Skip to content

Phuketdata

default color
Home
อภินันท์ โปษยานนท์ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 23 เมษายน 2010

ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๓ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต บรรยายนำชม

 
 

http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=701
ชื่อ-สกุล 

ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์  โปษยานนท์

   
เกิด ๒๗ สิงหาคม ๒๔๙๙
   
ตำแหน่งปัจจุบัน รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
   
วุฒิการศึกษา-Bachelor of Arts (Fine Arts)
  Honours  Edinburgh University   สกอตแลนด์                          
 -Master of Arts (Fine Arts)
  Honours Edinburgh University   สกอตแลนด์
 -Doctor of Philosophy (History of Art) 
  Cornell University  สหรัฐอเมริกา 
   
การศึกษา/อบรม/ดูงาน-หลักสูตร นบส. รุ่นที่ ๔๒ ปี พ.ศ. ๒๕๔๗
 -หลักสูตร วปอ.  รุ่นที่ ๕๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑
   
ประวัติการทำงาน -รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๒ -  ปัจจุบัน 
 -ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย   
   พ.ศ. ๒๕๔๖ -  ๒๕๕๑ 
 -ศาสตราจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
   (ระดับ ๑๐)  พ.ศ. ๒๕๔๕
 -รองศาสตราจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  (ระดับ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๐ 
 -ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  (ระดับ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๗- ๒๕๔๐
 -ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  (ระดับ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๕ 
 -อาจารย์ ระดับ ๔ คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
   พ.ศ. ๒๕๒๔
   
การทำงานอื่นๆ-เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและ
  พัฒนาองค์ความรู้(องค์กรมหาชน)
 -เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารหอศิลปวัฒนธรรม
  แห่งกรุงเทพมหานคร
 -กรรมการ Asian Art Council , Solomon Guggenheim Museum
   สหรัฐอเมริกา
   
เกียรติคุณที่ได้รับ-นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (สาขาปรัชญา) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  ประจำปี ๒๕๔๔
 -ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นอัศวินชั้น ๑ King Carl  Gustaf ที่ ๑๖
  แห่งประเทศสวีเดน  ในปี พ.ศ.๒๕๔๖
 -ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้น อัศวิน (Stella Della Solidarieta’ Italiana,
  Cavaliere Order of the Star of Italian Solidarity – Knight)
   จากสาธารณรัฐอิตาลี ในปี พ.ศ.๒๕๕๒
   
เครื่องราชอิสริยาภรณ์  มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)   ปี พ.ศ. ๒๕๔๙
  ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)   ปี พ.ศ. ๒๕๔๖
   

 

 
วันที่ขึ้นเนื้อหา: 04 กุมภาพันธ์ 2553
วันที่ปรับเปลี่ยนเนื้อหา:01 เธ˜เธฑเธ™เธงเธฒเธ„เธก 2552
จำนวนครั้งที่เปิดอ่าน:3367
นำเสนอโดย: Administrator

สัมภาษณ์นายอภินันท์ โปษยานนท์ รายการ “เปิดสมองลองตั้งคำถาม” Fat Radio 104.5 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2550

ถาม : ทำไมได้เข้ามาเป็นทำสองขา ทั้งผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กับประธานกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้

ตอบ  ก่อน 19 กันยายน ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผ่านครม.แล้ว แต่ก็ตกลงมาใหม่ ผมรู้ข่าวที่ปารีส กลับมาผมก็ไม่ได้เป็นปลัด จากนั้นก็มี ครม.ใหม่ นายกรัฐมนตรีใหม่ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ สบร. ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแล สำนักนายกรัฐมนตรี ที่มีคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์เป็นรัฐมนตรี ดูแลอยู่ก็ต้องฟอร์มบอร์ดใหม่  ทางประธานคนเก่า อาจารย์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ลาออก ก็มีการตั้งบอร์ดใหม่ ผมก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน สบร. และรักษาการผู้อำนวยการสบร.แทน  แล้วก็ตั้งบอร์ดใหม่ขึ้นมา ก็ทำงานมาตั้งแต่เดือน พย. ผมได้เรียนรู้อย่างมาก เข้ามาก็มีหลายกระแสเพราะเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลที่แล้ว แล้วก็หลายเรื่อง เรื่ององค์ความรู้ ต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งดีที่เกิดขึ้น หลายหน่วยงาน TK Park TCDC  ศูนย์คุณธรรม ที่สร้างผลงานขึ้นมา แต่มันกระจัดกระจาย มีทั้งหมด 7 หน่วยงาน ไปอยู่ตามที่ต่างๆ แล้วก็ไปเช่าที่ตามห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ต่างๆ ที่ค่าเช่าค่อนข้างสูง ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ ว่าใช้งบประมาณสูง ก็ต้องเข้ามาจัดการ เพราะนโยบายของรัฐบาลชุดนี้เขามีเรื่องของการประหยัด ประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม ดังนั้นหน้าที่ของผมก็ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีเข้ามาจัดการ พอเข้ามาก็พยายามที่จะประเมินสถานภาพของแต่ละหน่วยงาน ว่า มันควรจะบูรณการให้ดีขึ้นได้อย่างไร จะทำงานให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ก็ไปทำได้สองสามเดือน มาแล้วรายงานของ สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมาเป็นปึก เน้นเลย ต้องมีการปรับอะไรหลายๆ อย่างรวมทั้งค่าเช่า เงินเดือน และการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร งานนี้ซีเรียสมาก

 

ถาม: นี่คือ หมายถึง TCDC หรือ OKMD 

ตอบ หมายถึง สบร. และ 7 หน่วยงาน รายงานนี้เกี่ยวกับ 7 หน่วยงานด้วย ดังนั้น หน้าที่ของเราอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน อยู่ในสถานการณ์ เรียกได้ว่า อึดอัด ก็มีการเข้าไปชี้แจงกรรมาธิการ ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ก็ให้งบมาส่วนหนึ่ง แต่พอเดือนสิงหาคม เข้าไปชี้แจงงบประมาณ 2551 คืองบปีนี้ เดือน พ.ย.เข้าสู่งบปี 51 แล้ว เรียนได้เลยว่า ถูกถล่มหนักไม่ยั้งเลยจากกรรมาธิการหลายๆ ท่าน  เดิมทีหลายๆ ท่านยกประเด็นของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบมาเป็นตัวอย่างของการใช้งบประมาณสูง ผมพยายาม Defend ให้มากที่สุด แต่หลายท่านเริ่มต้นขึ้นมาเลย วันแรกให้ตัดงบประมาณให้เหลือ 0 บาท คือ  ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือ หน่วยงานนี้ทำงานไม่ได้ ค่าเช่าไม่มี เจ้าหน้าที่ 70 กว่าคนไม่มีเงินเดือน งานภารกิจ นิทรรศการที่เตรียมไว้ก็ไม่ได้ทำ เราก็พยายามต่อรองจนได้งบประมาณในการทำภารกิจต่างๆ มา 76 ล้านบาท และงบดำเนินการค่าเช่ามาอีก 19 ล้านบาท อันนี้สำคัญ เพราะสำนักงบที่นั่งอยู่ด้วยบอกว่าเรื่องของค่าเช่าที่ TCDC ให้ตัด 50% ปัจจุบันค่าเช่าที่เอ็มโพเรียม และค่าสาธารณูปโภค แต่เขาให้มา19.55 ล้านบาท นี่คือการส่งสัญญาณ แต่ผมยืนยันตั้งแต่เข้าไป ว่า เราต้องทำยังไงให้ TCDC อยู่รอดได้ เพราะฉะนั้นการอธิบายในช่วงนั้นเป็นผลทำให้เราได้เงินมาส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ได้ศูนย์ แต่ว่าเราต้องทำไงให้รอดให้ได้ เป็นที่มาว่าประชุมบอร์ดเราต้องทำคุยกันว่า หน่วยงานอื่นๆ ที่มีอยู่ เราต้องทำยังไงให้การกระจัดกระจายของงบประมาณ หรือสถานที่หรือค่าเช่า แยกกันเราตาย รวมกันเราอยู่ จึงเป็นที่มาของการควบรวมสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ และ TCDC  แต่เนื้องานยังเหมือนเดิม ห้องสมุดวัสดุ หรือ Material Connexion  เรื่องของนิทรรศการต่าง ๆ โดยเฉพาะงานสำคัญที่จะเกิดขึ้นคือ นิทรรศการของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณวรีนารีรัตน์ ซึ่งเป็นงานที่ดีมากซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ ห้องสมุดก็ยังอยู่ แต่เราจำเป็นต้องย้ายสถานที่เพื่อลด cost ต่างๆ เราก็หาทั่ว ทำยังไงจะหาพื้นที่ที่ไปมาสะดวก และเป็นทีที่การสัญจรก็ดี หรือการพบปะก็ดี อาจจะไม่เหมือนที่เอ็มโพเรียมทั้งหมด แต่ก็ยังดีอยู่ก็เลยไปเจรจากับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีพื้นที่ที่เรียกว่า จัตุรัสจามจุรี ที่กำลังสร้างอยู่ 3 ปีแรกเขาให้ฟรี เสียค่าส่วนกลาง ตารางเมตรละ 250 บาท แต่สัญญาทำ 6 ปี ใน ปี 4 ปี 5 ปี 6 เรทก็จะขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังถูกกว่าเอ็มโพเรียม เพราะหนึ่งไม่มีเงินต่อสัญญา และถึงแม้มีเงินต่อสัญญาเขาจะขึ้น เงินก็ไม่พออยู่ดี และนโยบายของ TCDC เดิมในที่สุดก็ต้องย้ายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นผมมองเพื่อความอยู่รอดขององค์กร คือ เราต้องรวมกันให้ได้เพื่อเราจะอยู่รอดได้อย่างน้อย 6 ปี ตรงนี้ห้องสมุดก็ยังมีอยู่ ห้องนิทรรศการก็ยังมีอยู่ ห้องสมุดวัสดุก็ยังมีอยู่  สมาชิกอาจจะขลุกขลักบ้างในช่วงการย้ายสถานที่ แต่ก็ยังได้รับการบริการอย่างเต็มที่เหมือนเดิม ตรงนี้ผมมองว่า ในที่สุดแล้วคนที่จะมาพื้นที่ใหม่ พอเรารวมสองหน่วยงาน เรามีชื่อใหม่ คือ สถาบันการเรียนรู้และสร้างสรรค์ จะเป็นพื้นที่ที่จะได้ลูกค้าขึ้นมาอีกเยอะ และมีงานที่มีมาตรฐานมาแสดงได้อย่างต่อเนื่อง

