Skip to content

Phuketdata

default color
Home
สัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย ปาณิศรา ชูผล มทศ.   
ศุกร์, 17 กรกฎาคม 2009

 ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician Period)

สัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์

 

7 อันดับ ทะเลแห่งความตาย ในยุคดึกดำบรรพ์


โดย หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10353

โดย บัณฑิต คงอินทร์ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้

 

ในยุคปัจจุบันการดำน้ำในทะเลเปิดบางแห่งอาจนำมาซึ่งความตายเพราะถูกฉลามเพชฌฆาตแห่งท้องทะเลกัดกิน แต่ในยุคดึกดำบรรพ์ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของทะเลล้วนแล้วแต่อันตรายทั้งสิ้น เพราะมีสัตว์ทะเลนักล่าที่ดุร้ายอยู่ทั่วไป

1. โมซาซอร์ 2. ลีโอพลูโรดอน 3. เมกาโลดอน 4. บาซิโลซอรัส 5. ดังก์ลีโอสตีอัส 6. ซิมโบสปอนไดลัส 7. ออร์โธโคน

นักวิทยาศาสตร์ได้จัดอันดับทะเลแห่งความตายในยุคต่างๆ ไว้ 7 อันดับ มาดูกันว่ามียุคใดบ้าง

อันดับ 7 ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician Period)

ยุคออร์โดวิเชียน (490 - 443 ล้านปีก่อน) ยุคนี้ 1 วันของโลกเท่ากับ 21 ชั่วโมง ผืนแผ่นดินยังอยู่ในสภาพแห้งแล้ง มีพืชเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น และไม่มีสัตว์บกอยู่เลย ทว่าในท้องทะเลกลับเต็มไปด้วยสัตว์ทะเลนานาชนิด แมลงป่องทะเลได้ชื่อว่าเป็นนักล่าในยุคนั้น แต่พวกมันก็ยังตกเป็นเหยื่อของออร์โธโคน ซึ่งเป็นเจ้าแห่งความตายในท้องทะเลในยุคนี้อย่างแท้จริง

ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician Period)

ออร์โธโคนมีขนาดมหึมารูปร่างคล้ายปลาหมึก ทว่าลำตัวแหลมเหมือนกรวยและมีเปลือกแข็งเหมือนเปลือกหอย มันจะใช้หนวดจับแมลงป่องทะเลและบดเคี้ยวเหยื่อด้วยจงอยปากที่ทรงพลัง

อันดับ 6 ยุคไทรแอสสิค (Triassic Period)

ยุคไทรแอสสิค (248 - 206 ล้านปีก่อน) เป็นยุคที่ไดโนเสาร์บนผืนแผ่นดินกำลังวิวัฒนาการอยู่แต่ไดโนเสาร์ในยุคนี้ยังมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับไดโนเสาร์ในยุคจูราสสิค และเช่นเดียวกับยุคออร์โดวิเชียน ท้องทะเลในยุคไทรแอสสิกเต็มไปด้วยสัตว์ทะเลและนักล่า นักล่าที่รู้จักกันดีคือ สัตว์เลื้อยคลานอย่างเช่น กิ้งก่า นอโธซอร์ แต่นักล่าที่ร้ายที่สุดในยุคนี้ก็คือ ซิมโบสปอนไดลัส สัตว์ทะเลลำตัวยาว 10 เมตร รูปร่างคล้ายปลาโลมา แต่ไม่มีกระโดงและหางยาว ปลายหางคล้ายหางของปลาไหลทะเล

ยุคไทรแอสสิค (Triassic Period)

หัวของซิมโบสปอนไดลัส ยาวถึง 1 เมตร ฟันของมันแหลมคมจนสามารถฉีกเนื้อกิ้งก่าทะเลขนาดใหญ่ได้เป็นชิ้นๆ แต่อาหารที่มันชื่นชอบไม่ใช่กิ้งก่าทะเลแต่กลับเป็นปลา

อันดับ 5 ยุคดิโวเนียน (Devonian Period)

ยุคดิโวเนียน (417 - 354ล้านปีก่อน) หรืออีกชื่อหนึ่งว่ายุคแห่งปลา (Age of Fish) เป็นยุคที่ผืนแผ่นดินมีต้นไม้ปกคลุมบ้างแล้ว บรรพบุรุษของสัตว์เลื้อยคลานได้เริ่มวิวัฒนาการในปลายยุคนี้ นักล่าในท้องทะเลในยุคนี้คือฉลามชนิดต่างๆ อาทิเช่น สเตธาแคนทัส ฉลามซึ่งมีกระโดงคล้ายทั่งตีเหล็ก แต่ฉลามเจ้าแห่งมหาสมุทรคือ ดังก์ลีโอสตีอัส ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด

ยุคดิโวเนียน (Devonian Period)

ดังก์ลีโอสตีอัสมีฟันแหลมคมและมีเกราะหุ้มลำตัว มันจะสวาปามสัตว์ทะเลไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะเป็นปลาธรรมดาหรือปลาฉลาม หรือแม้กระทั่งพวกเดียวกันเองด้วย

อันดับ 4 ยุคพาลีโอจีน (Paleogene Period)

ทะเลแห่งความตายในยุคพาลีโอจีน (65 - 23 ล้านปีก่อน) อยู่ใน จุลยุค อีโอซีน (Eocene Epoch) ซึ่งเป็นจุลยุคที่สองของยุคพาลีโอจีน นักล่าเจ้าแห่งความตายคือ วาฬบาซิโลซอรัส วาฬดึกดำบรรพ์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่าง35-40 ล้านปีก่อน อสูรร้ายใต้สมุทรตัวนี้มีลำตัวยาวถึง 40-70 ฟุต แต่รูปร่างหน้าตาของมันไม่เหมือนวาฬในปัจจุบันเลย แต่คล้ายงูทะเลยักษ์มากกว่า

