Skip to content

Phuketdata

default color
Home
เครื่องเคลือบจีน PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 01 กันยายน 2009

พาเพื่อนๆไปกู้ซากเรือสมัยราชวงศ์ถัง สมบัติล้ำค่าทางโบราณคดี

     

ในปี ค.ศ. 2005 ชาวประมงกำลังหาปลิงทะเล ในหมู่เกาะเบลีตุง (ด้านตะวันออกของหมู่เกาะชวา) ได้พบกับเรือบรรทุกสินค้าโบราณจมอยู่ จนกระทั่งนักโบราณคดีใต้น้ำได้ทำการขุดค้นซากเรือ และนำมาจัดแสดงและเก็บบันทึกไว้ที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นการค้นพบว่า เป็นเรือของพ่อค้าชาวเปอร์เซีย ในคริสศตวรรษที่ 9 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ถัง ถือเป็นเส้นทางสายแพรไหมทางทะเล ในยุคนั้น



การค้นพบสิ่งของที่บรรทุกในลำเรือ บ่งบอกถึงสภาพและเหตุการณ์ในขณะนั้นๆได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งของที่ขุดพบ เป็นเครื่องถ้วยกว่า 50,000 ชิ้น ซึ่งมาจากแหล่งเตาเผากว่า 5 แห่งในจีน ซึ่งเครื่องด้วยเด่นๆมาจากเตาทางตอนใต้ คือ แหล่งเตาฉางชา ซึ่งมีเนื้อสีเหลืองอ่อน ระบายสีน้ำตาล และมีการเขียนลายดอกบัว ลายปลา ลายภาษาอาหรับ และลายออกทางมุลสิม



และสิ่งที่ล้ำค่าที่สุด ของการค้นพบศิลปะวัตถุ ซึ่งเป็นหลักฐานนำไปสู่การเติมเต็มของอดีต คือ


1. จานกระเบื้องเขียนลายน้ำเงิน บนพื้นขาว ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเครื่องเคลือบลายคราม ซึ่งก่อนหน้านี้ นักโบราณคดีเชื่อว่า มีต้นกำเนิดจากจีน ในราวราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1234-1368) และต่อมาค้นพบใหม่ว่า สีโคบอล ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ใช้กันในแถบเปอร์เซีย ถูกนำเข้าประเทศจีน ผ่านโดยพ่อค้าอาหรับ มายังแหล่งเตาจิ้งเต๋อ เพื่อผลิตเครื่องลายครามในปลายราชวงศ์หยวน  จนทำให้เครื่องลายครามของชาวจีนโด่งดังมีชื่อเสียงอย่างมาก  ซึ่งจานใบนี้ มีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ เนื่องจากมันถูกผลิตในประเทศจีน ด้วยการเขียนสีน้ำเงินโคบอล ลงในจาน ซึ่งเก่ากว่าเครื่องลายครามสมัยหยวนถึงกว่า 500 ปี ซึ่งมีประวัติศาสตร์ด้านเครื่องถ้วยที่ต้องค้นคว้าต่อไป

2. ถ้วยทองคำหกเหลี่ยมดุดนูน เป็นถ้วยทองคำผลิตในจีน ด้านข้างเป็นลายดุนนูน รูปชาย และหญิง ทำท่ากำลังร่ายรำ อยู่ ออกกลิ่นอายผสมอาหรับ ซึ่งเป็นการค้นพบถ้วยทองคำ สมัยถังที่ใหญ่ที่สุด

3. ถาดทองคำ แกะสลักลายสวัสดิกะ ซึ่งเป็นที่แปลกที่ว่าลายสวัสดิกะ ในสมัยถัง ยังไม่แพร่หลาย ถือเป็นลายยุคแรกๆที่มีการลวดลายนี้ขึ้นมา ซึ่งนักโบราณคดีสันนิฐานไว้ว่า อาจจะเป็นลายที่ถูกสั่งทำขึ้น ซึ่งลายสวัสดิกะ น่าจะเข้ามาพร้อมๆกับพระพุทธศาสนาในประเทศจีน

4. เครื่องถ้วยขนาดเล็ก เรียงซ้อนกันในไหสี่หู ล้วนเขียนลายต่างๆ มาจากแหล่งเตาเผาฉางชา ซึ่งในบรรดาถ้วยชามฉางชาหลายหมื่นใบที่พบในซากเรือนั้น ใบหนึ่งมีข้อความจารึกว่าวันที่สิบหก เดือนเจ็ด ปีที่สองในรัชศกเป่าลี่หรือตรงกับ ค.ศ. 826 ตามปฏิทินตะวันตก และน่าจะเป็นวันเวลาที่ถ้วยใบนี้ถูกผลิตขึ้น เรือจึงอาจออกเดินทางหลังจากนั้นไม่นาน