ถาม :  ทำไม TCDC ที่มันทำงานได้อยู่แล้ว มีประสิทธิภาพ ขณะที่อีกหน่วยงานที่จะไปควบรวมยังไม่เกิดมาเป็นรูปเป็นร่าง เอาไปรวมกันได้ยังไง

ตอบ การรวมสองหน่วยงาน จริงๆ แล้ว สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้  Soft Opening เปิดตัวไปแล้ว บนพื้นที่ตรงกระทรวงพาณิชย์เก่า ซึ่งสวยมาก และเราก็จะเปิดตัวอย่างเต็มที่เลยวันที่ 23 ธันวาคม หลังเลือกตั้ง เรามองว่า คำว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ได้เป็นอะไรที่คร่ำครึ หรืออะไรที่น่าเบื่อ คำว่าพิพิธภัณฑ์ในมิติภายใต้การดูแลของอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทรวาณิช ซึ่งท่านก็มาเป็นประธานของสถาบันใหม่ จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของการนำเสนอแบบทันสมัยและร่วมสมัย เป็นการเล่าเรื่องของสุวรรณภูมิสู่สยามสู่ประเทศไทย ทั้งสามชั้นของตัวอาคารเป็นการเล่าเรื่องแบบ Moving Picture แบบดิจิตอล น่าสนใจมาก ผมมองว่า มันเกิดไม่เท่าเทียมกันกันก็จริงในเรื่องของเวลา แต่ก็มีอะไรหลายๆอย่างที่ overlap กันได้ อย่างเช่นการนำเสนอในเรื่องของนิทรรศการ ทาง TCDC จะมาร่วมทำงานตรงนี้ได้ ก็มีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก แล้วเรามองในอนาคต ตรงพื้นที่ด้านหลังของกระทรวงพาณิชย์มีพื้นที่เหลืออยู่ 5 ไร่ ตรงนั้นจะเป็นพื้นที่ที่ทำอะไรได้อีกเยอะ โดยเฉพาะเรื่องของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์หรือที่เรียกว่า  Creative industry  เรามองว่าเมื่อสองหน่วยงานนี้รวมกันแล้วมันเป็นลักษณะ เป็นการรวมพลังกันแล้วเกิดพลังใหม่ ลักษณะของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์จะเป็นอีกอันที่เกิดจากการรวมกันของสององค์กร

ถาม : อาจารย์ช่วยขยายความให้ฟังหน่อยว่า Creative industry ว่ามันคืออะไร

ตอบ มันโยงไปถึงช่วงแรกที่เราคุยกัน ว่าหลายๆ ประเทศมองว่า คำว่า เศรษฐกิจมันไม่หมายถึงการขายสินค้า หรือการขายเครื่องจักร หรือเสื้อผ้า มันไม่จำเป็นต้องเป็น  Trade Fair แต่เป็น Culture Fair ได้ เวลาเราไปดูงานอย่างที่ผมใช้ตัวอย่าง   เบียนนาเล่ หรือ ทรินนาเล่  คนไปดูวัฒนธรรมได้ มันเป็นที่มาของการส่งออกหรือการนำเข้าวัฒนธรรม มันก็เป็นเวทีการแข่งขัน อุตสาหกรรมในเชิงวัฒนธรรมตรงนี้มันก็เป็นการสร้างกระบวนการในการนำเสนอ จากอภิชาตพงศ์ วีระ สัจจกุล ไปถึงนาวิน ลาวัณย์ชัยกุล ไปถึงหลายๆ คนที่เป็นทรัพยากรที่แสดงแล้ว เวทีนี้กระหึ่ม เป็นเวทีประลอง และเป็นการนำเงินเข้าประเทศอย่างมหาศาล เป็นที่มาที่อังกฤษทำยังนั้น ฝรั่งเศสและออสเตรเลียก็ทำอย่างนั้น  ตอนนี้เรากำลังทำงานร่วมกับทางสภาพัฒน์ฯ  สภาพัฒน์ฯ ทำวิจัยเรื่องอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ เรากำลังมองว่าตรงนี้จะเป็นพื้นที่ที่เราไม่ใช่แค่นำเสนอย่างภาคภูมิใจ ศิลปวัฒนธรรมธรรมของไทย ทั้งมรดกและร่วมสมัย แต่เป็นพื้นที่ที่นำเงินเข้าประเทศมหาศาล อุตสาหกรรมนี้เป็นการสร้างภาพลักษณ์ และสร้างเศรษฐกิจทางอ้อมด้วย

Ads by Google
บอร์ดนิทรรศการ ผู้ผลิต
ผลิตและจำหน่ายบอร์ดนิทรรศการ ราคาถูกและรับผลิตตามสั่ง
www.officethai.com/products_5.htm



20 Responses ถึง “สัมภาษณ์นายอภินันท์ โปษยานนท์ รายการ “เปิดสมองลองตั้งคำถาม” Fat Radio 104.5 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2550”

  1. แค่คิดจะย้ายสถานที่
    มันก็ไม่มีนิทรรศการเหมือนเดิมแล้วหล่ะท่าน

    อย่าพยายามพูดให้ดูดี
    พุดกับทำมันไม่เหมือนกันหรอกครับ

  2. เค้าเข้าใจอะไรผิดไปรึป่าว??

  3. บอก มาตรงๆ ไปดิ ว่า กะ ปล้น สมบัติชาติ เข้า จุฬา ออกจะชัด เจน เป็นแนวทางผูกขาด ภาคส่วนที่สำคัญ ของประเทศ อีก หนึ่ง ไม่ได้ ต้อง การพัฒนา แต่ มันต้อง เป็นไป ในชื่อ ของ สถาบัน ตัวเอง นะ ดิ ประเทศ จะเป็นอะไร ก้อ ช่าง งั้นดิ คนพวกนี้ จิตใจ ทำด้วยอะไร กันนะ เห็นประเทศชาติเป็นอะไร กัน

  4. แล้วที่ พร่ำมาทั้งหมด มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่ ว่า มันจะดี ขอทราบหน่อย ไม่ใช่อยู่ๆ ก็มั่ว อ้างเอาเหตุผล ที่ตัวเองคิดว่าถูก มาใช้ อย่าทำอะไรโดย บอกว่า “คิดว่ามันอย่างนู้น มันอย่างนี้” มีrearch ไหม เอามาเผยแพร่ แล้วทำประชาพิจารซะ อย่า เอาอำนาจบาทใหญ่มาใช้ เพื่อประโยชน์พ่วกพ้องตัวเอง อย่าคิดว่าจุฬาเก่งอยู่ที่เดียว เป้นความคิดที่แย่มาก

  5. ถูกถล่มหนักไม่ยั้งเลยจากกรรมาธิการหลายๆ ท่าน เดิมทีหลายๆ ท่านยกประเด็นของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบมาเป็นตัวอย่างของการใช้งบประมาณสูง ผมพยายาม Defend ให้มากที่สุด แต่หลายท่านเริ่มต้นขึ้นมาเลย วันแรกให้ตัดงบประมาณให้เหลือ 0 บาท

    …ใครกันครับท่านเหล่านี้

  6. ตกลงว่า เราจะทำอะไรได้หรือเปล่าครับ หรือว่าเราต้องยอมรับชะตากรรมแบบนี้

    เราจะทำอย่างไรกันเพื่อต่อต้านเรื่องนี้หละครับ

    ผมลองถามพ่อดูแล้วว่าเราฟ้องศาลปกครองได้มั้ย พ่อบอกว่าได้แต่ดูตามรูปการณ์แล้ว
    โอกาสแพ้เราสูง แต่ยังไงคงต้องลองดูก่อน ….ยังไงคงต้องสู้สู้ หละ

  7. ทำไมเขาต้องไปเช่าสถานที่เหล่านั้นล่ะหรือ

    อย่างเช่น เอ็มโพเรี่ยม ก็เพราะมันคือศูนย์กลางแห่งแฟชั่น ระดับสุดยอดในเมืองไทย

    เขาก็ต้องไปใช้สถานที่ระดับนั้น จะให้ไปเช่าที่โบ๊เบ๊ หรือว่า สวนจตุจักรกันเล่า

  8. http://www.komchadluek.net/2006/08/07/e001_34388.php?news_id=34388
    “…..นายอภินันท์ อาจารย์หนุ่มใหญ่มาดสุขุมลุ่มลึก จากจุฬาฯ วัย 49 ปี 11 เดือน….”