ฟันของวาฬบาซิโลซอรัส ยุคพาลีโอจีน (Paleogene Period)

หัวของบาซิโลซอรัสยาวประมาณ 5 ฟุต ขากรรไกรมีฟันสองชุด ฟันแถวหน้ามีรูปทรงคล้ายกรวยใช้สำหรับจับเหยื่อ ส่วนฟันแถวหลังมีรูปทรงสามเหลี่ยมใช้สำหรับเคี้ยว ลักษณะของฟันบ่งชี้ว่ามันเป็นสัตว์ทะเลที่กินปลาและปลาหมึกเป็นอาหาร

อันดับ 3 ยุคนีโอจีน (Neogene Period)

ทะเลแห่งความตายในยุคนีโอจีน (23-1.81 ล้านปีก่อน) อยู่ในจุลยุคไพลโอซีน (Pliocene epoch) จุลยุคที่สองของยุคนีโอจีน

ในจุลยุคไพลโอซีน บริเวณชายฝั่งของประเทศเปรูเป็นดินแดนที่แห้งแล้ง แต่ปลอดภัย แมวน้ำนอนผึ่งแดดอยู่ตามโขดหิน ทว่าห่างออกไปในทะเลกลับอันตรายสุดสุด เพราะมีนักล่าที่ดุร้ายซึ่งเป็นญาติของฉลามขาวในปัจจุบัน มันคือ เมกาโลดอน ฉลามยักษ์ขนาดใหญ่กว่าฉลามขาวราว 2เท่า

ฟันของเมกาโลดอนยุคนีโอจีน (Neogene Period)

เมกาโลดอนมีขากรรไกรขนาดใหญ่กว่า 2 เมตร ฟันแต่ละซี่แหลมคมยาว 21 เซนติเมตร พวกมันอาศัยอยู่ในทะเลเปิด ยกเว้นตัวที่มีอายุน้อยจะอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เมกาโลดอนว่ายน้ำได้รวดเร็วและจะล่าเหยื่อบริเวณก้นทะเล อาหารที่มันชื่นชอบคือ วาฬและแมวน้ำ รวมทั้งโอโดบีโนเซทอป สัตว์ทะเลที่มีรูปร่างผสมระหว่างวอลลัซกับปลาพะยูนด้วย

อันดับ 2 ยุคจูราสสิค (Jurassic Period)

ท้องทะเลในยุคจูราสสิค (200-146 ล้านปีก่อน) มีฉลามนักล่าหลายชนิด อย่างเช่น ฉลามไฮโบดัส นอกจากนั้นยังมีจระเข้ทะเลเมทริโอรินซัสด้วย แต่นักล่าทั้งสองชนิดก็ยังเทียบไม่ได้กับ ลีโอพลูโรดอน

นักล่าขนาดใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรเท่าที่โลกเคยมีมาซึ่งมีชีวิตอยู่ในกลางยุคจูราสสิค ประมาณ 160-155 ล้านปีก่อน

ยุคจูราสสิค (Jurassic Period)

ลีโอพลูโรดอนเป็นสัตว์ทะเลในตระกูลสัตว์เลื้อยคลานที่เรียกกันว่า ไพลโอซอร์ ลำตัวของมันยาวถึง 25 เมตร จุดเด่นของมันคือจมูกที่สามารถดมกลิ่นเหยื่อได้ในระยะไกล เหยื่อของมันคือจระเข้ทะเล ปลาขนาดใหญ่ และรวมทั้งไพลโอซอร์ด้วย

อันดับ 1 ยุคครีเตรเชียส (Creataceous Period)

สุดยอดแห่งทะเลแห่งความตายคือทะเลในยุคครีเตรเชียสหรือยุคไดโนเสาร์ (146-65 ล้านปีก่อน) เพราะเต็มไปด้วยกิ้งก่าทะเล "โมซาซอร์" หลายชนิดซึ่งล้วนแล้วแต่ดุร้ายจนได้รับฉายาว่า "ที-เร็กแห่งมหาสมุทร"

แม้แต่นกเฮสเพอร์โรนิสก็ยังไม่พ้นจากความตายจากฝีมือของฮาลิซอรัส โมซาซอร์ขนาดเล็ก

ยุคครีเตรเชียส (Creataceous Period)

โมซาซอส์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุคนี้คือ ไฮโนซอรัส มีลำตัวยาวถึง 17 เมตร นอกจากนั้นยังมีอีลาสโมซอรัส สัตว์ทะเลในตระกูลเพลซิโอซอร์ซึ่งมีลำตัวยาว 15 เมตร เป็นนักล่าปลาตัวฉกาจในยุคนี้ด้วย

ยุคครีเตรเชียสจึงเป็นยุคของนักล่าที่มีทั้ง ที-เร็ก บนบกและที-เร็กในมหาสมุทร ซึ่งก็คือกิ้งก่าบกที่อพยพลงไปอยู่ในทะเลนั่นเอง

อ้างอิง

http://www.marinerthai.com/sara/view.php?No=1141

 

 

 

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

ขณะนี้มี 160 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้5117
mod_vvisit_counterเมื่อวาน3893
mod_vvisit_counterทั้งหมด11016952