Skip to content

Phuketdata

default color
Home
เกาะพระทอง KO PHRA THONG PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย กนกวรรณ ไชยจรัส   
พุธ, 24 สิงหาคม 2011

เกาะพระทอง
Koh Phra Thong

 



เกาะพระทองเป็นคำนาม (พัฒนาพร บุญย่อง ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ )ใช้เป็นชื่อบ้านนามเมือง(นามสถาน)เป็นชื่อเกาะในจังหวัดพังงา

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง จังหวัดพังงา
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ มีข่าวว่านายทุนกำลังติดต่อขอเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่บริเวณเกาะระ-พระทอง จังหวัดพังงา นายดิษฐพงศ์ โชคคณาพิทักษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ในขณะนั้น จึงได้มีหนังสืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ด่วนมาก ที่ กช ๐๗๑๓ (มส) /๑๑๖ ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๓๑ เสนอให้กองอุทยานแห่งชาติ
แจ้งกรมป่าไม้ โปรดระงับไม่ให้มีการเช่าพื้นที่บริเวณเกาะระ และมีความเห็นให้สงวนไว้เพื่ออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จะได้ดำเนินการสำรวจผนวกให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมาอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ เห็นควรสำรวจพื้นที่บริเวณเกาะระ-เกาะพระทอง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้เคียง และพื้นที่อื่น ๆ ที่เห็นว่ามีศักยภาพเหมาะสมที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้โดย ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ โปรดอนุมัติลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๓ ท้ายหนังสือสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ กษ ๐๗๑๒.๕/๙๘๑ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๓ ให้นายธนพงศ์ อภัยโส นักวิชาการป่าไม้ ๖ ซึ่งปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ดำเนินการสำรวจเบื้องต้นบริเวณเกาะพื้นที่เกาะระ เกาะพระทอง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้เคียงท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ผลการสำรวจเบื้องต้น ปรากฏว่าพื้นที่บริเวณที่ดำเนินการสำรวจครอบคลุมพื้นที่ ๕๐๑,๒๕๐ ไร่ เป็นพื้นน้ำ ๑๘๕,๑๘๐ ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่บก ๒๐๖,๐๘๐ ไร่ มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ มีความหลากหลายทางชีวภาพเหมาะสมที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ ๑๘๖๘/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้นายธนพงศ์ อภัยโส นักวิชาการป่าไม้ ๕ ไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่บริเวณเกาะระ- เกาะพระทอง และพื้นที่ป่าชายเลน ใกล้เคียงในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ    จากการดำเนินการทำให้แกนนำบางคนในท้องถิ่นเสียผลประโยชน์
จึงได้ยุยงให้ชาวบ้านประท้วงคัดค้านการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยอ้างปัญหาการประมงพื้นบ้านเป็นประเด็นหลัก ทำให้การชุมนุมประท้วง ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอคุระบุรี เพื่อคัดค้านการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยมีแกนนำผู้คัดค้านผลิตเปลี่ยนกันชึ้นเวทีปราศัยโจมตีการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ สำหรับทางฝ่ายราชการมีนายมานิต วัฒนเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นายยอด คีรีรัตน์ ป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช และนายธนพงศ์ อภัยโส หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง ชี้แจงข้อเท็จจริง และทำความเข้าใจ ผลการชุมนุมประท้วงในวันนั้น ผู้ชุมนุมประท้วงได้ลงลายมือชื่อคัดค้าน และยื่นข้อเสนอต่อจังหวัดพังงาให้ยุติการจัดตั้ง
อุทยานแห่งชาติ ซึ่งทางจังหวัดพังงารับเรื่องไว้เสนอต่อกรมป่าไม้ ผู้ชุมนุมประท้วงจึงแยกย้ายสลายกลุ่มไป การดำเนินการสำรวจจัดตั้งยังคงดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ได้มีชาวบ้าน ประมาณ ๓๐๐ คน ได้บุกรุกเข้ารื้อถอนที่ทำการชั่วคราวของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง บริเวณอ่าวเส็ง ท้องที่
หมู่ ๓ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และบังคับให้เจ้าหน้าที่ขนย้ายวัสดุขึ้นมาจากเกาะระ ในช่วงเวลาดังกล่าวกรมป่าไม้ได้มีการโยกย้ายข้าราชการโดยแต่งตั้งนายยุทธนา สัจกุล เจ้าพนักงานป่าไม้ ๕ ไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ – เกาะพระทอง ต่อไป โดยดำเนินการประสานงานนายอำเภอท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และหัวหน้าหน่วยงานราชการเกี่ยวข้องดำเนินการ ตั้งที่ทำการชั่วคราว ณ จุดเดิมที่ถูกรื้อถอนไปอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๙๙ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน


ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัว ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้ท้องที่จังหวัดพังงา ลักษณะโดยรวมของพื้นที่เป็นหาดโคลนปากแม่น้ำ มีลำคลองหลายสายไหลลงมาบริเวณดังกล่าวเป็นคลองยาวมีสาขามากมายก่อนเปิดออกสู่ทะเลมีความสมบูรณ์ของธาตุอาหารในตะกอนดิน และได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล มีภูเขาสูงชันและเกาะต่างๆ วางในแนวเหนือใต้ ได้แก่ เกาะระพื้นที่เป็นเขาสูงและชัน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๒๓๕ เมตร เกาะพระพื้นที่เป็นที่ราบส่วนใหญ่มีภูเขาสลับ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๓๑๐ เมตร และจากเกาะบริวารเล็กๆ อีก เช่น เกาะปลิง เกาะตาชัย และเขาบ่อไทรที่มียอดเขาสูงที่สุดคือ ๔๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง


ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่เกาะระ เกาะพระทอง และพื้นที่ใกล้เคียง มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบทั้งปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งแบ่งได้ ๒ ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน โดยมีฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเดือนกันยายนมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-มีนาคมโดยมีฝนตกในช่วงนี้บ้าง


พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ทรัพยากรป่าไม้ จากการสำรวจสามารถจำแนกได้เป็น ๕ ประเภทดังนี้

ป่าดิบชื้น พบว่าขึ้นปกคลุมบริเวณที่เป็นเขา เช่น เกาะระ บริเวณลาดเขาและสันเขาพันธุ์ไม้ที่เป็นไม้เด่น เช่น ยางยุง ยางปราย ขันทอง ไม้เรือนยอดรองลงมา เช่น มะปริง มะส้าน เลือดกวาง มะไฟป่า ไม้พื้นล่าง เช่น หวาย กะพ้อ และเตย เป็นต้น

ป่าชายเลน พบขึ้นบริเวณชายฝั่ง ตามอ่าวของเกาะ เนื่องจารับอิทธิพลจากลำธาร แม่น้ำลำคลองกลายสายและการขึ้นลงของน้ำทะเล ดินเป็นเลนปนทรายหากมองจากภาพถ่ายทางอากาศ ป่าชายเลนจะเป็นผืนยาวติดต่อกันตั้งแต่ตอนเหนือจากบ้านทุ่งนางดำ ไปทางใต้จนถึงเกาะคอเขา ในพื้นที่อำเภอ ตะกั่วป่า

พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะปูนขาว ถั่วดำ ฝาดอกแดง แสมขาวแสมดำ และไม้วงศ์ปาล์ม เช่น จาก เป้งทะเล หลาวชะโอน ไม้พื้นล่างเช่น กระเพาะปลา และเหงือกปลาหมอ เป็นต้น

ป่าชายหาด พบตามชายหาด ตามอ่าวที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง บริเวณเกาะระและเกาะพระทองพันธุ์ไม้ที่พบอาทิ เช่น สนทะเล ชมพู่ป่า โพทะเล มะส้าน เตยทะเล ไม้พื้นล่าง เช่น ผักบุ้งทะเล สังคมพืชทดแทน จากการทำเหมืองแร่ดีบุกบริเวณเกาะพระทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ราบสภาพดินขาดแร่ธาตุ ไม้เด่นในพื้นที่จะเป็นไม้เสม็ดขาว ขึ้นเป็นกลุ่ม
บริเวณแอ่งน้ำ และพื้นที่โล่งกว้าง ไม้เสม็ดขึ้นอยู่ห่างกัน และ แหล่งหญ้าทะเล จากการสำรวจการแพร่กระจายและพื้นที่ปกคลุมของหญ้าทะเลชนิดต่างๆ บริเวณหาดทุ่งนางดำโดยวิธี visual estimation พบว่ามีการแพร่กระจายสูง หาดดังกล่าวเป็นพื้นที่ขายหาดฝั่งปากคลองคุระ ความขุ่นใสค่อนข้างน้อย แม่น้ำต่อเนื่องไปบริเวณหาดทุ่งนางดำ ระหว่างเนินทรายและชายฝั่งเกิดมีลักษณะคล้ายแอ่งน้ำขนาดใหญ่เป็นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล


แหล่งท่องเที่ยว
บริเวณพื้นที่ทำการสำรวจแระกอบด้วยทรัพยากรชายฝั่งที่มีศักยภาพสูงในด้านที่จะปรับปรุงไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกิจกรรมหลายๆ ด้านปัจจุบันด้านการท่องเที่ยวยังมีไม่มากนัก ท่องเที่ยวที่เข้ามา จะได้รับการบริการจากหน่วยงานของเอกชนที่บริการด้านการท่องเที่ยวเท่านั้น และรูปแบบจะเป็นบางกิจกรรมพิ้นที่สามารถให้การบริการด้านการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเพียงพอ ที่จะรองรับนักท่องเที่ยวได้มีดังนี้

เกาะคอเขา สภาพเป็นเขสลับกันเป็นพื้นที่ราบ ในเขตอำเภอคุระบุรีกับ อำเภอตะกั่วป่ามีความสวยงาม ชายหาดยาวตลอดความยาวเกาะ ปัจจุบันมีส่วนมะพร้าวและหมู่บ้านใช้เวลาในการเดินทางประมาณ๓๐ นาที

เกาะปลิง – เกาะพ่อตา อยู่ชิดกันบริเวณด้านตะวันตกมีแนวปะการังหลากหลาย แต่แนวปะการังที่ไม่กว้างมาก สามารถดูปะการังได้ พื้นที่ชายเลน ตามลำคลองต่าง ๆ