    มันเกี่ยวกับที่ถ้าเค้าดั้นด้นจะย้าย แต่ไม่ยอมรอหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ….ให้ไปอยู่ที่จอดรถแทนซะงั้นมั้ยหนอ

  9. ชัยเอนกอนันต์ พูด:
    พฤศจิกายน 6, 2007 ที่ 2:32 pm

    ทำไมไม่บอกละครับว่า หนึ่งกรรมาธิการชื่อ นายคำนูณ สิทธิสมาน
    สมาชิกสนช.ที่เปิดเกมเขียนโจมตีทีซีดีซี ในหน้าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ แล้วเปิดฉากถล่มในกรรมาธิการงบประมาณ

    พวกนี้มันเป็นขบวนการเดียวกันหมด

    ส่วนนายอภินันท์ มีหน้าที่ รับแผน จากนายคำนูณ และ นายชัยอนันต์ จอมมักใหญ่ใฝ่สูง

    นายอภินันท์ เลิกพูดเอาดีเข้าตัวได้แล้ว สมาชิกทีซีดีซี ไม่ได้กินแกลบครับ
    กลับไปอ่านข่าวเมื่อหลายเดือนก่อนเลยว่าคุณสมคบกับ นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสนช. ออกข่าวอัดหน่วยงานตัวเองตั้งหลายเดือน
    นี่หรือคือภาวะผู้นำของคุณ

  10. ดูบทสัมภาษณ์ของท่านแล้วปลงเหลือเกิน ท่านนึกได้อย่างไรว่าพิพิธภัณฑ์กับศูนย์ส่งเสริมการออกแบบมันเหมือนกันหรือคาบเกี่ยวกัน

    หรือท่านเข้าไปเห็น TCDC ว่ามีการจัดนิทรรศการระดับคุณภาพแล้วก็เลยนึกเอาว่ามันน่าจะอยู่ในพิพิธภัณฑ์ได้?

    ขออภัยเถิด ท่านนึกได้อย่างไร?

    แล้วพวกท่านนึกได้อย่างไรว่าการแยกศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ออกมาเป็นศูนย์เฉพาะด้านมาเป็น 7 ศูนย์นี่เป็นการสิ้นเปลือง

    ท่านเข้าใจคำว่าบูรณาการหรือไม่? หรือท่านนึกอย่างเดียวคือให้มันประหยัดเข้าไว้?

    อ่านบทสัมภาษณ์ท่านแล้วแสนจะหดหู่ใจ พวกท่านนึกได้อย่างไรว่าจะตัดงบเหลือ 0 บาท ตอนแรกพวกท่านให้ TCDC อดข้าวอดน้ำ ตอนนี้ท่านจะข่มขืน TCDC ให้หมดคุณค่าแล้วยังจะเอาไปทิ้งไว้ที่ที่จอดรถของตึกร้างอีก

    ทำไมพวกท่านจึงใจไม้ไส้รำกำถึงเพียงนี้?

    อีกอย่างหนึ่ง ผมอยากจะถามท่านเสียเหลือเกิน ถ้าท่านบอกว่าไอ้พิพิธภัณฑ์ใต้กาารบริหารของนายชัยอนันต์นั่นน่ะ ถ้ามีดีเพียงพอที่จะนำมารวมกับ TCDC ได้ ทำไมจึงมีแต่คนต่อต้านการยุบ TCDC แต่กลับไม่มีใครมาต่อต้านการยุบพิพิธภัณฑ์นั่นเลย (รวมทั้งไม่มีใครกล่าวอ้างถึงผลงานหรือคุณงามความดีเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ของนายชัยอนันต์ได้เลย)

  11. พวกเค้าเลวไงครับ จะเอาคนของ tcdc ไปทำงานให้ mdni เห็นๆ ก็ที่ผ่านมา mdni ไม่เห็นมีผลงานอะไรเลย ทำอะไรกันเป็นหรือเปล่าพวกนี้หรือว่าได้แต่เอาหน้า พวกนี้เป็นดอกเตอร์กันได้ยังไงเนี้ย ควรมีการตรวจสอบสถาพจิตสำนึกด้วย ผมว่าไม่ใช่พวกท่านเหล่านี้ไม่รู้น่ะครับว่า tcdc น่ะดี มีผลงานมากมาย แต่คนมันเลวน่ะครับ หวังแต่ผลประโยนช์เข้าตัวเอง ผมว่าถ้าคิดอย่างนี้ก็จะตอบปัญหาได้หมดว่าทำไมเค้าถึงยุบรวม ปลด md และเอาพวกตัวเองเข้ามาเป็น md ย้ายไปอยู่จุฬา เอาพวกตัวเองออกแบบ a49 เราควรไม่ซื้อ art4d ด้วยเพราะเป็นพวกใกล้ชิดและอยู่เบี้ยงหลังเรื่องนี้เหมือนกัน ลองไปหาข่าวดูแล้วกันน่ะครับ

  12. ไม่ชอบ TCDC ครับ
    ใครไม่มีเงืนก็เข้าไม่ได้ (เข้าได้ครั้งเดียว)
    ทำไมไม่เปิดให้สาธารณะล่ะครับ
    เงินที่ทำก็จากภาษีของทุกๆคนทั่วประเทศทั้งนั้น

    สังคมอมปัญญา

  13. ใครว่า MDNI ไม่มีผลงาน มีชิ้นโบว์แดงเลยหล่ะ ก้อที่เค้าทุบผิดตึกไง เหอๆๆๆ

  14. กระทู้ในพันธุ์ทิพย์พังไปอันนึงแระ ประมาณเก้าร้อยกว่า กลัวในนี้จะเอาไม่อยู่จัง แต่บอกแล้วไงครับว่า “ยังไงเขาก็ย้าย”

    ถึงท่านอภินันท์ครับ ท่านเด็ดมากครับ ลูกน้องท่านนัดพวกสมาชิกให้มางานเสวนาของท่านเมื่อวันที่ 2 พ.ย. แต่ท่านผอ.คนใหม่ไม่มา แต่ตัวท่านมานั่งให้สัมภาษณ์ในรายการวิทยุในวันถัดมา สุดยอดครับท่าน (ความจริงในการเสวนาไม่นำมาบอกทั้งๆที่มีการถ่ายวิดีโอไว้นะครับ) บอกในส่วนของตัวเอง ผมว่าแล้วพวกท่านต้องเล่นแบบนี้

    ยกสอง ท่านอภินันท์ได้เคาะระฆังแล้ว แต่ผมต่อให้ท่านก่อน โดยให้ท่านไปเตรียมคำตอบนะครับ
    เผื่อมีนักข่าวไปถามท่านถึงหน้าห้อง
    - สถานที่ใหม่ของ TCDC มีเนื้อที่ลดลงเกือบครึ่ง, เพดานสูงไม่เกิน 3 เมตร, พื้นที่แยกกันอยู่คนละชั้น และห่างออกไปอีก 130 เมตร และบริเวณที่สร้าง ทางโครงการจามจุรีสแควร์กำหนดไว้เป็นที่จอดรถไม่ใช่หรือ รวมกันสรุปว่ามันเหมาะหรือไม่
    - ทำไมบริษัทออกแบบสถานที่ใหม่ของ TCDC เป็นบริษัทในเครือของ A49 ซึ่งเจ้าของเป็น “กรรมการบอร์ด สบร.” อยากทราบว่าการคัดสรรบริษัทนี้ได้มาได้อย่างไร (ถามไปหลายครั้งแล้วไม่เห็นตอบ)
    - ทำไมไม่มีแผนรองรับ สำหรับสมาชิกเดิม เมื่อรู้แน่ๆแล้วว่าต้องย้าย (หรือตอนแรกว่าจะยุบ)
    - คำว่า “มารยาท” มีในสาระบบของพวกท่านหรือไม่ ทำไมไม่ถามสมาชิกก่อน หรือ ไม่ต้อง ถือว่ามีอำนาจแล้ว “ตบหน้าพวกเขา แล้วค่อยให้ตังค์ไปกินหนม”
    - ท่านอภินันท์เข้าใจคำว่า “ความเชื่อมั่นของนักลงทุน” ไม๊ครับ เช่นกัน ทำอย่างไรให้สมาชิก TCDC รู้สึกมั่นใจกับการทำงานของท่านและทีมงาน เพราะออกมาแต่ละอย่าง แบบนี้เขาเรียกว่า “นักลงทุนหายหมด”