 
 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:17:12
ถูกใจ: pimon, แพนด้ามหาภัย, Noshka

 
ความคิดเห็นที่ 1  

เครื่องถ้วยและเครื่องเคลือบสมัยถัง มีการพัฒนาด้านการเคลือบ และการเผาให้เนื้อแกร่งขึ้น มีการนำสี หลายๆสีมาเคลือบทับกัน ให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้น เตาเผาที่เด่นๆในสมัยถัง คือ เครื่องถ้วยสีขาวของยั่วโจว มณฑลเจ้อเจียง และ เครื่องถ้วยสีขาวของซิ่งโจว มณฑลเหอเป่ย และเครื่องเคลือบสามสี ริมทะเลสาปชางหลิงหู เป็นต้น

ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) หรือ (พ.ศ. 1161- 1450) (นครฉางอัน และลั่วหยาง) หากเทียบสมัยดินแดนในแถบที่เป็นประเทศไทย จะมีอาณาจักรทวาราวดี และ ศรีวิชัย ตั้งอยู่ ซึ่งในสงขลา ได้พบเครื่องกระเบื้องเคลือบสีเขียวอ่อนสมัยราชวงศ์ถัง และทวารวดีก็พบเครื่องถ้วยจากจีน ซึ่งยืนยันว่า ได้มีการติดต่อค้าขายสินค้าระหว่างกันแล้ว
ราชวงศ์ถัง โด่งดังในเรื่องการค้าขายกับชาวเปอร์เซีย ทางบกซึ่งเรียกว่า “เส้นทางสายไหม” ส่วนในทะเลก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยชาวอาหรับเดินเรือ เข้าสิงคโปร์ แวะเวียตนามและไปจีน ซึ่งมีพ่อค้าชาวอาหรับ อยู่ตามเมืองกวางตุ้ง เมืองฉวนโจ้ว และเมืองฮานอย ในเวียตนาม ทำการค้าขาย ผ้าไหม ผ้าปัก เครื่องปั้นดินเผา เพื่อแลกกับงานช้าง เครื่องหอม ทองแดง กระดองเต่า การบูร นอแรด

สมัยถังตอนต้น มีอาณาเขตไปถึง เตอร์กีสสถาน และรวมเกาหลี เวียตนาม เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรถัง ซึ่งด้านเปอร์เซีย ตรงกับราชวงศ์ซัสซานิค ซึ่งครั้งหนึ่งเคยขอร้องให้จักรพรรดิจีนช่วยต่อต้านพวกอาหรับที่มารุกรานเมโสโปเตเมีย ทำให้เกิดการแพร่เข้ามาของอารยธรรมเปอร์เซียสู่จีน อีกทั้งพุทธศาสนาเริ่มแพร่เข้ามายังอาณาจักรถัง ตอนปลายราชวงศ์ถัง ช่วง ค.ศ. 907 (พ.ศ. 1450) มองโกลชาวคีตาน ได้บุกมาทางเหนือ จนทำให้จีนแบ่งออกเป็นยุค 5 ราชวงศ์ และต่อด้วยราชวงศ์ซุ่ง (นครหลวงไคเฟิง) ต่อมา

ภาพไหซึ่งภายในบรรจุของไว้

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:18:17
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 2  

แผนที่เกาะเบลีตุง (เกาะด้านตะวันออกของเกาะชวา) ซึ่งเรือพ่อค้ามาอับปางลงบริเวณนี้

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:22:09
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 3  

สภาพเรือใต้ท้องทะเล เห็นแผ่นไม้พื้นเรือ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:23:28
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 4  

เหล่าจานกระเบื้องเคลือบ ที่ซ้อนกันเป็นเถาใต้พื้นทะเล

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:24:29
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 5  

ไหเคลือบ ซึ่งบรรจุของไว้มากมาย

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:26:05
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 6  

บางไห ก็สลักอักษรภาษาอาหรับไว้ด้วยครับ

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:26:45
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 7  

นี่ครับ สภาพเครื่องถ้วยเคลือบ วางไว้ในไหแบบนี้ เป็นสภาพเมื่อนำขึ้นจากเรือ

 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:28:40
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 8  

เรียงเครื่องถ้วยแบบนี้ ทำให้บรรทุกได้เป็นจำนวนมาก

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:29:31
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 9  

