Skip to content

Phuketdata

default color
Home
ชาวเล...ไม่เร่ร่อน..อีกต่อไป PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย วิทวัส อันตาผล   
เสาร์, 26 มีนาคม 2016

  ชาวเล .... ไม่เร่ร่อน ..... อีกต่อไป

  วิทวัส อันตาผล ผู้เขียน

ไอ้โหย่ง ไอ้โหย้ง โหย้งไหรเล่าน้อง  โหย้งดอกจิกเร่

คลื่นลมก็โหมระดมเท  แต่ชาวสิเหร่ซิเริงรมย์

เรือเอย เรือน้อย เรือเจ้าจะลอย หรือว่าจะจม

แต่เรือชาวเลไม่เคยล่ม อ่านน้ำจำลม อ่านฟ้าจำดาว

 

บทขับร้องลำนำข้างต้นนี้เป็นเพลงไอโหย้งหรือตันหยง ในการแสดงรองแง็ง ซึ่งเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นในฝั่งอันดามัน ชาวเลพังงา ภูเก็ตและกระบี่นิยมร้องรำในช่วงที่มีงานรื่นเริง ปัจจุบันยังมีให้คนรุ่นใหม่ได้รับชมอยู่ เช่น ที่ชุมชนเกาะลันตาจังหวัดกระบี่  ชุมชนเกาะสิเหร่จังหวัดภูเก็ต และชุมชนเกาะสุรินทร์จังหวัดพังงา

 

เมื่อถอดบทความจากเนื้อร้องดังกล่าวนั้นสามารถสรุปได้ว่า ชาวเลที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะสิเหร่จังหวัดภูเก็ตมีอาชีพทำการประมง มีเรือเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ก่อนที่ออกเรือไปชาวเลจะใช้ภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาคือเรื่องการดูสภาพภูมิอากาศว่าเหมาะกับการออกเรือไปหรือไม่ โดยดูจากแรงและทิศทางของลม และ ดูดวงดาวในการกำหนดทิศทางการแล่นเรือ

 

ชาวเล เป็นภาษาใต้ใช้เรียก ชาวทะเล หรือ คนที่มีวิถีชีวิตอยู่กับท้องทะเล ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลออสโตรนีเชียน   อาศัยอยู่ตามชายฝั่งของทะเลอันดามัน ทั้งนี้ชาวเลในประเทศไทยประกอบด้วยสามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมอแกน กลุ่มมอแกลน และกลุ่มอูรักลาโว้ย

 

กลุ่มอูรักลาโว้ย   เป็นชนกลุ่มใหญ่ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ที่เกาะสิเหร่ และที่หาดราไวย์ บ้านสะปำ จ.ภูเก็ต  เกาะพีพีดอน เกาะลันตาใหญ่ จ.กระบี่   เกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ เกาะราวี จ.สตูล และที่เกาะลิบง จ.ตรัง

 

 กลุ่มมอแกน  หรือสิงทะเล อาศัยอยู่ที่เกาะพระทองและหมู่เกาะสุรินทร์ อ.คุระบุรี จ.พังงา เกาะสินไห่และเกาะเหลา จ.ระนอง  หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต และเกาะพีพี จ.กระบี่

 

 และ กลุ่มมอแกลน หรือสิงบก อาศัยอยู่ที่เกาะพระทอง อ.คุระบุรี  บ้านทุ่งดำ อ.ตะกั่วป่า บ้านลำปี อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา และที่ จ.ภูเก็ต ในบริเวณแหลมหลา ต.ไม้ขาว อ.ถลาง

 

 แม้ว่าทั้งสามกลุ่มจะเป็นตระกูลออสโตรนีเชียนเดียวกัน ก็มีความแตกต่างกันในหลากหลายด้าน เช่น ตัวภาษา  และประเพณีวัฒนธรรม  หากแต่ในความแตกต่างนั้น ทั้งสามกลุ่มก็ยังสามารถสื่อสารและอยู่ร่วมกันได้

 

ระบบโลกาภิวัฒน์เปรียบดั่งลมแรงพัดโหมกระหน่ำเข้าหาต้นมะพร้าวชายฝั่งทะเล  ลำต้นจะสูงใหญ่แข็งแรงปานใด ต้นมะพร้าวยังจำเป็นต้องโอนเอนล้อไปตามทิศแรงลมนั้น เพื่อให้คงยืนอยู่ผลิดอกออกผลได้ต่อไป

 

"ชาวเลก็คงไม่ต่างกับต้นมะพร้าว"

 

มีความเป็นตัวของตัวเอง ยึดมั่นในอุดมการณ์รักษ์ธรรมชาติไม่อยากครอบครองธรรมชาติไว้เป็นของตน ด้วยเชื่อว่าธรรมชาติทั้งหมดเป็นของส่วนรวมจึงไม่ลงหลักปักฐานสร้างบ้านเรือนจับจองที่ดินให้ถาวร

 

แต่ปัจจุบัน "อ่านน้ำจำลม อ่านฟ้าจำดาว" คงใช้ได้ในวงแคบ ชาวเลจึงจำใจจับจองที่ดินสร้างฐานะอย่างถาวร เพื่อรักษาตน กลุ่ม และชาติพันธ์ไว้ ดั่งต้นมะพร้าวชายฝั่งทะเลอันดามันที่ต้องโอนเอนล้อแล่นไปตามลม

 

 

 

คติชนวิทยา,พังงาศึกษา 

 

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พุธ, 19 ตุลาคม 2016 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

ขณะนี้มี 1 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1248
mod_vvisit_counterเมื่อวาน5656
mod_vvisit_counterทั้งหมด11018738