    ผมเข้าใจครับว่าท่านได้รับนโยบายมาว่าต้องประหยัดและอยู่ได้ แต่กรุณาทำงานให้เป็นมืออาชีพหน่อย เรื่อง “ยุบ” “ปลด” “ย้าย” มันทำง่ายครับ แต่คำว่า “สร้างให้มีคุณภาพ พร้อมความนับถือ” ผมว่าทึมของท่านยังห่างไกลครับ คำว่าประหยัดและอยู่ได้พวกท่านและบอร์ดยังไม่ทำเลยครับ ดูง่ายๆ รถที่ท่านใช้อยู่ปัจจุบัน ทำไมไม่ใช้ วีออสล่ะครับ อันเนี่ย สุดประหยัด และมาทำงานได้

    ลองไปคิดดูนะครับ บรรดาท่านศาสตราจารย์ ด๊อกเตอร์ ทั้งหลาย

  15. อยากทราบเรื่องการดำเดินงานเรื่องยื่นหนังสือร้องเรียนคะ

    ว่าดำเนินงานถึงไหนกันแล้ว อยากจะช่วยอีกแรง แต่ก็ไม่รู้เรื่องกฎหมายมากนัก

    แต่จะเป็นกำลังใจให้อีกแรง

  16. He is such a great liar, isn’t he?
    He is the one who want to eliminate Material Connexion the first thing he was in the office. He just can’t do it because of the obligated contract between TCDC and MC. I talked to people form FAT Radio about the programme and they are all sick of it. They asked the programme host to present both side of the coin but he simply rejected it, despite all the media ethics. It is simply because the programme was paid for by OKMD. Talking about media liberation!
    The new TCDC is not going to happen. I can assure you on that.
    From the configuration of the new space, it is quite certain that it is not going to happen again, anywhere in Thailand. Leave a library in a room with virtually no window? And exhibition space with lot of pillars? I need to ask my architect friends in this relocation board, professionally, where are their senses?
    They plan to close down TCDC in April 2008 and open the new one in June! You can’t possibly re-build everything by June. Working on the design with exhibition space consultant alone will last a month or two. Even though you have your drawing by February and going through a regular governmental procurement procedure in March, it will still take at least 4-5 month to complete the construction. To be honest, I think if you let them close down the facility by April, you may not TCDC back by August. But I personally think it is a clever strategy to dissolve TCDC naturally. They will find excuses not to re-open it again.
    I urge all the respected elder friends from the profession, Khun Nithi, Khun Sumet and Ajarn Surapon, to stop supporting this mayhem from this natural born liar. He is using all of you. And once the disaster come close, he will not hesitate to dispose you and let you die. You are all simply too innocent. This is no longer about you hating Thaksin any more. This is about principle and our country. It is about our children and our future.
    I ask all the previous board member of TCDC, P Pratarn: did he tell you in advance that they will combine TCDC and NDMI before they dispose you from the TCDC board? How can a person who is on the top never ask any opinion from the board before making such a big decision? I ask Khun Sumet and Khun Nithi whether the decision to move TCDC to Jamjuri Square was arise from your professionalism or it was put in front of you and you were forced to accept it. Are you sure that what he gave to you deserve all this scarify from you? Does it deserve your life time integrity?
    If you still support him, there will soon be no TCDC, and you are responsible of this tragedy. Are you sure you want to put your name in the history that you people are those who left this country with a lesser future? I know you are all good people and never want to do any harm. You are all just too naïve. You have the right to have you political motion and hate the previous prime minister. But don’t act on something that belongs to the people. Don’t destroy something you can’t possibly, and unnecessary, re-build. We should let the people and the TCDC member make a decision on the future of TCDC. Stop playing god and give democracy a chance. That is the way you were once all are.
    I have a proper reason to write this English and I apologise for that. I urge all members and all participating people of the country to persist on the principle. The decision from autonomy should never overrule a voice of the people. We are still in a democratic country, even though the few first statement from Kunying Tipawadee to us was “don’t worry, the worst thing for all of you is only starting from a scratch like Myanmar”. What a nice attitude, isn’t it?
    I challenge all the truth and debate on the rational of the issue and not emotional ones. I know we all members are so pathetic fighting with this ultimate power. But I urge you to persist. Why? Because it is important, for the sake of being Thai, to show them that:
    WE ARE NOT AFRAID.

  17. เพิ่งอ่านเจอ มันไม่ได้ แค่ฮุบ tcdc แต่มันฮุบเอา okmd พร้อมลูกทั้ง 7 ไปเป็น สีชมพูหมดเลย ชักได้กลิ่น ทะแม่งๆ อย่างแรง เอาไป จามจุรีสแควร์ หมด รอรัฐบาลใหม่ ถ้าพลังประชาชนเป็นรัฐบาล(เหตุเพราะพรรคอื่นๆ ทุกคนก็รู้ว่าสีเขียวจับซะ และออกตัวเป็นอริกะตัวเขียวชัดเจน) น่าจะรวมตัวกันไปยื่นเรื่อง แต่ถ้าสถานการณ์มันจะช้าไม่ทันการ จะบุกเดี่ยวไปยื่นหนังสือร้องเรียนความไม่ชอบมาพากลเอง ก็ยังได้ มันทำกันเกินไป เห็นเราเป็นไรฝุ่น หรือไงฟะ

    การเมืองอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซะแล้ววววว

สำหรับผู้อ่าน Hi class หรือผู้คนในแวดวงศิลปะร่วมสมัย คงไม่ต้องแนะนำ  ศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ อีกต่อไปแล้ว เพราะผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมผู้นี้ สร้างสรรค์ผลงานและโครงการเปี่ยมประโยชน์ไว้มากมาย อาทิ โครงการตลาดนัดศิลปะ (Art Market), โครงการสรรหาศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร การก่อตั้งกองทุนศิลปะร่วมสมัยและนานาโครงการที่จัดขึ้นเพื่อประกาศศักดาศิลปะร่วมสมัยไทยบนเวทีโลก
 สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนจะเป็นหัวใจของศิลปะร่วมสมัยในบ้านเราก็คือการเปิดพื้นที่ในการจัดแสดงผลงาน ซึ่งสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร” (หอศิลป์ กทม)  จึงเหมือนเป็น ‘ของขวัญชิ้นพิเศษ’ ที่ภูมิใจมอบให้คนไทยโดยเฉพาะชาวกรุงเทพมหานครทั้งมวล ด้วยหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการบริหาร หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์จึงถือเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการประคับประคองและผลักดันโครงการก่อสร้างหอศิลป์ซึ่งเปรียบเสมือน ‘สัญลักษณ์ใหม่แห่งศิลปะรัตนโกสินทร์’ แห่งนี้จนสำเร็จ และเปิดโอกาสให้เราเข้ามาเยี่ยมชมและสัมภาษณ์ถึงความเป็นมาในวันนี้

ไฮคลาส: กว่าจะมาถึงวันนี้ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครมีเรื่องราวมากมาย
 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเป็นหนังเรื่องยาวถึง 10 ปี(หัวเราะ) หลายท่านก็คงอยู่ในเหตุการณ์หรือติดตามข่าวเป็นระยะๆ เริ่มตั้งแต่สมัยคุณพิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งมีรองผู้ว่าฯคือ ดร.ไกรศักดิ์ ชุณหวัณ ช่วงนั้นก็มีการเตรียมการหาพื้นที่เพื่อจะสร้างหอศิลป์กรุงเทพมหานครซึ่งมีโครงการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้นแล้ว
 มองกันว่าควรจะมีหอศิลป์อยู่ในเมืองหลวงขนาดใหญ่ ดังนั้นช่วง 10 ปีที่แล้วจะเห็นได้เลยว่าบรรดาเมืองใหญ่ต่างๆของโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ฮ่องกง มีหอศิลป์ผุดขึ้นมาค่อนข้างเยอะ
เมื่อโครงการเบื้องต้นผ่านแล้วก็มีการจัดการประกวดแบบทั่วประเทศ โดยผู้ชนะก็คือบริษัท Robert G. Boughey & Associates จากนั้นก็มีการเตรียมการปรับแบบเพื่อเตรียมการก่อสร้าง ก็พอดีหมดวาระของผู้ว่าฯท่านนั้น
มาถึงสมัยของผู้ว่าฯ สมัคร สุนทรเวช ซึ่งมีการเสนอแผนผังใหม่ของพื้นที่ตรงนี้  แทนที่จะเป็นหอศิลป์ให้พื้นที่แสดงงานทั้งหมด ก็มีการปรับเปลี่ยนเป็นสวนอาหาร, Aquariumและลานจอดรถ การปรับผังกับปรับแบบส่งผลให้สถาปนิกคือโรเบิร์ต จีบุยมีปฏิกิริยาว่าเขาชนะแบบมาเพื่อมาสร้าง  หอศิลป์โดยตรง แต่กลับมาปรับแบบของเขา จึงทำให้เกิดการพูดคุยกันขึ้นว่าควรจะเป็นอย่างไรต่อไป 