นี่ครับ เครื่องกระเบื้องเคลือบ เขียนลายสีน้ำเงิน เป็นเครื่องเคลือบลายครามยุคแรกๆ ซึ่งถือกำเนิดในประเทศจีน ก่อนจะเบ่งบานในราชวงศ์หยวน ซึ่งผลิตเครื่องลายครามกว่า 500 ปี ทำให้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเริ่มหันมาศึกษาที่มา และการถือกำเนิดของเครื่องเคลือบลายคราม ว่าเป็นการทำขึ้นแล้วนำไปขาย หรือว่าถูกสั่งทำตาม order

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:33:22
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 10  

ลำดับต่อมาคือ การค้นพบถ้วยทองคำ ซึ่งมีขนาดใหญ่ และมีลวดลายเหมือนการทำท่าร่ายรำ และถือเครื่องดนตรีทางอาหรับ

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:39:52
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 11  

ภาพใกล้

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:40:22
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 12  

วัตถุอันทรงล้ำค่าอีกชิ้นหนึ่งที่ค้นพบคือ ถาดทองคำ ซึ่งมีความพิเศษตรงที่ ลายของถาดใบนี้ เป็นลายสวัสดิกะ ซึ่งเป็นลายที่ยังไม่เป็นที่นิยมในสมัยราชวงศ์ถัง ถือเป็นต้นกำเนิดของลายสวัสดิกะ

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:42:34
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 13  

เครื่องถ้ายกระเบื้องเคลือบ ที่พบเป็นจำนวนมาก เขียนลายสีน้ำตาล ลายปลาทอง ลายเมฆ ลายดอกบัว และลายสวัสดิกะ

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:51:06
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 14  

คันฉ่อง สมัยถัง

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:53:12
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 15  

แท่งตะกั่ว และแท่งทองแดง

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:53:47
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 16  

วัตถุอีกชิ้นหนึ่งซึ่งมีความพิเศษ คือเป็นเหยือก สูงเมตรกว่า ด้านบนเป็นหัวมังกร

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:54:51
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 17  

“ไหจีนแบบ ถงกวน” แบบ ว่าฉาปิง ไหลักษณะแบบนี้ในประเทศไทยก็ค้นพบที่ สงขลา ซึ่งเป็นแหล่งเดินเรือค้าขายด้วย

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:57:16
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 18  

เครื่องเคลือบลายเขียว

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:58:15
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 19  

แผนที่โชว์แหล่งเตาเผา ซึ่งแพร่หลายอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นยุคทองแห่งการค้าขาย

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 19:59:31
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 20  
1,100 ปีก่อน แถบอาหรับดื่มเครื่องดื่มจากแก้ว แบบนี้แล้วครับ

แก้ไขเมื่อ 01 ก.ย. 52 20:01:55

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 20:00:56
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 21  

แบบก้นถ้วยทรงกลม ก็มีครับ

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 20:02:38
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 22  

โถน้ำ ศิลปะจีน ฐานทำเป็นกลีบดอกบัว สลักลายดอกไม้

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 20:04:26
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 23  

ของกระจุกกระจิก ที่พบคือ รูปสัตว์เคลือบดินเผา

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 20:05:19
ถูกใจ: แพนด้ามหาภัย

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 24  

ยามว่างชาวเรือ เล่นเกมส์กระดาน มีหมากเดินและทอยลูกเต๋า กันแล้วครับ

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 20:06:14
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 25  

ถาดทองคำใบที่สอง ที่ค้นพบ

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 20:07:36
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 26  

เครื่องเคลือบสีน้ำตาล ลายนก

 
 
 

จากคุณ: หนุ่มรัตนะ
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 20:09:25
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 27  

เข้ามาชมค่ะ

จากคุณ: -->+:+โชยุ&วาซาบิจัง+:+<--
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 20:14:37
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 28  

โอ เห็นแล้วประทับใจมาก โดยเฉพาะภาพ 23 ค่ะ

จากคุณ: แพนด้ามหาภัย
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 20:29:54
  

 
 
 
ความคิดเห็นที่ 29  

ตามอ่านกระทู้ของคุณ หนุ่มรัตนะ ค่ะ

ได้ความรู้ และมีภาพสวยๆ เยอะเลย

โดยเฉพาะภาพจีน เก่า ๆ

ขอบคุณนะคะ ที่กรุณาโพสสิ่งดี ๆ แบ่งปันกัน
จะตามอ่านต่อไปค่ะ

จากคุณ: รัตน์
เขียนเมื่อ: 1 ก.ย. 52 21:24:54 A:113.53.71.226 X: TicketID:169779
  

 
 
 

อ้างอิง

http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K8271765/K8271765.html
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( เสาร์, 14 พฤศจิกายน 2009 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

ขณะนี้มี 121 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้5629
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11017463