ภาพในป่าชายเลน กิจกรรมที่สามารถทำได้เช่น พานเรือคายัด ดูนก ศึกษาสภาพป่า เป็นต้น จากสภาพที่มีความแตกต่างกัน และมีความสวยงาม พื้นที่ดังกล่าวจึงสามารถทำกิจกรรมด้านนันทนาการได้หลายอย่าง ซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบัน บางกิจกรรมเป็นกิจกรรมใหม่ เช่น พายเรือคายัด ปั่นจักรยาน ซึ่งพื้นที่มีความเหมาะสมที่จะจัด
กิจกรรมได้ และเป็นการสนับสนุนกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นอย่างดี

เกาะพระทอง เป็นเกาะที่มีพื้นที่กว้างและเป็นที่ราบไม่มีภูเขา ด้านทิศตะวันออกพื้นที่เป็นป่าชายเลนติดต่อกัน ส่วนพื้นที่ราบทางด้านทิศตะวันตกสภาพเป็นป่าทดแทนที่ไม้เสม็ดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โล่งกว้างสามารถนำรถไปวิ่งได้ มีความสวยงาม เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์เช่น กวางป่า หมูป่า เป็นต้น สามารถทำกิจกรรมได้หลายอย่าง เช่น
ตั้งแค้มป์ ปั่นจักรยาน อีกทั้งชายหาดที่วางตัวทิศเหนือไปถึงทิศใต้ของตัวเกาะเดินป่า หรือการเข้าไปศึกษาธรรมชาติของสัตว์บกตอนกลางคืน เนื่องจากวาง ประมาณ ๖๐ ตัวซึ่งพบเห็นได้บ่อยครั้ง เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีใช้เวลาในการเดินทางโดยเรือ ๕๐ นาที เกาะพระทองปัจจุบันยังอยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้

เกาะระ เป็นเกาะที่มีความลาดชันสูง ที่ราบจะพบบางแห่งใกล้กับชายหาด ประกอบไปด้วยป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ สามารถทำเส้นทางเดินป่า และเส้นทางศึกษาธรรมชาติได้ ชายหาดที่กว้างและยาวทางด้านทิศตะวันตก และด้านทิศเหนือของเกาะ เหมาะแก่การเล่นน้ำ อาบแดด หรือชมพระอาทิตย์ตกได้ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๖๐ นาที ปัจจุบัน
ยังไม่มีหน่วยงานใดให้บริการในด้านการท่องเที่ยวในเกาะระ และยังอยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้


การเดินทาง

การเดินทางสามารถเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมาย 4 ถึงอำเภอคุระบุรีและเดินทางต่อไปยังท่าเทียบเรือเพื่อไปยังเกาะต่าง ๆ


อ้างอิง: http://www.oceansmile.com/S/Phangnga/ForestKohrapratong.htm






ชาวต่างชาติออกเสียง Ko Phra Thong (วลัยพร ชื่นสมทรง ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔)

ชาวพังงาออกเสียง  [ko?3 phra?6 thɔ:ŋ5](กาหลง ชัยวิเศษ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔)

ชาวภูเก็จออกเสียงตรงกับชาวพังงา(สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์)



นามานุกรม

กนกวรรณ ไชยจรัส 

กาหลง ชัยวิเศษ เกิด ๒๔๘๙ เพศหญิง ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา  อยู่ที่ ๑๓๓/๓ ต.นบปริง  อ.เมือง จ.พังงา ๘๒๐๐๐ ให้ข้อมูลกนกวรรณ ไชยจรัส เมื่อ  ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔

พัฒนาพร บุญย่อง เกิดวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๙๙ เพศหญิง ภูมิลำเนา จังหวัดภูเก็ต  อยู่ที่ ๒๓/๗ ต.นบปริง  อ.เมือง จ.พังงา ๘๒๐๐๐ ให้ข้อมูลกนกวรรณ ไชยจรัส เมื่อ  ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔

วลัยพร ชื่นสมทรง เกิดวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ เพศหญิง ภูมิลำเนา จังหวัดพังงา  อยู่ที่ ๑๘ ต.ท้ายช้าง อ.เมือง จ.พังงา ๘๒๐๐๐ ให้ข้อมูลกนกวรรณ ไชยจรัส เมื่อ  ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔


สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ให้ข้อมูลกนกวรรณ ไชยจรัส เมื่อ  ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔
 

***

พังงาศึกษา
วัฒนธรรม2วัฒน์  ภาษาสื่อสาร 2

กนกวรรณ ไชยจรัส ประสานงานค้นนำเสนอ

จิรายุ  ปัถวี บันทึก pk

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 25 สิงหาคม 2011 )
 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

สมุดภาพเหมืองแร่

Polls

ชื่อใด (หรือคำใด) สื่อได้ชัดคม รู้เป้าหมายได้มากกว่า
 

Who's Online

ขณะนี้มี 42 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้87
mod_vvisit_counterเมื่อวาน5656
mod_vvisit_counterทั้งหมด11017578