ข่าวคราวการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทำให้ศิลปินหลายสาขาเกิดการประท้วง จนกระทั่งมีการระงับการก่อสร้างและมีการฟ้องร้องกันขึ้น เพราะฉะนั้นมาถึงตอนนั้นการดำเนินงานก็ชะงักไปจนกระทั่งถึงช่วงหาเสียงของคุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีการพูดถึงว่าจะมีการสร้างหอศิลป์ตามความคิดเดิม ทำให้มีการตื่นตัวขึ้นมาใหม่แล้วศิลปินก็ให้ความสนใจมาก การดำเนินโครงการก็ได้รับการผลักดันจนกลับมาอีกครั้ง มาถึงวันนี้หอศิลป์เปิดไปเมื่อวันที่ 27 กรกรฎาคมที่ผ่านมาก็เป็นเวลา 10 ปีพอดี เพราะฉะนั้นอย่างที่ผมเรียนว่านี่คือหนังเรื่องยาว
แต่เมื่อถึงวันนี้ หอศิลป์ในเมืองใหญ่ของแต่ละประเทศก็เริ่มมีปัญหา เช่น เรื่องของการบริหารจัดการ, การสนับสนุน, การสร้างสรรค์บุคลากร ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของงบประมาณที่จะต้องมีเข้ามาทั้งจากภาครัฐบาลแล้วก็ภาคเอกชนหรือผู้ที่มีใจรักศิลปะ โดยเฉพาะเมื่อหอศิลป์อยู่ท่ามกลางกระแสโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและความเปลี่ยนแปลง ซึ่งหลายคนคิดว่าที่นี่ก็ต้องประสบปัญหาแบบนั้น กลายเป็นคำถามว่ามาถึงปัจจุบันนี้แล้วกรุงเทพจำเป็นต้องมีหอศิลป์หรือเปล่า  แต่อย่างไรก็ตามผมขอเรียนตรงนี้เลยว่าสำหรับหอศิลป์ของบ้านเราเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อต่อสู้แล้วและได้มาแล้ว ก็ต้องทำให้อยู่ได้

ไฮคลาส: ณ เวลานี้ มาตรฐานในการดำเนินงานมีความสำคัญมาก หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นกัน
 เรียนตามตรงว่าหอศิลป์ในเอเชียที่กล้าหาญชาญชัยประกาศว่ามีมาตรฐานการดูแลรักษาผลงานนั้นมีน้อยแห่ง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการควบคุมอุณหภูมิ การควบคุมความชื้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก หอศิลป์ในเอเชียที่บอกว่ามีมาตรฐานสูงนั้น บางที่ผมไปเห็นแล้วก็ไม่ได้สุดยอดตามที่เขาโฆษณาหรอก
อย่างเช่น บอกว่าหอศิลป์ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้เท่ากับหอศิลป์ในยุโรป ซึ่งเป็นเรื่องยากมากเพราะบ้านเราอากาศร้อน การควบคุมอุณหภูมิต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น งบประมาณ เป็นต้น ดังนั้นในทางปฏิบัติ การจะทำให้ทั้งหอศิลป์มีอุณหภูมิเหมือนยุโรปเป็นเรื่องยาก ผมคิดว่าเรื่องนี้        
การแบ่งโซนเป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งเราอาจจะไม่ต้องทำให้ทุกตารางนิ้วของหอศิลป์ได้อุณหภูมิมาตรฐาน แค่บางส่วนหรือบางห้องสามารถจัดแสดงงานของ Picasso หรือ Frida Kahlo ได้ดีกว่า ส่วนอื่นก็ไม่จำเป็นต้องถึงระดับนั้น ซึ่งผมคิดว่าหอศิลป์ กทม. ควรเป็นไปในลักษณะนั้น

 ยกตัวอย่างงานนิทรรศการ “รอยยิ้มสยาม : ศิลปะ+ศรัทธา+การเมือง+ความรัก” ซึ่งมีศิลปินประมาณ 109 คน และในจำนวนนั้น 20 กว่าคนเป็นชาวต่างประเทศ แต่ละคนก็มีมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ เช่น การติดตั้ง, การขนย้าย โชคดีที่หลายคนพอรู้จักมักคุ้นกัน ค่าประกันก็อาจจะเจรจากันได้ แต่ก็ต้องมีบ้าง ซึ่งเราก็พยายามทำให้ครบวงจร เรื่องของการขนส่ง, การรับงานออกมาจากศุลกากร, การขนย้ายงานมาที่หอศิลป์, สถานที่พักงาน, การตรวจสอบงาน, การดูแลความปลอดภัย เราก็ทำตามกระบวนการให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
 
ไฮคลาส:  ทำอย่างไรให้คนเห็นว่าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (หอศิลป์ กทม.)  เป็นสถานที่ควรชม
 อย่างแรกคนอาจมองว่าหอศิลป์ กทม. เหมือนกับหอคอยงาช้าง (หัวเราะ) จากข้างนอกมองเข้ามาเป็นอาคารสูงใหญ่ สีขาว ไม่ว่าจะมองจากมุมไหนของสี่แยกปทุมวันก็ดูเหมือนอาคารที่ปิด  ซึ่งความคิดตรงนี้ผมว่าเราต้องเปลี่ยนให้ได้
 หัวใจสำคัญที่สุดก็คือชาวกรุงเทพนี่เอง ต้องเริ่มจากการทำให้ชาวกรุงเทพรู้สึกเป็นเจ้าของและสามารถเข้ามาเที่ยวในหอศิลป์ได้โดยไม่เกร็ง ไม่เครียด สิ่งหนึ่งที่เราต้องจัดให้มีระหว่างการแสดงนิทรรศการก็คือการให้ความรู้ในเรื่องของการดูศิลปะ ซึ่งผมมองว่าไม่ใช่แค่เรื่องของสุนทรียะ, ความเท่ห์, ความเก๋, แฟชั่นหรือสักแต่ว่ามาเพื่อให้ได้บอกว่ามาเท่านั้น แต่รวมไปถึงการทำความเข้าใจใน  การเข้าชมงานศิลปะด้วย
โจทย์ของเราก็คือพื้นที่ 20,000 กว่าตารางเมตรนี้จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมของคนกรุงเทพมากที่สุด แผนหนึ่งที่เราต้องดำเนินการคือ การคำนึงถึงเด็กๆระดับอนุบาล, คนทำงาน, วัยกลางคนหรืออาวุโสแล้วก็ตาม ต้องทำให้เขารู้สึกว่าเขาไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องศิลปะเลยก่อนที่เข้ามาก็ได้

การมาที่หอศิลป์ ไม่จำเป็นต้องมาเพื่อดูงานศิลปะเท่านั้น เขาสามารถเข้ามาเดินเล่นก็ได้ อย่างน้อยวันนั้นการเดินเล่นของเขามีงานศิลปะสักชิ้นผ่านตาก็ยังดี ไม่ต้องดูเพื่อให้เข้าใจ ไม่ต้องมาเพื่อซาบซึ้งทั้งหมดแค่อยู่ในนี้แล้วรู้สึกสบายใจก็พอ
แต่ถ้าอยากจะทราบรายละเอียด กระบวนการองค์ความรู้เราก็มี โดยร่วมมือดำเนินการกับสถาบันการศึกษาเช่นมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและมหาวิทยาลัยกรุงเทพในการนำชมหมู่หรือนำชมเดี่ยว โดยต้องมีสองภาษาเป็นอย่างน้อย ช่วยกันคิดว่าระหว่างนิทรรศการหนึ่งๆ ตั้งแต่เช้าจรดเย็นจะมีกิจกรรมเสริมอย่างไรที่จะทำให้คนสนใจและ ซึมซับ โดยนิทรรศการ “รอยยิ้มสยาม : ศิลปะ + ศรัทธา + การเมือง + ความรัก” จะเป็นการสร้างมาตรฐานของหอศิลป์กทม.ไว้ด้วย

 แน่นอนว่าถ้าครั้งนี้เราตอบโจทย์ที่กล่าวมาทั้งหมดได้ เราก็ตอบคนในกรุงเทพได้ว่าพื้นที่ตรงนี้ให้ประโยชน์ ให้ความรู้ เขาสามารถมาทำกิจกรรมเป็นครอบครัวได้มาผ่อนคลายได้ มาทานอาหารได้ มาดื่มกาแฟ จิบไวน์ในพื้นที่เหล่านี้ได้ ทำให้เขาเข้าใจว่ากิจกรรมในหอศิลป์ กทม. อาจจะไม่ใช่เรื่องของศิลปะเสมอไป การมีที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของหอศิลป์ ทำให้คนเกิดความรู้สึกว่าจริงๆไม่ได้ไปยากหรอก แล้วถ้าคุณไม่อยากดูศิลปะก็ไม่ต้องดู แค่เข้ามาเดินเล่นก็ได้ ไม่มีใครทำให้คุณรู้สึกเกร็งหรือเขินเลย
เพราะฉะนั้นเริ่มต้นจะต้องทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพื้นที่สาธารณะจริงๆ ใครเดินเข้ามาก็ได้  นโยบายตอนนี้ไม่มีการเก็บตั๋ว แต่มีการพูดคุยกันว่าถ้าวันหนึ่งมีงานเฉพาะมาจัดแสดง ซึ่งจำเป็นต้องมีการเก็บตั๋วหรือผู้จัดจากต่างประเทศเข้ามาเช่าพื้นที่แล้วมีความจำเป็นต้องเก็บก็คงต้องทำ แต่ ณ ตอนนี้ยังไม่มี เพราะฉะนั้นใครก็เดินเข้ามาได้หมด

