู่สัญญานั้น คงจะเป็นคนเดียวกันกับที่ปรากฏนามอยู่ในเอกสารมทศ.จห.๒ (ใช้หมายเลขตรงกับ ศวภ ๒) ที่ได้วิเคราะห์ผ่านมาแล้ว
 ปืนชาติตุระหมัด คงจะเป็นปืนนชนิดเดียวกับที่เอกสาร ศวภ ๒ เรียกว่าปืนชาติเจะรอมัดซึ่งเป็นการเรียกชื่อเพี้ยนไปทั้ง ๒ ฉบับจากคำว่า "เยอรมัน"
 ค่าปืนทั้งหมดสี่ร้อยเก้าสิบกระบอก คิดเทียบราคากับดีบุกแล้ว ต้องจ่ายดีบุกให้เป็นค่าปืนแปดสิบเอ็ดภาราห้าแผ่นสามบาทสลึงซึ่งความข้อนี้น่าสนใจวิเคราะห์อย่างยิ่ง
 ตามที่เคยศึกษาว่าดีบุกหนักหนึ่งภาราเทียบได้กับน้ำหนักฝ่ายจีนสามหาบ หรือ ๓๐๐ชั่งจีน สมัยเมื่อ ๒๐๐ ปีที่ผ่านมานี้ เมืองถลางคงจะมาไม่มีเครื่องมือสำหรับชั่งของหนักมากๆ ได้ถึงคราวละ ๓๐๐ ชั่งเป็นแน่ฉะนั้นการหลอมดีบุกออกมาเป็นผลึกโลหะจึงคงจะต้องแบ่งออกเป็นผลึกหรือเป็นแผ่นให้มีน้ำหนักเพียงพอที่จะขึ้นตาชั่งได้สะดวก คือ อาจจะเป็นแผ่น (ผลึก) ละ ๒๐ ชั่ง จะยกเคลื่อนย้ายหรือแบกขนก็ไม่หนักแรงเกินไป ดีบุกแผ่น(ผลึก) ๑๕ แผ่น ก็จะมีน้ำหนักหนึ่งภารา (๓๐๐ชั่ง)
 คำว่า "บาท-สลึง" ในเอกสารฉบับนี้ คงมิได้หมายถึงมาตราเงินตรา เนื่องจากเมืองถลางยุคนั้นยังใช้เงินเหรียญมลายูเป็นสื่อซื้อขายอยู่ ดังจะได้พบในเอกสารจดหมายเหตุ ฉบับต่อๆไป
 คนโบราณนั้น นิยมเรียกส่วนที่ไม่ครบหน่วยการนับหรือการชั่ง ออกเป็น "กึ่ง" เป็น "บาท""และ "เป็น สลึง" คำว่า บาท ในเอกสารฉบับนี้ จึงมีความหมายถึงน้ำหนัก ๑ ใน ๔ ของแผ่นดีบุก ซึ่งถ้าดีบุกหนึ่งแผ่นมีน้ำหนัก ๒๐ ชั่ง ส่วนที่เรียกเป็นบาทก็คือ ๕ ชั่งสามบาท ก็คือ ๑๕ ชั่ง
 สำหรับคำว่า "สลึง" ตามความหมายของคนสมัยก่อน ก็หมายถึง "เสี้ยว" หรือ ๑ใน ๔ ของบาท คือ ๑ ชั่ง กับเศษอีก ๑ใน ๔ ของชั่ง หรือ ๑ ชั่งกับ ๕ ตำลึง(น้ำหนัก)
 อย่างไรก็ตาม คำวิเคราะห์นี้ เป็นเพียง "ตาบอดคลำช้าง" เท่านั้น เนื่องจากยังไม่สามารถจะค้นหาหลักเกณฑ์หรือหลักฐานใดๆ มายืนยันได้แน่นอน
 พระยาสุรินทราชาหรือพระยาถลางพิมลขันซื้อปืนจำนวนนี้จากพ่อค้าอังกฤษ ก็คงจะเป็นการซื้อไว้ใช้สำหรับป้องกันเมืองถลางเอง เพราะไม่มีการกล่าวอ้างว่าให้จัดส่งเข้าไปยังกรุงเทพมหานครแต่อย่างใด
 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 20 ธันวาคม 2010 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

ขณะนี้มี 7 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1372
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2572
mod_vvisit_counterทั้งหมด11007301