Skip to content

Phuketdata

default color
Home
ภาพถ่ายดาราศาสตร์ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
อังคาร, 11 สิงหาคม 2009

ตากล้องอิสระส่งภาพเดียว

รับที่หนึ่ง

"ภาพถ่ายดาราศาสตร์"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์16 สิงหาคม 2551 00:56 น.

พิธีมอบรางวัลประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นายสุเมธี เพ็ชร์อำไพ (ขวา) รับรางวัลจาก นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง

นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ขวา) รับรางวัลจาก นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง

นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ (ขวา) รับรางวัลจาก นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง

นายพรชัย อมรศรีจิรทร (ขวา) รับรางวัลจาก นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง

สดร.มอบรางวัลภาพถ่ายดาราศาสตร์ ที่งานมหกรรมวิทย์ ด้านตากล้องอิสระเจ้าขงอรางวัลที่หนึ่งเผย ส่งภาพฝนดาวตกเข้าประกวดเพียงชิ้นเดียว ส่วนเจ้าของภาพถ่าย 4 รางวัล เปิดใจ อยากให้มีคนถ่ายภาพดาราศาสตร์มากๆ ระบุไม่สนใจรางวัล แต่สนุกที่ได้ออกไปถ่ายภาพ

       สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2551 ในหัวข้อ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย" เมื่อวันที่ 15 ส.ค.51 ภายในงานมหกรรมวิทยาศสาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2551 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยมี นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานมอบรางวัล
       
       รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวรายงานว่า การประกวดรางวัลภาพถ่ายดาราศาสตร์นั้น เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสร้างบรรยากาศทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ และเพื่อฉลองปีดาราศาสตร์สากลในปี 2552 นี้ด้วย โดยภาพที่ชนะการประกวดจะนำไปใช่เพื่อการทำสื่อของสถาบันต่อไป
       
       ทั้งนี้ผู้ได้รับรางวัลประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ได้แก่
       
       


       
       1.ประเภทภาพถ่าย Deep Sky Objects
       - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ภาพ Banard 33 “Horsehead Nebula” - นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์
       - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ภาพเนบิวลารูปผ้าคลุมไหล่ (Veil Nebula) - นายพรชัย อมรศรีจิรทร
       - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ภาพเนบิวลาสามแฉก M20 หรือ NGC 6514 TRIFID NEBULA (Diffuse nebula) - นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต
       - รางวัลชมเชย ได้แก่ ภาพเพื่อนบ้านที่สวยงามบนฟ้าไทย - ทพ.ชัยยศ หงส์จินดาพงศ์
       
       
       
       2.ประเภทภาพถ่าย ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
       - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ภาพปรากฏการณ์ฝนดาวตก - นายสุเมธี เพ็ชร์อำไพ
       - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ -นายวรดิเรก มรรคทรัพย์
       - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ภาพจันทรุปราคา 1 - นายประพันธ์ ไกรศักดาวัฒน์
       - รางวัลชมเชย ได้แก่ ฝนดาวตกลีโอนิด 1 - นายจุมพล ขุยรักขิต
       
       
       
       3.ประเภทภาพถ่าย วัตถุในระบบสุริยะ
       - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ภาพดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดี (ภาพปรากฏบนท้องฟ้า) - นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต
       - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ภาพดาวเสาร์วันเด็ก - นายพรชัย อมรศรีจิรทร
       - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ดาวหางมัคโฮลซ์ (C/2004 Q2 Machholz) - นายพรชัย อมรศรีจิรทร
       - รางวัลชมเชย ได้แก่ ภาพเคียงเดือน - นายพรชัย อมรศรีจิรทร
       
       


       
       4.ประเภทภาพถ่าย ทิวทัศน์กับวัตถุท้องฟ้า
       
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ภาพแสงสว่างแห่งธรรมในค่ำคืนแห่งดวงดาว - นายชัยวัตร์ ไตรตรงสัตย์
       - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ภาพ ถ่ายดาวยามราตรี - นายเชาวลิต พุ่มโพธิ์
       - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ภาพสุริยุปราคาเต็มดวงที่ไซบีเรียเห็นได้บางส่วนในประเทศไทย - นายเอกชัย ตันวุฒิบัณฑิต
       - รางวัลชมเชย ได้แก่ ภาพมหัศจรรย์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ - นายฉัตริน บุญส่ง
       
       โอกาสนี้ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้พูดคุยกับ นายสุเมธี เพ็ชร์อำไพ เจ้าของรางวัลชนะเลิศภาพถ่ายประเภท ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ซึ่งระบุว่า ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดนั้น เป็นภาพฝนดาวตกที่บันทึกไว้เมื่อ 8 ปีที่แล้ว โดยเป็นภาพถ่ายดาราศาสตร์ภาพเดียว ที่เขามีและบันทึกไว้ ซึ่งปกติเขาเป็นช่างภาพอิสระ ที่ถ่ายภาพประกวด และรับถ่ายภาพเชิงท่องเที่ยว
       

       สำหรับภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลนี้ สุเมธีบอกว่า ใช้ฟิล์มสไลด์ในการบันทึก และโชคดีที่ได้จังหวะในการถ่ายภาพ ที่มีองค์ประกอบสวย โดยใช้เวลาในการตั้งกล้อง 40 นาที ทั้งนี้เขาเปิดใจว่า การถ่ายภาพดาราศาสตร์นั้นไม่ยาก เพียงแค่คำนวณเวลาให้ถูกต้อง 
       
       ทางด้าน ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการตัดสินภาพถ่ายดาราศาสตร์ครั้งนี้ เผยกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า มีกรรมการมาจากหลายส่วน ทั้งสื่อมวลชน อาจารย์ด้านวารสารและช่างภาพอาชีพมาช่วยตัดสิน แต่การตัดสินรางวัลก็ไม่ยากนักเพราะภาพที่ได้รับรางวัลมีความโดดเด่นชัดเจน โดยภาพ Deep Sky จะเน้นทั้งเทคนิคและสวยงาม ส่วนภาพทิวทัศน์จะเน้นสวยงามเป็นหลัก
       
       ส่วน นายพรชัย อมรศรีจิรทร ซึ่งได้รับรางวัลในการประกวดครั้งนี้ถึง 4 รางวัล เปิดเผยกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า อันที่จริงควรมีรางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียว แต่ก็ถือว่าปีนี้เป็นปีแรกที่มีการประกวด ปีหน้าคงจะมีคนส่งเข้าประกวดมากกว่านี้ โดยเขาเองส่งภาพเข้าประกวดถึง 20 ภาพ ซึ่งตอนแรกไม่คิดที่จะส่งประกวด แต่ก็ได้ส่งในภายหลังเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้กับวงการดาราศาสตร์
       
       ทั้งนี้เขาได้เปิดเผยเทคนิคการถ่ายภาพว่า การถ่ายภาพ Deep Sky นั้นยากสุด เพราะอุปกรณ์ถ่ายภาพต้องมีระบบตามดาวตลอด และเครื่องมือต้องมีความแม่นยำมาก แต่ถ้าถ่ายภาพกว้างจะง่ายกว่า โดยยกตัวอย่างการถ่ายภาพเนบิวลา M42 ของเขาเองว่า ต้องถ่ายหลายขั้นตอน เนื่องจากวัตถุที่จะถ่ายนั้นมีความสว่างมาก แต่รอบๆ วัตถุกลับมืดมาก ดังนั้นหากเปิดหน้ากล้องนานๆ จะทำให้วัตถุที่ต้องการบันทึกกลายเป็นภาพสีขาว จึงต้องบันทึกหลายๆ ครั้งแล้วทำการซ้อนภาพ (layer mask) ด้วยคอมพิวเตอร์
       
       พรชัยยังกล่าวถึง ภาพถ่ายของนายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ ซึ่งได้รับรางวัลที่ 1 ในการถ่ายภาพประเภท Deep Sky ว่า เป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดาราศาสตร์ที่บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์อีกที ซึ่งถ่ายได้ยาก โดยใช้กล้องซีซีดี (CCD) ที่ยิ่งเปิดหน้ากล้องนานยิ่งถ่ายได้ชัด แต่โดยปกติหากเปิดหน้ากล้องนาน จะยิ่งทำให้ภาพไม่ชัด เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้น จะไปรบกวนความคมชัด จึงต้องมีระบบให้ความเย็นถึงอุณหภูมิติดลบ จึงจะบันทึกภาพได้คมชัด ซึ่งกล้องดาราศาสตร์มีระบบดังกล่าว
       
       อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่าใครก็ถ่ายภาพดาราศาสตร์ได้ และอยากให้คนทั่วๆ ไปส่งประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์มากๆ ซึ่งภาพถ่ายดาราศาสตร์ประเภทวิว-ทิวทัศน์นั้นเป็นภาพที่ใครก็ถ่ายได้ ขึ้นอยู่กับมุมมอง โดยภาพถ่ายที่ชนะเลิศในการประกวดครั้งนี้หลายรูปก็ได้เพราะอารมณ์ภาพ บางภาพถ่ายง่ายๆ แต่สวย ซึ่งการประกวดก็ไม่ได้เน้นเทคนิคมากนัก แต่เน้นอารมณ์ ส่วนภาพที่เขาถ่ายบางภาพนั้นถ่ายได้ยาก แต่คนทั่วไปดูแล้วไม่สวยก็มี
       
       "เราส่งภาพประกวดครั้งนี้ก็ไม่ได้หวังรางวัล แต่อยากให้ความร่วมมือ และสร้างกระแสให้คึกคัก ส่วนรางวัลนั้นไม่สำคัญ เราสนุกตรงที่ได้ออกไปถ่ายรูปมากกว่า" พรชัยกล่าวกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์.

 

อ้างอิง

http://www.norsorpor.com/ข่าว/n1618984/พ.ย.นี้%20เซิร์นพร้อมเดินอีกครั้งครึ่งกำลัง%20หวั่นเสี่ยงพังแบบครั้งแรก
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

ขณะนี้มี 13 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้5304
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11017138