ไฮคลาส: พันธกิจหนึ่งของหอศิลป์ กทม. แห่งนี้คือการพัฒนาคุณภาพมนุษย์
 ใช่ครับ ผมคิดว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน อย่างน้อยเราต้องมีสถานที่สักแห่งที่ไม่ใช่แค่ไปสนุก แต่ต้องมีสาระและขณะเดียวกันคุณสามารถบันเทิงใจได้ด้วย ที่ผ่านมาเราก็มีเทศกาลหนังสั้นของมูลนิธิหนังไทย ซึ่งถือเป็นการประกาศว่าหอศิลป์ กทม. ไม่ได้มีแค่เรื่องทัศนศิลป์ แต่รวมไปถึงเรื่องของการแสดง ดนตรีและภาพยนตร์ ซึ่งช่วยผ่อนคลายได้หรืออาจจะ เยี่ยวยาได้ด้วยซ้ำ ถ้าเราจัดให้มีคุณค่า เด็กด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุก็ควรจะมีอะไรไปสื่อสารกับเขาด้วย ให้พื้นที่แก่เขา
 

ไฮคลาส: ในแง่ธุรกิจ การสร้างหอศิลป์ขนาดใหญ่ใจกลางย่านธุรกิจของเมืองหลวง จะถือว่าคุ้มค่าหรือไม่
 ขออนุญาตยกตัวอย่างง่ายๆว่าอาคารหอศิลป์ กทม.ทั้งหมด 11 ชั้น พื้นที่กว่า 20,000 ตารางเมตร ลงทุน 500 ล้าน ซึ่ง ณ วันนี้สร้างไม่ได้แล้ว อันนี้พูดถึงด้านอสังหาริมทรัพย์ ผมคิดว่าก็คงสามารถมองเห็นได้แล้วว่าคุ้มค่า
 อันที่สอง โชคดีโจทย์ที่ทาง กทม.ได้วางเอาไว้แล้วนั้น ระบุว่าถึงแม้หอศิลป์จะมี 11 ชั้นก็ตาม แต่ได้มีการออกแบบให้เป็นพื้นที่เช่าของร้านค้า โดยมีข้อแม้ว่าต้องเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะ  วัฒนธรรม ณ ตอนนี้มีการเตรียมแบ่งให้เช่า 33 ห้อง อยู่บริเวณชั้น 1,2,3,4
เรื่องของร้านค้านั้น ผมมองว่าตามทำเลแล้วอยู่ได้แน่นอน แต่เราต้องคิดว่าจะแบ่งสรรปันส่วนอย่างไร ว่าเป็นร้านกาแฟ, ร้านอาหาร, ร้านที่เกี่ยวกับศิลปะ, ร้านหนังสือศิลปะ เรากำลังจัดแบ่งโซน  อยู่เพื่อความเหมาะสม ให้ดูดี ไม่สะเปะสะปะ ถ้าเราสามารถจัดสรรเรื่องพวกนี้ได้ก็จะนำมาซึ่งรายได้ที่จะเลี้ยงนิทรรศการต่างๆที่อยู่บนชั้น 7,8, 9
ในส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าหอศิลป์ กทม.สามารถสร้างรายได้บางส่วนเข้ามาได้ แต่แน่นอนช่วง 3- 5 ปีก็ต้องพึ่งพางบประมาณจากทางกรุงเทพมหานครอยู่และรับนโยบายจากมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ไฮคลาส: แล้วถ้าวันหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร นโยบายจะต้องเปลี่ยนไปด้วยหรือไม่
 การเปลี่ยนแปลงย่อมมีแน่นอนเมื่อมีการเปลี่ยนตัว แต่ ณ ตอนนี้ผมมองว่าในเมื่อเราเปิดหอศิลป์ กทม.แล้ว นโยบายต้องทำให้ชัดเจน เรามีคณะกรรมการมูลนิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานโดยตำแหน่ง และมีคณะกรรมการบริหารจัดการอีกชุดหนึ่ง ซึ่งเวลานี้กรรมการสองคณะต้องร่วมมือกันบริหารจัดการให้ได้ คิดว่านโยบายนี้เมื่อเปิดเป็นหอศิลป์แล้วจะเปลี่ยนเป็นอื่นไปไม่ได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่เข้ามาดำรงตำแหน่งก็ต้องทำต่อตรงนี้ เครือข่ายองค์กรศิลปะและคนกรุงเทพก็รู้แล้วว่าที่นี่คือพื้นที่สำหรับงานศิลปะ

ไฮคลาส:  แม้จะฟังดูน่าสนใจ แต่ระดับปฏิบัติการจะสามารถทำให้ทุกคนรู้สึกอยากเข้ามาในหอศิลป์ กทม.ได้อย่างไร
 แรกๆก็ต้องทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานคร ยกตัวอย่างเช่นโรงเรียนสังกัด กทม.ก็มีการเชิญชวนให้ครูพาเด็กๆมาชมงานศิลปะบ้าง แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่านิทรรศการต้องดีด้วย เพราะถ้างานดีก็ปากต่อปากว่า  1. ฟรี 2.งานดี 3.เข้ามาได้สบายมาก ซึ่งผมอยากให้เป็นอย่างนั้นมากกว่า ไม่อยากให้บังคับกันมา
อย่างเมื่อสองเดือนที่ผ่านมาก็ทำโครงการ Art Market ที่ลานด้านหน้าหอศิลป์ กทม. งานนี้เกิดขึ้นก่อนการเปิดหอศิลป์ กทม. ด้วยซ้ำไป ผมคุยกับผู้ว่าฯ อภิรักษ์ว่าพื้นที่ 600 ตารางเมตรด้านหน้าซึ่งติดสี่แยกปทุมวันนั้น สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจะเอา Art Market มาลงเป็นโครงการ นำร่องก่อน เป็นกิจกรรมง่ายๆสบายๆ ใครผ่านไปผ่านมาเห็นแล้วสนใจก็มาดู ผู้คนลงรถไฟฟ้าผ่านมาก็เข้ามาเดินเล่นได้
การประชาสัมพันธ์เราก็ต้องอาศัยทางกรุงเทพมหานคร ยกตัวอย่างเขามีป้ายโฆษณาที่อยู่ตรงต้อม้อรถไฟฟ้า หรือเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของเขาก็มีนัดพบสื่อมวลชนวันจันทร์เช้า เป็นต้น ตรงนี้เราก็อาศัยเขาได้ เพราะ บุคลากรของเรายังน้อย เรามีอัตราตำแหน่งประมาณ 60 กว่าคน แต่เพิ่งทยอยกันเข้ามา เพราะฉะนั้นก็ยังไม่ครบ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นงานเร่งด่วนอีกงานหนึ่ง

ไฮคลาส: หมายความว่าในการบริหาร คณะกรรมการบริหารเป็นผู้กำหนดกิจกรรมก่อนแล้วจึงส่งเรื่องไปทางกรุงเทพมหานคร
 เราต้องเสนอกิจกรรมต่างๆ ขึ้นไปให้คณะกรรมการมูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครรับทราบ และคณะกรรมการมูลนิธิฯ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทน จากกรุงเทพมหานคร
ในฐานะที่ผมเป็นประธานกรรมการบริหารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ทางมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครได้มอบหมายให้มีการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหอศิลป์ กทม. ซึ่งจะเข้ามาบริหารเต็มตัว
ซึ่งในกระบวนการสรรหา ผู้ที่จะเข้ามาต้องรู้เรื่องศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยพอสมควร แต่ว่าถ้ามีความสามารถในด้านอื่นด้วยหรือมีความสามารถในการบริหารจัดการด้วยจะดีมาก เพื่อมาดูแลงานในอาคาร 11 ชั้นนี้ให้ครบวงจร
บางคนบอกว่าเขามีความสามารถแต่ไม่เก่งเรื่องศิลปะร่วมสมัย ขอเรียนว่าสามารถเข้ามาสมัครได้เพราะตำแหน่งนี้มีทั้งการบริหารงาน, การดูแลกิจกรรม, ดูแลห้องเช่า 33 ห้อง ถ้ามีทั้งวิสัยทัศน์และประสบการณ์ก็ดี แต่ไม่ใช่ว่าต้องรู้เรื่องศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัยแต่อย่างเดียว ในทางกลับกันถ้านักบริหารมืออาชีพจะเข้ามาดูแลหอศิลป์ กทม.ให้ดำเนินไปได้  ตอบโจทย์ต่างๆ ให้คนดูเข้ามาด้วยความสนุกสนานและได้ความรู้อย่างที่เราวางแผนไว้ก็จะดีมาก

ไฮคลาส: ในฐานะที่สนใจศิลปะร่วมสมัยมานาน คุณคิดว่าศิลปินไทยมีมาตรฐานเทียบเท่าศิลปินระดับโลกไหม
 มากกว่าด้วยซ้ำ แต่เรียนว่าตรงนี้ไม่ได้วัดกันด้วยราคาของผลงาน อธิบายง่ายๆว่าในมหกรรมมศิลปะที่มีมาตรฐานสูงๆ เช่น ที่โยโกฮามา, เซี่ยงไฮ้,เวนิส, บริสเบน เป็นต้น ไปดูที่ไหนก็จะเห็นชื่อศิลปินไทยปรากฎอยู่ทุกแห่ง แต่เราซึ่งเป็นคนไทยด้วยกันเองกลับไม่ค่อยได้เห็นผลงานของพวกเขาก็เลยไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง แต่รู้สึกว่าทำไมมีงานศิลปะร่วมสมัยที่น่าสนใจของศิลปินไทย แต่ไปแสดงงานที่สิงคโปร์ เกิดความสงสัย เกิดความเสียดาย ก็โยงมาถึงว่าสิ่งที่เรามีอยู่ถ้าเราไม่ดูแลรักษา คนอื่นก็จะเอาไปหมด มีศิลปินหลายคนที่เดินสายในต่างประเทศ   เพราะเขาไม่มีพื้นที่แสดงในบ้านของตัวเอง ตัวอย่างเช่น ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวณิช, นาวิณ ลาวัณย์, สรุสีห์ กุศลวงศ์ เป็นต้น ซึ่งผมก็จะนำพวกเขากลับมาแสดงในงานรอยยิ้มสยาม อย่างน้อยก็ให้เกิดความเคยชิน รุ่นเด็กๆก็จะสามารถเห็นได้ สัมผัสได้ รุ่นแก่ๆรับไม่ได้ก็ไม่เป็นไร (หัวเราะ) แต่รุ่นเด็กๆผมยังมีความหวังอยู่ว่าเขาจะเกิดความชื่นชมและเห็นคุณค่าของศิลปินเหล่านี้ ต้องค่อยๆแนะนำให้คนไทยเห็นว่าของดีจริงๆแล้วอยู่ตรงจมูกเรานี่เอง

ไฮคลาส: ฟังดูแล้ว งานของคุณทั้งรอบด้านและลึกซึ้ง ไม่ง่ายเลย
 (หัวเราะ) งานผมไม่เคยง่ายอยู่แล้ว ผมเจอปัญหาจนชินแล้ว เข้าใจว่าถ้าทำงานก็ต้องมีปัญหา

ไฮคลาส: หลายคนตั้งความหวังเอาไว้ว่าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครจะเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการเป็นเมืองแห่งศิลปะร่วมสมัยของกรุงเทพ
 เคยมีการพูดกกันว่าเราจะทำอย่างไรให้กรุงเทพเป็น Asian Gateway หรือเป็นประตูสู่เอเชียหมายความว่าผู้เดินทางไม่ว่าจะไปไหนก็ตามต้องมาหยุดพักที่นี่ก่อน เพราะฉะนั้นสนามบินที่มีคุณภาพก็ต้องเกิดขึ้น โรงแรมระดับ 5 - 6 ดาวก็ต้องมี เพื่อตอบสนองการท่องเที่ยว การแสดงสินค้าและการประชุมระดับนานาชาติจึงมองกันว่าสิ่งหนึ่งที่จะรั้งเขาให้อยู่ได้คือการท่องเที่ยว
ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับเราตรงที่ถ้าเรามีหอศิลป์ กทม.หรือมีงานศิลปะที่น่าสนใจก็น่าจะเป็นสูตรสำเร็จ เช่น พอมาถึงเมืองไทยก็ไปดูวัดพระแก้ว ไปชมสถานที่สำคัญๆ ไปตลาดน้ำ หรืออะไรต่างๆ แล้วเราก็มีทางเลือกใหม่ๆ เป็นศิลปะร่วมสมัยหรือศิลปะการแสดงที่น่าสนใจด้วย อาจจะสามารถดึงให้นักท่องเที่ยวอยู่ต่อได้นานขึ้นด้วยซ้ำ  ซึ่งผมคิดว่าหอศิลป์ กทม.เป็นพื้นที่สำคัญอันหนึ่งสำหรับเรื่องเหล่านี้ สูตรนี้ไม่ใช่แค่สำหรับบ้านเรา ในหลายๆประเทศในเอเชียก็ใช้กันอยู่
ในบางกรณีก็มองว่าหอศิลป์เป็นสถานที่ดึงดูดสำคัญ (landmark) อย่างที่กรุงโตเกียว Mori Art Centre ก็เป็น landmark ที่คนนิยมมาถ่ายรูปหรือมาเยี่ยมชม ในด้านหนึ่งก็เป็นการบอกว่าคุณ ไม่จำเป็นต้องมาหอศิลป์เพื่อชมงานศิลปะอย่างเดียว มาดู มาเดินเล่น มาถ่ายรูปก็ได้
 มาถึงตรงนี้ก็วกกลับมาว่าเราต้องมีพื้นที่ให้กับทรัพยากรมนุย์ คือ ศิลปิน ให้มีพื้นที่แสดงด้วย ทั้งนี้ถือเป็นการสร้างความหลากหลายในทางวัฒนธรรมให้กับเราด้วย ผมหมายความว่าถ้าเป็นอย่างที่เราคิด คนก็จะมีทางเลือกได้มากขึ้น เช่น ไปดูโขนที่ศาลาเฉลิมกรุง  จากนั้นไปดูงานศิลปะที่หอศิลป์ กทม. คุณสามารถเอาทัวร์มาลง มาซื้อของ มากินข้าวแล้วก็เลยมาดูงานศิลปะก็ย่อมได้

ไฮคลาส: เท่ากับเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ให้กับศิลปะร่วมสมัย หรือสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ของศิลปะในประเทศไทย
เรากำลังพยายามปรับทัศนคติของรัฐบาลรวมไปถึงผู้ที่ดูแลเรื่องงบประมาณ มักจะที่ดูผลนโนยบายทางวัฒนธรรมในเชิงอนุรักษ์และสืบทอดมรดก ผมจึงพยายามพูดอะไรที่ฟังง่ายๆ เช่น ศิลปะสามารถไปส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ ศิลปะสามารถไปเกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่างๆในชีวิตประจำวันได้ ไม่ใช่เรื่องยากหรือเรื่องไกลตัวเลยถ้าคนเปิดรับ เพราะศิลปะร่วมสมัยเป็นเรื่องที่อยู่ในชิวตประจำวันอยู่แล้ว ไมว่าจะเป็นการแต่งตัว อาหาร ความบันเทิง เป็นต้นเพราะฉะนั้นจริงๆแล้วเราใช้เวลากับศิลปะร่วมสมัยเยอะมาก  แต่เราไม่ค่อยรู้ตัวเท่านั้นเอง แต่ในเชิงของงบประมาณ ผมอยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและให้เม็ดเงินที่พอเพียง ผมคิดว่าเราลงทุนอย่างน้อยนิด แต่สิ่งที่ได้กลับคืนมามหาศาล 
สำหรับเรื่องชมงานศิลปะผมคิดว่าไม่ต้องถึงขั้นนักท่องเที่ยวต่างชาติหรอก ถ้าเรามีงานดีๆให้ดู คนต่างจังหวัดก็อาจจะอยากเข้ามาดูบ้าง ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดขาก็อยากจะให้นักศึกษาได้เข้ามาดูงานเหล่านี้ ผมคิดว่าก็เป็นส่วนหนึ่งของรายได้อยู่แล้ว สามารถหมุนเวียนในประเทศได้ด้วย

ไฮคลาส: หมายความว่า คุณเองมองว่าในเวลานี้รัฐปล่อยให้เอกชนกำหนดอนาคตศิลปะร่วมสมัยแต่ฝ่ายเดียว รัฐควรทำอะไรนอกเหนือจากการอนุรักษ์ด้วย
 ฝ่ายอนุรักษ์ก็อนุรักษ์ไป แต่ต้องมีการต่อยอดด้วย อย่างงานนิทรรศการ “รอยยิ้มสยาม”  เองก็มีการนำโบราณวัตถุจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาจัดแสดงร่วมด้วย นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงร่วมกับศิลปะร่วมสมัย อย่างเช่นการจัดแสดงพระพุทธรูปเก่าที่มีรอยยิ้มร่วมกับงานลายเส้นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, งานประติมากรรมของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี, งานจิตรกรรมของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ สลับกันไปทำให้เกิดปฎิสัมพันธ์ใหม่ที่น่าสนใจ
 นอกจากนี้ผมยังนำงานของศิลปินชาวอังกฤษ ชื่อ David Mach ซึ่งเรียงหัวไม้ขีดเป็นพระพุทธรูป จะเปรียบเทียบกับงานของคามิน เลิศชัยประเสริฐซึ่งทำพระพุทธรูปจากเศษธนบัตร  ซึ่งสะท้อนว่าความศรัทธาเกิดขึ้นจากใจ ไม่ได้เกิดจากว่าพระพุทธรูปทำด้วยวัตถุอะไร

ไฮคลาส: คุณเคยคิดไหมว่า อุปสรรคที่หอศิลป์ต้องเผชิญแน่ๆในอนาคตคืออะไร
 สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่แบบนี้ท่ามกลางงบประมาณที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและอุสรรคก็คือการดำเนินการวันต่อวัน
ณ ตอนนี้โชคดีที่เรื่องของน้ำ ไฟนั้น กรุงเทพมหานครยังดูแลอยู่ แต่ก็อย่างทีทราบว่าหอศิลป์ กทม. เองก็พยายามหารายได้จากห้องเช่าและอะไรอื่นๆ อีกอย่างหนึ่งที่มองว่าเป็นปัญหาอุปสรรคในการทำงานก็คือ ถ้าหากว่าหอศิลป์ กทม.เองยังติดอยู่ในระบบราชการก็อาจจะมีความล่าช้าหรือยุ่งยากเกี่ยวกับการบริหารงานบ้าง  ถึงแม้ว่าจะเป็ยมูลนิธิก็ยังมีกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามอยู่ในอนาคตเราก็จะต้องพยายามหาบุคลากรเครือข่ายกลุ่มศิลปินและผู้มีใจรักศิลปะ มาเติมให้เต็มเพื่อร่วมมือกันทำงาน

ไฮคลาส: ต้องใช้บุคลากรต่างชาติไหม?
 เคยมีการคุยกันว่าอย่างน้อยก็จะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นภัณฑารักษ์สักพัก เหมือนที่สิงคโปร์เขาเคยทำ เรากำลังหาทางติดต่อผ่านสถาบันต่างๆ อาทิ British Council, สถาบัน Goethe หรือสถานทูตต่าง เช่น สถานทูตฝรั่งเศสเป็นต้น ซึ่งเรามีเครือข่ายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการมาของคนเหล่านี้อาจจะไม่มีค่าใช้จ่ายหรือมีน้อยมาก
 การวางบทบาทของเราก็สำคัญ ต้องมาดูว่าเราจะเป็นหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย  ถ้าอยากเป็นหอศิลป์ก็ต้องพยายามจัดนิทรรศการให้มาก หลากหลาย แต่ถ้าอยากเป็นพิพิธภัณฑ์ด้วยก็ต้องมีการซื้องาน เพราะต้องมีนิทรรศการถาวรจัดแสดงหรือมีการเก็บรักษาผลงาน ซึ่งเป็นเรื่องยาก ซึ่ง ณ ตอนนี้ไม่ใช่แนวทางของเรา เราเน้นนิทรรศการอย่างเดียว เพราะว่างบประมาณไม่มีที่จะซื้องาน
 เรามีหน้าที่แสดงงานให้ผู้ชมได้ดู ไม่ได้มีหน้าที่ซื้องานมาสะสม อันที่จริงผมจำได้ว่าครั้งหนึ่งมีการพูดถึงว่าบางชั้นหรือบางห้องจะมีการจัดแสดงนิทรรศการถาวร แต่ผมคิดว่าราคางานศิลปะไม่รอใคร มาถึงตอนนี้งานที่คิดว่าจะซื้อมาเป็นสมบัติของกรุงเทพก็คงซื้อยากแล้ว บางงานที่ซื้อได้ก็ต้องหางบประมาณก่อน แต่ในทางกลับกันก็มองว่าถ้าเผื่ออยากมีงานกึ่งถาวรก็อาจจะยืมงานของเจ้าของ เช่น ศิลปินหรือนักสะสมมาจัดแสดง โดยมีเครดิตให้เพราะนักสะสมหรือศิลปินบางคนก็ไม่มีที่แสดงงานเราก็อาจจะเป็นพันธมิตรกัน หรือมีที่แสดงอยู่แล้วแต่อยากจะช่วยสังคมก็ให้ยืมมา ก็มีความเป็นไปได้

ไฮคลาส: สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) มีบทบาทในการดูแลหอศิลปวัฒนธรรม  แห่งกรุงเทพมหานคร (หอศิลป์ กทม)อย่างไรบ้าง
 ไม่ครับ สศร.ไม่ได้เขามาบริหารตรงนี้เลย เป็นเรื่องของคณะกรรมการบริหารหอศิลป์ กทม.เท่านั้นและในที่สุดหอศิลป์ กทม. ก็ต้องมีผู้อำนวยการและผู้อำนวยการก็ต้องเป็นผู้วางแผน บริหาร เพราะฉะนั้นตอนเข้ามาสมัครก็ต้องบอกวิสัยทัศน์ ให้เราเห็นภาพว่าสอดคล้องกับความคิดเราไหม รอบด้านไหม จะฟอร์มทีมอย่างไร ผมคิดว่าไม่เกินสองปีก็น่าจะเข้ารูปเข้ารอย แต่ผมคิดว่าในส่วนของนิทรรศการนั้นไม่ต้องรอ ในเรื่องนี้ถ้าเราค่อยๆเป็น ค่อยๆ ทำจะถูกมองว่าไม่คุ้มกับการรอคอยหอศิลป์เลย เพราะฉะนั้นปัญหาอีกอันหนึ่งคือเรื่องเวลา ต้องรีบแสดงงาน จัดงาน ให้คนได้เห็นศักยภาพของพื้นที่นี้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน
 
ไฮคลาส: สถานการณ์ตอนนี้มีผลต่อการจัดงานไหม?
 ตอนนี้ไม่มีนะครับ แต่ผมมองว่ายิ่งเวลาผ่านไปชื่อของนิทรรศการ “รอยยิ้มสยาม : ศิลปะ + ศรัทธา + การเมือง + ความรัก”  อาจจะตรงใจคน (หัวเราะ) ไม่รู้ผมเข้าข้างตัวเองมากไปหรือเปล่าแต่รู้สึกว่าชื่อของนิทรรศการค่อนข้างบอกได้ถึงบรรยากาศสังคมในตอนนี้ซึ่งมีคนมากมายโหยหารอยยิ้ม รอยยิ้มสยามในอดีตแสดงออกด้วยความเรียบง่าย แจ่มใส  มีเสน่ห์ แต่ในช่วงนี้มีทั้งยิ้มสยอง ยิ้มแสยะ แถมมาด้วย(หัวเราะ)

ไฮคลาส: นิทรรศการรอยยิ้มสยาม: ศิลปะ + ศรัทธา + การเมือง + สังคม เป็นนิทรรศการที่ทุกฝ่ายรอคอย ในฐานะผู้มีส่วนสำคัญในการจัดและเป็นภัณฑษรักษ์เองด้วย คุณมีแรงบันดาลใจอย่างไร?
 งานนี้เราอยากจะมีชื่อที่ง่ายๆ เพื่อคนกรุงเทพหรือคนไทยเองจะได้รู้สึกว่ามีขี้นเพื่อคนไทย แต่ผมพยายามจะสอดแทรกบางเรื่องเข้าไปด้วย อยากเอางานในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาจัดแสดงด้วย เพื่อบอกว่างานในหอศิลป์ กทม.ไม่ได้มีแต่ร่วมสมัยอย่างเดียว อาจจะมีงานประเพณีด้วยเพื่อปฏิสัมพันธ์กับงานร่วมสมัย
 อยากจัดงานสำคัญๆ ที่รวบรวมงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะไว้ด้วยกัน เช่น ตู้พระธรรมของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี หรืองาน “ธรรมมะ อธรรม” ช่วง 14 ตุลา ที่อาจารย์ประเทือง เอมเจริญได้เขียนขึ้น, งานของจ่าง แซ่ตั้งที่เขียนช่วง 14 ตุลา ที่อาจารย์นั่งอยู่แต่ตาถูกควักออกแล้วมือถูกตัด, งานของประสงค์ ลือเมืองที่เขียนช่วงพฤษภาทมิฬ ชื่อ สัตว์เป็นสัตว์, งานของวสันต์ สิทธิเขตต์ เป็นต้น ผมจะนำเสนอให้เห็นว่างานเหล่านี้สะท้อนเหตุการณ์อย่างไร และเป็นโอกาสเดียวที่งานเหล่านี้จะมาอยู่บนกำแพงเดียวกัน ในเชิงการศึกษาถือว่ามีค่ามาก
 ในเรื่องของศิลปินต่างชาติ งานของเขาอาจจะไม่เกี่ยวกับรอยยิ้มสยามโดยตรง แต่อาจพูดถึงรอยยิ้มหรือศิลปินบางคนเคยมาทำงานในเมืองไทย เพราะฉะนั้นส่วนหนึ่งก็สามารถสะท้อนความคิดของชาวต่างชาติที่มีต่อคนไทย และเป็นการเปิดพื้นที่ให้ศิลปินต่างชาติได้ทำงานร่วมกับเรา สร้างงานร่วมกับศิลปินไทยถือเป็นการยกระดับศิลปินของเราด้วย ศิลปินหลายคนสร้างงานใหม่เพื่องานนี้โดยเฉพาะ เพราะฉะนั้นน่าสนใจมาก
 นอกจากนี้ผมยังเอางานของศิลปินหนุ่มสาว มาร่วมไว้ในนิทรรศการครั้งนี้ด้วย ให้เขาได้มีแรงบันดาลใจ สร้างโปรไฟล์ให้เขา เพราะฉะนั้นตรงนี้คือการเปิดโอกาสให้ศิลปินหลากรุ่นทำงานด้วยกัน ถ้าเราจัดงานระดับนี้ได้ปีละครั้งก็จะช่วยขับเคลื่อนวงการศิลปะร่วมสมัยต่อไป


Text:กองบรรณาธิการ
Photo:สรวิชญ์ หอมสุวรรณ

+++++++++++++++++++++++++++
อัพเดทโดย : เบญจมาส  วิชาสอน
วันที่ : 8 ก.พ. 2553
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

http://www.hiclasssociety.com/hiclass/detailcontent.php?sub_id=686

ศ. ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อังคาร, 04 พฤษภาคม 2010 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

ขณะนี้มี 74 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้5589
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11017423